“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
วิธีสังเกตผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม !
ที่บ้านใคร มีผู้สูงอายุยกมือขึ้น?!
คาดว่าจะยกมือกันพรึบพรับเลยใช่ไหมคะ
แม้ว่าตอนนี้พวกเราหลายๆ คน แยกออกมาอยู่คนเดียว หรือออกมาเป็นครอบครัวเดี่ยวกันบ้างแล้ว แต่สัมพันธภาพครอบครัวแบบครอบครัวขยายบ้านเรายังแน่นแฟ้น หลายๆ ครั้งที่พวกเราอาจได้รับคำปรึกษามาจากที่บ้าน หรือแม้แต่เป็นตัวเราเองที่อยู่ในสถานการณ์ที่ว่าการดูผู้สูงอายุที่บ้าน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหมคะ บางทีมีเรื่องวิตกกังวลมากมาย มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้ง ไม่ถูกใจกัน มีเรื่องรำคาญใจกันบ่อยๆ จนบางทีเราก็กังวลว่าจะเกิดปัญหาอะไรกับผู้สูงวัยที่เคารพรักหรือเปล่า เราจะมี วิธีสังเกตผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพจิตอย่างไร เพื่อให้สามารถดูแลป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุของเราได้ มาค่อยๆ เรียนรู้ไปด้วยกันค่ะ
ก่อนอื่น เราก็ต้องเข้าใจกันก่อนค่ะว่า มีความเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นกับผู้ที่ได้ชื่อว่าผู้สูงอายุ ทำให้กระทบต่อพฤติกรรม การแสดงออก และจิตใจของผู้สูงอายุอย่างมาก การคำนึงถึงและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้ เข้าใจพฤติกรรม อารมณ์และอุปนิสัยผู้สูงวัย ทำให้สามารถสังเกตอาการต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น วิธีการสังเกตปัญหาผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพจิต ก็จะง่ายขึ้น ช่วยให้การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เป็นไปอย่างราบรื่น ลดความขัดแย้ง และช่องว่างระหว่างวัย คุณภาพชีวิตทุกคนก็ดีขึ้น บรรยากาศในบ้านก็อบอุ่น อบอวลด้วยความรัก
เกร็ดสุขภาพ : การดูแลผู้สูงอายุที่บ้านให้ประสบความสำเร็จ ต้องฝึกการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย ลูกหลาน ญาติสนิท มิตรสหาย ควรพยายามเข้าหาผู้สูงอายุให้มากขึ้น หาโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน เรียนรู้ที่จะเข้าใจธรรมชาติของ ผู้สูงวัย ที่มักน้อยใจลูกหลาน บางคนอาจมีพฤติกรรมเปลี่ยน เอาแต่ใจตนเอง ทำตัวเหมือนเด็กหรือวัยรุ่น นิสัยเหล่านี้อาจทำให้หลายคนหนักใจและเกิดความเบื่อหน่ายได้ ลูกหลานควรเอาใจใส่ดูแลด้วยความรู้ ความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจ ผู้สูงอายุเองก็ต้องเปิดใจ ไม่ยึดติดในตัวตน ไม่เก็บตัว ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นให้มากขึ้น และมีความยืดหยุ่นในเรื่องต่างๆ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
ลองมาดู วิธีสังเกตผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพจิตตามการเปลี่ยนแปลงของวัยกัน !
