X

รวมโรคที่มากับหน้าร้อน โรคอัปเดตใหม่ที่ต้องระวังในปี 2022

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

รวมโรคที่มากับหน้าร้อน โรคอัปเดตใหม่ที่ต้องระวังในปี 2022

หน้าร้อนแบบนี้  มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน  ได้พักผ่อนอยู่บ้าน จิบน้ำบ๊วยเย็นๆ คงชื่นใจคลายร้อนไปได้มากเลยค่ะ แต่นึกขึ้นมาได้ว่า ปีนี้ 2022 มีความผันผวนของอากาศทั้งหนาว ร้อน ฝนตก จนแทบจะปรับตัวไม่ทันกันเลย แถมยังไม่ผ่านพ้นศึก Covid-19 ที่ยังแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง  การดูแลระวังโรคที่มากับหน้าร้อนปีนี้ คงต้องพิเศษกว่าทุกปี  เลยลุกขึ้นมาเช็คว่ามีอะไรอัพเดตใหม่ของโรคหน้าร้อนมาเล่าสูกันฟัง  เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพตนเองและคนรอบข้างให้ปลอดภัยจาก โรคที่มากับหน้าร้อน  สุขภาพแข็งแรง เจ็บป่วยน้อยที่สุดไปด้วยกันค่ะ

ชวนมาดู โรคที่มากับหน้าร้อน 2022

  1. Summer Cold หวัดหน้าร้อน

หลายๆคน ที่ปรับตัว เข้าออก ห้องแอร์ สลับอากาศร้อนเย็น เร็วๆ บ่อยๆ คงเคยจับหวัดแบบนี้มากันบ้าง แต่ปีนี้จะยื้อเยื้อยาวนาน และเยอะมากขึ้น  หลายคนที่ไม่เคยลิ้มรสหวัดหน้าร้อนมาก่อน อาจจะได้มีประสบการณ์กันในปีนี้ล่ะค่ะ  “หวัด” โรคที่มากับหน้าร้อนก็เหมือนกับหวัดที่มาตอนหน้าฝน หน้าหนาว เกิดจากเชื้อไข้หวัด influenza เช่นกัน แต่อุบัติการณ์ปกติจะอยู่ประมาณ 25% เท่านั้น  ซึ่งน้อยกว่าในฤดูฝน ฤดูหนาวมาก  แต่ในปีนี้ หลายการศึกษาในต่างประเทศตั้งข้อสังเกตุว่า อุบัติการณ์น่าจะเพิ่มขึ้น เพราะช่วงที่ผ่านมา ในช่วง Social Isolation และวิถี New Normal ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยกันตลอดเวลา ลดการสัมผัสเชื้อหวัดได้เป็นอย่างดี   ภูมิคุ้มกันโรคหวัด ที่เคยทำงานได้เข้มแข็ง และแข็งแกร่งมากในหน้าร้อน ถูกลดทอนกำลังลงจากการไม่ได้โดนกระตุ้นมาเป็นเวลานาน หวัดเลยกลายเป็นโรคที่มากับหน้าร้อนปีนี้อีกโรคหนึ่งที่จะต้องระวัง ทั้งไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่างๆ อาจกลับมาได้อีก การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อาจจำเป็นเพื่อช่วยลดการติดเชื้อในกลุ่มเสี่ยงสูง อย่างเช่น เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ

โรคที่มากับหน้าร้อน, โรคหน้าร้อน

เกร็ดสุขภาพ : ทำอย่างไร ? เมื่อเป็นหวัดแดด โรคที่มากับหน้าร้อน ไข้หวัดแดด  คืออาการที่ร่างกายจะสะสมความร้อนเอาไว้มาก จนระบายไม่ทัน มีอาการมีไข้ ตัวร้อน ปวดศีรษะมาก ตาแดง บางคนมีอาการปวดท้องได้ด้วย แต่มักไม่ค่อยคัดจมูก อาจมีน้ำมูกเล็กน้อย  ไม่เจ็บคอ แต่มักขมปากและแสบคอแทน รักษาด้วยการเช็ดตัวลดไข้ กินยาลดไข้ได้เหมือนปกติ  ดื่มน้ำให้เพียงพอ สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี  และควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

