“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
การนอนดึกมีผลเสียอย่างไร ? ชวนรู้จักกับ Revenge Bedtime Procrastination และปรับวิถีการนอนกัน !
Revenge Bedtime Procrastination คืออะไร ทำไมถึงอยากชวนมารู้จัก ? ลองเช็คดูว่าใครไม่เคยมีประสบการณ์แบบนี้บ้าง ? เวลาในหนึ่งวันแทบไม่เพียงพอสำหรับพื้นที่ชีวิต ทั้งวันยุ่งอยู่กับการทำงาน อีกทั้งงานบ้าน แล้วยังต้องเผื่อเวลาให้คนรัก ลูก และครอบครัว รวมทั้งเรื่องจุกจิกของคนอื่นๆ จนกว่าจะมีเวลาส่วนตัวก็ถึงเวลานอนแล้ว แต่เราก็ยังอยากจะมีเวลาส่วนตัวที่ได้ทำอะไรปรนเปรอตัวเองตามใจบ้าง อยากมีเวลาดูซีรี่ย์ ท่องโซเชียล หรือแม้แต่อยู่เฉยๆ กับตัวเอง แล้วจะทำยังไงดีล่ะ เหนื่อยแค่ไหน ง่วงแค่ไหน ก็ยังไม่อยากเข้านอน แม้จะเพียรบอกตัวเองว่า การนอนดึกมีผลเสียอย่างไร ก็ยังอยากถ่างตาเพื่อได้ทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้ ทั้งๆ ที่รู้ว่าโทษของการนอนดึกเป็นยังไงแต่ห้ามตัวเองไม่ได้ที่จะอยู่ดึกแบบง่วงๆ ต่อให้การนอนดึกมีผลเสียอย่างไรก็โนสนโนแคร์
ใครเป็นแบบนี้ แปลว่า มีสัญญาณของ Revenge Bedtime procrastination แล้วล่ะค่ะ !
แทบทุกคนเคยเป็นใช่ไหมคะ? แต่ถ้าแค่นานๆ ครั้ง ถึงแม้ว่าการนอนดึกจะมีผลเสียอย่างไร ก็ยังไม่เป็นปัญหา แต่หากเป็นบ่อยๆ แทบจะทุกวันจนติดเป็นนิสัย แม้จะว่างทั้งวัน ก็ยังอยากจะ ผัดวันประกันพรุ่งไม่อยากพาตัวเองหลับ จนทำให้การนอนดึกมีผลเสียมากมายตามมา
การนอนดึกมีผลเสียอย่างไร
แน่นอนว่า วันรุ่งขึ้นจะรู้สึกเหนื่อยล้า ความตื่นตัว และสมาธิในการทำงานน้อยลง ทำให้ลดประสิทธิภาพในการทำงาน ความจำเสื่อมถอย จนอาจเป็นเหตุให้เป็นปัญหาความสัมพันธ์ เช่น ลืมวันเกิดแฟน ลืมซื้อของที่จำเป็นกลับเข้าบ้าน ทีนี้การนอนดึกมีผลเสียอย่างไรก็คงไม่ใช่แค่เรื่องส่วนตัวแล้วใช่ไหมคะ ?