- เมื่อถึงวัยสูงอายุร่างกายที่เคยกระฉับกระเฉงเคลื่อนไหวคล่องแคล่วกลับเฉื่อยช้า ไม่ได้ดังใจ จะลุก เดิน นั่งก็ลำบาก สายตาที่เคยมองไกลใกล้แจ่มชัด กลับฝ้าฟาง ความจำก็ไม่รู้สูญหายไปไหน หูก็แทบไม่ได้ยินเสียง ต้องเงี่ยงหูฟัง ถามซ้ำบ่อยๆ หลงๆ ลืมๆ บางที่พูดเรื่องเดิมซ้ำๆ แค่เราป่วย 2-3 วัน ทำกิจกรรมที่เคยทำไม่ได้ชั่วคราว ยังหงุดหงิดแทบบ้า คุณตาคุณยายที่ไม่มีวันที่จะกลับมามีร่างกายอ่อนเยาว์ ชีวิตกระฉับกระเฉงอีก จะคุ้นชินกับความเสื่อมของร่างกายและรับมือกับมันได้ดีแค่ไหน วิธีสังเกตผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพจิต ในช่วงนี้ลองดูว่า ท่านมีความหงุดหงิด ผิดหวังในสมรรถภาพตัวเองมากไปไหม ช่วยเหลือให้ท่านปรับตัวยอมรับ โดยการช่วยเข้าใจ ไม่เร่งรัด พาท่านให้อภัยตนเองหากเกิดข้อผิดพลาด ไม่ซ้ำเติมความน้อยเนื้อต่ำใจ แนะนำและพาออกกำลังฝึกฝนกล้ามส่งเสริมสันทนาการ ด้วยกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้ช่วงเปลี่ยนผ่านชีวิตสู่วัยสูงอายุได้อย่างราบรื่น
- ในวัยสูงอายุมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์จิตใจและสังคมอย่างมาก แต่ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ คนแก่จะขี้บ่น หงุดหงิด โกรธง่าย กังวล ซึมเศร้า ขึ้นมาเองเฉยๆ แต่เพราะการส่งเสริมจากการทำงานสารสื่อประสาทของสมองเริ่มเสื่อมถอย และระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลเหมือนเดิม พอมาประกอบกับ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การพลัดพราก การขาดที่พึ่งทางใจ คู่ครองตายจากไป การถูกลดบทบาททางสังคมทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบ การเกษียณอายุ การเสียความมั่นคงในชีวิต รู้สึกไร้คุณค่า สูญเสียความภาคภูมิใจ รู้สึกตัวเองเป็นภาระ วิธีสังเกตผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพจิต ต้องดูด้วยว่า การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ด้วยความหวังดี ไม่ให้มีหน้าทีอะไร เพราะกลัวเหนื่อย อยากให้พักผ่อน การดูแลแบบนี้ไปกระทบจุดอ่อนไหวอะไรของบุพการีที่บ้านบ้างไหม ตระหนักและคำนึงอยู่เสมอว่า ความเสื่อมวัยชรามีกันทุกคน มากน้อยว่ากันไป คนดูแลต้องลดทอนทั้งความคาดหวังและความห่วงใยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เป็นศิลปะที่ต้องเรียนรู้ และปรับให้เหมาะสมในแต่ละคนด้วยล่ะค่ะ
- ภาวะความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ที่ต้องรับการรักษาตลอด หรือมีโรคแทรกซ้อนจากโรคนั้นๆ รักษาไม่หาย อยู่กับการรักษาตลอดชีวิต วิธีสังเกตผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพจิต ในช่วงนี้อาจพบว่า ท่านมีความรู้สึกเบื่อหน่ายในการรักษา กังวลค่าใช้จ่าย ไม่ยอมร่วมมือในการรักษา ทำให้อาการแย่ลง ทรุดลงอย่างรวดเร็ว การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ในสภาวะนี้ จึงต้องรีบฟื้นฟูสภาพจิตใจ อย่าทำให้ท่านรู้สึกว่าเป็นภาระ หากิจกรรมทำร่วมกัน ให้ออกกำลังกายด้วยท่าออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ เพราะนอกจากจะช่วยฟื้นฟูร่างกายได้ดีแล้ว ยังสร้างสัมพันธ์ ส่งผลต่อสารคัดหลั่งในสมอง อารมณ์ซึมเศร้ามัวหมอง ลดน้อยลงด้วย
