“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
มงคล 38 ประการ เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ประกอบด้วยอะไรบ้าง มารู้จักและนำไปปรับใช้กัน !
สำหรับชาวพุทธศาสนิกชนแล้ว เชื่อว่าจะต้องเคยได้ยินคำว่า “มงคล 38 ประการ” กันมาบ้าง แต่มีใครบ้างที่รู้ว่าสิ่งนี้คืออะไร ? ในการดำเนินชีวิตของคนเรานั้น มักจะต้องพบเจอกับปัญหาและอุปสรรคนานัปการ สิ่งที่จะช่วยยึดเหนี่ยวให้เราค้นพบหนทางแห่งความสุข หรือพบหนทางในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้นั้น คือการใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และหนึ่งในหลักธรรมที่เราอยากแนะนำคือ มงคล 38 ประการ นั่นเองค่ะ แล้วมงคล 38 ประการ เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เราจะสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ
มงคล 38 ประการ เกิดขึ้นได้อย่างไร ? มีอะไรบ้าง มารู้จักเพื่อนำไปปรับใช้กัน
อันดับแรก เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า มงคล 38 ประการคืออะไร มงคล 38 หรือมงคลสูตร หมายถึง มูลเหตุแห่งความสุขจำนวน 38 ข้อ ที่จะช่วยส่งเสริมความสุขและความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต เป็นหลักปฏิบัติง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ มงคล 38 ประการ เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ที่มาของมงคล 38 ซึ่งเล่าสืบทอดต่อๆ กันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลนั้น กล่าวเอาไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล ชาวเมืองต่างพูดคุยกันว่า “สิ่งใดที่ทำให้ชีวิตเป็นมงคล ?” แม้แต่เหล่าเทวดาก็มีการสนทนาหารือกันว่า อะไรคือมงคล ประเด็นนี้ลุกลามไปถึงสวรรค์ชั้นต่างๆ จนถึงพรหมโลกชั้นสุธาวาส ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ที่บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีแล้ว และมีความเข้าใจในเรื่องมงคลชีวิตเป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถอธิบายได้ จึงได้ประกาศให้เทวดาทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จลงมาตรัสรู้ธรรมในอีก 12 ปี ให้ไปถามพระพุทธองค์ในตอนนั้น
แล้วมงคล 38 เกิดขึ้นได้อย่างไร ? เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว คืนหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า และบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคลสูตร ซึ่งมีทั้งหมด 10 หมวด นับเป็นรายการได้ 38 ประการ นี่จึงเป็นที่มาของมงคล 38 นั่นเองค่ะ
ชวนเจาะลึก มงคล 38 พร้อมความหมาย ประกอบไปด้วยสิ่งใดบ้าง ?
ตอนนี้ก็ได้ทราบแล้วว่า มงคล 38 ประการ เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งเกิดขึ้นจากการตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเองค่ะ มงคล 38 คือสิ่งที่จะฝึกให้เป็นคนดี ฝึกตนให้เป็นคนมีประโยชน์ บำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคม และปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลสให้สิ้นไป อันเป็นการพัฒนาจิตใจของเราเอง ซึ่งผลจากการปฏิบัติจะทำเรามีจิตใจที่สะอาด บริสุทธิ์ บริบูรณ์ และหมดกิเลส สามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มความสุขสมบูรณ์ให้กับชีวิต ซึ่งมงคลชีวิตนั้น มี 38 ประการ ได้แก่
1. การไม่คบคนพาล
