X

กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน แถมกินเยอะผิดปกติ แบบนี้อันตรายหรือไม่ ?

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน แถมกินเยอะผิดปกติ แบบนี้อันตรายหรือไม่ ?

เป็นเรื่องที่น่าอิจฉาที่บางคนดูเหมือนจะน้ำหนักไม่ขึ้นหรืออ้วนขึ้นเลยแม้ว่าจะกินมากไปก็ตาม ในขณะที่คนอื่นๆ มักมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวอยู่เสมอ แม้จะพยายามอย่างมากในการลดแคลอรี่และออกกำลังกาย ซึ่งในคนที่กินเยอะแต่ไม่มีปัญหาในเรื่องของน้ำหนักตัวนั้น หากไม่ใช่เกิดจากภาวะหรือโรคต่างๆ ก็มักจะเป็นคนที่ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารสูงนั่นเอง หลายคนคงอยากจะรู้แล้วว่ากินเยอะแต่ไม่อ้วนนั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง ? และการ กินเยอะผิดปกติ ส่งผลเสียต่อร่างกายหรือมีความผิดปกติอย่างไร ? เรามีคำตอบมาให้แล้วค่ะ

กินเยอะผิดปกติ กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน ผิดปกติไหม ?

กินเยอะผิดปกติ, กินเยอะแต่ไม่อ้วน

ทำไมบางคนกินเยอะแต่ไม่อ้วน? เราทุกคนจะมีเพื่อนคนหนึ่งที่กินเหมือนไม่มีพรุ่งนี้แต่ก็ยังผอมและผอมได้อีก ไม่ว่าจะเป็นเฟรนช์ฟรายส์ ไก่ทอด หรือดับเบิ้ลชีสเบอร์เกอร์ พวกเขาก็กินหมดและน้ำหนักไม่ขึ้นเลย ในทางกลับกัน มีบางคนที่น้ำหนักขึ้นมากเมื่อบริโภคอาหารเหล่านี้ หลายคนคงคิดว่าคนเหล่านั้นโชคดีจัง แต่จริงๆ แล้วการกินเยอะผิดปกติที่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนนั้น ปัจจัยทางพันธุกรรม โภชนาการ และพฤติกรรมล้วนมีบทบาท โดยขอบเขตที่ปัจจัยแต่ละอย่างส่งผลต่อน้ำหนักของเรานั้นก็แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ซึ่งสาเหตุของการกินเท่าไหร่แต่ไม่อ้วนนั้น มีดังนี้

  1. ปัจจัยของฮอร์โมน

ความหิวถูกควบคุมโดยฮอร์โมนสองชนิดคือ เกรลินและเลปติน เลปตินซึ่งผลิตโดยเซลล์ไขมันระงับความอยากอาหาร ในขณะที่เกรลินทำตรงกันข้ามเพื่อกระตุ้นความอยากอาหารของคุณ ผู้ที่มีความไวหรือการผลิตเลปตินสูงกว่าจะทำให้ลดน้ำหนักและควบคุมความอยากอาหารได้ง่ายขึ้นด้วย แม้ว่าจะกินเยอะผิดปกติยังไงก็อ้วนยาก

  1. มีรูปแบบการนอนหลับที่เหมาะสม

เราสามารถควบคุมฮอร์โมนของเราได้ด้วยการนอนอย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อคืน ซึ่งการอดนอนอาจทำให้ระดับเกรลินพุ่งสูงขึ้น และร่างกายจะผลิตคอร์ติซอลมากเกินไป คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นความหิวและทำให้ร่างกายเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมันได้ยาก การอดนอนทำให้เกิดการผลิตฮอร์โมนเหล่านี้ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา แต่หากเรามีการนอนหลับมากขึ้นก็อาจส่งผลให้บุคคลนั้นมีน้ำหนักน้อยลงได้

  1. มีนิสัยการกินเพื่อสุขภาพ

วิธีที่เรากินยังเป็นตัวกำหนดปริมาณอาหารที่กินอีกด้วย หากเรากินอาหารช้าลงและเคี้ยวมากขึ้น ก็มีโอกาสที่น้ำหนักจะลดน้อยลง เนื่องจากสมองของเราจะมีเวลามากขึ้นในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรู้ว่าเราอิ่มแล้ว หลายคนที่แม้จะกินเยอะผิดปกติ แต่ก็ไม่ได้กินอาหารเกินความจำเป็น และอาจยังมีอัตราการเผาผลาญที่ดีมากอีกด้วย

เกร็ดสุขภาพ : อัตราการเผาผลาญพื้นฐานหรือ BMR คืออะไร ? BMR คืออัตราการใช้พลังงานขั้นต่ำต่อหน่วยเวลาของมนุษย์เมื่ออยู่นิ่ง เมื่อเราพักผ่อนและไม่ได้ออกกำลังกายที่ต้องใช้กำลังมาก ร่างกายของเราจะใช้พลังงานบางส่วนสำหรับกิจกรรมพื้นฐาน เช่น การหายใจ การทำงานของสมอง ดังนั้นผู้ที่มี BMR สูงจะเผาผลาญแคลอรี่ได้ในขณะพักมากกว่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มี BMR ต่ำ และเป็นผลให้บุคคลเหล่านี้น้ำหนักไม่ขึ้นแม้จะกินอาหารปริมาณมาก ซึ่ง BMR จะลดลงตามอายุและเพิ่มขึ้นตามมวลกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากอยากดูแลสุขภาพก็ควรคำนวณค่า BMR ของตนเองอยู่เสมอ และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีด้วยนะคะ เพื่อจะได้รู้ว่าร่างกายมีความผิดปกติอะไรหรือไม่ ซึ่งประกันสุขภาพอันไหนดีนั้นสามารถเลือกได้ตามความต้องการ เพราะแต่ละที่ก็มีเงื่อนไขแตกต่างกันออกไปค่ะ

ความเสี่ยงด้านสุขภาพของคนที่กินเยอะผิดปกติแต่ไม่อ้วนมีอะไรบ้าง ?

