“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
ชวนรู้จักประโยชน์ โทษของมะรุม เทรนด์สุขภาพที่จะมาแรงในปี 2022
มะรุม พืชผักที่เรานิยมนำเอามาทำอาหาร และสามารถใช้ได้ทั้ง ใบ ฝัก และเมล็ด ให้ออกมาเป็นเมนูเพื่อสุขภาพได้อย่างง่ายๆ ทั้งยังอร่อยอีกด้วย เพราะมะรุมจัดว่าเป็นพืชที่ได้รับการยกย่องว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพมาเป็นเวลาหลายพันปี อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสุขภาพและสารประกอบจากพืชที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ จึงจัดว่าประโยชน์สมุนไพรอย่างมะรุมนั้นดีต่อร่างกาย และก่อนที่เราจะไปดูว่ามะรุมนั้นเอามาทำเมนูสุขภาพอะไรได้บ้าง มารู้จักกันค่ะว่า โทษของมะรุม และประโยชน์ดีๆ ของมันนั้นคืออะไร
โทษของมะรุม และประโยชน์มีอะไรบ้าง รู้ก่อนตามเทรนด์สุขภาพที่กำลังมาแรง
มะรุมเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ และอัฟกานิสถาน และยังเติบโตได้ดีในเขตร้อน ซึ่งใบ เปลือก ดอก ผล และเมล็ดของมันนิยมใช้ทำยา มะรุม สรรพคุณยังช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โรคข้ออักเสบ และรักษาอาการปวดข้ออื่นๆ นอกจากนี้ประโยชน์อื่นๆ ของมะรุมยังมีอีกมากมาย รวมถึงโทษของมะรุม ดังนี้
- อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารประกอบที่ต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายของเรา นอกจากใบย่านางรักษาซีสต์ได้เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระมากแล้วนั้น ในมะรุมนั้นนอกจากวิตามินซีและเบต้าแคโรทีนแล้ว ยังพบสารประกอบจากพืชต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดในใบของมะรุมอีกด้วย มีประสิทธิภาพช่วยลดความดันโลหิตได้ จากการศึกษาพบว่าการกินผงใบมะรุม 1.5 ช้อนชาทุกวันเป็นเวลาสามเดือน จะเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดได้ค่ะ
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
น้ำตาลในเลือดสูงอาจเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง และเป็นลักษณะสำคัญของโรคเบาหวาน ซึ่งน้ำตาลในเลือดสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงมากมายรวมถึงโรคหัวใจ การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ และจากการศึกษาพบว่ามะรุม สรรพคุณอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากสารประกอบพืชในมะรุม เช่น ไอโซไทโอไซยาเนต ที่พบได้ในใบ
เกร็ดสุขภาพ : วิตามินซีที่มีอยู่ในตำรายาพื้นบ้าน จะนิยมใช้ใบมะรุมพอกแผลเพื่อช่วยห้ามเลือด ลดการอักเสบ ส่วนเมล็ดจะบดและพอกแก้ปวดตามข้อ และแก้ไข้ได้ นอกจากนี้มะรุมยังช่วยให้นอนหลับ เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ และเป็นยาบำรุงอีกด้วย
- ลดการอักเสบ
ก่อนจะไปรู้ถึงโทษของมะรุม มาดูประโยชน์อีกหนึ่งข้อของมะรุมคือ ช่วยลดการอักเสบได้ การอักเสบคือการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่อการติดเชื้อหรือการบาดเจ็บ แต่อาจกลายเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญหากยังคงเป็นอยู่เป็นเวลานาน ซึ่งการอักเสบอย่างต่อเนื่องนั้นเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพเรื้อรังมากมาย รวมถึงโรคหัวใจและมะเร็ง ในขณะที่ผลไม้ ผัก สมุนไพร และเครื่องเทศส่วนใหญ่ มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ รวมถึงใบมะรุม ฝัก และเมล็ด ที่มี isothiocyanates เป็นสารต้านการอักเสบหลักที่พบได้
- ลดคอเลสเตอรอล
แน่นอนว่าการมีคอเลสเตอรอลสูงจะเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจ แต่อาหารจากพืชหลายชนิดสามารถลดคอเลสเตอรอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ เมล็ดแฟลกซ์ ข้าวโอ๊ต อัลมอนด์ รวมถึงมะรุม ที่ใบของมันสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลของเรา และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ค่ะ
- รักษาโรคหอบหืด
จากการวิจัยเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าการกินมะรุม 3 กรัม วันละสองครั้งเป็นเวลา 3 สัปดาห์ จะช่วยลดความรุนแรงของอาการหอบหืด และปรับปรุงการทำงานของปอดในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหอบหืดระดับเล็กน้อยถึงปานกลางได้
เกร็ดสุขภาพ : รู้หรือไม่ว่ามะรุมช่วยรักษาภาวะทุพโภชนาการในเด็กได้ จากการวิจัยเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าการเติมผงมะรุมลงในอาหารเป็นเวลา 2 เดือนจะช่วยปรับปรุงน้ำหนักในเด็กที่ขาดสารอาหารได้ นอกจากนี้การเพิ่มใบมะรุมสดลงในอาหารเป็นเวลา 3 เดือนจะช่วยให้อาการวัยหมดประจำเดือนดีขึ้นอีกด้วย เช่น อาการร้อนวูบวาบและปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
โทษของมะรุมมีหรือไม่ ?
