X

แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม ? ทำความรู้จักโรคฮันกือรือใน Move to Heaven !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม ? ทำความรู้จักโรคฮันกือรือใน Move to Heaven !

เชื่อว่ามีหลายคนที่ได้ดูซีรีย์ Move To Heaven ทาง Netflix กันไปบ้างแล้ว ตัวเอกของเรื่องนี้อย่างฮันกือรือคือเด็กที่มีอาการของโรค แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม แต่ถึงจะเรียกว่าเป็นความบกพร่องทางสติปัญญา แต่กือรูก็แสดงให้เห็นถึงความสามารถหลายอย่างที่ต่างจากคนทั่วไป เช่น ความสามารถในการจดจำ วันนี้เราจึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกันว่า asperger คืออะไร เพื่อให้เราเข้าใจผู้ที่มีอาการนี้กันให้มากกว่าเดิมค่ะ

แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม คืออะไร ?

แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม, asperger คือ
Image Credit : Netflix

โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Disorder) หรือหรือแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม (Asperger’s Syndrome) คืออาการที่เกี่ยวกับความบกพร่องทางสติปัญญารูปแบบหนึ่ง มีลักษณะเฉพาะตัวและมีความคล้ายกับอาการในกลุ่มออทิสติก แต่รายละเอียดของอาการนั้นมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังต่างจากอาการทางจิตอื่นๆ หากใครรู้ว่าอาการป่วย ptsd คืออะไร จะเข้าใจว่าทั้งสองอาการนั้นไม่เหมือนกันค่ะ

asperger คือโรคที่ปรากฎอยู่ในบันทึกการแพทย์มานานกว่า 70 ปีแล้ว ตั้งแต่ค.ศ.1934 นายแพทย์ ฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger) กุมารแพทย์ชาวออสเตรียได้กล่าวถึงเด็กที่มีอาการเข้าสังคมลำบาก หมกมุ่นกับการทำอะไรซ้ำๆ และพูดเก่งมากรวมถึงมีความฉลาดมากกว่าคนทั่วไป อย่างไรก็ตามงานวิจัยชิ้นนี้ไม่มีผู้สานต่อเพราะเจอปัญหาช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากสงครามสงบจึงมีนักวิจัยนำกลับมาศึกษาอีกครั้ง เป็นที่มาของการค้นพบโรคแอสเพอร์เกอร์ในที่สุด

เกร็ดสุขภาพ : รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้วมีการค้นพบอาการของแอสเพอร์เกอร์ก่อนออทิสติกอีกนะ แต่อย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นคืองานวิจัยไม่ถูกนำมาศึกษาต่อจนเงียบหายไป แต่ปัจจุบันหลังจากมีผู้นำงานวิจัยเกี่ยวกับอาการนี้มาค้นคว้าต่อ ก็ทำให้เรารู้จักแอสเพอร์เกอร์กันดีขึ้นกว่าเดิม

  • อาการของโรคแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม
แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม, asperger คือ

อาการของ asperger คืออาการบกพร่องทางสติปัญญาที่มีลักษณะเฉพาะ แบ่งออกได้หลายกลุ่ม คือ

  1. การเข้าสังคมผิดปกติ : ผู้ป่วยจะไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางหรือภาษากายได้ตามปกติ ไม่สามารถสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนตามระดับอายุได้อย่างเหมาะสม ไม่แสดงออกว่าชอบหรืออยากเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ไม่แสดงออกชัดเจนว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร รวมถึงไม่มีอารมณ์ตอบสนองกับสังคมรอบตัว คล้ายกับการที่ฮันกือรือไม่แสดงสีหน้า ท่าทาง และไม่ค่อยสบตากับคู่สนทนานั่นเอง
  2. มีพฤติกรรมความสนใจหรือทำอะไรซ้ำๆ มักหมกมุ่นกับสิ่งนั้นๆ และทำซ้ำอยู่เสมอ เช่นการที่กือรูชอบดูปลาและมักท่องรายละเอียดของปลาสายพันธุ์ต่างๆ ที่เคยอ่านสมัยเด็กออกมาเวลาเครียดหรือคุมอารมณ์ไม่อยู่
  3. ยึดติดกับกิจวัตรประจำวันเดิมๆ ไม่ยืดหยุ่น เช่น ที่นามูบอกกับคุณอาซังกูว่าฮันกือรือมี “กฎ” ของตัวเอง และคนที่มาอาศัยอยู่ด้วยต้องทำตามกฎนั้น

