X

รู้จัก Pet Therapy สุขภาพจิตดีขึ้นได้ จากการดูแลสัตว์เลี้ยงจริงมั้ย ?!

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

รู้จัก Pet Therapy สุขภาพจิตดีขึ้นได้ จากการดูแลสัตว์เลี้ยงจริงมั้ย ?!

มีใครเลี้ยงสัตว์บ้างคะ ? ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว นก กระต่าย หรือสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ สัตว์เลี้ยงไม่ได้ช่วยให้เราหายเหงาเท่านั้น บางคนนับว่าสัตว์เลี้ยงเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว เป็นเพื่อนสนิท เป็นน้อง เป็นลูก ซึ่งเรารักและผูกพันไม่น้อยไปกว่ากัน ในบทความนี้ เพื่อสุขภาพ จะพาไปรู้จักกับ Pet Therapy หรือการใช้สัตว์เลี้ยงบำบัดรักษาอาการป่วยทางด้านจิตใจ ที่มีการศึกษาพบว่า การมีสัตว์เลี้ยงนั้นดีต่อสุขภาพจิตของมนุษย์เรา แต่ว่าการมีสัตว์เลี้ยงนั้นดียังไง ช่วยในเรื่องจิตใจของเราได้อย่างไร มาเจาะลึกกันเลยค่ะ

ชวนรู้จัก Pet Therapy เมื่อการมีสัตว์เลี้ยงดีต่อใจของเรามากกว่าที่คิด

Pet therapy, Pet therapy งานวิจัย
Image Credit : freepik.com

Pet Therapy หรือการใช้สัตว์เลี้ยงบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะทางจิตใจ เป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1860 ทั้งนี้ Sigmund Freud นักจิตวิทยาสายจิตวิเคราะห์ได้สนับสนุนแนวคิดสัตว์เลี้ยงบำบัดด้วยเช่นกัน โดยให้ผู้รับการบำบัดเล่นกับสุนัขของเขาและพบว่า ผู้เข้ารับการบำบัดมีแนวโน้มจะเปิดใจมากขึ้น นอกจากนี้ แนวคิดเกี่ยวกับ Pet Therapy ในงานวิจัยของ E. Paul Chemiack และคณะ ที่ตีพิมพ์ในวรสาร Current Gerontol Geratic Research ปี 2014 ยังพบว่า การใช้สัตว์เลี้ยงบำบัดอย่างเพื่อนสี่ขานั้นยังช่วยในเรื่องสุขภาพจิตของผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี เช่น ความเหงา ความโดดเดี่ยว การแยกตัวออกจากสังคม เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาเรื่อง Psychosocial and Psychophysiological Effects of Human-Animal Interactions : The Possible Role of Oxytocin ที่ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ frontiers ก็ชี้ให้เห็นว่า สัตว์เลี้ยงนั้นส่งผลดีในด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล และช่วยฟื้นฟูร่างกายได้อีกด้วย จะเห็นว่าแนวคิดเกี่ยวกับการใช้สัตว์เลี้ยงเพื่อการบำบัดในงานวิจัยต่างๆ นั้น ได้ยืนยันถึงผลลัพธ์ในการใช้สัตว์เลี้ยงบำบัดต่อผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยทางใจได้เป็นอย่างดี เรามาดูข้อดีของการใช้สัตว์เลี้ยงบำบัดให้มากขึ้นกันต่อเลยค่ะ

PEDIGREE อาหารสุนัขชนิดเม็ดสำหรับสุนัขโตพันธุ์เล็ก 8 กก.

ข้อดีของ Pet Therapy ที่มีต่อสุขภาพจิต

Pet therapy, Pet therapy งานวิจัย
Image Credit : freepik.com

1. ช่วยเพิ่ม Self – Esteem

Pet Therapy ช่วยให้เรามี Self – Esteem หรือมีความนับถือตนเองมากขึ้น เนื่องจากการดูแลสัตว์เลี้ยงช่วยให้เรารู้สึกมั่นใจในตนเองมากขึ้น และอาจทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจมากขึ้นที่ดูแลสัตว์เลี้ยงของเราได้ดี หรือฝึกสัตว์เลี้ยงให้ทำตามคำบอกได้ เช่น ฝึกสุนัขให้ยกขาสวัสดี หรือไปเก็บลูกบอล เป็นต้น นอกจากนี้ การที่สัตว์เลี้ยงมาแสดงความรักกับเรา เช่น สุนัขกระดิกหางให้เรา หรือมาเลียมือเรา แมวมาคลอเคลียเรา ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นและรู้สึกว่าได้รับความรักความสนใจมากขึ้นนั่นเอง