โทษของมะรุมนั้นจะไม่มีหากกินในปริมาณที่เหมาะสม เพราะมะรุมนั้นปลอดภัยเมื่อกินใบ ฝัก และเมล็ด โดยใบและเมล็ดมะรุมปลอดภัยเมื่อกินเป็นยาในระยะสั้น ไม่ควรกินติดต่อกันนานเกิน 90 วัน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากมะรุม เช่น ผงมะรุม หรือแคปซูลมะรุมต่างๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยแต่ไม่ควรเกิน 3 สัปดาห์ ส่วนโทษของมะรุมจริงๆ นั้น จะมาจากสารสกัดจากรากมะรุม เพราะรากอาจไม่ปลอดภัยในการกินเนื่องจากประกอบด้วยสไปโรชิน ซึ่งเป็นสารพิษชนิดหนึ่ง หากกินเข้าไปจะเป็นสาเหตุของอัมพาตหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้โทษของมะรุมยังมีต่อผู้ที่กำลังตั้งครรภ์อีกด้วย เพราะสารเคมีที่อยู่ในราก เปลือก และดอกของมะรุม อาจทำให้มดลูกหดตัวและเป็นสาเหตุให้แท้งได้ ทางที่ดีจึงไม่ควรกินมะรุมหากกำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรค่ะ
เมนูแนะนำ
มะรุมเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ และสามารถปลูกได้ง่ายและมีราคาถูก ใบของมันจะเก็บวิตามินและแร่ธาตุไว้มากมายเมื่อตากให้แห้ง และทำเป็นผงเพื่อใช้เป็นเครื่องปรุงรส หรือบรรจุในรูปแบบแคปซูล ส่วนใบสดนิยมนำมาใส่ในอาหาร หรือนำมาต้มแล้วดื่ม ส่วนฝักเขียวอ่อนนิยมนำมาใส่ในอาหารได้หลากหลายเมนู ในขณะที่เมล็ดจะนำไปจากแห้งแล้วนำมาต้มเป็นชา เหมือนน้ำขิง สรรพคุณก็ดีเช่นกัน หรือนำมาบดเป็นผงกินเป็นสมุนไพรเช่นเดียวกับใบ ส่วนเมนูที่ทำจากมะรุมที่กินแล้วดีต่อสุขภาพ ได้แก่
- แกงส้มมะรุม
- ไข่เจียวใบมะรุม
- แกงคั่วยอดมะรุม
- แกงอ่อมยอดมะรุม
- ผัดมะรุมใส่ไข่
- ต้มจืดยอดมะรุม
มะรุม สรรพคุณนั้นมีมากมายที่ดีต่อสุขภาพ และหากกินอย่างถูกวิธีและปริมาณที่เหมาะสมก็ไม่ต้องกังวลถึงโทษของมะรุม เพราะเราสามารถนำมะรุมไปทำได้ทั้งอาหารและกินเป็นยาได้ แต่ข้อควรระวังอีกอย่างคือ มะรุมยังไม่มีผลในการรักษาโรคต่างๆ ได้ แต่หากกินเป็นประจำตามปริมาณที่แนะนำ ก็สามารถป้องกันเราจากโรคร้ายได้ค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : healthline.com, webmd.com, rxlist.com, pobpad.com, pharmacy.mahidol.ac.th
Featured Image Credit : istockphoto.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