“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
7 ยี่ห้อ อาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุ กินเสริมก็ได้ กินช่วยบรรเทาก็ดี ! (พร้อมคำแนะนำแบบยั่งยืน)
โภชนาการที่ดีและเพียงพอเป็นพื้นฐานสำคัญในการบำรุงกระดูก ดังนั้นจึงต้องคัดเลือกอาหารที่จะรับประทานอย่างชาญฉลาดเพื่อให้ได้ความครบถ้วนของสารอาหารหลักคือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินดี และโปรตีน ซึ่งมีเป้าหมายคือ ลดความเสี่ยงจากการแตกหักของกระดูก สร้างมวลกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ผลการศึกษาผู้ใหญ่ที่มีอายุเกิน 50 ปี พบว่า มากกว่า 43% มีความเสี่ยงสูงที่จะบริโภคแคลเซียมน้อยกว่า 1,200 มก. ต่อวัน ดังนั้นในบทความนี้จึงจะแนะนำ อาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุ ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย น่าเชื่อถือ พร้อมข้อแนะนำในการบริโภค ราคาโดยประมาณและช่องทางการซื้อออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำพิเศษสำหรับผู้ที่กินอาหารเสริมแคลเซียม ต้องดูแลตัวเองอย่างไร ให้สุขภาพดีมาฝากกันอีกด้วย
เติมเต็มคุณภาพชีวิตด้วย อาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุ กระดูกแข็งแรง
เกร็ดสุขภาพ : แคลเซียมเป็นหนึ่งในสารอาหารที่สำคัญที่สำหรับกระดูกและฟันที่แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อ เซลล์ และเส้นประสาททำงานได้อย่างถูกต้อง น่าเสียดายที่ระดับแคลเซียมค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุมากขึ้นส่วนหนึ่งด้วยเหตุผลที่ผู้สูงอายุรับประทานน้อยลง จึงได้รับแคลเซียมจากอาหารน้อยลง ส่วนใหญ่จะมาจากความอยากอาหารลดลงหรือเกิดความเจ็บป่วยที่ไปลดความอยากอาหาร มีข้อแนะนำให้ผู้สูงอายุดื่มนมวันละ 3 แก้ว เพื่อให้ได้แคลเซียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัม
แนะนำวิตามิน-อาหารเสริม
1. แคลเซียม ของ Auswelllife+
อาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุ ยี่ห้อแรกนี้เป็นของ Auswelllife+ ประเทศออสเตรเลีย โดยทำมาเป็นแคลเซียมเหลวที่ดูดซึมง่าย ร่างกายนำไปใช้ได้ทันที บรรจุลงในเม็ด Soft gel จึงรับประทานได้ง่าย ภายในเม็ดประกอบด้วยแคลเซียม 900 มก. จากธรรมชาติ 100% รวมกับวิตามินดี 3 มีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มมวลกระดูก ป้องกันอาการทางโรคกระดูก และป้องกันกระดูกพรุน ซึ่งนอกจากผู้สูงอายุแล้ว สำหรับคนที่มองหาวิตามินรวมสำหรับผู้หญิง ยี่ห้อไหนดี ยี่ห้อนี้ก็ถือว่าน่าสนใจเลยทีเดียว
วิธีกิน : ครั้งละ 1 เม็ด พร้อมอาหารหรือ ก่อน-หลังอาหารทันที วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
ขนาดบรรจุ : 60 เม็ด/กล่อง
ราคาโดยประมาณ : 550 บาท
2. แคลเซียม 1000 ของ THE NATURE
THE NATURE ผลิตอาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุ ที่ชื่อ แคลเซียม 1000 โดยมีส่วนประกอบสำคัญคือ แคลเซียม คาร์บอเนต 800 มก. มีส่วนเสริมสร้างและเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกให้กับร่างกาย และยังช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ที่เป็นสาเหตุของกระดูกหักง่ายในผู้สูงอายุ
วิธีกิน : วันละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้าหรือเย็น
ขนาดบรรจุ : 30 เม็ด/กล่อง
ราคาโดยประมาณ : 399 บาท
3. แคลเซียม แคลฮอฟ พลัส ของ HOF
แคลเซียมของ HOF เป็นอาหารเสริมแคลเซียมที่ผสมวิตามินรวมและแร่ธาตุกว่า 10 ชนิด ดังนั้นเมื่อรับประทานเพียงวันละ 1 เม็ด ก็จะได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่ครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทั้งยังไปกระตุ้นการทำงานของโปรตีนที่เป็น corboxylated- glutamic acid ให้จับเข้ากับแคลเซียมของ Hydroxyapatite เพื่อทำหน้าที่สร้างและสลายกระดูกอย่างเหมาะสม ช่วยลดอาการปวดข้อ กระดูก ลดอาการปวดฟันจากการขาดแคลเซียม และยังเหมาะกับการเป็นวิตามินผู้ชายวัยทองได้ด้วย
วิธีกิน : วันละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้าหรือเย็น
ขนาดบรรจุ : 120 เม็ด/กล่อง
ราคาโดยประมาณ : 270 บาท
4. แคลเซียมนวัตกรรมใหม่ ของ UNC
แคลเซียมนวัตกรรมใหม่ของ UNC ผลิตและวิจัยโดยคนไทย ผ่านการรับรองจาก Harvard university ว่าเป็นอาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุที่ช่วยอาการกระดูกพรุน เสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงไม่เปราะแตกหักง่าย ฟื้นฟูและควบคุมกระดูกบาง เพิ่มประสิทธิภาพของข้อกระดูกทำให้ควบคุมปวดตามข้อได้โดยมีส่วนผสมหลักมาจากปลาทะเลน้ำลึก
วิธีกิน : วันละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า
ขนาดบรรจุ : 30 เม็ด/กล่อง
ราคาโดยประมาณ : 1,390 บาท
5. แคลเซียม ของ Caltrate
อาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุของ Caltrate ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายของผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี เสริมสร้างการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพของกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยใน 1 เม็ด ประกอบด้วย แคลเซียม 600 มก. วิตามินดี3 12.5 มคก. (500 IU) แมกนีเซียม 50 มก. สังกะสี 7.5 มก. ทองแดง 500 มคก. แมงกานีส 1.75 มก.