2. ช่วยลดระดับความเครียด

การลูบสัตว์ เช่น ลูบหัวแมว ลูบตัวสุนัข จะช่วยให้มนุษย์รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น โดยร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินออกมา ทำให้รู้สึกสงบลงและช่วยลดระดับความเครียดได้ ซึ่งส่งผลดีอย่างยิ่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมที่ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างปกติ (ในกรณีที่มีอาการหลงๆ ลืมๆ ภาษาที่ใช้ประจำวัน) การใช้เวลาอยู่กับสัตว์เลี้ยงโดยการสัมผัสเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์โดยไม่ต้องมีการสื่อสารใดๆ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสงบมากขึ้น ทั้งนี้ การบำบัดด้วยสัตว์เลี้ยงยังส่งผลดีต่อเด็กๆ ที่มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์และยังสามารถแก้ไขปัญหาในด้านการพูดได้อีกด้วย

3. ช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้

ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าหรือเป็นโรคซึมเศร้าอาจมีพฤติกรรมหลีกหนีการเข้าสังคม ไม่อยากพบปะผู้คนเพราะรู้สึกไม่สบายใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว และรู้สึกเศร้ายิ่งกว่าเดิม ทั้งนี้การใช้เวลาอยู่กับสัตว์เลี้ยงเช่นสุนัข แมว จะทำให้รู้สึกสบายใจมากขึ้น รู้สึกได้รับการปลอบประโลมจากสัตว์เลี้ยงคู่ใจซึ่งจะช่วยลดความรู้สึกโดดเดี่ยวได้ ทำให้รู้สึกเหงาน้อยลง มีความสุขและเพลิดเพลินกับการใช้เวลาอยู่กับสัตว์เลี้ยงแสนรัก ซึ่งจะช่วยลดอาการซึมเศร้าได้

Pet therapy, Pet therapy งานวิจัย
Image Credit : freepik.com

4. ช่วยให้มองโลกในแง่บวกมากขึ้น

งานวิจัยที่ศึกษาในผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านอารมณ์ พบว่า สัตว์เลี้ยงช่วยให้ผู้ป่วยมีความเป็นมิตรมากขึ้น และยังส่งเสริมให้มีการมองโลกในแง่บวกมากขึ้นด้วย เช่นเดียวกับการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าใส่ใจตนเองมากขึ้น เนื่องจากสัตว์เลี้ยงช่วยลดความเบื่อโลก เพิ่มความสนุกสนานในชีวิต รู้สึกสดใสและมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วย

5. ช่วยให้สมาธิดีขึ้น

การรักษาผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้นด้วยวิธีสัตว์เลี้ยงบำบัด พบว่า ผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้นมีการจดจ่อและสนใจสิ่งต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น ใส่ใจคนรอบข้างและผู้คนรอบข้างมากขึ้น การมีสัตว์เลี้ยงยังช่วยในการฝึกการรับผิดชอบชีวิตผู้อื่น และทำให้มีระเบียบวินัยในชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย

BubbleBear CLEANER 3.5 ลิตร น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ 

เกร็ดสุขภาพ : Pet Therapy นอกจากจะส่งผลให้มีสุขภาพจิตดีขึ้นแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพกายของเราอีกด้วย กล่าวคือ ช่วยให้เรามีการขยับเขยื้อนร่างกายมากขึ้น เช่น การพาสุนัขออกไปเดินเล่น การวิ่งเล่นกับสุนัข หรือแม้แต่การพาสุนัขไปตัดขน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้เลี้ยงมีความกระฉับกระเฉงมากขึ้น ได้เคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น อันเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบประสาทที่จำกัดการเคลื่อนไหว เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS) เป็นต้น