กินเยอะผิดปกติ, กินเยอะแต่ไม่อ้วน

บางคนมีปัญหาดื่มน้ำเยอะแต่ปากแห้ง แต่บางคนกลับมีปัญหามากกว่านั้นคือ กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน ซึ่งคนที่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนนั้น ภายนอกอาจดูผอมหรือรูปร่างดี แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะมีสุขภาพที่ดีด้วย นอกจากนี้ น้ำหนักที่น้อยลงไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับไขมันในร่างกาย เพราะคนผอมก็สามารถเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนได้ นอกจากนี้ ผู้ที่ไม่อ้วนเนื่องจากการย่อยอาหารไม่ดีจนขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร อาจประสบปัญหาสุขภาพ เช่น ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ วัยหมดประจำเดือนของสตรี โรคกระดูกพรุน หรือภาวะโลหิตจางทางโภชนาการ

นอกจากนี้การกินเยอะผิดปกติแต่ไม่อ้วนยังอาจเกิดความเสี่ยงของภาวะไทรอยด์เป็นพิษได้ เพราะต่อมไทรอยด์จะผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากจนเกินไป และส่งผลให้น้ำหนักลดมากกว่าปกติจนต่ำกว่าเกณฑ์ หรืออาจมีความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โรคแพ้โปรตีนกลูเตน โรคโครห์น และโรคลำไส้แปรปรวนได้ ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหาร และไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอจนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ในขณะที่โรคการกินผิดปกติ (Eating Disorder) อาจเกิดจากปัญหาทางจิตที่เกี่ยวข้องกับการกินอาหารได้แก่ โรคอะนอร์เร็กเซีย เนอร์โวซา โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา เป็นต้น ซึ่งทำให้น้ำหนักลดลงต่ำกว่ามาตรฐานและเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน

วิธีเพิ่มน้ำหนักอย่างมีสุขภาพดี ?

กินเยอะผิดปกติ, กินเยอะแต่ไม่อ้วน

แม้ว่าคนที่กินเยอะแต่ไม่อ้วนจะดูน่าอิจฉาในรูปร่าง แต่หากมีการผอมอย่างต่อเนื่องอาจต้องการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ อาหารที่มีโปรตีนสูงพร้อมอาหารที่มีสารอาหารสูง รวมทั้งการออกกำลังกายและการฝึกความแข็งแรง จะสามารถช่วยให้คุณมีน้ำหนักเพิ่มอย่างมีสุขภาพดีได้ทีละน้อย การเพิ่มปริมาณอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุดโดยเปลี่ยนไปใช้ตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ข้าวกล้อง นมไขมันสูง และเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง รวมถึงอาหารที่มีสารอาหารหนาแน่นบางอย่างที่สามารถช่วยให้เราเพิ่มน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม ได้แก่ ถั่วประเภทอัลมอนด์ วอลนัท แมคคาเดเมีย ผลไม้แห้งอย่างลูกเกด อินทผาลัม ลูกพรุน และอาหารไขมันและน้ำมัน เช่น อะโวคาโด น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์

และสิ่งสำคัญของคนที่กินเยอะผิดปกติแต่ไม่อ้วน แต่อยากเพิ่มน้ำหนักเพื่อให้ไม่เสี่ยงต่อภาวะต่างๆ คือต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพราะการได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่อย่างเพียงพอ ก็จะช่วยให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ควรเน้นไปที่สารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากจนเกินไป นอกจากนี้ควรกินให้บ่อยๆ เพราะคนที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์โดยส่วนใหญ่มักจะอิ่มเร็ว โดยในระหว่างมื้ออาหารใหญ่ๆ อาจเลือกกินเป็นของหวาน หรือเป็นอาหารจานหลักก็ได้ เพื่อให้ร่างกายรับอาหารมากขึ้นกว่าเดิม

เกร็ดสุขภาพ : การออกกำลังกายจะช่วยให้เกิดความอยากอาหารมากขึ้นได้ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายและฟิตกระชับกล้ามเนื้อ ทำให้แม้จะน้ำหนักขึ้นก็ไม่ทำให้ดูอ้วนแต่อย่างใด แต่ก็ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไปเพราะอาจทำให้น้ำหนักไม่ขึ้นได้

การกินเยอะผิดปกตินั้น มีทั้งเกิดจากพฤติกรรม โภชนาการ รวมถึงภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ หรือเกิดความผิดปกติได้ รวมถึงคนที่มีน้ำหนักน้อยอาจขาดสารอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อสร้างกระดูก ผิวหนัง และผมที่แข็งแรง การกินอาหารที่สมดุลและออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้รักษาน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพได้ แนะนำว่าหากน้ำหนักยังไม่เพิ่มเป็นเวลานาน หรือยังลดลงเรื่อยๆ นั้น ควรต้องพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และวินิจฉัยเพื่อทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไป อย่าเพิ่งหาอาหารเสริมหรือวิตามินมากินเอง ควรให้แพทย์เป็นผู้แนะนำ เพราะการกินอาหารเสริมหรือแม้แต่ยาพาราห้ามกินเกินปริมาณเท่าไหร่นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่เราต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : cigna.com, ndtv.com, pobpad.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save