“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
เทคโนโลยีการแพทย์ มีอะไรบ้าง ? ที่ช่วยแพทย์ช่วยชีวิตคนได้ดีขึ้น !
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด ด้วยความรู้และทักษะทางด้านนวัตกรรมที่เจริญอย่างรวดเร็วและเหมือนจะไร้ขีดจำกัด ทำให้ เทคโนโลยี AI เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่เติบโตมากที่สุดในโลก ซึ่งคาดกันว่ามูลค่าอุตสาหกรรมประมาณ 600 ล้านดอลลาร์ในปี 2557 จะพุ่งสูงถึง 150,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2569 จึงไม่น่าแปลกที่ AI จะแทรกซึมไปกับทุกสิ่งในชีวิตประจำวัน ไม่เว้นแม้แต่ในวงการแพทย์
ในแวดวงการแพทย์ ได้นำเทคโนโลยี และ AI มาการประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อช่วยในการดูแลสุขภาพ เทคโนโลยีการแพทย์มีอะไรบ้าง มีทั้งการใช้เพื่อค้นหาความเชื่อมโยงระหว่างรหัสพันธุกรรมเพื่อขับเคลื่อนหุ่นยนต์ผ่าตัด ฐานข้อมูลทางการแพทย์ การผลิตยาและเครื่องมือช่วยชีวิตอื่นๆ หรือแม้กระทั่งนำมาใข้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโรงพยาบาลให้สูงสุด นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์เหล่านี้ ช่วยยกระดับชีวิตของผู้ป่วย แพทย์ ผู้บริหารโรงพยาบาล และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะนอกจากจะอำนวยความสะดวกแล้ว ยังทำให้งานปฏิบัติการโดยมนุษย์ทำได้ง่ายขึ้น ช่วยประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่ายลง
บทบาทของเทคโนโลยีการแพทย์มีอะไรบ้าง แยกตามหมวดหมู่ทิศทางหลัก ได้ ดังนี้
- Disease Detection and Diagnosis
การตรวจจับความผิดปกติและการวินิฉัยโรค ความได้เปรียบของ AI ที่ไม่ต้องการการพักผ่อนนอนหลับร่วมกับการใช้ Machine-learning มาตรวจจับสัญญาณชีพ ที่บ่งชี้อันตราย หรือ สัญญาณบ่งความเสี่ยงต่ออันตรายของโรค ทำให้จับความผิดปกติได้รวดเร็ว เป็นผลดีต่อการช่วยชีวิตที่ทันท่วงที เทคโนโลยีการแพทย์มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย เช่น คนไข้ในหอผู้ป่วยฉุกเฉิน จะได้รับการติดตั้ง เครื่องติดตามสัญญาณชีพเพื่อที่บุคลกรการแพทย์จะได้เฝ้าระวังเมื่อมีความผิดปกติ เมื่อพัฒนาเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี AIเครื่องจะรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และแจ้งแสดงสัญญาณเตือนไปยังผู้ดูแล แพทย์ และบุคลากรโดยทันทีเมื่อตรวจจับพบข้อมูลที่มีความหมายชี้บ่งสัญญาณอันตราย เช่น สัญญาณของเลือดออกในสมอง สัญญาณการติดเชื้อในกระแสเลือด รายงานการดูแลเด็กทารกคลอดก่อนกำหนด พบว่ามีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากเฝ้าอาการโดยมนุษย์ มีความไวไม่เพียงพอที่ให้การรักษาให้ทันท่วงที
Personalized Disease Treatment
การรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อเพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาล โดยใช้ฐานข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยทั้งหมดมาใช้ในการวางแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ามีการเปลี่ยนบุคลากรหรือแพทย์ที่ให้การรักษา ก็จะมีข้อมูลอ้างอิง เพื่อจัดการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เทคโนโลยีการแพทย์มีอะไรบ้าง ได้แก่ ระบบการจัดเก็บข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลจากหน่วยบริการต่างๆ เช่น ประวัติการรักษา การแพ้ยา ประวัติเจ็บป่วยในครอบครัว ข้อมูลยีนและผลตรวจฮอร์โมนเพื่อเป็นการลดข้อมูลซ้ำเมื่อรับบริการจากแพทย์ท่านใหม่ ลดข้อผิดพลาด และสามารถต่อยอดข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้ เป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษาที่ละเอียดมากขึ้น ซึ่งในอนาคต เราจะมีเทคโนโลยี Health Assistant ส่วนบุคคล ให้คำแนะนำเบื้องต้นทั้งในการรักษาและดูแลสุขภาพ โดยใช้การประมวลผลจากฐานข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีความเฉพาะมากยิ่งขึ้นกว่าคำแนะนำที่มีให้ตามค่าเฉลี่ยประชากรทั่วไป
- Medical Imaging
การถ่ายภาพทางการแพทย์ เป็นที่ทราบกันดีว่า เทคโนโลยีการแพทย์มีอะไรบ้าง ในสาขาหลัก การวินิจฉัยจากภาพทางรังสี ไม่ว่าจะเป็น X-Ray Ultrasound และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิต และอัตราการตายจากมะเร็งเต้านมลดลงอย่างมาก จากที่เรามี Mammograms เพื่อตรวจคัดกรอง และระบุ ระยะมะเร็งเต้านม ได้ย่างแม่นยำ อีกทั้งโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural networks) ยังมีประสิทธิภาพในการตรวจหาสัญญาณของมะเร็ง และสภาวะอื่นๆ
