X

Burnout Syndrome คืออะไร ? มาเช็กกันว่าคุณเป็นหรือไม่ แล้วมีวิธีการป้องกันยังไง ?

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

Burnout Syndrome คืออะไร ? มาเช็กกันว่าคุณเป็นหรือไม่ แล้วมีวิธีการป้องกันยังไง ?

ด้วยสภาวะต่างๆ ในยุคปัจจุบัน รวมกับความเครียดเรื้อรังในการทำงาน อาจส่งผลให้เราเกิดอาการที่เรียกว่า ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout Syndrome ได้ ซึ่งโรคนี้เป็นผลมาจากความเครียดจากการทำงานโดยตรง ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนทางด้านจิตใจ รู้สึกเบื่อหน่าย เหนื่อยล้าทางอารมณ์ ขาดความสนุกสนานในการทำงาน และขาดแรงจูงใจ หากปล่อยไว้นานๆ จะไม่ดีต่อทั้งตนเองและต่องานที่ทำ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลงอีกด้วย และถ้านานวันไปก็เสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วย และเพื่อสำรวจตัวเองรวมถึงรู้ถึงสาเหตุและวิธีป้องกัน เราจะพาทุกคนไปรู้จักว่า burnout syndrome คืออะไรกันค่ะ

  • burn out syndrome คือ อะไร มารู้จักโรคนี้ให้ดี พร้อมรู้ถึงวิธีป้องกัน
หมดไฟ คือ, burn out syndrome คือ

อาการ burnout syndrome คือความเหนื่อยหน่ายและหมดไฟในการทำงาน เป็นสภาวะของความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ เนื่องมาจากร่างกายและจิตใจที่มีความเครียดมากเกินไปและสะสมเป็นเวลานาน และเป็นอาการเรื้อรังที่ยังไม่สามารถจัดการได้สำเร็จ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อคุณรู้สึกหนักใจ หมดพลังงาน อยากระบายอารมณ์ และไม่สามารถตอบสนองความต้องการอย่างต่อเนื่องได้ เมื่อความเครียดดำเนินต่อไปก็จะเริ่มสูญเสียความสนใจและแรงจูงใจที่เคยมี และส่งผลต่อการทำงานในที่สุด

นอกจากนี้ผลเสียของ burnout syndrome คือความเหนื่อยหน่ายนั้นจะแผ่ซ่านไปทั่วทุกด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน และชีวิตทางสังคม ซึ่งความรู้สึกหมดไฟ คืออาการที่ยังสามารถทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวได้ ซึ่งจะทำให้คุณเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย เช่น หวัดและไข้หวัดใหญ่ และด้วยผลที่ตามมามากมายนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรจะต้องจัดการกับอาการหมดไฟนี้ให้ได้เร็วที่สุด

เกร็ดสุขภาพ : เช็กลิสต์ดูว่าคุณมีความรู้สึกแบบนี้หรือไม่ถ้าหากมีนั่นแปลว่าคุณกำลังเข้าข่ายที่จะมีความเสี่ยงในการเป็น burnout syndrome คือทุกวันเป็นวันที่เลวร้าย การดูแลเกี่ยวกับที่ทำงาน หรือชีวิตในบ้านของคุณ ดูเหมือนจะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยสิ้นเชิง คุณหมดแรงตลอดเวลา วันของคุณส่วนใหญ่หมดไปกับงานที่คุณรู้สึกว่าน่าเบื่อหน่ายหรือน่าหนักใจ  คุณรู้สึกว่าไม่มีสิ่งใดที่ทำให้รู้สึกถึงความแตกต่าง หรือรู้สึกได้รับการชื่นชม

  • สัญญาณและอาการของความเหนื่อยหน่ายหมดไฟ คืออะไรบ้าง
หมดไฟ คือ, burn out syndrome คือ

อาการเหนื่อยหน่ายต่องาน หรือหมดไฟในการทำงาน อย่าง burnout syndrome คือ กระบวนการที่ค่อยๆ เกิดอย่างช้าๆ  มันไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน แต่มันสามารถคืบคลานเข้ามาหาคุณได้ ซึ่งอาการที่แสดงออกจะดูไม่หนักหนาในตอนแรก แต่จะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งหากว่าคุณสังเกตได้ถึงอาการผิดปกติด้านล่างนี้ ก็ควรต้องได้รับการแก้ไข เพราะหากคุณใส่ใจและลดความเครียดลงอย่างจริงจัง คุณจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้ แต่หากคุณเพิกเฉยต่อสิ่งเหล่านี้คุณจะเกิดอาการหมดไฟในที่สุด และอาการของ burnout syndrome คืออาการดังนี้

สัญญาณและอาการทางกายภาพ

  1. รู้สึกเหนื่อยเกือบตลอดเวลา
  2. ภูมิคุ้มกันลดลง เจ็บป่วยบ่อย
  3. ปวดหัวบ่อย หรือปวดกล้ามเนื้อ
  4. ไม่มีความอยากอาหาร
  5. มีพฤติกรรมการนอนหลับที่เปลี่ยนไป

สัญญาณและอาการทางอารมณ์

  1. มีความรู้สึกล้มเหลวและสงสัยในตนเอง
  2. รู้สึกหมดหนทาง ติดกับดักและพ่ายแพ้
  3. มีความรู้สึกโดดเดี่ยวในโลก
  4. สูญเสียแรงจูงใจ
  5. มีทัศนคติเชิงเหยียดหยามและเชิงลบที่เพิ่มมากขึ้น

