X

เราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า ? เช็กลิสต์ให้แน่ใจว่าเราแค่เศร้า หรือเป็นโรคซึมเศร้ากันนะ ?

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

เราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า ? เช็กลิสต์ให้แน่ใจว่าเราแค่เศร้า หรือเป็นโรคซึมเศร้ากันนะ ?

ในช่วงเวลาหลายปีมานี้เราจะได้ยินคำว่า “โรคซึมเศร้า” กันอย่างมาก ซึ่งจริงๆ แล้วโรคทางจิตใจนี้อยู่กับผู้คนทั่วโลกมานานแสนนาน แต่ที่ไม่ค่อยมีคนเอ่ยถึงเพราะไม่รู้ว่าโรคนี้คืออะไร ? และคิดว่าคงเป็นอย่างเดียวกันกับคนที่มีอาการเศร้ากับเรื่องบางอย่าง แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่อย่างนั้น เพราะโรคซึมเศร้าไม่จำเป็นต้องเศร้าตลอดเวลา คนที่ป่วยเป็นโรคนี้หลายคนที่ยิ้มแย้มแจ่มใส หัวเราะเฮฮา และดูเหมือนว่าชีวิตมีความสุขดี แต่ใครจะรู้ว่าก้นลึกภายในจิตใจที่ควบคุมไม่ได้นั้น มันกลับมีความมืดดำของบางสิ่งบางอย่างครอบงำอยู่ ถ้าอยากรู้ว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่านั้น มาเช็กลิสต์กันดีกว่าว่าเราเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้ามากน้อยแค่ไหน คุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ หาคำตอบเบื้องต้นได้ที่นี่ค่ะ

เกร็ดสุขภาพ :  โรคซึมเศร้า คืออะไร ? Depression หรือชื่อเต็มว่า Major Depressive Disorder (MDD) คือภาวะซึมเศร้าที่สำคัญที่มีลักษณะเฉพาะคือมีความรู้สึกเศร้าอย่างต่อเนื่อง หรือการขาดความสนใจในสิ่งเร้าภายนอก โดยเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ และส่งผลต่อความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรม และอาจนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์และร่างกายที่หลากหลาย ทำให้มีปัญหาในการทำกิจกรรมประจำวันตามปกติ และในบางครั้งผู้ที่ป่วยอาจรู้สึกว่าไม่คุ้มค่ากับการมีชีวิตอยู่

  • เราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า ? เช็กสัญญาณอันตราย เพื่อรู้เท่าทันโรค
คุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่, เราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า

คนที่เศร้า ร้องไห้ อกหัก เสียใจ ไม่ได้แปลว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าทุกคน เพราะนั่นแค่อาการเศร้าจากการผิดหวังในความรักเท่านั้น เป็นอาการของคนที่ยังไม่มูฟออน ทำใจยังไม่ได้ หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่านี่คืออาการของโรคซึมเศร้า หรือคิดว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า จริงๆ แล้ว อาการอกหักเสียใจหากเกิดขึ้นซ้ำๆ เสียใจซ้ำๆ เศร้าซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ ก็อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ค่ะ และเพื่อความแน่ใจ เรามาดู 6 สัญญาณเตือนของภาวะซึมเศร้าที่สำคัญ เพื่อให้รู้กันไปเลยว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

  1. ไม่สนใจสิ่งที่เคยทำให้รู้สึกสนุกสนาน

หากจะเช็กว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า ลองสังเกตตนเองดูว่าเราไม่สนใจทำในสิ่งที่เคยชอบทำหรือไม่ เช่น สูญเสียความสนใจหรือความสุขในกิจกรรมปกติที่เคยทำส่วนใหญ่หรือทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรกหรือกีฬาที่ชอบ จากที่ชอบดูหนัง อ่านหนังสือ ตีแบด แตะฟุตบอล จู่ๆ ก็หมดความสนใจไปเสียดื้อๆ หรือแม้แต่อาการหมดไฟในการทำงาน หรือ burn out syndrome คือหนึ่งในสัญญาณที่จะพัฒนาไปเป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

  1. หลีกเลี่ยงและออกห่างจากสังคมเพื่อนและครอบครัว
คุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่, เราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า

คนที่มีอาการเป็นโรคซึมเศร้ามักแยกตัวออกจากสังคม บ่อยครั้งที่รู้สึกอยากเก็บตัวเงียบๆ อยู่คนเดียวในห้อง นอนมองเพดานแบบที่ไม่อยากลุกไปไหน ไปทำอะไร หรือแม้แต่คุยกับใคร ถ้ามีอาการแบบนี้ก็เข้าข่ายว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่าเหมือนกันค่ะ

  1. รู้สึกเศร้าหรือหงุดหงิด

มีความรู้สึกโศกเศร้า น้ำตาไหล มีความว่างเปล่าหรือความสิ้นหวัง แม้ว่าจะไม่มีเหตุการณ์หรือเรื่องราวใดๆ เกิดขึ้นก็ตาม ไม่จำเป็นต้องอกหักหรือทะเลาะกับแฟน แต่ก็รู้สึกอยากร้องไห้ รู้สึกสมองและจิตใจว่างเปล่า หรือบางครั้งรู้สึกโกรธ และมีความหงุดหงิดหรือความไม่พอใจแม้ในเรื่องเล็กน้อย