แล้วการนอนดึกมีผลเสียอย่างไรต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว ? การนอนน้อยเพิ่มความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หรือโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีเรื่องน้ำหนักตัว ซึ่งการนอนดึกมีผลเสียอย่างไรบ้างก็คือทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นค่ะ เพราะอ่อนเพลีย ล้าอยู่เสมอ การกินจะทำให้เหมือนสดชื่นขึ้น แถมยังเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญอาหารอีก คนนอนดึกจึงเกิดโรคอ้วนง่าย และมีแนวโน้มสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าด้วย นอกจากนี้ยังมีผลกับระบบภูมิคุ้มกัน และแรงขับทางเพศ ซึ่งการนอนดึกทำให้มีผลเสียอย่างไร คงไม่ต้องเดา ก็ต้องทราบกันว่า เป็นไปในทางลบแน่นอน
การนอนดึกมีผลเสียอย่างไร อีกข้อที่ต้องสนใจมากๆ ก็คือ แก่ก่อนวัย ผิวพรรณไม่สดใส เรียกว่าเป็นศัตรูตัวร้ายของความงามเลยค่ะ
สรุปโดยรวม Revenge Bedtime Procrastination คือ การเสียสละเวลานอนหลับโดยเลื่อนเวลานอนออกไปเพื่อที่จะใช้เวลาว่างส่วนตัว เนื่องจากโดนตารางงานและชีวิตประจำวันเบียดบังเวลาส่วนตัวไปหมด การเลื่อนเวลานอนหรือหรือถ้าแปล procrastination แบบใกล้เคียงอารมณ์คนไทยก็คือ “การผัดวันประกันพรุ่ง” นักวิจัยได้ให้ความสนใจกับการผัดวันประกันพรุ่งในการนอนมาหลายปี แต่เพิ่งจะมีการเพิ่มคำ revenge “การแก้แค้น” เข้ามาเมื่อสักสองปี และกลายเป็นที่นิยมในโซเชียลมีเดีย Revenge Bedtime Procrastination มาจากการแปลสำนวนภาษาจีนที่สะท้อนถึงความคับข้องใจที่เชื่อมโยงความเครียดกับชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ทำให้เหลือเวลาให้ความบันเทิงและเวลาส่วนตัวเพียงเล็กน้อย การผัดวันประกันพรุ่งการนอนในเวลากลางคืน จึงถือเป็นวิธีการ “แก้แค้น” ที่ในช่วงกลางวันขาดเวลาว่างส่วนตัวนั้นเอง แนวคิดนี้ก็ดังก้องไปทั่วโลก และได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดจากโควิด-19 ด้วยค่ะ
Revenge Bedtime Procrastination ส่งผลต่อสุขภาพหรือไม่ ?
เราคงคิดว่าการอดนอนเพื่อเพิ่มการดูแล ปรนเปรอ ตัวเอง เช่น การทำสมาธิ การได้ทำสิ่งบันเทิงต่างๆ คงจะไม่เป็นไร ไม่ใช่การไม่นอนเพราะนอนไม่หลับ หรือง่วงแต่นอนไม่ได้สักหน่อย การนอนดึกมีผลเสียอย่างไร ถึงการอดนอนไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม และความเป็นอยู่ที่ดีในระยะยาวได้พอๆกันเลยค่ะ
เกร็ดสุขภาพ : เราต้องการนอนมากแค่ไหนในแต่ละคืน National Sleep Foundation แนะนำไว้ว่า ปริมาณการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพสำหรับผู้ใหญ่คือ 7-9 ชั่วโมง แต่บางคนคงเถียงว่า นอนน้อยกว่านี้ก็เพียงพอ การนอนดึกมีผลเสียอย่างไรไม่รู้เพราะยังสามารถตื่นไปทำงานได้สบายๆ แต่ถ้าเมื่อไรที่ไปทำงานแล้วไม่สามารถมีสมาธิจดจ่องาน มีอาการเหนื่อยเพลียทั้งวัน นั่นคือการนอนดึกมีผลเสียเกิดขึ้นแล้ว มีวิธีทดสอบอีกวิธีที่ทำได้ง่าย และได้ผลดี ว่าเรานอนพอหรือไม่ ก็คือ ลองถามตัวเองว่าสามารถดูหนังในตอนบ่ายโดยไม่หลับได้ไหม ?
