X

รำมะนาด คือ อะไร ? ใช่เรื่องสำคัญมั้ย ที่เราต้องรู้ !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

รำมะนาด คือ อะไร ? ใช่เรื่องสำคัญมั้ย ที่เราต้องรู้ !

สัญญาณอันตรายเมื่อเกิดโรคปริทันต์หรือ รำมะนาด คือ มีเลือดออกง่ายขณะแปรงฟัน เหงือกบวมแดง หรือมีหนอง มีกลิ่นปาก ฟันโยก เมื่อมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรพบทันตแพทย์ทันที เพราะรำมะนาด คือขั้นสุดท้ายของปัญหาสุขภาพเหงือก ซึ่งต่างจากปัญหาเหงือกอักเสบ ตรงที่ไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องไม่ปล่อย บทความนี้จึงมานำเสนอรายละเอียดให้ทุกคนได้อ่านกัน

รำมะนาด คือ, รำมะนาด เหงือกบวม การรักษา
Image Credit : freepik.com

รำมะนาด คือ อะไร ? ทำไมถึงเป็น มาเรียนรู้วิธีดูแลรักษากัน !

คนจำนวนไม่น้อยที่ประสบกับอาการเจ็บปวดด้วยโรครำมะนาด ซึ่งสาเหตุเริ่มต้นรำมะนาด คือมาจากการทำความสะอาดฟันไม่ดี จึงเกิดการสะสมของแบคทีเรีย เมื่อทิ้งไว้นานขึ้นจะมีการตกตะกอนของแร่ธาตุจากน้ำลาย จนกลายเป็น “หินปูน” หรือ หินน้ำลาย ที่ไม่สามารถแปรงออกได้ เมื่อปล่อยทิ้งไว้จะเกิดการทำร้ายเหงือกได้อย่างรุนแรง แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นโรครำมะนาด เพราะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันของแต่ละคนด้วย โดยธรรมชาติร่างกายจะหลั่งสารออกมาเพื่อกำจัดเชื้อโรคที่แปลกปลอมเข้ามา ขณะเดียวกันก็ทำร้ายเนื้อเยื่อของตัวเองด้วย จึงเกิดเป็นโรคนี้ขึ้น แต่หลายคนมักเข้าใจว่าเป็นเพียงโรคเหงือกอักเสบเท่านั้น ทั้งนี้การอักเสบนั้นจะลุกลามทำลายอวัยวะรอบๆ ฟันด้วย เช่น กระดูกเบ้าฟัน  เอ็นยึดฟัน  และผิวรากฟัน  ดังนั้นผลที่ตามมาของผู้เป็นรำมะนาด คือฟันจะโยกและอาจทำให้สูญเสียฟันได้

เกร็ดสุขภาพ : การมีเลือดออกขณะแปรงฟัน กลิ่นปาก หรือเหงือกบวม แดง ปัญหาเหล่านี้เป็นสัญญาณรำมะนาด คือระยะแรกเริ่มของปัญหาสุขภาพเหงือก ดังนั้นโปรดอย่าละเลยปัญหาเหล่านี้ หากกำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ ควรปรึกษาทันตแพทย์ในทันทีเพื่อรับการรักษา ก่อนที่ปัญหาสุขภาพเหงือกจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาสุขภาพเหงือกสามารถลดลงได้ โดยความเสี่ยงของรำมะนาด คือดูแลสุขภาพช่องปากให้ถูกวิธี ซึ่งได้แก่ การแปรงฟันอย่างถูกวิธีวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ การใช้ไหมขัดฟันหรือใช้แปรงทำความสะอาดซอกฟัน ซึ่งการแปรงฟันอย่างถูกต้องยังลดสาเหตุของกลิ่นปากได้ด้วย ตลอดจนการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันโดยทันตแพทย์เป็นประจำ

การรักษารำมะนาด

สำหรับการรักษาโรครำมะนาด คือ ขั้นแรกต้องทำการกำจัดเชื้อที่สะสมอยู่ก่อน โดยการขูดหินปูนให้สะอาด และเกลารากฟัน ทำให้ผิวรากฟันเรียบ โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ร่องเหงือกลึกๆ และฟันกรามด้านในที่มีหลายๆ ราก ซึ่งขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลา และทำซ้ำหลายๆ ครั้งให้สะอาด  บางรายอาจต้องใช้ยาชาร่วมด้วย รำมะนาด เหงือกบวม การรักษาขั้นต่อมาใน 4 – 6 สัปดาห์ถัดมา ทันตแพทย์จะนัดกลับมาดูอาการอีกครั้ง ถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่ อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อแก้ไขความพิการของกระดูกเบ้าฟันที่ถูกทำลายไป ซึ่งการผ่าตัดจะเป็นการเข้าไปทำความสะอาดในตำแหน่งที่เครื่องมือไม่สามารถทำความสะอาดได้ถึง หรือทำการปลูกกระดูกในลักษณะรอยโรคที่เอื้อต่อการเกิดกระดูกใหม่  เมื่อผ่าตัดแล้วผู้ป่วยควรได้รับการตรวจติดตามผลการรักษารำมะนาด คือทันตแพทย์จะขูดหินน้ำลายเพื่อทำความสะอาดฟันเป็นประจำทุกๆ  3  เดือน  เป็นการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นโรครำมะนาดอีก

