X

5 โรคระบาดในไทย ที่กลายเป็นโรคประจำถิ่น (ปรับตัวยังไงในสถานการณ์ Covid ปัจจุบัน)

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

5 โรคระบาดในไทย ที่กลายเป็น โรคประจำถิ่น (ปรับตัวยังไงในสถานการณ์ Covid ปัจจุบัน)

ในยุคระบาดใหญ่ของโควิด19 ที่ส่งผลกระทบชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั้งโลก และก็ดูเหมือนว่าเชื้อโรคช่างรุนแรงและเก่งกาจกลายสายพันธุ์ให้ทางการแพทย์รับมือแทบไม่ไหว ทำให้หลายๆ คนวิตกกังวลว่าแล้วเราจะกลับมามีชีวิตปกติกันเหมือนเดิมได้ไหม แต่ว่ากันด้วยเรื่องโรคระบาดจริงแล้วโลกเราโดนคลื่นโรคระบาดกระหน่ำมาหลายระลอกคนเจ็บป่วยล้มตายกันเรือนล้านเรือนแสนมาหลายครั้งหลายครา แต่มนุษยชาติก็สามารถผ่าฝันเอาชนะมาได้ ตัวอย่างเช่น “ความตายสีดำ black dead  หรือ กาฬโรค” ที่ระบาดไปทั่วโลก ตอนนี้โรคนี้เป็นเพียงตำนานหมดหายไปจากโลกไปแล้ว ส่วน “โรคเอดส์” ที่ทำให้แตกตื่นกันไปทั่วโลกเมื่อ 30 ปีก่อน ถึงโรคจะยังไม่หายไปไหนยังมีคนติดเชื้อเพิ่มอยู่เนืองๆ  แต่เรายังอยู่ร่วมกับการมีเชื้อโรคได้ไม่ได้หวั่นหวาดกลัวมากมายเหมือนสมัยก่อนแล้ว  มีการปรับเปลี่ยนทางด้านสังคมวัฒนธรรมไปบ้างและเพิ่มระเบียบปฏิบัติ ความระมัดระวังมากขึ้นเข่น ต้องมีผลตรวจ anti-HIV ก่อนเข้ารับการผ่าตัด การให้เลือด รับเลือด หรือแม้แต่ save-sex ก็กลายเป็นวิถีปกติหลังการรณรงค์กันเต็มที่ จะเห็นว่ามนุษย์เรามีการปรับตัวเพื่อการอยู่อย่างปกติแม้ว่าโรคระบาดยังหายไปไหน 

โรคประจำถิ่น, โรคระบาดในไทย

ช่วงนี้ใครที่ตามข่าวก็เลยจะได้ยินเรื่อง การพยายามพยายามหามาตรการมาลดระดับการระบาดของโควิด 19 มาเป็นโรคประจำถิ่น แม้ยังเป็นเรื่องที่ยากลำบากแต่เมื่อเทียบกับสมัยก่อน วิวัฒนาการทางการแพทย์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งกว่าก้าวกระโดด ก็เป็นจุดแข็งสำคัญ ที่จะทำให้เป้าหมายเป็นจริงได้  ที่สังเกตชัดเจนก็ได้แก่เรื่องวัคซีน ที่สามารถพัฒนามาได้อย่างรวดเร็ว สามารถลดความรุนแรงของโรค  การนำแนวคิด “โรคประจำถิ่น” มาค่อยๆ ปรับใช้ในหลายๆประเทศ อย่างเช่น สิงคโปร์, อังกฤษ ก็เริ่มเห็นผลในทางที่ดี 

โรคประจำถิ่น, โรคระบาดในไทย

อย่างไรก็ตาม  โรคประจำถิ่น  ไม่ได้หมายความว่าเป็นโรคที่ไม่รุนแรงแล้ว หรือจะไม่ป่วย ไม่เสียชีวิต แต่หมายถึง ได้จัดมาตรการให้มีวิธีการจัดการ การรับมือ ให้สามารถควบคุมความรุนแรงและการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถอยู่ร่วมกับโรคได้อย่างปลอดภัย ไม่ต้องมีข้อกำจัด มาตรการวุ่นวายเยอะแยะ จน กระทบชีวิตประจำวันปกติ  และไม่ต้องกักกันโรคอีกต่อไป ซึ่งทางระบาดวิทยาก็มีข้อกำหนดหลายประการจึงจะสามารถที่ประกาศเป็นโรคประจำถิ่นได้ ซึ่งวันนี้จะพามาย้อนอดีตดูประสบการณ์จากโรคระบาดต่างๆ ที่กลายมาเป็นโรคประจำถิ่นกันค่ะ