คนพาลมี 3 ประการคือ คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว การคบคนพาลจะชักนำเราไปในทางที่ผิด และสอนให้เห็นผิดเป็นชอบ ให้ทำในสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้น จึงไม่ควรคบผู้ที่จะชักจูงเราไปในทางที่ผิด และโง่เขลาเบาปัญญา เพราะมีแต่จะทำให้ชีวิตเสื่อมเสีย
2. การคบบัญฑิต
การคบบัณฑิตที่หมายถึงการคบผู้มีความรู้ ความคิดดี มีการปฏิบัติตนที่ดี เพื่อที่จะได้รับการชี้แนะแต่เรื่องที่เป็นมงคล และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้ดีรู้ชั่ว จะนำพาชีวิตเราไปในทางที่ดี เป็นกัลยาณมิตร ซึ่งจะตรงกันข้ามกับคนพาล
3. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
หมายถึง การเชิดชูผู้ประพฤติดีและผู้มีพระคุณ หรือมีความเลื่อมใสในบุคคลคนนั้น เช่น พระรัตนตรัย บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ และผู้ประพฤติดีเป็นแบบอย่าง ไม่สักการะบูชาในสิ่งที่ไม่เป็นมงคล
4. การอยู่ในถิ่นอันสมควร
ถิ่นอันสมควร คือ อยู่แล้วสบาย อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ มีคนดี และควรมีที่พึ่งด้านธรรมะ เช่น วัด ไม่ควรไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี หรือมีแต่คนไม่ดี
5. การเคยทำบุญมาก่อน
ขึ้นชื่อว่าบุญนั้น มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ ทำให้กาย วาจา และใจ สะอาดได้ และนำมาซึ่งความสุข ฝึกชำระล้างจิตใจ สั่งสมอานิสงส์ ความดี ความสุข เพราะทุกการกระทำส่งผลต่อปัจจุบันและอนาคต
6. การตั้งตนชอบ
มงคล 38 พร้อมความหมายของการตั้งตนชอบ คือ การดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายด้วยความถูกต้องและสุจริต วางตนอย่างเหมาะสมในการดำรงชีพ และประกอบสัมมาอาชีพอย่างถูกต้อง
7. ความเป็นพหูสูต
คือการเป็นผู้ที่ฟังมาก และเป็นผู้รอบรู้ โดยมีลักษณะคือ รู้ลึก รู้รอบ รู้กว้าง และรู้ไกล มีปัญญาในการคิดและแก้ปัญหาได้ถูกวิธี
8. การรอบรู้ในศิลปะ
ศิลปะ คือสิ่งที่แสดงออกถึงความงดงามและมีความสุนทรีย์ การรอบรู้ในศิลปะคือมีความรู้สามารถประกอบวิชาชีพได้ โดยมีความปราณีต และเกิดความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้ในการใช้มือปฏิบัติการงานต่างๆ สามารถประกอบวิชาชีพได้ ไม่อับจน
9. การมีวินัยที่ดี
วินัย ก็คือข้อกำหนด ข้อบังคับ กฎเกณฑ์เพื่อควบคุมให้มีความเป็นระเบียบ การมีวินัยที่ดีคือปฏิบัติตนตามระเบียบ และกฎเกณฑ์ของสังคม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
10. กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
คือการกล่าวคำพูดที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง ไม่พูดเหลวไหล และต้องเป็นคำจริง สุภาพ มีประโยชน์ และถูกกาลเทศะ
11. การบำรุงบิดามารดา
พ่อแม่นั้นเปรียบได้เป็นทั้ง ครูของลูก เทวดาของลูก พรหมของลูก และอรหันต์ของลูก การเลี้ยงดูบิดา มารดา จัดว่าเป็นมงคลชีวิตที่ทำให้เจริญก้าวหน้า และเป็นมงคล 38 คือสิ่งที่เราควรฝึกปฏิบัติ
12. การสงเคราะห์บุตร
ในฐานะที่เราเป็นพ่อแม่ ควรเลี้ยงดูบุตรและอบอรมสั่งสอนให้ดี ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว สนับสนุนให้ทำความดี และให้การศึกษาหาความรู้
13. การสงเคราะห์ภรรยา
นอกจากการเลี้ยงดูอย่างดีแล้ว ควรยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา ให้เกียรติ ไม่ดูหมิ่น สร้างความมั่นคงให้ครอบครัว และไม่ประพฤตินอกใจภรรยา
14. การทำงานไม่ให้คั่งค้าง
