X

ADHD โรคนี้ทำไมต้องรู้จัก ?! ชวนดูอาการสมาธิสั้น ก่อนที่จะสายเกินไป

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

ADHD โรคนี้ทำไมต้องรู้จัก ?! ชวนดูอาการสมาธิสั้น ก่อนที่จะสายเกินไป

เคยไหมบ้างครั้งเราอาจเห็นพฤติกรรมของเด็กว่าทั้งดื้อทั้งซน อยู่ไม่สุข หรือในผู้ใหญ่เองอาจพบว่ามีอาการหุนหันพลันแล่นและขาดสมาธิในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน หากคุณพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นเพราะ โรค ADHD หรือโรคสมาธิสั้นก็ได้ สำหรับใครที่อยากรู้ว่าสมาธิสั้นอาการเป็นอย่างไร มีสาเหตุที่แน่ชัด วิธีป้องกัน และแนวทางการรักษาหรือไม่ รวมถึงอาการของเด็กสมาธิสั้นเป็นแบบไหน จะดูแลเด็กๆ ที่มีอาการป่วยอย่างไร เรามีคำตอบมาฝาก

โรค ADHD คืออะไร ?

adhd โรค, สมาธิสั้นอาการ

ADHD หรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder เป็นอาการผิดปกติที่มักได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่วัยเด็ก หมายถึงอาการผิดปกติทางพัฒนาการของระบบประสาทและสมองส่วนควบคุมพฤติกรรม หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เด็กอาจส่งผลมาถึงวัยผู้ใหญ่จนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและส่งผลกระทบต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ไปจนถึงเกิดอันตรายบางอย่างในการใช้ชีวิตด้วย เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์

  • สาเหตุของโรค ADHD

แม้ปัจจุบันจะยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคสมาธิสั้นหรือ ADHD แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบว่าการเกิดโรคนี้อาจเชื่อมโยงกับยีนของคนเราอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดโรค ดังนี้

  • อาการบาดเจ็บที่สมอง
  • การสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ เช่น สารตะกั่ว ระหว่างตั้งครรภ์หรือในช่วงวัยหนุ่มสาว
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
  • การคลอดก่อนกำหนด
  • เด็กทารกแรกเกิดที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

เกร็ดสุขภาพ : อาการผิดปกติทางสมองส่วนใหญ่อาจมีสาเหตุที่มาไม่แน่นอนและไม่ชัดเจน แต่บางโรค เช่น ptsd ก็มีที่มาที่ไปชัดเจน คนที่สงสัยว่า ptsd คืออะไร ก็คือโรค post traumatic stress disorder เป็นโรคทางจิตเวชที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่เคยพบหรือสัมผัสกับเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง เป็นสภาวะที่จิตนึกถึงเหตุการณ์นั้นแบบย้อนหลังและไม่สามารถควบคุมอารมณ์หรือความรู้สึกได้ แต่ก็สามารถรักษาได้ด้วยการปรึกษาจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงความเข้าใจจากครอบครัวและคนใกล้ตัว

  • อาการของ ADHD เป็นอย่างไร
adhd โรค, สมาธิสั้นอาการ
  • อาการ ADHD โรคที่เกิดในเด็ก

เนื่องจาก ADHD เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เราจึงขอแบ่งอาการออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาการของเด็กสมาธิสั้นและอาการของโรคในผู้ใหญ่ ซึ่งอาการในเด็กมีดังนี้

  1. ไม่มีสมาธิในการเรียน ทำงาน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน
  2. ขาดสมาธิแม้แต่ในเวลาเล่นหรือทำกิจกรรมนันทนาการ
  3. ใจลอย ดูเหมือนไม่ใส่ใจฟังเพื่อนหรือครู
  4. ทำตามคำสั่งไม่ครบ ไม่ว่าจะเป็นงานบ้านหรือการเรียน โดยสาเหตุไม่ได้เกิดจากการต่อต้านของตัวเด็กเองแต่เกิดจากขาดสมาธิ
  5. ทำงานไม่เป็นระเบียบ
  6. ไม่ชอบงานที่ต้องใช้ความคิด
  7. ทำของหายบ่อย ขี้ลืม
  8. วอกแวกไปกับสิ่งเร้าภายนอกได้ง่าย
  9. มีอาการซน อยู่ไม่สุข
  • ADHD โรคที่เกิดในผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นโรคชนิดนี้ได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่เด็กหรืออาจเกิดอาการของโรคขึ้นในช่วงวัยรุ่นหรือวัยทำงาน โดยอาการที่เกิดขึ้นก็คือ