โรคประจำถิ่น, โรคระบาดในไทย

5 โรคระบาดในไทย ที่กลายมาเป็นโรคประจำถิ่น 

  1. ไข้เลือดออก

เป็นโรคประจำถิ่นที่รู้จักกันดีและเป็นที่หวั่นวิตกของพ่อแม่ไม่น้อยกว่าภูมิแพ้ในเด็ก เป็นโรคระบาดที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายเป็นพานะ เคยก่อปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลกเนื่องจากโรคได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 30 ปีที่ผ่านมา แต่ต่อมากลายเป็นโรคประจำถิ่นของมากกว่า 100 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย  แม้ว่าการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกยังอยู่ในขั้นการพัฒนา แต่ระบบการเข้าถึงการรักษาอย่างทันท่วงทีการเฝ้าระวังโรค การคาดการณ์สถานการณ์การเกิดโรคและการรณรงค์กำจัดแหล่งพาหะตามฤดูกาล ก็ทำให้เราอยู่ร่วมกับไข้เลือดออกได้มาหลายทศวรรษ

โรคประจำถิ่น, โรคระบาดในไทย
  1. โรคเรื้อน

อีกหนึ่งโรคระบาดในไทยที่เคยเป็นปัญหาระบาดหนักมากจนเป็นที่มาของสถาบันราชประชาสมาสัย สมัยก่อนการระบาดของโรคเรื้อนหรือที่เรียกว่าขี้ทูด กุฏฐัง มีอาการแสดงออกบนผิวหนังแต่หากรุนแรงก็ถึงแก่ชีวิตได้  ในช่วงระบาดหนักมีเสียชีวิตทุกวัน มีผู้ป่วยเป็นแสนๆ ตอนที่การแพทย์ยังไม่เจริญไม่รู้จักโรคติดต่อ ผู้คนต่างรังเกียจผู้ป่วยโรคเรื้อนมาก บางทีถึงกับเชื่อว่าเป็นโรคของผลกรรม มีความพิกลพิการ อัปลักษณ์ บางทีก็ถูกขับไส เนรเทศ ถูกตราว่าเป็นคนบ้า วิกลจริต  แม้หลังๆ แพทย์แผนตะวันตกในบ้านเราเจริญขึ้น อธิบายได้ว่าเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่หมอสมัยแรกๆ ยังต้องอาศัยร่มไม้เพื่อตรวจรักษาผู้ป่วย  เพราะคนทั่วไปยังรังเกียจผู้ป่วยอย่างมาก เกรงว่าถ้านำผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลแล้วจะทำให้คนอื่นๆ ไม่กล้ามาโรงพยาบาล  ต่อมาการแพทย์เจริญมากขึ้นมีการแยกผู้ป่วยและส่งรักษาใน “นิคมโรคเรื้อน” หลายแห่งทั่วไทยกระทั่งหายดีจึงกลับคืนบ้านเรือนได้ ร่วมกับการจัดหน่วยงานในการค้นหาผู้ติดเชื้อรายใหม่เพราะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่มียารักษาได้ผลดีและไม่ทิ้งร่องรอยโรคถ้าให้การรักษาที่รวดเร็ว ทำให้ควบคุมโรคได้อย่างดี  โรคเรื้อนจึงเป็นโรคประจำถิ่น พบมากในจังหวัดภาคอีสานและภาคใต้ ปัจจุบันยังมีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ ส่วนการรักษาก็เป็นการรักษาด้วยยากินที่บ้านไม่ต้องกักตัวควบคุมโรคเหมือนในอดีตแล้ว

โรคประจำถิ่น, โรคระบาดในไทย
  1. อหิวาตกโรค 

เป็นโรคระบาดในไทยที่เกิดการระบาดอย่างใหญ่ รุนแรงลุกลาม มีการเสียชีวิตอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  สมัยนั้นเรียกโรคป่วง โรคลงราก มีอาการท้องร่วงรุนแรง และอาเจียนหนัก การแพทย์และการสาธารณสุขยังไม่เจริญ ทำให้ไม่สามารถจะช่วยชีวิตผู้คนที่ติดเชื้อไว้ได้ แต่โรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายจากการกิน มีแมลงวันเป็นตัวกระจายเชื้อชั้นดี หรือปนเปื้อนเขื้อในน้ำดื่ม เพราะสมัยก่อนถ่ายทุกข์ ลงแม่น้ำลำคลอง การสุขภิบาลที่ยังไม่เจริญ  ประกอบกับการสัญจรไปมาระหว่างเมืองระหว่างประเทศยังไม่รัดกุม ใครต่อใครผ่านเข้าออก มีการนำเชื้อเข้าและออกมาแพร่กระจายเป็นวงขยายต่อไป  ทำให้ในเมืองไทยเองก็มีการระบาดอยู่หลายระลอก จนพัฒนาการทางด้านการแพทย์ ทำให้ช่วยชีวิตคนที่ติดเชื้อไม่ให้เสียชีวิตจากการขาดน้ำและเกลือแร่  การจัดการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขอนามัยส่วนบุคคล ตัดตอนการแพร่เชื้อได้อย่างชะงัก  แต่เชื้อยังเหลือ ไม่ได้ไปไหน แต่กลายเป็นโรคประจำถิ่นที่ไม่ได้เจอบ่อยๆแล้ว

