“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
สีอุจจาระ บอกโรคอะไรได้บ้าง ? รู้ไว้เพื่อสังเกตตนเอง
สีอุจจาระที่แตกต่างกันอาจหมายถึงสิ่งต่างๆ ได้ โดยทั่วไปสีของอุจจาระจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณกินและปริมาณของน้ำดี ซึ่งมักจะเป็นของเหลวสีเขียวอมเหลือง ในขณะที่น้ำดีที่ผ่านทางเดินอาหารของคุณ เอนไซม์จะเปลี่ยนแปลงทางเคมีโดยเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลได้เช่นกัน ซึ่งสีเหล่านี้จะเป็นสีที่ปกติค่ะ เพราะฉะนั้น ลองมาสังเกตสีอุจจาระของตนเองกันดู เพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เพราะบางครั้งการเปลี่ยนสีอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพเล็กน้อยได้ และอุจจาระแต่ละสีบอกอะไรได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีเหลือง สีขาว หรือสีดำ เรามารู้จัก สีอุจจาระ บอกโรค กันเลยค่ะ
สีอุจจาระ บอกโรค อะไรบ้าง รู้จักสาเหตุ อาการ และการดูแลตนเอง
อุจจาระสีปกติจะเป็นสีน้ำตาลเพราะการมีน้ำดีอยู่ในอุจจาระ อุจจาระสีปกติมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อน สีเขียว ไปจนถึงน้ำตาลจนถึงเกือบดำ แต่ถ้าอุจจาระเป็นสีแดง สีน้ำตาลแดง สีดำเข้ม สีซีด หรือสีเหลือง อาจบ่งบอกถึงปัญหาต่างๆ ได้ และก่อนที่เราจะไปรู้จักถึงสีอุจจาระ บอกโรคนั้น เรามารู้ถึงสาเหตุของการเปลี่ยนสีของอุจจาระกันก่อนค่ะ
- สาเหตุของการมีสีอุจจาระที่ผิดปกติ
การกินอาหารบางชนิดสามารถทำให้สีอุจจาระเปลี่ยนไปได้ เช่น การกินผักบางชนิดที่มีสีเข้ม การกินอาหารสีเขียว การกินยาหรือวิตามินบางชนิด รวมถึงการกินยาลดน้ำหนักที่จำกัดปริมาณไขมันที่ลำไส้ดูดซึม แต่ในขณะเดียวกันสีอุจจาระ บอกโรคบางอย่างได้เช่นกัน เช่น โรคริดสีดวงทวาร มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร มีเลือดออกในส่วนล่างของลำไส้หรือลำไส้ใหญ่ การอุดตันทางเดินน้ำดี เนื้องอก โรคปอดเรื้อรัง ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง การอุดตันของท่อตับอ่อน และโรคในช่องท้อง ซึ่งอาการของอุจจาระเปลี่ยนสีนั้น มักเกิดจากสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ และมักไม่มีอาการร่วมด้วย หรือถ้ามีอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดท้องและเป็นตะคริว
- คลื่นไส้
- อาเจียนเป็นเลือด
- ท้องเสีย
- อ่อนเพลีย
- วิงเวียนศีรษะ
และหากอุจจาระเปลี่ยนสีเพียงครั้งหรือสองครั้ง หรือเกิดขึ้นชั่วคราว อาการเหล่านี้ก็ไม่น่าเป็นห่วง เว้นว่าจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากการเปลี่ยนสีของอุจจาระยังคงอยู่ยาวนาน ควรต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคต่อไปค่ะ
เกร็ดสุขภาพ : อุจจาระส่วนใหญ่ลอยได้ไม่ถือว่ามีความผิดปกติ เพราะมีก๊าซในปริมาณที่มากเกินไป รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในอาหารอาจทำให้อุจจาระลอยได้ และมักจะหายได้เองตามธรรมชาติ การที่อุจจาระไม่ลอยก็เพราะมีไขมันเพิ่มขึ้น และภาวะใดก็ตามที่ทำให้ปริมาณก๊าซเพิ่มขึ้นในลำไส้ก็ทำให้อุจจาระลอยได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่มีการดูดซึมสารอาหารที่บกพร่อง เช่น แพ้แลคโตส โรคซิสติกไฟโบรซิส และอาการลำไส้สั้น
- อุจจาระสีไหน บอกอะไรได้บ้าง ?
