X

หยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุ เกิดจากอะไร ? อันตรายแค่ไหน ดูแลตัวเองยังไงได้บ้าง ?

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

หยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุ เกิดจากอะไร ? อันตรายแค่ไหน ดูแลตัวเองยังไงได้บ้าง ?

เคยสงสัยกันมั้ย ? ในทุกๆ เช้าที่ตื่นนอนทำไมถึงไม่เคยรู้สึกสดชื่นเลย ทั้ง ๆ ที่ก็นอนไว นอนครบ 8 ชั่วโมงหรือเกินด้วยซ้ำ นอกจากจะไม่รู้สึกไม่เฟรชแล้ว ซ้ำยังรู้สึกปวดหัวระหว่างวันอีกด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้อาจไม่ได้รุนแรงอะไร  แต่รู้มั้ยว่า ความจริงแล้วอาจเป็นหนึ่งในสัญญาณของ ‘ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ’ เพื่อให้เข้าใจกันมากขึ้น ทีมเพื่อสุขภาพจะพาทุกคนส่องโรค หยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุ เกิดจากอะไร เพื่อให้ทุกคนสังเกตอาการและรักษาได้อย่างทันท่วงที

หยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุ, หยุดหายใจขณะหลับ รักษา
Image Credit : Unsplash

โรค หยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุ หลักคืออะไร และทำไมเราควรระวัง ?

การหยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุนั้นเป็นผลที่ตามมาของภาวะนอนกรน ถ้าใครที่นอนกรนเพียงอย่างเดียวถือว่าไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าเริ่มหายใจผิดปกติ อาจต้องระมัดระวังให้ดี สาเหตุหลักๆ ของภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้น เกิดขึ้นจากร่างกายของเราในส่วนของ ‘ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบลง’ และเราก็ต่อสู้ด้วยการ ‘หายใจให้มากขึ้น’ แต่กลับกลายเป็นว่าทางนั้น ‘แคบลงกว่าเดิม’ จากความดันภายในที่เพิ่มสูงขึ้น จนทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับในท้ายที่สุด ส่งผลให้ออกซิเจนในเลือดน้อย สมองก็ได้รับออกซิเจนน้อยลงตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม การเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไม่ได้สิ้นสุดเพียงแค่โรคเดียว แต่อาจนำไปสู่โรคร้ายหรือความผิดปกติต่อร่างกายเราในหลายๆ ด้าน เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ โรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดในสมองตีบ โรคเบาหวาน อาการกรดไหลย้อน ความสามารถในการจดจำลดลง รวมไปถึงการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ดังนั้น ถ้าใครมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเร่งรักษาให้เร็วก็จะยิ่งดีต่อตัวเราเอง เพราะไม่ใช่แค่อาการหยุดหายใจขณะหลับจะดีขึ้น แต่ยังเป็นการป้องกันความบานปลายที่จะเกิดโรคอื่นๆ ได้ในอนาคตอีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยงหลัก

หยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุ, หยุดหายใจขณะหลับ รักษา
Image Credit : Unsplash

หยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุก็สำคัญ แต่สำหรับการที่อาการจะเกิดขึ้นได้นั้นจะมีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น ถ้าคุณมีลักษณะหรือพฤติกรรมเหล่านี้

  1. เป็นเพศชายที่อยู่ในช่วงอายุประมาณ 30-35 ปี
  2. เกิดภาวะอ้วน มีรอบคอกว้าง
  3. มีความดันโลหิตที่สูง 
  4. มีลักษณะโครงสร้างของใบหน้าที่ผิดปกติ 
  5. มีพฤติกรรมสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  6. นอนไม่หลับและอาศัยทานยานอนหลับเป็นหลัก
  7. มีอาการภูมิแพ้หรือความผิดปกติในช่องจมูก 

อาการเบื้องต้นของหยุดหายใจขณะหลับ

หลังจากที่ได้ทราบว่า โรคหยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุมาจากอะไรแล้ว สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าตัวเองอาจเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับอยู่นั้น มาเช็กลิสต์ไปพร้อมกันได้เลย !