  1. Respiratory Synchytial Virus หรือ RSV

ปกติมักจะระบาดในฤดูหนาว พบว่าเป็นโรคที่มากับหน้าร้อนได้มากขึ้น เว็บไซต์นิตยสาร Time ในสหรัฐอเมริกา รายงานการติดเชื้อ RSV เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือนเมษายนปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจเกิดจากการเลื่อนการติดเชื้อมาจากการป้องกันโควิด19  ทำให้การระบาดของไวรัสอื่นๆ ลดน้อยลงตามไปด้วย ประกอบกับในช่วงการป้องกันการระบาดของโควิด ทำให้ช่วงอายุสองขวบปีแรก ของเด็กยุคนี้  ไม่ได้มีโอกาสเจอเชื้อทีละน้อย  ทำให้ไม่สามารถพัฒนาภูมิคุ้มกันธรรมชาติที่เหมาะสม  พอเชื้อเริ่มกลับมาระบาดอีกครั้งในสิ่งแวดล้อมทั้งจากการผ่อนปรนมาตรการ  โรงเรียนเปิดเรียน เปิดการเดินทางท่องเที่ยว การสัมผัสเชื้อครั้งแรกหรือสัมผัสหลังที่ไม่ได้เจอมานาน  ทำให้ปัญหาของโรคดูรุนแรงกว่าเดิม ดังนั้นจึงเป็นหนึ่งในโรคหน้าร้อนของปีนี้ที่ต้องเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นแม้จะไม่ใช่ฤดูกาลตามปกติก็ตาม

โรคที่มากับหน้าร้อน, โรคหน้าร้อน
  1. ท้องร่วง และอาหารเป็นพิษ

แน่นอนว่าเป็นกลุ่มอาการฮิตติดอันดับที่มากับหน้าร้อนทุกๆ ปี เกิดจากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเป็นสาเหตุ ไม่ว่าจะเกิดจากเขื้อโปรโตซัว  ไวรัส บิด หรืออหิวาตกโรค มักจะรวมพล เป็นโรคที่มากับหน้าร้อนแทบจะทุกชนิด เพราะอากาศร้อนทำให้อาหารบูดเสียได้ง่าย เร่งการสะสม และแพร่ขยายของเชื้อโรคได้รวดเร็ว การกินที่ไม่ระมัดระวัง และไม่ถูกสุขลักษณะ ความสะอาด  อาหารหน้าร้อนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเอาใจใส่ ระมัดระวังเป็นพิเศษในหน้าร้อนนี้

เกร็ดสุขภาพ : ป้องกันโรคที่มากับหน้าร้อนให้เลือกรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ไม่นำอาหารอาหารรบูดหรือเสียมาปรุงรับประทาน เชื้อพวกแลคโตบาซิลัสและเชื้อบิดนั้นทนต่อความร้อน  ดังนั้นอาหารที่ทำสุกก็ใช่ว่าจะปลอดภัยทุกชนิด ส่วนอาหารที่ต้องการความสดเช่น อาหารทะเล ควรระมัดระวังการถนอมความสดระหว่างการขนส่งหรือการปนเปื้อน การแช่มาในฟอร์มาลินก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก นอกจากนั้นเครื่องดื่มน้ำแข็ง น้ำหวานก็เช่นกัน ต้องเลือกที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน งดเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทุกประเภทตอนอากาศร้อนจัด เพราะยิ่งอากาศร้อนร่างกายจะดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือดได้รวดเร็วมาก อาจปรับตัวไม่ทันทำให้ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูงขึ้น เป็นลมแดดรุนแรงได้