สีอุจจาระ บอกโรคอะไรเราได้บ้าง ซึ่งสีอุจจาระสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเหตุผลหลายประการ และการเปลี่ยนแปลงอาจมาจากสารที่อยู่ในอุจจาระ และสีอุจจาระที่เปลี่ยนไปอาจบ่งบอกถึงภาวะทางการแพทย์ได้เช่นกัน เรามาดูสีอุจจาระ บอกโรค รวมถึงสาเหตุของการเปลี่ยนสีกันเลยค่ะ
- อุจจาระสีดำ
สาเหตุของอุจจาระสีดำ ได้แก่ อาหารเสริมธาตุเหล็ก ยาที่มีบิสมัท ซับซาลิไซเลต และชะเอมดำ หากสีอุจจาระเป็นสีเข้มเนื่องจากยาเหล่านี้ โดยทั่วไปแล้วอุจจาระจะไม่เหนียวและไม่ส่งกลิ่นเหม็น แต่หากอุจจาระเหนียวข้นและมีกลิ่นเหม็น อาจบ่งบอกถึงอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร ที่เกิดจากโรคกระเพาะหรือแผลในกระเพาะอาหาร
- อุจจาระสีแดงหรือสีแดงเข้ม
สีอุจจาระ บอกโรคอะไร ? หากเลือดออกจากลำไส้ส่วนล่าง เช่น ลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก มักเกิดจากริดสีดวงทวาร อุจจาระในภาวะเลือดออกประเภทนี้อาจเป็นสีแดงเข้มหรือสีน้ำตาลแดงได้ อาจใช้ยารักษาริดสีดวงทวารช่วยรักษา นอกจากนี้รวมถึงการกินหัวบีต ผักสีแดงอื่นๆ แครนเบอร์รี่ และสีย้อมอาหารสีแดง ก็สามารถเปลี่ยนสีอุจจาระเป็นสีแดงหรือสีแดงเข้มได้เช่นกัน
- อุจจาระสีเทาหรือสีซีด
อุจจาระอาจเป็นสีเทาหรือสีซีดได้หากมีน้ำดีเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย สีซีดนี้อาจบ่งบอกถึงการอุดตันของท่อน้ำดี ซึ่งน้ำดีที่ไปยังลำไส้ถูกขัดขวางจากเนื้องอก นิ่วในท่อน้ำดี หรือตับอ่อน ซึ่งการเปลี่ยนสีอุจจาระเป็นสีเทาและเหนียวมักเกิดขึ้นทีละน้อย เนื่องจากอาการเหล่านี้จะดำเนินไปค่อนข้างช้า และอุจจาระจะกลายเป็นสีซีดเมื่อเวลาผ่านไป ในขณะเดียวกันสาเหตุอาจเกิดจากยาบางชนิดก็ได้ เช่น บิสมัท ซับซาลิไซเลต หากกินในปริมาณมาก และยาแก้ท้องร่วงอื่นๆ
- อุจจาระสีเหลือง
อุจจาระที่มีสีเหลืองและมีกลิ่นเหม็น อาจบ่งบอกว่ามีไขมันส่วนเกินในอุจจาระ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากโรคของตับอ่อนที่ลดการส่งเอนไซม์ย่อยอาหารไปยังลำไส้ ได้แก่ โรคปอดเรื้อรัง ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือการอุดตันของท่อตับอ่อนที่นำเอนไซม์ไปยังลำไส้ ซึ่งโดยปกติเกิดจากมะเร็งตับอ่อน รวมถึงภาวะอื่นที่อาจทำให้อุจจาระเป็นสีเหลือง มันเยิ้ม และมีกลิ่นเหม็น คือโรคในกลุ่มอาการ malabsorption หรือความผิดปกติของการดูดซึม เช่น โรคช่องท้อง นอกจากนี้บางครั้งโปรตีนกลูเตนในขนมปังและซีเรียล หรืออาหารที่มีไขมันสูงมากๆ และยาลดน้ำหนัก อาจทำให้อุจจาระเป็นสีเหลืองและมีกลิ่นเหม็นได้
- อุจจาระสีเขียว
