“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ดูแลตัวเองยังไงดี ?! แนะวิธีดูแลตัวเองให้กลับมาแข็งแรง !
หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท เป็นอาการที่พบได้มากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ และมีท่านั่งทำงานที่ไม่ถูกต่อสุขลักษณะ ส่งผลให้เกิดอาการปวดที่บริเวณเอว และอาจเกิดอาการปวดที่แสบร้อน หรือแผ่ออกจากหลังส่วนล่าง ผ่านก้น และลามไปตามขาได้ ซึ่งหมอนรองกระดูกเคลื่อนสามารถเกิดขึ้นได้ในส่วนใดส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลัง และทำให้เส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงระคายเคืองได้นั่นเอง ในบางคนอาจปวด ชา หรืออ่อนแรงที่แขนหรือขา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหมอนรองกระดูกเคลื่อนด้วยค่ะ และ หมอนรองกระดูกทับเส้น ประสาทรักษาหายไหมนั้น วิธีรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา บำบัด และผ่าตัด ในบทความนี้เราจะให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ดูแลตัวเองอย่างไร และรักษาอย่างไรบ้างค่ะ
- ชวนรู้ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ดูแลตัวเองอย่างไร ? และหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทรักษาหายไหม ?
ก่อนที่เราจะมารู้ถึงว่าหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ดูแลตัวเองอย่างไรบ้างนั้น เรามารู้จักสาเหตุกันก่อนค่ะ สาเหตุหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น มักเป็นผลจากการสึกหรอตามอายุ เมื่อเราอายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกของเราจะมีความยืดหยุ่นน้อยลงและมีแนวโน้มที่จะฉีกขาดหรือแตกออกได้แม้จะเกิดแรงตึงหรือบิดเพียงเล็กน้อย รวมถึงการใช้กล้ามเนื้อหลังแทนกล้ามเนื้อขาและต้นขาเพื่อยกของหนักอาจนำไปสู่หมอนรองกระดูกเคลื่อนได้เช่นเดียวกัน แต่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ดูแลตัวเองได้ รวมไปถึงการรักษาต่างๆ จะมีวิธีอย่างไรบ้างนั้น มาดูกันเลย
เกร็ดสุขภาพ : ปัจจัยที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของหมอนรองกระดูกเคลื่อน นอกไปจากอายุแล้วนั้น ได้แก่
• น้ำหนักตัวที่มากเกินไปทำให้เกิดความเครียดมากขึ้นที่หลังส่วนล่าง
• ผู้ที่ทำงานหนักมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาบริเวณหลังได้ เช่น การยกของหนัก ทำให้มีการดึง ดัน งอไปด้านข้าง และการบิดซ้ำๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้
• การสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่อาจไปลดปริมาณออกซิเจนไปยังหมอนรองกระดูก ทำให้เกิดการสลายเร็วขึ้
• การใช้งานกระดูกสันหลังที่ไม่ถูกต้อง เช่น ท่านั่งทำงานไม่ถูกวิธี หรือนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ จนเป็นออฟฟิศซินโดรม ก็สามารถทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมได้เช่นกัน
- หมอนรองกระดูกทับเส้น ประสาทดูแลตัวเองได้ง่ายๆ ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้
- บำบัดด้วยความร้อนและเย็น
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ด้วยการประคบความร้อนและเย็น เพราะสามารถช่วยบรรเทาความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและอาการปวดได้ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่มักเกิดขึ้นกับหมอนรองกระดูกเคลื่อนตัวที่เอว ความร้อนช่วยคลายความตึงของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดอาการกระตุก เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และปรับปรุงความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ส่วนความเย็นจะลดอุณหภูมิของเนื้อเยื่อช่วยลดอาการปวดและต้านการอักเสบได้
- ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายระดับปานกลางจะช่วยหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน และช่วยบรรเทาอาการปวดได้หากมีหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทบริเวณเอว เพราะสารเอ็นดอร์ฟินจะสามารถปรับปรุงอารมณ์ของเราได้อย่างเป็นธรรมชาติ และลดการรับรู้ถึงความเจ็บปวด ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่มีหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทสามารถออกกำลังที่มีแรงกระแทกต่ำได้ เช่น เดินออกกำลังกายในสวนสาธารณะ หรือเดินบนลู่วิ่ง ปั่นจักรยานช้าๆ เล่นโยคะยืดเส้น เป็นต้น แต่หากอาการปวดรุนแรงขึ้นอาจต้องลองทำกิจกรรมที่ใช้น้ำเป็นหลัก เช่น วารีบำบัด การลอยตัวเพื่อต้านแรงโน้มถ่วงและลดการรับน้ำหนักที่วางบนหมอนรองกระดูกสันหลัง หรือการว่ายน้ำ
- ปรับเปลี่ยนท่านอน
