X

ความเห็นอกเห็นใจ ทำไมต้องมี ? มีแล้วชีวิตดี มีความสุขมากขึ้นจริงหรือ ?!

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

ความเห็นอกเห็นใจ ทำไมต้องมี ? มีแล้วชีวิตดี มีความสุขมากขึ้นจริงหรือ ?!

เราอาจเคยได้ยินคำพูดในสังคมเกี่ยวกับ ความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหลักพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ที่ควรมี เมื่อเราอยู่ร่วมกันในสังคม การรู้สึกและเกิดการเห็นอกเห็นใจกันนั้นจะทำให้เราเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของคนอื่น ทั้งยังมองเห็นสิ่งต่างๆ จากมุมมองของพวกเขาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น และช่วยให้เราสามารถจินตนาการว่าถ้าหากตัวเราอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากแบบนั้น เราจะรู้สึกยังไง ทำให้เราเข้าใจกันและกันมากขึ้น ซึ่งการเห็นใจผู้อื่นเป็นนิสัยที่เราสามารถปลูกฝังเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเราเองได้ และก่อให้เกิดสิ่งดี ๆ ต่อความสัมพันธ์กับผู้คนในสังคม และเพื่อให้ทุกคนเข้าใจกันมากขึ้น ในบทความนี้ เพื่อสุขภาพจะพาไป รู้จักกับ empathy คือจิตวิทยา เรื่องความเห็นอกเห็นใจ ไปเข้าใจกันว่า ทำไมเราต้องมี มีแล้วชีวิตเราจะดีขึ้น มีความสุขขึ้นได้ยังไงกันบ้างค่ะ

Empathy คือ จิตวิทยา ความเห็นอกเห็นใจ ที่มีแล้วจะช่วยให้ชีวิตดีขึ้นจริงหรือ ?!

คำว่า “Empathy” ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ความเห็นอกเห็นใจ หรือ ความสามารถในการรับรู้ และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น Empathy เป็นทักษะสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ และการสื่อสารระหว่างบุคคล เมื่อเรามีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น เราจะสามารถเข้าใจมุมมอง และประสบการณ์ของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้างมากขึ้น การพัฒนา Empathy คือ จิตวิทยา สำคัญ ที่ไม่เพียงแค่จะทำให้ชีวิตส่วนตัวดีขึ้นแล้ว แต่ยังเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานเป็นทีม การให้บริการลูกค้า และในอาชีพที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอด้วย

empathy คือ จิตวิทยา, ความเห็นอกเห็นใจ
Image Credit : canva.com-pro
  • ความเห็นอกเห็นใจ มีประโยชน์ต่อตัวเอง และผู้อื่นอย่างไรบ้าง ?

เมื่อเราเห็นคนอื่นทุกข์ หากเรามองผ่านก็อาจจะไม่ได้รู้สึกลึกลงไปถึงสถานการณ์เหล่านั้น แต่หากเรานึกภาพตัวเองอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ของคนอื่นที่กำลังเผชิญกับความทุกข์หรือความยากลำบากแล้วเกิดความรู้สึกสงสารหรือเห็นใจ นั่นหมายความว่าเรากำลังเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอยู่

คำว่า “เห็นอกเห็นใจ” นั้น นักวิจัยด้านอารมณ์โดยทั่วไปให้คำจำกัดความว่า การเอาใจใส่และความเห็นใจผู้อื่นนั้นเป็นความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของผู้อื่น ควบคู่ไปกับความสามารถในการจินตนาการว่าคนอื่นกำลังคิดหรือรู้สึกอย่างไร ซึ่งนักวิจัยร่วมสมัยได้แบ่งความแตกต่างเอาไว้ 2 ประเภท คือ

  1. ความเห็นอกเห็นใจทางอารมณ์ หมายถึง ความรู้สึกที่เราได้รับจากการตอบสนองต่ออารมณ์ของผู้อื่น ซึ่งอาจรวมถึงการสะท้อนความรู้สึกของบุคคลนั้น หรือเพียงแค่รู้สึกเครียดเมื่อต้องพบความกลัวหรือความวิตกกังวลของอีกฝ่าย
  2. ความเห็นอกเห็นใจในการรับรู้ หรือบางครั้งเรียกว่า การรับรู้มุมมองของผู้อื่น หมายถึง ความสามารถของเราในการระบุและเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่นว่ากำลังคิดหรือรู้สึกอย่างไร