รำมะนาด คือ, รำมะนาด เหงือกบวม การรักษา
Image Credit : pixabay.com

โรครำมะนาดและการตั้งครรภ์

ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางทันตกรรมเพิ่มขึ้น รวมถึงโรครำมะนาด สิ่งนี้สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนของทั้งแม่และลูก รวมถึงโอกาสที่แม่จะสูญเสียฟัน ตลอดจนความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ความเสี่ยงของโรครำมะนาด คือมีที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่เด่นชัด เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ หากแม่ที่ตั้งครรภ์ป่วยด้วยโรครำมะนาด ภาวะแทรกซ้อนของทารกในครรภ์ที่เชื่อมโยงกับโรครำมะนาด คือการคลอดก่อนกำหนดหรือทารกที่คลอดมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลเพราะทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2.5 ก.ก. อาจมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาด้านสุขภาพกายและใจในระยะยาว เช่น การพัฒนาทักษะล่าช้า และความบกพร่องทางการเรียนรู้ นอกเหนือไปจากปัญหาระบบทางเดินหายใจ การมองเห็น หรือการได้ยิน และปัญหาทางเดินอาหาร ดังนั้นคำแนะนำสำหรับสตรีมีครรภ์คือ ต้องดูแลฟันให้ดีขณะตั้งครรภ์ เพื่อช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพฟัน เช่น โรครำมะนาด

เกร็ดสุขภาพ : โภชนาการมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของคนในทุกๆ ด้าน รวมถึงสุขภาพช่องปากด้วย แน่นอนว่าต้องมีสารอาหารเฉพาะที่จำเป็นสำหรับสุขภาพฟันและเหงือกที่ดี ได้แก่ การเลือกกินโปรตีนจากแหล่งอาหารทั้งหมด เช่น เนื้อสัตว์ กินวิตามินที่ละลายในไขมันและไขมันที่เป็นประโยชน์จากแหล่งอาหาร เช่น ปลาที่มีไขมัน ตับ และมะพร้าว กินผักและผลไม้ให้มาก เช่น เลือก 5 ผักปวยเล้ง เมนูทำง่าย กินก็อร่อย ตลอดจนหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปที่มีน้ำตาลหรือแป้งขัดสี ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อฟัน

รำมะนาด คือ, รำมะนาด เหงือกบวม การรักษา
Image Credit : pixabay.com

ธีรักษาที่ทำเองได้ที่บ้านเพื่อต่อสู้กับโรครำมะนาด

1. น้ำมันที ทรี

น้ำมันทีทรีมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อที่สามารถกำจัดแบคทีเรียและคราบพลัค สิ่งสำคัญกับการจัดการรำมะนาด เหงือกบวม การรักษาวิธีนี้คือผสมน้ำมันทีทรีหนึ่งหยดกับยาสีฟัน

2. น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น

การใช้น้ำมันพืชเป็นวิธีการทำความสะอาดฟันและเหงือกแบบโบราณโดยการกลั้วน้ำมันเข้าปาก ทั้งนี้น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและต้านจุลชีพ วิธีใช้น้ำมันมะพร้าวกับรำมะนาด คือตักน้ำมันมะพร้าวสกัดที่อุณหภูมิห้อง 1 ถึง 2 ช้อนชา เข้าไปในปาก กลั้วน้ำมันรอบปากเป็นเวลา 20 นาที แล้วบ้วนน้ำมันออกหลังจากครบเวลา บ้วนปากด้วยน้ำ ก่อนจะแปรงฟัน

3. น้ำผึ้ง

น้ำผึ้งนั้นมีคุณสมบัติต้านแบคทีเรียตามธรรมชาติ จึงช่วยกำจัดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่เหงือก การทาน้ำผึ้งให้ทั่วเหงือกหลังการแปรงฟันจะส่งผลดีต่อผู้ที่เป็นโรครำมะนาด

4. ผงขมิ้น

ผงขมิ้นมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อและต้านการอักเสบ เมื่อนำมาใช้เป็นยาสีฟันสำหรับรำมะนาด เหงือกบวม การรักษาด้วยขมิ้นจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่แบคทีเรียไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ การผสมขมิ้นกับน้ำเป็นครีมพอกและแปรงฟันวันละ 2 ครั้งเป็นแนวทางที่ดีในการควบคุมโรครำมะนาดได้

การจัดการรำมะนาดด้วยตัวเองดังที่กล่าวไปนี้ รวมทั้งการใช้ 7 สมุนไพรแก้ปวดฟัน ข่อย อาจจะสามารถรักษาโรครำมะนาดในกรณีที่ไม่รุนแรงได้ แต่หากความรุนแรงของโรคนั้นมาก การไปพบทันตแพทย์ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : chulalongkornhospital.go.th, si.mahidol.ac.th

Featured Image Credit : freepik.com/Racool_studio

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save