สัญญาณทางพฤติกรรม

  1. ขาดความรับผิดชอบ
  2. แยกตัวเองจากผู้อื่น
  3. ผัดวันประกันพรุ่ง และใช้เวลานานกว่าจะทำงานเสร็จสิ้น
  4. มีการใช้อาหาร ยา หรือแอลกอฮอล์เพื่อรับมือกับอาการที่เป็น
  5. เริ่มมาทำงานสายและออกก่อนเวลา

เกร็ดสุขภาพ :  ความแตกต่างระหว่างความเครียดและความหมดไฟ คือ ความรู้สึกหมดไฟอาจเป็นผลมาจากความเครียดที่ไม่ลดละ ซึ่งต่างจากความเครียดทั่วไปที่เรายังสามารถควบคุมทุกอย่างได้ และเมื่อช่วงเวลานั้นผ่านไปก็จะรู้สึกดีขึ้น ในทางกลับกัน burn out syndrome คืออาการที่มีความรู้สึกว่างเปล่า เหนื่อยล้าทางจิตใจ และปราศจากแรงจูงใจ จนเกิดความเครียดมากเกินไป และมักจะไม่สังเกตเห็นความหมดไฟนี้เมื่อมันเกิดขึ้น

  • สาเหตุของ burnout syndrome คืออะไร
หมดไฟ คือ, burn out syndrome คือ
Image Credit : prachachat.net

ความรู้สึกหมดไฟนั้นมักเกิดจากงานของคุณ แต่ความเหนื่อยหน่ายไม่ได้เกิดจากการทำงานที่เครียดหรือความรับผิดชอบมากเกินไปเพียงอย่างเดียว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกรวมถึงวิถีชีวิตและลักษณะบุคลิกภาพของคุณด้วย ซึ่งสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ได้แก่ รู้สึกเหมือนคุณควบคุมงานของได้น้อยหรือไม่ได้เลย ขาดการยอมรับหรือให้รางวัลสำหรับการทำงานที่ดี ความคาดหวังในงานที่ไม่ชัดเจนหรือเรียกร้องมากเกินไป ทำงานที่ซ้ำซากจำเจหรือไม่ท้าทาย และทำงานในสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายหรือมีความกดดันสูง

ส่วนสาเหตุจากวิถีชีวิต ได้แก่ ทำงานมากเกินไปไม่มีเวลาเพียงพอสำหรับการสังสรรค์หรือพักผ่อน ขาดความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด มีความรับผิดชอบมากเกินไปโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น มีการนอนหลับไม่เพียงพอ นอกจากนี้ลักษณะบุคลิกภาพสามารถนำไปสู่ความหมดไฟได้ คือ เป็นคนที่มีแนวโน้มสมบูรณ์แบบ มองตัวเองและโลกในแง่ร้าย หรือบุคลิกภาพคนที่ประสบความสำเร็จสูง

  • จัดการกับความหมดไฟได้อย่างไรบ้าง

ไม่ว่าคุณจะรับรู้สัญญาณเตือนของความหมดไฟที่กำลังจะเกิดขึ้นหรือไม่ แต่การพยายามฝ่าฟันความเหนื่อยล้าและทำต่อไปอย่างที่เคยเป็นจะทำให้เกิดความเสียหายต่อทั้งร่างกายและจิตใจมากขึ้น ลองจัดการกับภาวะหมดไฟ ดังต่อไปนี้

  1. รับรู้และระวังสัญญาณเตือนของความหมดไฟ
  2. จัดการกับความเสียหายที่เกิด โดยมองหาการสนับสนุนและจัดการความเครียดนั้น
  3. สร้างความยืดหยุ่นต่อความเครียดด้วยการดูแลสุขภาพกายและอารมณ์
  • วิธีแก้ไขป้องกัน
หมดไฟ คือ, burn out syndrome คือ
  1. นอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลา อย่าใช้เวลาในการคิดและกังวลในเรื่องงานมากจนเกินไป
  2. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และกินแต่อาหารที่มีประโยชน์
  3. ลดความเครียดลงด้วยการหากิจกรรมทำ ไม่ว่าจะดูหนัง ฟังเพลง หรือออกกำลังกาย
  4. ปรับทัศนคติในการทำงานใหม่ ด้วยการทำความเข้าใจในเนื้องานที่รับผิดชอบ และเข้าใจถึงองค์กรที่ทำงานอยู่ 5. เปิดใจให้กับคนรอบข้างบ้าง หากมีปัญหาในเรื่องงานอย่าลังเลที่จะปรึกษาเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน และพยายามใช้วิธีมองโลกในแง่ดี เปิดใจรับฟังไม่อคติ

ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ burnout syndrome คืออาการที่เรารู้สึกเบื่อหน่ายต่องาน หมดแรงจูงใจ และส่งผลกระทบต่อทั้งหน้าที่การงานและชีวิตส่วนตัว ซึ่งจะยังไม่ถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้า แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่รู้สึกเศร้า หดหู่ เบื่อหน่ายกับสิ่งรอบตัว ไม่มีความสุข และทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิต อาการเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นถึงขั้นโรคซึมเศร้าได้ เพื่อความปลอดภัยหากพบว่าตนเองมีอาการที่รุนแรง ควรรีบไปพบจิตแพทย์เพื่อจะได้ทำการรักษาต่อไป นอกจากนี้การมีสุขภาพจิตดี จะทำให้เราไม่เสี่ยงกับการเป็นทั้งภาวะ burn out syndrome และโรคซึมเศร้านั่นเองค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : helpguide.org, paolohospital.com, bangkokhospital.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save