“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
เจ็บส้นเท้าจี๊ดๆ ปกติหรือไม่ ? อาการแบบนี้คืออะไร ?
หลายคนอาจจะเคยมีอาการ เจ็บส้นเท้าจี๊ดๆ ที่แม้ไปนวดฝ่าเท้ากดจุดแล้วก็ยังไม่หาย ซึ่งอาการนี้เกี่ยวข้องกับการอักเสบของเนื้อเยื่อด้านล่างของเท้าและเชื่อมต่อกระดูกส้นเท้ากับนิ้วเท้า อาการเหล่านี้เราเรียกกันว่า “โรครองช้ำ” ที่จัดว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดส้นเท้า โรครองช้ำ อาการคือปวดหรือเจ็บที่ส้นเท้า ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อคุณลุกขึ้นยืนและเคลื่อนไหว นอกจากสร้างความเจ็บปวดทรมานแล้ว ยังรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย โรคนี้สาเหตุเกิดจากอะไร อาการแบบนี้อันตรายหรือไม่นั้น เราจะมาแนะนำให้รู้จักโรคนี้ รวมถึงวิธีดูแลตนเองด้วยค่ะ
เจ็บส้นเท้าจี๊ดๆ อาการนี้เกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่ ?
อาการเจ็บส้นเท้าจี๊ดๆ มักจะรู้สึกปวดที่ปลายเท้าใกล้กับส้นเท้า ความเจ็บปวดมักจะรุนแรงที่สุดในช่วง 2-3 ก้าวแรกหลังตื่นนอน และอาการอาจถูกกระตุ้นได้จากการยืนเป็นเวลานานหรือเมื่อคุณลุกขึ้นจากนั่ง อาการปวดแบบนี้คืออาการของโรครองช้ำ (Plantar Fasciitis) มาจากความตึงเครียดและความเครียดบนพังผืด รวมถึงการยืดและการฉีกขาดของพังผืดซ้ำๆ อาจทำให้ระคายเคืองหรืออักเสบได้ ซึ่งอาการนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับหลายคน และเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับส้นเท้า เนื่องจากเอ็นฝ่าเท้าพังผืดของเรานั้นมีการสึกหรอมากมายในชีวิตประจำวัน การกดและลงน้ำหนักที่เท้ามากเกินไปอาจทำให้เอ็นเสียหายหรือฉีกขาดได้ และเมื่อพังผืดที่ฝ่าเท้าเกิดการอักเสบ ก็จะส่งผลทำให้เกิดอาการปวดส้นเท้าและตึงได้นั่นเอง
ปัจจัยเสี่ยงของโรครองช้ำ
แม้ว่าโรครองช้ำสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่ปัจจัยบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้ ดังนี้
1. อายุ
อาการเจ็บส้นเท้าจี๊ดๆ นั้น จะพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี
2. การออกกำลังกายบางประเภท
กิจกรรมที่สร้างความเครียดให้กับส้นเท้าและเนื้อเยื่อที่เกาะติดกัน เช่น การวิ่งทางไกล การเต้นบัลเลต์ และการเต้นแอโรบิก สามารถนำไปสู่การเริ่มมีโรคพังผืดที่ฝ่าเท้าอักเสบ หรือรองช้ำได้
3. รูปเท้าที่ผิดปกติ
คนที่มีเท้าแบน อุ้งเท้าสูง หรือส้นเท้าบิดออกด้านนอก รวมถึงการเดินผิดปกติ อาจส่งผลต่อการกระจายน้ำหนักเมื่อคุณยืน และสามารถเพิ่มความเครียดให้กับพังผืดฝ่าเท้าจนเกิดอาการเจ็บส้นเท้าได้
4. โรคอ้วน
น้ำหนักที่มากเกินไปจะทำให้พังผืดที่ฝ่าเท้าของคุณเครียดเป็นพิเศษ ทำให้มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากกว่า เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากทำให้เกิดแรงกระแทกลงบนส้นเท้า
5. อาชีพบางอย่าง
อาชีพบางอย่างนั้นที่ต้องใช้เวลาทำงานส่วนใหญ่ในการเดินหรือยืนบนพื้นแข็ง อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นโรครองช้ำได้ เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงาน ครู พนักงานห้าง เป็นต้น
การรักษาอาการรองช้ำ
คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรครองช้ำ อาการที่เป็นคือเจ็บบริเวณส้นเท้า และจะฟื้นตัวได้ภายในเวลาหลายเดือนด้วยการรักษาแบบธรรมชาติ เช่น การประคบน้ำแข็งบริเวณที่เจ็บปวด การยืดกล้ามเนื้อ การปรับเปลี่ยนหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด หรือใช้เครื่องนวดเท้าไฟฟ้าช่วยบรรเทา นอกจากนี้ยังมีวิธีในการรักษาทางการแพทย์อื่นๆ ด้วย ดังนี้
1. ยา
ยาแก้ปวด เช่น Ibuprofen สามารถบรรเทาอาการเจ็บส้นเท้าจี๊ดๆ และการอักเสบของโรครองช้ำได้
2. การบำบัด
กายภาพบำบัดหรือการใช้อุปกรณ์พิเศษอาจบรรเทาอาการได้ โดยนักกายภาพบำบัดอาจให้ใช้การออกกำลังกายเพื่อยืดพังผืดฝ่าเท้าและเอ็นร้อยหวาย และเสริมสร้างกล้ามเนื้อขาส่วนล่าง หรือใช้การสวมเฝือกที่ยึดพังผืดฝ่าเท้าและเอ็นร้อยหวายเอาไว้ข้ามคืน เพื่อช่วยเรื่องการยืดกล้ามเนื้อในขณะที่คุณนอนหลับ