ในขณะที่คนทั่วไปมักจะปรับตัวให้เข้ากับความรู้สึกและอารมณ์ของตัวเองได้ดี แต่การเข้าไปในสถานการณ์ของคนอื่นอาจเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเล็กน้อย ซึ่งความสามารถในการรู้สึกเห็นอกเห็นใจนั้น ทำให้ผู้คนสามารถเข้าใจอารมณ์ที่คนอื่นกำลังรู้สึกอยู่ได้ และสำหรับหลาย ๆ คนการเห็นคนอื่นเจ็บปวดและตอบสนองด้วยความเฉยเมย หรือแม้กระทั่งการเป็นศัตรูกันโดยสิ้นเชิงนั้น นั่นคือการที่เขาเหล่านั้นไม่สามารถเข้าใจได้ และเท่ากับว่าคนคนนั้นยังไม่มีความเห็นใจผู้อื่นนั่นเอง

ใช้คลื่นพลังบวกดึงดูดพลังสุข

เกร็ดสุขภาพ : เมื่อคุณร้องไห้ขณะดูฉากที่เศร้ามากในภาพยนตร์ นั่นหมายถึงคุณกำลังรู้สึกมีความเห็นอกเห็นใจทางด้านอารมณ์ ในขณะที่ความเห็นใจทางด้านการรับรู้จะเกี่ยวข้องกับความคิดมากกว่าความรู้สึก เช่น ในขณะที่เมื่อคุณพูดคุยกับเพื่อนเกี่ยวกับอาการ burn out syndrome คือสิ่งที่รบกวนจิตใจคุณ และรู้สึกว่าเพื่อนเข้าใจเรา นั่นเป็นเพราะเพื่อนของคุณกำลังใช้ความเห็นอกเห็นใจในการรับรู้

empathy คือ จิตวิทยา, ความเห็นอกเห็นใจ
Image Credit : canva.com-pro
  • มีสัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าคุณเป็นคนที่มีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่นบ้าง ?

มีสัญญาณบางอย่างที่แสดงว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นคนที่มีความเห็นใจผู้อื่น ได้แก่

  1. คุณสามารถรับฟังสิ่งที่คนอื่นพูดได้จริง ๆ
  2. ผู้คนมักจะบอกคุณเกี่ยวกับปัญหาของพวกเขา
  3. คุณสามารถรับรู้ได้ว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไร
  4. คุณมักจะคิดว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไรในตอนนี้
  5. ผู้คนมักจะมาหาคุณเพื่อขอคำแนะนำ
  6. คุณมักจะรู้สึกหนักใจกับเหตุการณ์ที่น่าเศร้า
  7. คุณพยายามช่วยเหลือผู้อื่นที่มีความทุกข์
  8. คุณห่วงใยคนอื่นอย่างสุดซึ้ง

ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์

  • ความเห็นอกเห็นใจ สำคัญแค่ไหน ?

การเอาใจใส่ต่อผู้คนอย่างมากจะทำให้คุณมีความเห็นใจและเป็นห่วงความเป็นอยู่และความสุขของผู้อื่น ซึ่งการที่มนุษย์ในสังคมรู้จักเห็นอกเห็นใจกันนั้น ไม่เพียงแต่เป็นการช่วยคลายทุกข์ให้คนเหล่านั้นเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์หลายประการต่อตนเองและสังคมอีกด้วย ได้แก่

  1. ปการเห็นใจจะช่วยให้ผู้คนสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น ด้วยการทำความเข้าใจว่าผู้คนกำลังคิดและรู้สึกอย่างไร ผู้คนสามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ทางสังคม และจากการวิจัยพบว่าการมีความสัมพันธ์ทางสังคมมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  2. การเห็นใจผู้อื่นจะช่วยให้คุณเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเอง และรู้จักการจัดการอารมณ์ การควบคุมอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับสิ่งที่คุณรู้สึกได้แม้ในช่วงเวลาที่มีความเครียดมากโดยไม่ต้องรู้สึกหนักใจ
  3. การเห็นใจจะนำไปสู่พฤติกรรมการช่วยเหลือ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ทางสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ สิ่งที่ช่วยในความสัมพันธ์ของเรากับคนอื่น ๆ ก็เป็นประโยชน์ต่อเราเช่นกัน เพราะเมื่อผู้คนรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขามีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมในพฤติกรรมทางสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสิ่งต่าง ๆ รวมถึงผู้คนรอบตัว

เกร็ดสุขภาพ : การเอาใจใส่หรือเห็นใจผู้อื่นนั้นวัดได้อย่างไร ? สามารถวัดได้ด้วยแบบสอบถามรายงานตนเอง เช่น ดัชนีปฏิกิริยาระหว่างบุคคล (IRI) หรือแบบสอบถามสำหรับความรู้ความเข้าใจและการเอาใจใส่ต่ออารมณ์ (QCAE) โดยทั่วไปแล้วสิ่งเหล่านี้จะให้ผู้คนระบุว่าพวกเขาเห็นด้วยกับข้อความที่วัดความเห็นอกเห็นใจประเภทต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด เช่นข้อความที่ว่า “มันส่งผลกระทบต่อฉันมากเมื่อเพื่อนคนหนึ่งของฉันอารมณ์เสีย” ซึ่งนี่จะเป็นการวัดความเห็นใจทางอารมณ์ เป็นต้นค่ะ

empathy คือ จิตวิทยา, ความเห็นอกเห็นใจ
Image Credit : canva.com-pro
  • อยากเป็นคนมีความเห็นอกเห็นใจ ต้องทำยังไงบ้าง ?