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ดูแลตัวเองได้แค่ปรับเปลี่ยนท่านอน เพราะท่านอนบางท่าช่วยบรรเทาอาการปวดหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้ หากมีอาการปวดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทบริเวณเอวรุนแรงขึ้นในช่วงกลางคืน การเปลี่ยนท่านอนจะทำให้เรานอนหลับสบายในท่าที่ช่วยลดแรงกดจากกระดูกสันหลังได้ โดยการใช้หมอนหนุนใต้เข่าเพื่อช่วยคลายความตึงเครียดที่หลังส่วนล่าง และการนอนตะแคงโดยใช้หมอนรองระหว่างเข่าเพื่อให้กระดูกสันหลังตรงและสะโพกสมดุล ซึ่งตำแหน่งการนอนและตำแหน่งหมอนมักจะถูกกำหนดโดยตำแหน่งของหมอนรองกระดูกเคลื่อน ลองขยับหมอนและตำแหน่งต่างๆ เพื่อดูว่าแบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด
- การนวดเพื่อลดอาการปวด
การนวดเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดด้วยตนเองเพื่อปรับปรุงอาการปวดหลังส่วนล่าง สามารถทำได้ที่บ้านด้วยการใช้ไม้เท้านวดกดทับที่จุดกดเจ็บและกระตุ้นในบริเวณเอว เมื่อระบุจุดกระตุ้นได้แล้วให้คงความดันคงที่เป็นเวลา 1 ถึง 2 นาทีเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว จากนั้นทำซ้ำขั้นตอนเหล่านี้สำหรับจุดกระตุ้นหลายจุดในบริเวณเอว เทคนิคนี้ในขั้นต้นอาจทำให้ความเจ็บปวดแย่ลงเมื่อกดทับบนกล้ามเนื้ออักเสบ แนะนำให้ใช้การบำบัดด้วยความเย็นโดยประคบน้ำแข็งหลังจากการนวดกดจุด เพื่อช่วยลดความเจ็บปวด
เกร็ดสุขภาพ : อีกหนึ่งวิธีที่ดีหากคุณเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ดูแลตัวเองได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการนอนพักผ่อนมากเกินไป เพราะการนอนบนเตียงอาจทำให้ข้อต่อแข็งและกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาจทำให้การฟื้นตัวยากขึ้น ให้พักผ่อนในท่าที่สบายเป็นเวลา 30 นาที แล้วลุกไปเดินเล่นหรือทำงานบางอย่างแทน เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบ้าง แต่พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ความเจ็บปวดแย่ลง
- วิธีรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
วิธีรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท นอกจากการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนกิจกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดอาการปวดแล้วนั้น ยังสามารถรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ดังนี้
- การใช้ยาแก้ปวด
ยาแก้ปวดที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ จะช่วยบรรเทาอาการในคนส่วนใหญ่ได้ภายใน 2-3 วันหรือภายในสัปดาห์ หากอาการปวดมีน้อยถึงปานกลาง แต่หากอาการปวดไม่ดีขึ้นด้วยการใช้ยารับประทาน แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่สามารถฉีดเข้าไปในบริเวณรอบๆ เส้นประสาทไขสันหลังได้เพื่อลดอาการปวด
- กายภาพบำบัด
การทำกายภาพบำบัดจะช่วยลดความเจ็บปวดได้ นักกายภาพบำบัดสามารถแสดงตำแหน่งและแนะนำการออกกำลังกายที่ออกแบบมาเพื่อลดความเจ็บปวดของหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้ในแต่ละรายบุคคล
- การผ่าตัด
การกำจัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอาจใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด หากการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นหลังจากผ่านไป 6 สัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยังมีความเจ็บปวดที่ควบคุมได้ไม่ดี มีอาการชาหรืออ่อนแรง ยืนหรือเดินลำบาก หรือสูญเสียการควบคุมกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ ในกรณีเหล่านี้ ศัลยแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัด เพื่อถอดเฉพาะส่วนที่ยื่นออกมาของหมอนรองกระดูกได้ โดยไม่ต้องถอดทั้งหมดออก ก็จะทำให้อาการปวดทุเลาและหายไปได้ค่ะ
หลังจากที่เราได้รู้กันไปแล้วถึงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ดูแลตัวเองอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อกลับมาแข็งแรงและใช้งานได้เหมือนเดิมโดยไม่ส่งผลถึงอาการปวด ซึ่งใครที่กำลังเป็นอยู่สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้นะคะ เพื่อให้อาการปวดทุเลาและดีขึ้น รวมถึงแนะนำให้ออกกำลังกายเป็นประจำด้วยท่าออกกำลังกายยางยืด ส่วนที่ว่าหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทรักษาหายไหมนั้น สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการทางการแพทย์อย่างที่เราแนะนำไปนั่นเองค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : mayoclinic.org, spine-health.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