เกร็ดสุขภาพ : การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน วิธีสังเกตผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพจิต เช็คได้จาก ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ที่เรียกว่า Activities of Daily Living ( ADLs) ได้แก่ การกินอาหารเอง การเคลื่อนไหว เดิน นั่ง ลุก นอน การนอนหลับพักผ่อน การแต่งตัว สวมใส่เสื้อผ้าได้เอง แปรงฟัน ล้างหน้า อาบน้ำ รวมทั้งการดูแลสุขอนามัยส่วนตัวอื่นๆ ถ้ามีส่วนใดที่บกพร่องหรือไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง นอกจากต้องจัดการช่วยเหลือ และวางแผนให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น ยังต้องประเมินว่า ถึงขนาดที่กิจวัตรประจำวันแปรปรวน การนอนผิดปกติ บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง หรือมีโรคทางกายที่หาสาเหตุไม่พบ ซึ่งถ้าพบอาการเหล่านี้ก็เข้าข่ายที่ต้องดูแลใกล้ชิด หรือต้องปรึกษาแพทย์ดูแลร่วมด้วย
การดูแลเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิต ในผู้สูงอายุ
- การดูแลสุขภาพกาย เริ่มตั้งแต่การได้รับสารอาหารที่เหมาะสม มีประโยชน์ต่อร่างกาย การจัดเตรียม เมนูอาหารผู้สูงอายุ สื่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สิ่งอำนวยสะดวกสำหรับการใช้ชีวิต จัดการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายที่เหมาะสมเหล่านี้เป็นต้น
- การดูแลสุขภาพใจ ให้เกียรติ ยอมรับในการตัดสินใจ ยอมรับบทบาท และให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ ซักถาม ชวนคุย ทำกิจกรรมร่วมกัน ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ต้องการ มีประโยชน์ และเป็นที่รักของบุคคลในครอบครัว
- การดูแลทางด้านสังคม อย่าทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าเป็นภาระ คงกิจกรรมสังคมที่เคยทำถ้ายังทำได้ การได้พบปะกับบุคคลที่ชอบหรือคุ้นเคย หรือได้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ก็เป็นการ ปรับเปลี่ยนบรรยากาศให้ผู้สูงอายุรู้สึกสดชื่น มีชีวิตชีวา และมีความสุขขึ้นได้
เรื่องดูแลผู้สูงอายุ ไม่มีอะไรเฟอร์เฟค ถึงเราจะตั้งใจทำให้ดี แต่ย่อมมีกระทบกระทั่ง อยู่ใกล้ชิดกันมากก็ปะทะกันบ่อยขึ้น แต่อย่าปล่อยให้เป็นเรื่องใหญ่ เรื้อรัง อย่าเพิ่งท้อถอยหมดกำลังใจ ให้เข้าหาท่านก่อน ปรับเปลี่ยนที่ตัวเรา ทำที่ทำได้ ผิดพลาดไปก็แก้ไข เช่นนี้แล้ว วิธีสังเกตุผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพจิต ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เราสามารถสอบถามเรื่องที่ทำให้ท่านเกิดความวิตกกังวล พูดคุย และรับฟัง แลกเปลี่ยนวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน อย่าให้ผู้สูงอายุเก็บปัญหา หรือความไม่สบายใจไว้เพียงลำพัง เมื่อไม่มองข้ามก็ไม่เป็นเรื่องยากเลยใช่ไหมคะ เรามาช่วยกันพาผู้สูงอายุในบ้าน พ่อ แม่ ปู่ ข่า ตา ยาย คนที่เรารัก เปลี่ยนผ่านช่วงแห่งวัย ได้อย่างมีคุณภาพ เพื่อสุขภาพชีวิตในบั้นปลายที่ดี รวมทั้งสุขภาพจิตและความสุขในครอบครัวเรากันค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : dop.go.th, aginginplace.org
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