เมื่ออุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่เร็วเกินไป หรือที่เรียกว่าอาการท้องเสีย ส่งผลให้น้ำดีไม่มีเวลาสลายตัวจนหมด ทำให้อุจจาระอาจมีสีเขียวได้ รวมถึงการกินอาหารสีเขียวหรือสีม่วงมากเกินไป เช่น ผักใบเขียว จากวิธีทำจับฉ่าย หรือสีผสมอาหารสีเขียว เครื่องดื่มปรุงแต่งรสต่างๆ หรืออาหารเสริมธาตุเหล็ก ก็อาจทำให้อุจจาระเปลี่ยนเป็นสีเขียวมากกว่าปกติได้เช่นกัน ซึ่งสีอุจจาระ บอกโรคอะไรนั้น หากมีอุจจาระสีเขียวก็เนื่องมาจากสาเหตุเหล่านี้ที่ไม่ได้อันตรายแต่อย่างใดค่ะ
ดูแลตนเองอย่างไร
โดยส่วนใหญ่แล้ว อุจจาระที่เป็นสีที่แตกต่างจากที่คุณคุ้นเคยนั้นไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องกังวล เพราะส่วนใหญ่จะมาจากอาหารที่คุณกินเข้าไป ไม่บ่อยนักที่จะเป็นสัญญาณของภาวะร้ายแรงในระบบย่อยอาหารของคุณ ยกเว้นเสียแต่ว่าคุณจะมีอาการทางร่างกายอื่นๆ ร่วมด้วย และรวมถึงมีอุจจาระเป็นสีซีด แดงสด หรือดำ ติดต่อกันเป็นเวลานาน และไม่ได้มาจากสิ่งที่คุณกิน ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด สำหรับอุจจาระสีแดงหรือสีดำเนื่องจากมีเลือดออก อาจจำเป็นต้องมีแพทย์ระบบทางเดินอาหารเพื่อทำการส่องกล้องค้นหาแหล่งเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ แพทย์ระบบทางเดินอาหารจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยจัดการโรคอื่นๆ ของลำไส้ รวมถึงโรคโครห์น ตับอ่อนอักเสบ และโรคช่องท้อง ที่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีอุจจาระ เนื่องจากการดูดซึมสารอาหารจากอาหารได้ไม่ดี นอกจากนี้การดูแลตนเองด้วยนาฬิกาชีวิตกับสุขภาพ ก็อาจช่วยให้สุขภาพโดยรวมของคุณดีขึ้นและไม่เสี่ยงกับโรคต่างๆ ได้อีกด้วยค่ะ
เกร็ดสุขภาพ : การรักษาการเปลี่ยนแปลงของสีอุจจาระนั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุตามที่อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ การเปลี่ยนแปลงบางอย่างของสีอุจจาระอาจเกิดจากสีของอาหารที่กินเข้าไป ก็อาจลดการกินอาหารชนิดนั้นๆ หรือเกิดจากยาและวิตามินที่กินก็ต้องปรึกษาแพทย์ว่าอันตรายหรือไม่ ส่วนสาเหตุทางการแพทย์ที่สำคัญอื่นๆ ต้องมีการประเมินและการรักษาจากแพทย์เท่านั้น
แม้ว่าสีอุจจาระ บอกโรคได้ แต่ในกรณีส่วนใหญ่การวินิจฉัยไม่สามารถทำได้โดยใช้สีอุจจาระเพียงอย่างเดียว เพราะต้องพิจารณาอาการอื่นๆ ประวัติการรักษาในอดีต การเปลี่ยนแปลงของอาหาร และการใช้ยาร่วมด้วย เพื่อช่วยตัดสินใจว่าสาเหตุใดที่ทำให้อุจจาระเปลี่ยนสี และเป็นอันตรายหรือไม่อย่างไรค่ะ เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งกังวลใจไป หากอุจจาระของคุณเปลี่ยนสีไปจากเดิมในเวลาอันสั้น แต่หากเป็นระยะเวลานานก็ต้องไปพบแพทย์นะคะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : emedicinehealth.com, medicinenet.com, webmd.com
Featured Image Credit : freepik.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