ปรับวิถีการนอน วิธีทำลายนิสัย Revenge Bedtime Procrastination
การเลิกนิสัยชอบนอนดึกเพื่อแก้แค้นนั้นพูดได้ง่ายกว่าทำ การแก้ไข Revenge Bedtime Procrastination คือมีหลายวิธีที่เคยเสนอไว้ในตื่นกลางดึก-เวลาเดิมที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ นอกจากนั้นเพื่อให้การนอนหลับกลับมาเป็นปกติลองใช้วิธีเหล่านี้ดูค่ะ
1. แทรกเวลาพักผ่อนระหว่างช่วงทำงาน
บางครั้งเราไม่สามารถควบคุมวันอันยุ่งเหยิงได้ ดังนั้นจึงเป็นการดีที่จะหาเวลาระหว่างวันที่สามารถมีเวลาพักผ่อนได้เพียงชั่วครู่ ลองฝึกหายใจลึกๆ วันละหลายๆ ครั้งเพื่อสร้างความผ่อนคลาย หรือระหว่างรอประชุม หาอะไรเพลินๆ ดูจากมือถือสักแว้ป แอบดูซีรี่ย์ที่ค้างไว้ระหว่างพักรับประทานอาหารเที่ยง เป็นต้น
2. แทรกเวลองฝึกนิสัยกิจวัตรก่อนนอน
ฝึกเป็นกิจกรรมผ่อนคลายโดยไม่ส่งผลเสียต่อการนอน ลักษณะกิจกรรมที่ดีคือไม่เสียเวลาเข้านอน และไม่ขัดขวางการนอนหลับ ควรหลีกเลี่ยงการกระตุ้นจากหน้าจอ เช่น จากโทรศัพท์มือถือหรือทีวี วิธีการเช่น รวบการอาบน้ำก่อนนอนเข้ากับการผ่อนคลายด้วยอโรมาเธอราพี การอ้อยอิ่งกับการทาครีมบำรุงผิวเพื่อให้เวลาส่วนตัวกับตัวเองเพิ่มขึ้น
3. หัดปฎิเสธงานที่ไม่จำเป็น ที่เพิ่มภาระงานระหว่างวัน
จัดลำดับความสำคัญของงาน และมอบหมายงานออกไปบ้าง เรียนรู้ที่จะไว้ใจทีมงาน ไม่ต้องยึดทุกอย่างไว้ที่ตัวเอง
4. แยกชีวิตที่บ้านและชีวิตการทำงาน
การกำหนดขอบเขตเหล่านี้มีความสำคัญมาก ควรแบ่งแยกระหว่างที่นอน และที่ทำงาน หลีกเลี่ยงการทำงานจากเตียงในทุกกรณี
อย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยาพบว่า มีความสัมพันธ์ ของ Revenge Bedtime Procrastination คือ นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง เรื่องเล็กน้อยอื่นๆ ก็มักจะพัฒนานิสัยการนอนดึกแบบนี้ด้วย การฝึกฝนเพื่อเอาชนะนิสัยนี้ได้ เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ที่ทำได้ง่าย เช่น อย่าไม่ยอมไปห้องน้ำเพราะติดแชท ให้ชื่นชมตัวเองเมื่อทำได้ดี ให้เวลากับตัวเอง มันอาจจะไม่ได้ยอดเยี่ยมเสมอไป แต่อย่าท้อแท้ กลับมาเริ่มได้ใหม่เสมอ และทำอย่างต่อเนื่องทีละเล็กน้อย จนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเรื่อยๆ
เกร็ดสุขภาพ : หากมีสักหนึ่งหรือสองชั่วโมงเพื่อพักผ่อนระหว่างวันก็เยี่ยมไปเลย แต่ถ้าไม่มี และเป็นการต้องตัดสินใจว่าจะนอนดูตอนใหม่ใน Netflix ทำกิจกรรมผ่อนคลายอื่นๆ หรือเข้านอนดี การนอนควรมาก่อน การนอนดึกมีผลเสียอย่างไร เราทราบกันดี ดังนั้นเวลานอนควรต้องนอน จะได้รู้สึกสดชื่นในตอนเช้า และสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เลี่ยงการปรนเปรอตัวเองในแบบที่ไม่ต้องเสียสละการนอนหลับจะดีที่สุด เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง สวยสดใสตลอด ไม่แก่ก่อนวัยค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : everydayhealth.com, sleepfoundation.org, goodhousekeeping.com
Featured Image Credit : freepik.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