ชวนดูชนิดสัตว์เลี้ยงสำหรับ Pet Therapy ยอดนิยม

Pet therapy, Pet therapy งานวิจัย
Image Credit : freepik.com
  1. สุนัข เพราะน้องหมานั้นมีความน่ารักสดใส ดูกระตือรือร้นและให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา สนุกสนาน จึงมักจะถูกนำมาใช้บำบัดด้านจิตใจ ลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า สายพันธ์ุยอดนิยมก็ได้แก่ โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ ลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์ เป็นต้น
  2. แมว มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าเสียงเพอร์ของแมวนั้นช่วยให้มนุษย์ผ่อนคลายได้ ในประเทศญี่ปุ่นใช้แมวในการบำบัดผู้ป่วยมามากกว่า 10 ปี โดยจะเป็นการนำน้องแมวไปหาผู้ป่วยหรือไปที่บ้านพักคนชราเพื่อให้ผู้สูงอายุได้เล่นกับน้องแมวและรู้สึกผ่อนคลาย มีความสุขมากขึ้น
  3. โลมา นับว่าเป็นสัตว์ที่มีสติปัญญาสูง สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ได้และมีความเป็นมิตรอีกด้วย นอกจากนี้ โลมายังสามารถปล่อยคลื่นความถี่ออกมาทำให้มนุษย์รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
  4. ม้า หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาชาบำบัด มักจะนำมาใช้ในการบำบัดเด็กออทิสติกหรือเด็กสมาธิสั้น ซึ่งจะช่วยในการควบคุมเคลื่อนไหวร่างกาย และช่วยให้เด็กมีสมาธิจดจ่ออยู่กับการทรงตัวได้มากขึ้น เป็นการฝึกสมาธิให้กับเด็กๆ ทั้งนี้ การให้เด็กได้ลองแปรงขนม้า สัมผัสม้า ยังเป็นการฝึกให้เด็กมีเมตตาต่อสัตว์และมีจิตใจอ่อนโยนมากขึ้นด้วย

เกร็ดสุขภาพ : มีการศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้สัตว์เลี้ยงบำบัดในงานวิจัยที่เผยแพร่ใน Applied Animal Behaviour Science ระบุว่า สุนัขที่ทำหน้าที่ช่วยบำบัดผู้ป่วยไม่ได้รู้สึกเครียดจากการทำงาน ตรงกันข้ามในบางกรณี สุนัขบางตัวรู้สึกมีความสุขเสียด้วยซ้ำ การวิจัยครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยมากกว่าหนึ่งร้อยราย และสุนัขช่วยเยียวยาอีก 26 ตัว รายงานจาก Amy McCullough หัวหน้าวิจัยและผู้อำนวยการด้านการวิจัยและบำบัดแห่งชาติจาก American Humane ในวอชิงตัน ดี. ซี.

ข้อควรระวังในการใช้สัตว์เลี้ยงบำบัด

การใช้สัตว์เลี้ยงเพื่อการบำบัดนั้น อาจไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ เช่น แพ้ขนสัตว์ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ทั้งนี้ อาจไม่เหมาะกับคนที่ไม่ชอบสัตว์หรือกลัวสัตว์บางชนิด เช่น กลัวสุนัข กลัวแมว กลัวม้า เพราะอาจก่อให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นจนได้ผลลัพธ์ตรงข้ามได้ สำหรับการบำบัดในเด็ก ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างถูกวิธีและอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เข้ารับการบำบัดเป็นหลักค่ะ

PEDIGREE อาหารสุนัขโต – อาหารสุนัขชนิดแห้ง, 3 กก.

จะเห็นว่า Pet Therapy หรือการมีสัตว์เลี้ยงนั้น ช่วยให้สุขภาพจิตของเราดีขึ้นจริง และยังทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้นอีกด้วย อย่างน้อยก็ทำให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวและมีพื้นที่ปลอดภัยที่สามารถนั่งระบายความในใจหรือนั่งร้องไห้ไปด้วยกันโดยที่ไม่โดนบ่นหรือถูกมองว่าเป็นคนอ่อนแอ เพราะสัตว์เลี้ยงนั้นเป็นเพื่อนที่ดีของเราเสมอ อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงสัตว์นั้นเป็นการรับผิดชอบชีวิตหนึ่งทั้งชีวิตที่มีจิตใจมีความรู้สึก ดังนั้นจะต้องมีความพร้อมจริงๆ และมั่นใจว่าตนเองจะไม่ทอดทิ้งพวกเขา หากไม่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้จริงๆ การไปเล่นกับสัตว์อย่างไปคาเฟ่สุนัข คาเฟ่แมว ก็สามารถสร้างความผ่อนคลายให้กับเราได้เช่นกัน เพียงแค่เห็นความน่ารักของน้องหมาน้องแมว เชื่อว่าจะต้องยิ้มออกมาอย่างแน่นอนค่ะ

Featured Image Credit : freepik.com/prostooleh

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save