การพัฒนาความเห็นอกเห็นใจนั้น เป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนได้ ต่อไปนี้เป็นบางวิธีที่จะช่วยให้คุณเป็นคนมีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น

  1. ฝึกการฟังอย่างตั้งใจ ให้ความสนใจกับสิ่งที่คู่สนทนากำลังพูดอย่างจริงจัง พยายามเข้าใจมุมมอง และความรู้สึกของเขาโดยไม่ตัดสินหรือแสดงความคิดเห็น
  2. สังเกตและใส่ใจภาษากาย สีหน้า และน้ำเสียงของผู้อื่น สิ่งเหล่านี้จะบ่งบอกความรู้สึกของเขาได้มาก
  3. พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองจินตนาการว่าถ้าเป็นตัวคุณเองจะรู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์นั้น
  4. แสดงความเห็นใจและเข้าใจเมื่อมีโอกาส การสะท้อนถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายช่วยให้เขารู้สึกได้รับการเข้าใจ
  5. ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประสบการณ์ที่แตกต่างจากตนเอง ความแตกต่างทางวัฒนธรรมมีผลต่อทัศนคติและมุมมองที่หลากหลาย
  6. อ่านหนังสือ ดูภาพยนตร์ หรือศึกษาเรื่องราวชีวิตของผู้คนที่มีประสบการณ์แตกต่างจากคุณ จะช่วยให้เข้าใจมุมมองของคนอื่นมากขึ้น

ฮุกกะ ปรัชญาความสุขฉบับเดนมาร์ก

  • การมีความเห็นอกเห็นใจ ช่วยให้เรามีความสุขได้มากขึ้นมั้ย ?

การมีความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) นั้นสามารถช่วยเพิ่มความสุขให้กับตัวเราเองได้จริง ด้วยเหตุผลหลักๆ ดังนี้ค่ะ

  1. ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เมื่อเรามีความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่นแล้ว ก็จะทำให้สามารถสร้างสัมพันธ์และความผูกพันที่ดีได้ง่ายขึ้น ซึ่งการมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้างนั้นเป็นปัจจัยสำคัญของความสุข
  2. ลดความขัดแย้งและการโต้เถียงกัน การที่เราเข้าใจมุมมองของฝ่ายตรงข้าม จะช่วยลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้าใจผิดพลาด ส่งผลให้ความสัมพันธ์ราบรื่นขึ้น
  3. เสริมสร้างความมั่นใจในตนเอง การเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดีงาม ทำให้ตัวเราภูมิใจในตนเอง มีความมั่นใจและรู้สึกดีกับการกระทำของตนเอง
  4. ส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น เมื่อเรามีความเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น จะทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ ไม่ตัดสินใคร ไม่มีอคติ ลดความเครียดและความคับข้องใจได้
  5. ได้รับความรักและการยอมรับจากผู้อื่น เมื่อเราเป็นคนที่เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น คนรอบข้างก็มักจะมองว่าเราเป็นคนดี น่ารัก ทำให้ได้รับความรักและการยอมรับมากขึ้น

การฝึกพัฒนาความเห็นอกเห็นใจต้องใช้เวลาและความตั้งใจ แต่จะทำให้คุณเป็นผู้ที่เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสัมพันธ์และการสื่อสารที่ดีกับบุคคลรอบข้าง ความเห็นอกเห็นใจเป็นสิ่งสำคัญเพราะช่วยให้เราเข้าใจว่าคนอื่นกำลังรู้สึกอย่างไร และยังสามารถยับยั้งการกระทำทางสังคม หรือแม้กระทั่งนำไปสู่พฤติกรรมที่ผิดศีลธรรมได้ เช่น คนที่เห็นอุบัติเหตุทางรถยนต์และมีอารมณ์ร่วมที่เห็นเหยื่อเจ็บปวดอย่างรุนแรง ก็อาจมีโอกาสน้อยที่จะช่วยเหลือคน ๆ นั้น ในทำนองเดียวกันหากเรามีความเห็นใจเราจะรีบเข้าไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพจิตดีและจรรโลงจิตใจแล้วยังช่วยจรรโลงสังคมอีกด้วยค่ะ

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save