โรคที่มากับหน้าร้อน_, โรคหน้าร้อน
  1. Heat Stroke

โรคที่มากับหน้าร้อนที่เมืองไทยเราแม้จะเมืองร้อน แต่ก็มีไม่กี่คนที่เคยมีประสบการณ์การเป็นลมแดด ภาวะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกๆ คน กลุ่มเสี่ยงสูงได้แก่คนที่ต้องทำงานกลางแจ้งหรือออกกำลังกายต่อเนื่องในที่อุณภูมิสูง หรือกลางแดดนานๆ นอกจากนั้นก็ขึ้นกับภาวะของคนนั้นๆ ด้วย เช่นโรคประจำตัว อย่างความดันโลหิตสูง อ้วน สูงอายุ และเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ หรือแม้แต่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็เป็นปัจจัยส่งเสริมให้อาการรุนแรงได้ ดังนั้นเมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ร้อนจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ร่างกายจะตอบสนองรุนแรงเพิ่มขึ้นตามลำดับ เป็นแบบนี้

  1. เป็นตะคริวปลายมือ ปลายเท้า หรือบริเวณกล้ามเนื้อ เช่น นักวิ่ง อาจมีตะคริวที่น่อง หรือท้อง เนื่องจากสูญเสียเกลือแร่ไปกับเหงื่อ  
  2. อาการเพลียแดดเนื่องจากสูญเสียน้ำจากเหงื่อออกเยอะ เลือดไปเลี้ยงสมองและอวัยวะต่างๆลดลง จะมีอาการหน้าซีด ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หน้ามืด ตาลาย ถ้าไม่แก้ไขหรือแก้ไขไม่ทันจะเข้าสู่ภาวะเป็น Heat Stroke เนื่องจากระบบการทำงานรักษาอุณหภูมิร่างกายเสียหาย  ตัวจะร้อนจัด  สมองไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ อาการสำคัญที่ต่างจากการเป็นลมแดดทั่วไปคือ ตัวแห้ง ผิวร้อนจัด ไม่มีเหงื่อออก เดินเซ กระสับกระส่าย หมดสติ หรือ ชัก ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์  ต้องรีบให้การรักษาทันที
โรคที่มากับหน้าร้อน_, โรคหน้าร้อน
  1. โรคพิษสุนัขบ้า 

แม้ในสมัยปัจจุบัน วัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ได้ผลดีมาก แต่กฎหมายสัตว์เลี้ยงบ้านเรายังไม่เข้มงวด ประกอบกับ ยังมีสุนัข แมวจรจัดอยู่ทั่วไป ดังนั้นโรคหน้าร้อนจากสัตว์โรคนี้ จึงยังควรต้องระวังกันอยู่เช่นเคย อย่าได้ประมาท แม้จะเป็นสุนัข แมว เลี้ยงเองก็ต้องฉีดวัคซีนให้อย่าได้ขาด ต้องดูแลสอดส่อง เพราะสามารถติดต่อกันได้ในหมู่สัตว์ด้วยกัน บ้านไหนที่เลี้ยงแบบระบบเปิด หมาตามถนน แมวข้างบ้าน ก็อาจเป็นพาหะของโรค ติดต่อกันได้  อย่างไรก็ตาม ต้องสอนเด็กๆ ตอนออกไปท่องเที่ยว ไม่ให้แหย่สัตว์ หรือเล่นกับสัตว์ที่ไม่รู้จักโดยไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะโรคที่มากับหน้าร้อนนั้น ติดต่อจากเขื้อไวรัสในน้ำลายสัตว์ ถ้าโดนกัด โดนข่วน  ต้องทำความสะอาดแผลทันที และรับการฉีดวัคซืนป้องกันพิษสุนัขบ้าควบคู่กับวัคซีนบาดทะยักด้วย

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : wbur.org, ddc.moph.go.th

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save