เทคโนโลยี AI นั้นนอกเหนือจากการช่วยให้แพทย์ตรวจพบสัญญาณเริ่มต้นของโรคแล้ว ยังช่วยแพทย์ให้ติดตาม และจัดการภาพทางการแพทย์ที่มีจำนวนมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในต่างประเทศเริ่มใช้การจำลองการรักษาเสมือนจริงจากภาพถ่ายทางการแพทย์ เพื่อการวางแผนการรักษา ซึ่งแน่นอนว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการรักษาชีวิตผู้ป่วย ช่วยแพทย์พัฒนาเทคนิคในการรักษาได้มากขึ้น เทคโนโลยีการแพทย์มีอะไรบ้างในอนาคต น่าสนใจและน่าติดตาม และเชื่อแน่ว่าจะทำให้มนุษย์เราอายุยืนยาวร่วมกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- Surgical AI
การผ่าตัดยุคใหม่ที่มีทั้งการใช้การประมวลผลอัจฉริยะ การใช้ AI ขับเคลื่อนหุ่นยนต์ผ่าตัด เทคโนโลยีการแพทย์มีอะไรบ้างนั้นก็มีทั้งการใช้มือกล หุ่นยนต์จิ๋ว เพื่อทำหัตการในพื้นที่ที่มีข้อกำจัด เข้าถึงยากด้วยมือมนุษย์ พื้นที่ที่เป็นอันตราย งานที่ต้องใช้ความละเอียดและแม่นยำสูง อย่างเช่น การแยกชั้นกระจกตาด้วยเลเซอร์เพื่อรักษาภาวะสายตาสั้น มันจะดีมากแค่ไหนที่แค่เพียงเสี้ยวนาที การผ่าตัดก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี แทบไม่มีแผล และการฟื้นตัวหลังผ่าตัดอย่างรวดเร็ว เหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากเทคโนโลยี ต่อไปในอนาคต การตรวจตรวจภายใน ตรวจช่องหู ลำคอ นั้น AI อาจเข้ามาทำหน้าที่ได้แทนแพทย์โดยสมบูรณ์ เหมือนที่เรามี Capsule Endoscopy ใช้ในปัจจุบัน
- Accelerated Drug Development
ความก้าวหน้าอย่างมากของการพัฒนายา และการพายาสู่เป้าหมายในการรักษา การพัฒนายาแต่ละอย่างต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน และค่าใช้จ่ายสูงมาก AI เข้ามามีบทบาทในการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนา รวมทั้งทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆในการใช้ยา เทคโนโลยีการแพทย์มีอะไรบ้าง ไม่น่าเชื่อใช่ไหม ที่ในปัจจุบันเรามี ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า เป็นนวัตกรรมในการนำยาเข้าสู่เซลล์มะเร็งโดยไม่ทำอันตรายเซลล์ข้างเคียง การผลิตยาใหม่ๆ ที่ให้ผลทางคลินิกที่เฉพาะจงจงมากขึ้น หรือแม้แต่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมแบคทีเรียเพื่อนำมาเป็นยารักษาและป้องกันโรค ซึ่งในปัจจุบัน เริ่มมีการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงความเฉพาะตัวของแต่ละบุคลคลกับการจัดการยาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยีการแพทย์มีอะไรบ้าง ที่จะผลิตยาเฉพพาะบุคคล ที่ให้ผลที่แม่นยำตรงตามยีนของผู้ป่วยคงต้องติดตามกันต่อไป
- ประโยชน์ของเทคโนโลยีการแพทย์
AI ทำให้การแพทย์เจริญก้าวหน้าอย่างมาก ช่วยในด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยและลดต้นทุนในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพได้ ซึ่งพบว่าเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถช่วยพัฒนาการตรวจหาข้อผิดพลาด และการจัดการยา ลดข้อผิดพลาดในการใช้ยา การจำลองสุขภาพเสมือนจริงที่ปรับแต่งหาโอกาสที่ดีที่สุดที่จะให้การรักษาสำเร็จ การป้องกันการฉ้อโกง และการสนับสนุนเวิร์กโฟลว์การบริหารและการดูแลทางคลินิกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนั้นยังเพิ่มการมีส่วนร่วมของแพทย์และผู้ป่วย ผู้ป่วยจำนวนมากเกิดคำถามสุขภาพนอกเวลาทำการปกติ เทคโนโลยีจึงเข้ามาให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมงผ่านแชทบอท และแอดมินที่สามารถตอบคำถามพื้นฐานแก่ผู้ป่วย ซึ่งตัวอย่างที่พวกเราคุ้นเคย เช่น โอเพ่นแชทหมอพร้อม ที่ให้ข้อมูลโควิด19 ทั้งการหาสถานีวัคซีน คำแนะนำการดูแลสุขภาพเบื้องต้น คัดแยกคำถาม และตั้งค่าสถานะข้อมูลเพื่อการตรวจสอบเพิ่มเติม เพื่อให้ความช่วยเหลือที่ความเกี่ยวข้องจากบุคคลากรการแพทย์ต่อไป อย่างเหมาะสมรวดเร็ว
นี้เป็นเพียงบางตัวอย่างเล็กๆ ของเทคโนโลยีอย่าง AI ที่ช่วยแพทย์ในการดูแลสุขภาพซึ่ง เทคโนโลยีการแพทย์ มีอะไรบ้างในอนาคตของเมืองไทยนั้นคิดว่าจำเป็นต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถ และการทำงานร่วมกันของหลายสาขาวิชาชีพ เพื่อพัฒนาและสร้างนวัตกรรม เป็นที่น่ายินดี ที่เริ่มเห็นการริเริ่มผลิตบุคลากร ผลักดันการศึกษาในแขนงนี้เพิ่มมากขึ้นในระดับอุดมศึกษาบ้านเรา และเป็นโอกาสใหม่ๆ ทั้งในการสร้างสุขภาพของคนในชาติ และสร้างอาชีพของเยาวชนไทย
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : builtin.com, ibm.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