X

ใบย่านางรักษาซีสต์ได้จริงหรือไม่? วันนี้เรามีคำตอบ

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

ใบย่านางรักษาซีสต์ ได้จริงหรือไม่? วันนี้เรามีคำตอบ

ถ้าพูดถึงพืชผักที่มีสรรพคุณมากมายต่อร่างกายของเรา หลายๆ คนอาจนึกถึงพืชผักนานาชนิดที่แตกต่างกันไป แต่หากต้องการระบุชัดเจนว่าเป็นพืชผักที่สามารถช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการของซีสต์ได้ เชื่อว่าหลายๆ คนต้องนึกใบย่านางเป็นอันดับแรกๆ อย่างแน่นอน ดังนั้นวันนี้เราจึงเลือกหยิบหัวข้อเกี่ยวกับใบย่านางว่า มีสรรพคุณอื่นๆ อีกไหม ใบย่านางรักษาซีสต์ ได้จริงหรือไม่ และใบย่านาง โทษของมันเมื่อรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปจะเป็นอย่างไร

ใบย่านาง คืออะไร?

ใบย่านางรักษาซีสต์, ใบย่านาง โทษ
Image Credit : komchadluek.net

ก่อนที่จะทราบถึงว่าใบย่านางรักษาซีสต์ได้จริงหรือไม่ สิ่งที่เราควรรู้คือ ใบย่านาง หรือในบริเวณภาคกลางจะเรียกว่า เถาย่านาง เป็นพืชในตระกูลไม้เลื้อย มีถิ่นกำเนิดมาจากบริเวณตอนกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย ลาว และกัมพูชา ซึ่งความจริงแล้วใบย่านางถือว่าเป็นพืชที่สามารถพบได้ตามป่าผลัดไป ป่าดงดิบ และป่าโปร่งในทุกภาคของประเทศไทย แต่ในปัจจุบัน ด้วยสรรพคุณที่โดดเด่น จึงนิยมนำมาปลูกในบริเวณบ้านนำมาเป็นส่วนประกอบในมื้ออาหารและนำมาเป็นยาสมุนไพร

  • ใบย่านางรักษาซีสต์ ได้จริงหรือไม่?

หากถามว่าใบย่านางรักษาซีสต์ได้หรือไม่ คำตอบคือ ใบย่านางรักษาซีสต์ได้จริง เพราะซีสต์ คือ ถุงน้ำที่เกิดขึ้นบนเนื้อเยื่อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มีลักษณะคล้ายถุงหรือเม็ดแคปซูลที่อยู่ติดกัน ภายในมักบรรจุของเหลว ของแข็งกึ่งของเหลว หรืออากาศไว้ และในใบย่านางก็ อุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามินซี คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส อีกทั้งในใบย่านางนั้น ยังมีคุณสมบัติในการช่วยรักษาฝีและหนอง ดังนั้นใบย่านางจึงสามารถช่วยลดขนาดถุงซีสต์ที่เกิดขึ้นในร่างกายของเราได้

เกร็ดสุขภาพ : นอกจากใบย่านางรักษาซีสต์แล้ว ยังมีอีกพืชผักที่สามารถรักษาซีสต์ได้ นั่นคือ ผักคะน้าเม็กซิโก ที่นอกเหนือจากรักษาซีสต์แล้ว ยังสามารถช่วยในการบำรุงสมอง กระตุ้นการทำงานของตับให้ดีขึ้น กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก และที่สำคัญ มีรสชาติที่อร่อยและรับประทานได้ง่าย เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัยอีกด้วย

  • ประโยชน์อื่นๆ ของใบย่านาง

ใบย่านาง รักษาซีสต์, ใบย่านาง โทษ

นอกจากใบย่านางรักษาซีสต์ได้แล้ว ใบย่านางยังมีสรรพคุณที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายของเราอีกมากมาย ดังนี้

  1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมาก ช่วยลดการเกิดริ้วรอยและความเหี่ยวย่นของผิวหนังตามกาลเวลาได้ อีกทั้งยังทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น ดูมีสุขภาพที่ดี
  2. สามารถช่วยปรับสมดุลต่างๆ ในร่างกายให้มีความเป็นปกติ ช่วยในการฟื้นฟูเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย อีกทั้งยังสามารถช่วยคลายร้อนให้แก่ร่างกายได้อีกด้วย จึงมักนิยมนำเป็นปรุงเป็นอาหารคลายร้อน
  3. ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง อีกทั้งด้วยความที่เป็นพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นจึงเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งอย่างมาก
  4. ช่วยในการกระตุ้นการเผาผลาญไขมันเพื่อนำมาเป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย จึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารลดความอ้วนเมนูต่างๆ
  5. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และรวมไปถึงโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย
  6. ช่วยรักษาอาการอ่อนเพลีย ปวดหรือวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดคล้ายเป็นลม ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้ยังสามารถช่วยในเรื่องของอาการของโรคภูมิแพ้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ไอจาม มีน้ำมูก หรือมีเสมหะ ใบย่านางก็สามารถช่วยบรรเทาลงได้

เกร็ดสุขภาพ : โรคความดันโลหิตสูง คือ โรคที่ผู้ป่วยมีอัตราความดันโลหิตที่สูงจนผิดปกติ นั่นคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงเองมักมีอาการปวดหัว เวียนหัว รู้สึกมึนงงบ่อย และมีอาการที่เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ซึ่งอาการของโรคความดันโลหิตสูงนั้น อาจฟังดูไม่น่ากลัวและไม่น่ากังวลเสียเท่าไหร่ แต่ความน่ากลัวจริงๆ ของโรคนี้คือ สามารถเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง เส้นเลือดโป่งพอง และรวมไปถึงภาวะไตวายอีกด้วย โดยที่การป้องกันโรคนี้ คือการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และจำกัดโซเดียมในอาหารให้ไม่เกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับเกลือแกงจำนวน 1 ช้อนชา เพียงเท่านี้ก็จะสามารถลดโอกาสการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้แล้ว

  • ใบย่านาง โทษของการรับประทานที่มากจนเกินไป

ใบย่านางรักษาซีสต์, ใบย่านาง โทษ

แน่นอนว่าประโยชน์ของใบย่านางนั้นมีมากมาย และเป็นประโยชน์ที่น่าสนใจมากๆ แต่เราก็ควรที่จะรับประทานอย่างพอดี เพราะหากรับประทานมากจนเกินไป ใบย่านาง โทษของมันมีดังนี้

  1. ด้วยความที่ใบย่านางมีสรรพคุณเป็นพืชฤทธิ์เย็น หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำลง ความดันโลหิตต่ำ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการอ่อนแรง เลือดไหลเวียนไม่ดี และผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิตจาง และผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ ควรรับประทานอย่างพอประมาณหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานใบย่านางเลย
  2. ใบย่านางมีกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ อาจทำให้ผู้ที่ไม่ถูกใจในกลิ่นหรือรสชาติ เกิดอาการพะอืดพะอม ไม่สบายท้องได้

สรรพคุณของใบย่านางนั้นมีทั้งรักษาซีตส์ ป้องกันโรคมะเร็ง ปรับสมดุลร่างกาย คลายร้อน และอีกมากมาย อีกทั้งยังสามารถหาได้ง่าย การรับประทานใบย่านางจึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์คนรักสุขภาพเป็นอย่างมาก แต่ก็ควรรับประทานอย่างพอเหมาะพอดี เพื่อไม่ให้กลายเป็นโทษต่อร่างกายของเราได้

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : pharmacy.mahidol.ac.th, medthai.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save