ทำงานให้ดี ให้สำเร็จ และมีความพอใจในงานที่ทำ มีความตั้งใจ พากเพียร เอาใจใส่ในงานที่ทำ ทำงานทั้งทางโลกและทางธรรมให้สำเร็จสมบูรณ์ ไม่เห็นแก่ตัวและประโยชน์ส่วนตน
15. การให้ทาน
มงคล 38 คือการให้ทานอย่างหนึ่ง การให้ที่ไม่หวังผลตอบแทนโดยหมายให้ผู้ได้รับได้พ้นจากทุกข์ คือการให้ อามิสทาน ธรรมทาน และอภัยทาน ฝึกจิตเป็นผู้มีความเสียสละ ลดความเห็นแก่ตัว ไม่ทุจริตในสิ่งของที่ไม่ชอบธรรม
16. การประพฤติธรรม
มงคล 38 ประการ เกิดขึ้นได้อย่างไร ? นั่นก็เป็นเพราะว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ดังนั้น หนึ่งในมงคล 38 คือการประพฤติธรรม กล่าวคือ การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งกาย วาจา และใจ ยกระดับจิตใจให้สูงด้วยศีลและธรรมะ
17. การสงเคราะห์ญาติ
ให้การสงเคราะห์และช่วยเหลือเมื่อญาติเดือดร้อน และทำได้ทั้งทางธรรมและทางโลก ในทางธรรม คือแนะนำให้ทำบุญกุศล รักษาศีล และทำสมาธิภาวนา ในทางโลก คือการให้ทรัพย์สินหรือเงินทอง เพื่อให้เขาพ้นจากทุกข์ ตามแต่กำลัง
18. ทำงานที่ไม่มีโทษ
ทำงานหาเลี้ยงตนโดยต้องเป็นงานที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดศีล และไม่ผิดธรรม
19. การละเว้นจากบาป
บาปคือสิ่งที่ไม่ดี ไม่เป็นมงคล ทำแล้วรู้สึกไม่สบายใจ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น เป็นความชั่วที่ติดตัวซึ่งไม่ควรทำ สิ่งที่ทำแล้วถือว่าเป็นบาปคือ อกุศลกรรมบถ 10 หรือบาปทั้ง 10 ประการ
เกร็ดสุขภาพ : อกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภอยากได้ของเขา คิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น และเห็นผิดเป็นชอบ
20. สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
การดื่มของมึนเมาแล้วไม่สามารถควบคุมตนได้ ล้วนทำให้เสียทรัพย์ ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ทำให้เกิดโรค และทำให้เสียชื่อเสียง
21. ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
การมีสติพร้อม ไม่ประมาทในชีวิต ไม่ประมาทในการงาน ไม่หุนหันพลันแล่น จะนำพาเราไปในทางที่ดีและประสบความสำเร็จ
22. มีความเคารพ
ให้ความเคารพแก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และบุคคลที่ควรแก่การเคารพ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
23. มีความถ่อมตน
การไม่แสดงออกถึงความสามารถที่ตัวเองมีอยู่ให้ผู้อื่นรู้เพื่อข่มผู้อื่น หรือเพื่อโอ้อวด ไม่อวดดี เย่อหยิ่งจองหอง แต่แสดงตนอย่างสงบเสงี่ยม มีมารยาท จะทำให้ไม่เสียคน และไม่เสียมิตร
24. มีความสันโดษ
สำหรับข้อนี้ มงคล 38 พร้อมความหมาย หมายถึง การพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ มีแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น ไม่คิดน้อยเนื้อต่ำใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ และยินดีตามกำลังทรัพย์ของตน
25. มีความกตัญญู
คือการรู้คุณและตอบแทนผู้นั้น รวมถึงผู้ที่มีเมตตาในยามที่ตนเดือดร้อน ทั้งการกตัญญูต่อบุคคล สัตว์ และสิ่งของ
26. การฟังธรรมตามกาล
เมื่อมีโอกาสให้หมั่นฟังธรรมเพื่อสดับตรับฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์ในหลักธรรมนั้นๆ และนำมาใช้กับชีวิตเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น หรืออาจเป็นการอ่านคำคมธรรมะ สอนใจ เพื่อช่วยให้เรามีสติในการใช้ชีวิตมากขึ้นก็ได้ค่ะ
27. มีความอดทน
เป็นผู้มีความอดทนต่อความลำบาก ต่อทุกขเวทนา ต่อความเจ็บใจ และต่ออำนาจกิเลส
เกร็ดสุขภาพ : วิธีทำให้มีความอดทนคือ การมีหิริโอตัปปะ