  1. เหม่อลอย สติไม่อยู่กับเนื้อกับตัว วอกแวกง่าย ฟังคู่สนทนาแล้วจับใจความไม่ได้หรือทำงานผิดพลาดบ่อยๆ
  2. ขี้ลืมและมักจะมีปัญหากับการจัดระเบียบงาน สถานที่อยู่อาศัย หรือโต๊ะทำงานของตัวเอง
  3. อารมณ์ฉุนเฉียว หุนหันพลันแล่น พูดแทรกผู้อื่น หรือมีปัญหาเรื่องการยับยั้งคำพูดและการกระทำ
  4. เบื่อง่าย ทำอะไรตามอารมณ์ อาจมีความรู้สึกอึดอัดเวลานั่ง ยืน หรือรอคอยอะไรนานๆ 
  5. รู้สึกกระวนกระวายใจ อยู่ไม่สุขเวลาประชุมหรือเวลาที่ต้องทำงานเดิมนานเกินไป
  6. เครียด หงุดหงิดง่าย ไม่สามารถรอคอยหรือปฏิบัติตามกฎได้จนอาจเกิดเรื่องอันตรายตามมา เช่น ผ่าไฟแดง หรือเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

เกร็ดสุขภาพ : ADHD โรคนี้เป็นโรคที่ดูเหมือนไม่รุนแรง บางคนอาจมองว่าเป็นปัญหาด้านสมาธิเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเมื่อเป็นโรคนี้จะส่งผลกระทบทั้งต่อการใช้ชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง นอกจากนี้ยังมีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุหลายอย่าง ดังนั้นหากรู้ตัวว่ามีอาการของ ADHD ก็ควรเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมจะดีที่สุด

  • วิธีป้องกัน ADHD โรคนี้ทำอย่างไรได้บ้าง
adhd โรค, สมาธิสั้นอาการ
  1. ปรับพฤติกรรมและกระตุ้นพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสม
  2. กินยาตามแพทย์สั่ง ส่วนใหญ่มักเป็นยาที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทอย่างเป็นปกติมากขึ้น อาการส่วนใหญ่ของผู้ป่วยจะดีขึ้นภายใน 1 – 4 สัปดาห์หลังกินยา
  3. ให้เด็กเรียนตัวต่อตัวหรือหาแนวทางการเรียนที่เหมาะสมกับเด็ก ก่อนจะหาแนวทางปรับการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กต่อไป
  4. เข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือปรึกษาสุขภาพจิตฟรีผ่านช่องทางออนไลน์ก็ได้ เพื่อหาแนวทางการเลี้ยงเด็กสมาธิสั้นหรือวิธีการรับมือกับอาการต่างๆ ของโรคอย่างเหมาะสม

ได้รู้กันไปแล้วว่าสมาธิสั้นอาการเป็นอย่างไร และรู้แล้วว่าโรคนี้มีผลเสียตามมามากกว่าที่เราคิด หากรู้ตัวว่าตัวเองหรือคนรอบข้างมีอาการก็ควรปรับพฤติกรรมและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมให้เร็วที่สุด โดยอาศัยการกินยาเพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมองร่วมกับวิธีการรักษาแบบทางเลือกอื่นๆ เช่น การนั่งสมาธิและใช้ท่านั่งสมาธิที่ถูกต้องเพื่อฝึกความอดทน ฝึกสมาธิ ฝึกจิตให้นิ่ง หรือจะเริ่มจากการทำงานอดิเรกที่เราชอบเพื่อฝึกสมาธิก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถหายจากอาการสมาธิสั้นและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : cdc.gov, psychiatry.org, bangkokhospital.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save