โรคประจำถิ่น_, โรคระบาดในไทย
  1. วัณโรค 

เวลากล่าวถึงวัณโรค ทุกคนมักจะคิดถึงแต่วัณโรคปอด เพราะเชื้อเกาะที่ปอดได้ง่ายสุดและคนเป็นเยอะสุด แต่ความจริงวัณโรคติดเชื้อใน กระดูก ต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มหัวใจหรืออวัยวะอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน มียารักษาวัณโรคชนิดหายขาดแต่ต้องกินยาเป็นระยะเวลานาน ข่าวร้ายคือคนป่วยมักกินยาไม่ครบและไปแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ การติดต่อทางการหายใจ น้ำลาย เหมือนโควิด 19 แต่เรามีวัคซีนมายาวนานมากแล้ว ทุกคนที่เกิดมาได้รับตั้งแต่แรกเกิดและกระตุ้นในโรงเรียนประถมทำให้วัณโรคเงียบหายไปไม่มีการระบาดรุนแรง กระนั้นวัณโรคก็กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งตอนโรคเอดส์ระบาด เพราะเอดส์ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ โรคประจำถิ่นแบบวัณโรคเลยฉวยโอกาสเติบโตอีกครั้ง

โรคประจำถิ่น_, โรคระบาดในไทย
  1. ไข้หวัดใหญ่

โรคประจำถิ่นที่ใครๆ ก็อาจจะเคยเป็น ที่มาของไข้หวัดใหญ่นั้นเริ่มตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่1 ไม่มีใครเปิดเผยเรื่องการติดเชื้อและระบาดของไข้หวัดเพราะอยู่ในภาวะคับขันของสงครามและปิดข่าว มีเพียงประเทศสเปนที่ไม่ได้ร่วมสงครามประกาศโรคระบาดครั้งนี้ก่อนใคร จึงมีชื่อเรียกว่าไข้หวัดสเปน มีคนป่วยมากถึง 100 ล้านคน เสียชีวิต 30-40 ล้านคน เมืองไทยเราเริ่มระบาดมาจากทางภาคใต้ของประเทศ ต่อมาอีก 90 ปีก็มีการระบาดครั้งใหญ่ของไวรัส H1N1 ที่พวกเราก็ร่วมอยู่ในเหตุการณ์  กรณีนี้เราก็ได้วัคซีนมาเร็วมีวัคซีนฟรีสำหรับผู้สูงอายุและเด็กที่เสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงทำให้ควบคุมโรคได้ดี การศึกษาของนักไวรัสวิทยาเชื่อว่ายีนของไวรัสตั้งแต่การระบาดในปี 1918 ยังคงอยู่และเป็นต้นกำเนิดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ใหม่ๆ ที่มาทดสอยภูมิคุ้มกันพวกเราเป็นรอบๆนั่นเอง

โรคประจำถิ่น_, โรคระบาดในไทย

เมื่อภูมิคุ้มกันโดยรวมเพิ่มมากขึ้น ทำให้ฤทธิ์การระบาดเริ่มน้อยลง (เหมือนเขื้อวัณโรคที่มีทั่วไปในเมืองไทยแต่เพราะมีวัคซีนทั่วถึงทำให้ระบาดไม่ได้ แต่พอเกิดเหตุ ภูมิคุ้มกันตกในคนบางกลุ่ม ก็จะทำให้เชื้อกลับมาแข็งแรงได้อีกครั้ง เราจึงเห็นในทุกประเทศที่จะระดมฉีดวัคซีนให้ประชาชนเพื่อเตรียมเริ่มกระบวนการที่จะนำมาสู่การกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ และจากประสบการณ์ไข้หวัดสเปน พวกเราอาจต้องเตรียมใจที่จะอยู่กับโควิด 19 ไปอีก 100 ปี  แต่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้เอง เชื้อโรคต้องหลบฉากไป หมดฤทธิ์ระบาดในที่สุด

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save