วิธีกิน : 1 เม็ด หลังอาหาร วันละ 2 ครั้ง
ขนาดบรรจุ : 100 เม็ด/กล่อง
ราคาโดยประมาณ : 518 บาท
6. แคลเซียม แอล- ทรีโอเนต ของ CalZa
อาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุยี่ห้อนี้ เป็นแคลเซียมแบบชงน้ำดื่ม จึงดูดซึมดีมาก อีกทั้งยังไม่มีน้ำตาลและสารกันบูดใดๆ โดยแคลเซียมจะเป็นแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต 1,500 มก. ซึ่งสามารถละลายน้ำได้ดีกว่าแคลเซียมคาร์บอเนต ทำให้ไม่ต้องอาศัยน้ำย่อยในร่างกาย และละลายน้ำได้ทุกสถานะ ไม่ต้องอาศัยวิตามินดีในการดูดซึม ช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันและรักษาภาวะขาดแคลเซียม จึงช่วยป้องกันและเสริมการรักษาโรคกระดูกพรุน ข้อดีอีกประการของแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต คือ ไม่ทำให้ท้องผูก เพราะแตกตัวและละลายได้ดีในน้ำ จึงไม่หลงเหลือหินปูนให้ตกตะกอนหรือสะสมตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทำให้ไม่มีอาการท้องผูก
วิธีกิน : ครั้งละ 1 ซอง ละลายน้ำ 80-100 มล. วันละ 1 ครั้ง เช้าหรือเย็น
ขนาดบรรจุ : 30 ซอง/กล่อง
ราคาโดยประมาณ : 378 บาท
7. แคลเซียมคาร์บอเนต ของ I-CAL
อาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุของ I-CAL นี้เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อม เพื่อเสริมสร้างกระดูกอ่อน ผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวในการใช้ชีวิตประจำวัน มักจะปวดข้อตลอดเวลาหรือปวดมากเวลาใช้งาน เวลาพักก็จะหาย ข้อติดขณะพัก พอขยับก็หายติด ข้อติดหลังจากตื่นนอน หรืออยู่ท่าใดท่าหนึ่งเวลานาน หรือข้อบวมหรือกดเจ็บที่ข้อ โดยแคลเซียมที่ร่างกายได้รับจะช่วยลดการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ รักษาโรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะ และไปบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
วิธีกิน : วันละ 1 เม็ด หลังอาหาร
ขนาดบรรจุ : 30 เม็ด/กล่อง
ราคาโดยประมาณ : 359 บาท
ดูแลตัวเองยังไงดี ?
