“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
แนะนำ ยาคลายกล้ามเนื้อ ไม่กัดกระเพาะ กินแล้วไม่อันตราย
อาการปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดหลัง ปวดขา ก็มักจะทำให้เรานึกถึงการกินยาคลายกล้ามเนื้อ แต่ยาคลายกล้ามเนื้อนั้นก็ใช่ว่าจะกินได้บ่อย หรือเหมาะกับทุกคน เพราะหากกินไม่ถูกต้องตัวยาจะกัดกระเพาะได้ และหากกินสะสมเป็นเวลานานอาจส่งผลต่อกระเพาะอาหารจนเกิดแผลในกระเพาะได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น เพื่อการใช้ยาอย่างปลอดภัย เราจะมาแนะนำ ยาคลายกล้ามเนื้อ ไม่กัดกระเพาะ ว่ามีตัวไหนบ้าง รวมถึงความรู้เกี่ยวกับยาคลายกล้ามเนื้อ ห้ามกินกับอะไร เพื่อความปลอดภัยของทุกคนค่ะ
ปวดกล้ามเนื้อต้องระวัง เลือกกิน ยาคลายกล้ามเนื้อ ไม่กัดกระเพาะ เพื่อความปลอดภัย
ยาคลายกล้ามเนื้อสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง และกล้ามเนื้ออักเสบ อาการปวดเมื่อยต่างๆ ได้ แต่ยาคลายกล้ามเนื้อก็มีผลข้างเคียงในการใช้เช่นเดียวกัน ได้แก่ ง่วงนอน เหนื่อยล้า ปากแห้ง ท้องผูก คลื่นไส้ ส่วนผลข้างเคียงที่รุนแรงมากขึ้น ได้แก่ เวียนหัวหรือเป็นลม มองเห็นภาพซ้อน เกิดความสับสน มึนงง ซึ่งหากมีผลข้างเคียงร้ายแรงเหล่านี้ควรไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้แล้วยาคลายกล้ามเนื้อหากกินไม่ถูกต้องก็จะมีผลต่อกระเพาะอาหารของเราด้วยเช่นกัน ซึ่งกลุ่มยาที่กินแล้วกัดกระเพาะ คือ ยากลุ่มเอ็นเสด (NSIADs) ไม่เหมาะสำหรับคนที่อายุมากกว่า 65 ปี เป็นโรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคไตเรื้อรัง หรือกินยาต้านเกล็ดเลือดหรือละลายลิ่มเลือดอยู่ และถ้าหากว่าเป็นยาคลายกล้ามเนื้อ ไม่กัดกระเพาะหล่ะ มีอะไรบ้าง มาดู 5 ยี่ห้อที่เราแนะนำกันค่ะ
1. Norgesic
นอจิสิค เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ ไม่กัดกระเพาะ สามารถกินได้แม้จะเป็นโรคกระเพาะ ประกอบไปด้วยตัวยา paracetamol และ orphenadrine ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้ไม่มีฤทธิ์กัดกระเพาะ หรือเพิ่มการหลั่งกรดจากกระเพาะ จึงใช้รักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และใช้ลดอาการปวดได้
ราคาโดยประมาณ : 55 บาท
2. Mydocalm
มายโดคาล์ม มีตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ใช้ในการรักษาอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้อตึง ส่งผลให้กล้ามเนื้อคลายตัวและหายปวดได้
ราคาโดยประมาณ : 85 บาท
3. Orgesic
ตัวนี้เป็นยากลุ่มเดียวกับ Norgesic ที่เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ ไม่กัดกระเพาะ ช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อลาย มีตัวยา paracetamol และ orphenadrine ที่ไม่มีฤทธิ์กัดกระเพาะเช่นเดียวกัน
ราคาโดยประมาณ : 60 บาท
4. Biocalm
ไบโอคาล์ม ยาคลายกล้ามเนื้อที่มีตัวยาสำคัญ คือ Tolperisone hydrochloride ที่เป็นยาในกลุ่มคลายกล้ามเนื้อ สามารถใช้รักษาอาการที่เกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้ออักเสบได้ไม่กัดกระเพาะ แต่อาจง่วงซึม และเวียนศีรษะได้ จึงควรกินให้ถูกต้อง
ราคาโดยประมาณ : 40 บาท
5. Detapain
อีกหนึ่งยี่ห้อยาที่มีตัวยา paracetamol และ orphenadrine ที่ไม่ออกฤทธิ์กัดกระเพาะ ช่วยรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อาการอักเสบเฉียบพลันตามลำตัว แขน ขา เคล็ด ยอก และหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
ราคาโดยประมาณ : 35 บาท