  1. รู้สึกไร้ค่าและมักตำหนิตัวเอง
คุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่, เราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า

แม้ว่าในช่วงเวลาปกติคนเราทุกคนสามารถพบกับความผิดหวังหรือทำผิดพลาดและเกิดการตำหนิตัวเอง แต่สำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้น เขามักจะมาพร้อมกับความรู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิดบ่อยครั้งเกี่ยวกับสิ่งที่ปกติจะไม่ทำให้คุณรู้สึกแบบนั้นเลย และมักตำหนิตัวเองเสมอ คิดว่าตัวเองไม่ดี มีการยึดติดกับความล้มเหลวในอดีต เป็นอีกข้อที่บอกได้ว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

  1. วิตกกังวล

เราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า ลองดูว่าตัวเองมีความวิตกกังวล ความกระวนกระวายใจ หรือความกระสับกระส่ายที่มักเกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือไม่ รู้สึกเหมือนมีปัญหาในการจดจ่อ การคิด หรือการตัดสินใจ ที่ไม่สามารถทำได้ทันทีเหมือนเมื่อก่อน เหมือนติดอยู่ในปัญหา ขาดสมาธิ และการจดจำสิ่งต่างๆ

  1. มีความคิดเกี่ยวกับความตายบ่อยครั้ง

สิ่งสำคัญที่สุดที่จะบอกเบื้องต้นได้ว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่านั้น คือ การที่เรามีความคิดเกี่ยวกับความตาย หรือคิดอยากฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง หรือพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว ความคิดและความรู้สึกแบบนี้คือสัญญาณที่อันตรายมาก และเป็นสัญญาณที่เราแนะนำให้คุณรีบไปหาจิตแพทย์ด่วนที่สุด

นอกจากอาการทางด้านความคิดและความรู้สึกแล้ว สามารถเช็กอาการทางสุขภาพร่วมด้วยได้ว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ดังนี้

คุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่, เราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า
  • มีอาการนอนไม่หลับบ่อยครั้ง
  • รู้สึกเหนื่อยผิดปกติและขาดพลังงาน
  • ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด
  • อยากกินอาหารเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • การคิด การพูด หรือการเคลื่อนไหวร่างกายช้าลง

ทั้งนี้ การจะบอกได้ว่า เราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า คุณต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตประจำวันหรือในการทำงาน จากหัวข้อต่างๆ ด้านบน 5 อย่างขึ้นไป และอาการต้องเกิดขึ้นเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น และอย่างน้อยจะต้องมีหนึ่งสัญญาณคือ มีอารมณ์ซึมเศร้าหรือสูญเสียความสนใจหรือความสุขที่เคยมีไปค่ะ

เกร็ดสุขภาพ :  โรคซึมเศร้า เป็นสภาวะทางจิตใจ รวมถึงสภาวะทางร่างกายกับการหลั่งสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดที่แตกต่างไปจากปกติได้ เมื่อสารแห่งความสุขในสมองของเราพร่องลงหรือขาดหายไป เราจะเกิดสภาวะเศร้าอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จนท้ายที่สุดกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้นั่นเอง โรคซึมเศร้าจึงสามารถรักษาได้ด้วยยา เพื่อไปปรับให้สารในสมองกลับมาสมดุล บวกกับการเยียวยาสภาพจิตใจควบคู่กัน อย่างดนตรีบำบัด คือหนึ่งในวิธีที่สามารถใช้ได้ในบางราย โดยแพทย์จะทำการรักษาทั้งจิตบำบัดและยาซึมเศร้า ซึ่งจิตแพทย์จะสั่งยาแก้อาการซึมเศร้าที่แตกต่างกันไปสำหรับแต่ละคน เพราะแต่ละคนจะมีลักษณะของอาการและความรุนแรงที่ต่างกัน ดังนั้น ยาโรคซึมเศร้าเป็นอีกยารักษาประเภทหนึ่งที่ไม่สามารถกินร่วมกันกับคนอื่นได้ค่ะ

ในเบื้องต้นนั้นเราสามารถเช็กอาการและสัญญาณต่างๆ เหล่านี้เพื่อบอกได้ว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า แต่ทั้งนี้เพื่อความแน่ใจ หากมีอาการมากกว่า 5 อย่างติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยว่าเราเป็นโรคซึมเศร้า หรือเป็นโรคทางจิตใจอื่นๆ หรือเป็นแค่อาการเครียดเท่านั้น เพื่อตัวเราเองและคนที่เรารัก โรคซึมเศร้า คือ โรคทางจิตใจที่คอยกัดกินและทำร้ายจิตใจอยู่ทุกวัน หากเป็นแล้วไม่รีบรักษาก็จะลุกลามเหมือนเป็นมะเร็งทางใจ เพราะฉะนั้น อย่าปล่อยทิ้งไว้ แต่ควรเดินไปหาจิตแพทย์จะดีที่สุดนะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : psycom.net, mayoclinic.org, healthline.com, healthcentral.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save