อายุมากขึ้น ฟังแล้วอาจดูน่ากลัวกับสิ่งที่ตามมา ทั้งผมหงอก ริ้วรอย อาการหลงลืม และที่สำคัญการแก่ชราสามารถนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพที่หลายคนไม่เคยประสบมาก่อนในช่วงอายุยังน้อย แต่นี่ก็คือความท้าทายที่ทุกคนต้องเผชิญเมื่ออายุมากขึ้น และต้องตระหนักว่ามีแนวทางในการดูแลตนเองหรือคนที่รักเช่น ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุบ่อยๆ ปวดเข่าห้ามกินอะไร การออกกำลังกายหรือกิจกรรมเหมาะสม เพื่อให้เข้าสู่เส้นทางการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี เราลองมาดูประเด็นต่างๆ เหล่านี้กัน
• ภาวะทุพโภชนาการ
ภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปี มักไม่ได้รับการวินิจฉัยและอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและกล้ามเนื้ออ่อนแรง สาเหตุของภาวะทุพโภชนาการอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ (ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมอาจลืมกิน : ดูวิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์เพิ่มเติมได้) ภาวะซึมเศร้า โรคพิษสุราเรื้อรัง การจำกัดอาหาร การพบปะทางสังคมที่ลดลง และรายได้ที่จำกัด ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงอาหารเล็กน้อย เช่น การบริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้น การบริโภคไขมันอิ่มตัวและเกลือลดลงสามารถช่วยเรื่องโภชนาการในผู้สูงอายุได้ การใช้อาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุ ตลอดจนการใช้บริการส่งอาหารสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถซื้ออาหารหรือมีปัญหาในการเตรียมอาหาร
• ภาวะโรคเรื้อรัง
ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า ประมาณร้อยละ 92 ของผู้สูงอายุมีโรคเรื้อรังอย่างน้อยหนึ่งโรค และร้อยละ 77 มีอย่างน้อยสองโรค โดยที่โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง และโรคเบาหวานเป็นภาวะสุขภาพเรื้อรังที่พบได้บ่อย แล้วส่งผลให้ผู้สูงอายุเสียชีวิต 2 ใน 3 ของแต่ละปี วิธีการในการป้องกันและดูแลคือ การตรวจสุขภาพประจำปี การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และการออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อช่วยจัดการหรือป้องกันโรคเรื้อรัง ทั้งนี้โรคอ้วนเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นในหมู่ผู้สูงอายุ ซึ่งสาเหตุมักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม
• สุขภาพทางปัญญา
สุขภาพทางปัญญามุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการคิด เรียนรู้ และจดจำ ปัญหาสุขภาพทางปัญญาที่ผู้สูงอายุเผชิญคือ ภาวะสมองเสื่อม โดยมีผู้คนประมาณ 47.5 ล้านคนทั่วโลกที่มีภาวะสมองเสื่อม และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าภายในปี พ.ศ. 2593 ภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุดคือ โรคอัลไซเมอร์ โดยมีผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีเป็นโรคนี้ถึงห้าล้านคน โดยปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเช่น การใช้สารเสพติด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า เอชไอวี และการสูบบุหรี่ แม้ว่ายังไม่มีวิธีรักษาภาวะสมองเสื่อม แต่แพทย์สามารถสั่งจ่ายยาเพื่อควบคุมโรคนี้ได้
• สุขภาพจิต
องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ผู้สูงวัยที่อายุเกิน 60 ปี จำนวนมากกว่า 15% ที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากความผิดปกติทางจิต โรคทางจิตที่พบบ่อยในผู้สูงอายุคือ ภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดขึ้นในประชากรสูงอายุประมาณ 7% น่าเสียดายที่ความผิดปกติทางจิตนี้มักไม่ได้รับการดูแล ส่งผลให้ผู้สูงอายุในสหรัฐอเมริกา กว่า 18% ตัดสินใจจบชีวิตตนเองด้วยการฆ่าตัวตาย ทั้งนี้ภาวะซึมเศร้าอาจเป็นผลข้างเคียงของภาวะโรคเรื้อรัง ดังนั้นการจัดการกับโรคเหล่านั้นจะช่วยได้ทางหนึ่ง ร่วมกับส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ เช่น สภาพความเป็นอยู่ที่ดี การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว เพื่อน หรือการเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนก็สามารถช่วยรักษาภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้นลูกหลานจึงควรหาวิธีสังเกตผู้สูงอายุในบ้านอย่างสม่ำเสมอ
• การบาดเจ็บทางร่างกาย
ทุกๆ 15 วินาที จะมีผู้สูงอายุ 1 คนเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินเนื่องจากการหกล้ม และมีผู้สูงอายุเสียชีวิต 1 รายจากการล้มทุก 29 นาที นี่คือสาเหตุหลักของการบาดเจ็บในผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้นทำให้กระดูกหดตัวและกล้ามเนื้อสูญเสียความแข็งแรงและความยืดหยุ่น ทำให้ผู้สูงวัยมักสูญเสียการทรงตัว เกิดรอยฟกช้ำ และกระดูกหักได้ โดยมีโรคที่ส่งผลต่อความอ่อนแอคือ โรคกระดูกพรุน และโรคข้อเข่าเสื่อม อย่างไรก็ตาม การหกล้มเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถป้องกันได้โดยเพิ่มการออกกำลังกาย เช่น โยคะผู้สูงอายุ และการจัดสถานที่และสิ่งของภายในบ้าน รวมถึงการใช้อาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุ
การลดลงของแคลเซียมเมื่ออายุมากขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ด้วยความที่แคลเซียมมีส่วนสำคัญต่อกระดูกและฟันที่แข็งแรง ประกอบกับการได้รับแคลเซียมจากอาหารของผู้สูงอายุมักไม่พอเพียงต่อความต้องการ อาจจะด้วยไม่อยากรับประทานอาหารหรือเจ็บป่วยจนความอยากอาหารลดลง ดังนั้น อาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุ จึงเป็นข้อแนะนำที่ดีที่จะช่วยทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : thekey.com
Featured Image Credit : freepik.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