1. หิริ คือ การมีความละอายต่อบาป การที่รู้ว่าเป็นบาปแล้วยังทำอีกก็ถือว่าไม่มีความละอาย
2. โอตัปปะ คือ การมีความเกรงกลัวในผลของบาปนั้นๆ
28. การเป็นผู้ว่าง่าย
ไม่ถือดี ไม่ถือตัว ไม่ยึดถือในสิ่งที่เรามี เราเป็น หรือถือมั่นในอำนาจกิเลสต่างๆ และไม่ทำตัวกลบเกลื่อนความผิดของตน
29. การได้เห็นสมณะ
สำหรับผู้ที่อยู่ในสมณเพศ ต้องเป็นผู้ที่สงบกาย สงบวาจา และสงบใจ
30. การสนทนาธรรมตามกาล
มงคล 38 ประการ เกิดขึ้นได้อย่างไร ? สิ่งนี้เกิดจากการตรัสรู้ขององค์พระพุทธเจ้าและเกิดเป็นหลักธรรมขึ้นมา ดังนั้น การสนทนาธรรมหรือมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น หรือเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่น และต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี พูดเรื่องจริง มีประโยชน์ และเป็นคำพูดที่ไพเราะ ไม่พูดจาโอ้อวดและมีความรู้จริงในสิ่งที่พูด
31. การบำเพ็ญตบะ
คือการทำให้กิเลส ความรุ่มร้อนต่างๆ หมดไปหรือเบาบางลง ด้วยการมีใจสำรวม ประพฤติรักษาพรหมจรรย์ และการปฏิบัติธรรม
32. การประพฤติพรหมจรรย์
ผู้ที่บวชให้ละเว้นเมถุน ส่วนฆราวาสให้ยึดปฏิบัติโดยการให้ทาน และการประพฤติธรรมอันประเสริฐ
33. การเห็นอริยสัจ
อริยสัจ หมายถึงความจริงอันประเสริฐ หลักแห่งอริยสัจมีอยู่ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อันเป็นมูลเหตุแห่งการเกิดทุกข์ และวิธีทำให้ทุกข์หมดไป
34. การทำให้แจ้งในพระนิพพาน
หมายถึงการปฏิบัติตนโดยใช้หลักธรรมดับทุกข์และความไม่สบายใจ เพื่อให้พ้นจากทุกข์
35. มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
มงคล 38 คือ สิ่งที่เมื่อเราปฏิบัติแล้วจะดีต่อชีวิต เช่น การไม่มีจิตหวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ ของโลกธรรม 4 ประการคือ การได้ลาภ การได้ยศ การได้รับการสรรเสริญ และการได้รับความสุข
36. การมีจิตไม่โศกเศร้า
ความโศกเศร้าที่เกิดเนื่องมาจากความรัก รวมถึงรักสิ่งของ ทรัพย์สินเงินทอง ให้ใช้ธรรมะปล่อยวางความรัก การพลัดพรากเป้นเรื่องธรรมดาของชีวิต ให้ใช้ปัญญาพิจารณาถึงความไม่เที่ยงในสิ่งของทั้งหลายและร่างกายของเรา
37. มีจิตปราศจากกิเลส
กิเลส ก็คือสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง ซึ่งได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ควรฝึกปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากกิเลสเหล่านี้
38. มีจิตเกษม
เกษม หมายถึงมีความสุข สบาย หรือสภาพที่มีจิตใจที่เป็นสุข การมีจิตเกษม คือการรักษาไว้ซึ่งสภาพที่มีจิตใจเป็นสุข ละแล้วซึ่งกิเลส ไม่ยินดีในวัตถุ ในภพ ในอวิชชาทั้งหลาย
ตอนนี้ก็ได้ทราบแล้วว่า มงคล 38 ประการ เกิดขึ้นได้อย่างไร ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และเราสามารถนำมาปฏิบัติได้อย่างไรบ้าง เราสามารถนำมงคล 38 มาปฏิบัติตามหลักอันเป็นมงคลชีวิตได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายๆ เป็นหลักธรรมเบื้องต้นที่ปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และจะนำพาชีวิตเราไปพบแต่ความสุขและความเจริญค่ะ นอกจากนี้ จะฝึกสติ ฝึกสมาธิของตัวเองด้วยวิธีนั่งสมาธิให้จิตสงบ ควบคู่ไปด้วย ก็จะทำให้เราเจริญสติ เจริญปัญญา และมีจิตใจที่สงบสุขได้ยิ่งขึ้นค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : bangkoklifenews.com, thairath.co.th
Featured Image Credit : freepik.com/mrsiraphol
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