3. ใช้อุปกรณ์รองรับส่วนโค้ง
แพทย์อาจแนะนำให้ใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยรองรับส่วนโค้ง เพื่อกระจายแรงกดบนเท้าของคุณให้เท่ากันมากขึ้น เช่น ไม้เท้า หรือไม้ค้ำยัน โดยใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณขยับเท้า หรือเพื่อป้องกันไม่ให้คุณทิ้งน้ำหนักตัวทั้งหมดไว้บนเท้าของคุณ
4. ฉีดสเตียรอยด์
การฉีดสเตียรอยด์สามารถบรรเทาอาการปวดชั่วคราวได้ แต่ไม่แนะนำให้ทำหลายช็อต เนื่องจากอาจทำให้พังผืดที่ฝ่าเท้าของคุณอ่อนแอลงและแย่ลงกว่าเดิมได้
5. การผ่าตัด
การรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อแยกพังผืดฝ่าเท้าออกจากกระดูกส้นเท้านั้น โดยทั่วไปจะเป็นทางเลือกก็ต่อเมื่อโรครองช้ำ อาการปวดรุนแรงและใช้การรักษาอื่นๆ ไม่ได้ผล โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาในการรักษา และสามารถทำได้ในลักษณะผ่าตัดแบบเปิดหรือผ่ากรีดเล็กๆ โดยใช้ยาชาเฉพาะที่
เกร็ดสุขภาพ : มีงานวิจัยเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับการรักษาโรครองช้ำด้วยน้ำมันหอมระเหย ว่าอาจช่วยลดความเจ็บปวดและการอักเสบได้ในบางสภาวะ น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ เช่น ลาเวนเดอร์ ตะไคร้ ยูคาลิปตัส กุหลาบ โดยเจือจางน้ำมันหอมระเหยด้วยน้ำมันตัวพา เช่น น้ำมันมะพร้าว ก่อนใช้เพื่อนวด แล้วนวดเบาๆ ที่บริเวณฝ่าเท้า อาจช่วยบรรเทาได้ค่ะ
การดูแลตนเองที่บ้าน
เพื่อลดความเจ็บปวดของโรครองช้ำ นอกไปจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว เราสามารถใช้การดูแลตนเองที่บ้านเพื่อช่วยบรรเทาอาการได้ รวมถึงยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคและอาการนี้ได้อีกด้วย
• รักษาน้ำหนักตัว
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นสามารถทำให้เกิดความเครียดมากขึ้นบนพังผืดที่ฝ่าเท้าของคุณได้ เพราะฉะนั้น หากคุณน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากเดิม ควรลดน้ำหนักตัว เพื่อลดการเกิดอาการดังกล่าว
• เลือกรองเท้าที่รองรับ
ควรซื้อรองเท้าที่มีส้นต่ำถึงปานกลาง พื้นรองเท้าหนา และรองรับอุ้งเท้าได้ดี รวมถึงสามารถรองรับแรงกระแทกได้ อย่าสวมรองเท้าส้นเตี้ยหรือเดินเท้าเปล่า
• เปลี่ยนรองเท้ากีฬา
อย่าสวมรองเท้ากีฬาที่สึกหรอ ให้เปลี่ยนรองเท้ากีฬาเก่าของคุณก่อนที่รองเท้าจะสึกและไม่สามารถรองรับและกันกระแทกเท้าของคุณได้
• เปลี่ยนกีฬาที่เล่น
ลองเล่นกีฬาที่มีแรงกระแทกต่ำ เช่น ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน แทนการเดิน หรือวิ่ง และเมื่อกลับไปวิ่งอีกครั้ง ควรเพิ่มระยะอย่างค่อยเป็นค่อยไป และวิ่งบนพื้นที่นุ่มๆ ก่อน หากมีอาการเจ็บส้นเท้าจี๊ดๆ อีก ควรหยุดวิ่งทันที
• ประคบน้ำแข็ง
หากมีอาการปวด ให้ประคบน้ำแข็งบริเวณที่ปวดเป็นเวลา 15 นาที 3-4 ครั้งต่อวัน เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดและการอักเสบ หรือลองกลิ้งขวดน้ำแช่แข็งใต้ฝ่าเท้าเพื่อนวดด้วยน้ำแข็ง
เกร็ดสุขภาพ : โภชนาการและอาหารเสริมอาจช่วยหรือป้องกันการอักเสบของฝ่าเท้าได้ รวมถึงอาจช่วยซ่อมแซมและรักษาเนื้อเยื่อได้ อาหารเสริมที่แนะนำได้แก่ วิตามินซี สังกะสี กลูโคซามีน บรอมีเลน และน้ำมันปลา
อาการเจ็บส้นเท้าจี๊ดๆ เป็นอาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรครองช้ำ ซึ่งอาการจะไม่ได้มีเหงื่อออกมือเท้า แต่จะเจ็บที่บริเวณส้นเท้าเมื่อคุณลุกขึ้นหรือเดิน หากคุณมีอาการเหล่านี้ สามารถทำการรักษาได้ด้วยวิธีธรรมชาติ และหากไม่ดีขึ้นควรพบทางการแพทย์ เพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการอักเสบของพังผืดที่ไม่ควรมองข้าม และไม่ควรปล่อยไว้นานด้วยค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : webmd.com, healthline.com, bangkokhospital.com
Featured Image Credit : freepik.com/gpointstudio
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