อย่างไรก็ตามอาการของแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมนี้ไม่พบว่าส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่น เช่น ด้านภาษาหรือความคิด เพราะผู้ป่วยจะยังมีพัฒนาการทางภาษาหรือกระบวนการคิดตามปกติ ที่สำคัญยังมีความอยากรู้อยากเห็นและมีการเรียนรู้ที่รวดเร็วในด้านที่ตนสนใจอีกด้วย

  • การรักษาและวิธีดูแลผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม
แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม, asperger คือ

การรักษาแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรมในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาแบบเฉพาะให้หายขาด แต่ก็สามารถช่วยเหลือให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการทางสังคมดีขึ้นเพื่อให้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติมากที่สุด โดยแพทย์จะใช้แนวทางการรักษาแบบเดียวกับผู้ป่วยในกลุ่มออทิสติก เน้นแก้ไขเฉพาะด้านที่เป็นปัญหาควบคู่ไปกับการส่งเสริมพัฒนาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก 

ส่วนวิธีการดูแลเมื่อเราต้องรับผิดชอบเด็กหรือผู้ป่วยที่มีอาการของแอสเพอร์เกอร์ สามารถทำได้ดังนี้

  1. เล่นกับพวกเขาโดยเอาความสนใจของพวกเขาเป็นหลัก จากนั้นจึงค่อยๆ ขยายความสนใจไปแง่มุมอื่นๆ เพื่อให้เกิดการแบ่งปันความสนใจและอารมณ์ร่วมกัน
  2. เลือกพูดคุยกับพวกขาด้วยคำง่ายๆ เพื่อให้เขาค่อยๆ ซึมซับ แบบเดียวกับที่คุณพ่อและคุณแม่ของฮันกือรือเลือกใช้ภาษามือเพื่อสื่อสารกับเขา และเลือกใช้วิธีสอนโดยการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ ให้เขาเข้าใจได้ง่ายที่สุดนั่นเอง
  3. สร้างบรรยากาศในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้ผ่อนคลายมากที่สุด ไม่ทำให้เครียด และเน้นความเป็นกันเอง
  4. หากเด็กหรือผู้ป่วยต้องเข้าร่วมสังคมหรือทำกิจกรรมกับคนกลุ่มใหญ่ ควรจัดกลุ่มเล็กๆ เพื่อให้พวกเขาเรียนรู้กฎก่อนแล้วจึงให้พวกเขาร่วมกิจกรรมกับคนอื่นๆ
  5. หากเป็นกฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง ต้องใช้คำสั่งที่มีมาตรฐานเดิม คงเส้นคงวา ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบ่อยๆ
  6. สนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อลดการหมกมุ่นกับอะไรเดิมๆ เพียงอย่างเดียว

เกร็ดสุขภาพ : จะเห็นได้ว่าการดูแลเด็กหรือผู้ที่ป่วยเป็นแอสเพอร์เกอร์นั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งที่ยากคือ “ความเข้าใจและความอดทน” ที่คุณพ่อคุณแม่หรือคนที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วยสามารถดูได้ว่าปรึกษาจิตแพทย์ที่ไหนเพื่อขอแนวทาง เพราะเด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์นั้นมีลักษณะเฉพาะตัวค่อนข้างมาก แต่หากได้ดู Move To Heaven เราจะเห็นว่าพ่อและแม่ของฮันกือรือนั้นอดทนและใจเย็นมาก เมื่อเขาไม่ยอมพูดก็ไม่บีบบังคับ แต่เลือกหาวิธีที่จะสื่อสารกันให้เข้าใจแบบง่ายที่สุด นอกจากนี้คุณพ่อของเขายังทำกิจวัตรทุกอย่างอย่างเป็นระบบระเบียบ เป็นการปรับตัวให้เหมาะสมกับอาการของลูกชายนั่นเอง

แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรมเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับสติปัญญาก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีอาการนี้ต้องเข้าสังคมลำบากหรือไม่สามารถใช้ชีวิตทั่วไปได้นะคะ หากเราเอาใจใส่ ดูแล และเข้าใจ และลองใช้วิธีให้กำลังใจคนซึมเศร้าในการให้กำลังใจพวกเขา พวกเขาก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติในแบบของตัวเองอย่างมีความสุขได้เช่นกันค่ะ หวังว่าบทความนี้คงทำให้หลายคนที่อยากรู้จักกับแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมได้เข้าใจถึงลักษณะอาการและวิธีการอยู่ร่วมกับผู้ที่เป็นโรคนี้ได้ดีขึ้นนะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : th.rajanukul.go.th, manarom.com, aspieinfo.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save