เกร็ดสุขภาพ : นอกไปจากยาคลายกล้ามเนื้อ ไม่กัดกระเพาะเหล่านี้แล้ว หากมีอาการปวดกล้ามเนื้อไม่มาก ยังสามารถใช้ยาแก้ปวดธรรมดาเพื่อบรรเทาอาการได้ เช่น ยาแก้ปวดพาราเซตามอล ซึ่งสามารถกินได้ไม่มีฤทธิ์กัดกระเพาะ และไม่ระคายเคืองทางเดินอาหาร หากกินแล้วอาการไม่ดีขึ้นถึงค่อยเปลี่ยนไปกินยากลุ่มคลายกล้ามเนื้อแทน
วิธีดูแลตัวเองเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ
นอกไปจากการกินยาเพื่อรักษาอาการกล้ามเนื้อต่างๆ แล้วนั้น เรายังสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยอาหารที่กินเข้าไปอีกด้วย มาดูกันว่าอาหารที่ช่วยต้านการอักเสบ และบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อนั้น มีอะไรบ้าง
• ขมิ้น
เครื่องเทศสีส้มเหลืองที่ทำให้แกงมีสีสันและอร่อย และยังเป็นอาหารที่ดีที่จะรวมเข้ากับมื้ออาหารเพื่อลดการอักเสบ เพราะขมิ้นมีประสิทธิภาพในการลดการอักเสบเช่นเดียวกับยาแก้อักเสบบางชนิด ด้วยสารเคอร์คูมินเป็นสารออกฤทธิ์หลักในขมิ้น ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ
• กระเทียม
กระเทียมไม่เพียงแต่อร่อยเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการอักเสบจากอาการปวดข้อได้อีกด้วย ด้วยเพราะในกระเทียมมีสารประกอบกำมะถันต้านการอักเสบ จึงช่วยบรรเทาอาการอักเสบของข้อและกล้ามเนื้อได้
• เชอร์รี่
เชอร์รี่มีสารประกอบที่เรียกว่าแอนโธไซยานิน เหล่านี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำงานเพื่อบรรเทาอาการปวด และสารต้านอนุมูลอิสระในน้ำเชอร์รี่สามารถลดความเจ็บปวดและการอักเสบจากโรคข้อเข่าเสื่อมได้ รวมถึงลดอาการปวดกล้ามเนื้อของนักกีฬาได้อีกด้วย
• แซลมอน
ปลาแซลมอนเต็มไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีฤทธิ์ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อและป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อได้
• เมล็ดฟักทอง
เมล็ดฟักทองเป็นแหล่งแมกนีเซียมที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยลดการปวดกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการตะคริวที่ขาในตอนกลางคืนได้ และหากต้องการแมกนีเซียมมากขึ้น ให้เพิ่มอัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขมและคะน้า และถั่วเลนทิล ลงในอาหารของคุณ
เกร็ดสุขภาพ : การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อให้ปลอดภัยนั้น ยาคลายกล้ามเนื้อมีทั้งกลุ่มที่กินแล้วไม่กัดกระเพาะอาหาร กับกลุ่มที่กินแล้วกัดกระเพาะอาหาร ซึ่งจะมีผลข้างเคียงคืออาจส่งผลให้เกิดอาการง่วงซึมได้ เมื่อใช้ยาจึงไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ ทำงานกับเครื่องจักร และยาคลายกล้ามเนื้อ ห้ามกินกับอะไรนั้น ไม่ควรกินคู่กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ ส่วนหากกินยาคลายกล้ามเนื้อที่กัดกระเพาะอาหาร ควรกินหลังมื้ออาหารทันทีด้วยค่ะ
ยาคลายกล้ามเนื้อ ไม่กัดกระเพาะเหล่านี้ เราสามารถเลือกกินได้อย่างปลอดภัย แต่ก็ต้องระวังไว้ว่าไม่ควรกินเกินขนาด หรือกินติดต่อเป็นระยะเวลานาน เพราะทั้งยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อสามารถเป็นพิษต่อไตได้ และยาคลายกล้ามเนื้อ ห้ามกินกับอะไรก็ได้รู้กันไปแล้ว จึงควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้อาจมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ขณะใช้ยา ให้ไปพบแพทย์โดยเร็วนะคะ เพราะนั่นอาจหมายถึงคุณกำลังมีอาการแพ้ยาคลายกล้ามเนื้อได้ค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : treatingpain.com, webmd.com, healthline.com, hellokhunmor.com
Featured Image Credit : freepik.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