  1. นอนกรน หากนอนคนเดียวให้ลองใช้แอปพลิเคชันตรวจจับ หรือสอบถามจากคนที่นอนด้วยกันว่ามีอาการผิดปกติขณะหลับหรือไม่
  2. หายใจเฮือก
  3. รู้สึกตัวง่าย ตื่นง่าย หลับไม่ลึกและไม่ค่อยสนิท 
  4. ตื่นขึ้นมาปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน
  5. ตอนเช้ารู้สึกสมองไม่ปลอดโปร่ง แถมยังปวดศีรษะ
  6. ง่วงนอนเวลากลางวัน แม้ว่าจะนอนอย่างเพียงพอ (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คนเราต้องนอนกี่ชั่วโมงเพิ่มเติมได้เลยค่ะ)

รู้จักโรคหยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุ อาการเบื้องต้น รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงกันไปแล้ว บอกเลยไม่ต้องกังวลกันไปเพราะมีทางรักษาและดูแลได้แน่นอน!

เกร็ดสุขภาพ : ในการนอนหลับหนึ่งคืน อาการหยุดหายใจขณะหลับไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครึ่งเดียว แต่สามารถเกิดได้เป็น ‘หลายร้อยครั้ง’ เป็นสาเหตุให้การนอนขาดช่วงและนอนหลับได้ไม่ลึก

หยุดหายใจขณะหลับ รักษาได้หรือไม่ ?

หยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุ, หยุดหายใจขณะหลับ รักษา
Image Credit : Unsplash

ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า หยุดหายใจขณะหลับ รักษาได้ ซึ่งมีหลากหลายวิธี ทั้งแบบที่ไม่ต้องผ่าตัด และผ่าตัดในกรณีที่มีความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็น

  1. การรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP)

แต่ผู้ที่รักษาด้วยวิธีนี้จะต้องระวังอาการคัดจมูก ปากแห้ง คอแห้ง หรือลมรั่วจากออกมาจากหน้ากาก รวมถึงลมที่แรงเกินไป ซึ่งการรักษานี้ต้องใช้เวลาสักพักหนึ่งในการปรับตัวให้ร่างกายได้เคยชิน ผลลัพธ์หลังรักษาก็จะทยอยดีขึ้น 

  1. การรักษาด้วยทันตอุปกรณ์ หรือเรียกอย่างง่ายว่า การใส่ฟันยางเหมาะสำหรับคนที่ยังมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุและระดับไม่รุนแรง การรักษาจึงจะเห็นผล แต่อาจเกิดปัญหาจากการใส่ฟันยางได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำลายที่ผลิตเยอะเกินไป มีอาการปวดขากรรไกร และมีรูปแบบการสบฟันเปลี่ยนไปจากเดิม
  1. การผ่าตัด สำหรับการหยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุและอาการรุนแรงนั้น อาจจะต้องรักษาโดยการผ่าตัด โดยแพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดทางเดินหายใจในหลายส่วนขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ได้แก่ จมูก ลิ้นไก่ โคนลิ้น และเลื่อนขากรรไกร 

วิธีการดูแลตัวเองเมื่อมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ

อย่างที่ได้อธิบายแล้วว่า ส่วนหนึ่งภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุหนึ่งในนั้นก็คือ ‘การนอนกรน’ เราก็สามารถดูแลตัวเองในเบื้องต้นได้ ดังนี้

  1. เลี่ยงการนอนในท่าหงายตัว เน้นนอนท่าตะแคงแทน  
  2. พยายามคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยออกกำลังกาย หรือฝึกกล้ามเนื้อคอหอยเพิ่มเติม
  3. งดการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอนประมาณ 4 ชั่วโมง เนื่องจากมีฤทธิ์กดการหายใจ
  4. หยุดกินยานอนหลับ เพราะทำให้การนอนหลับแย่ลง รวมไปถึงกดการหายใจ (นอนไม่หลับควรปรึกษาแพทย์ในด้านนี้เพิ่มเติม)

รวมถึง ‘การง่วงนอน’ อย่างผิดปกติ เป็นอาการที่ตามมาของภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้น แนะนำว่าถ้าเกิดขึ้นระหว่างขับรถ ให้หยุดขับและจอดข้างทางทันที หรือเปลี่ยนคนขับถ้าเป็นไปได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรงที่อาจเกิดขี้น

เกร็ดสุขภาพ :  ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนี้พบในผู้ชายมากกว่า โดยนับเป็น 4% ในเพศชาย และแค่ 2% ในเพศหญิง อีกทั้งยังพบได้ในเด็กเช่นกัน อาการง่วงหาวระหว่างวันดูปกติทำให้หลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญกับหยุดหายใจขณะหลับ รักษาไม่ตรงจุดถ้าไม่ได้รับการตรวจ

อย่างไรก็ดีหยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุก็ได้ทราบกันไปแล้ว รวมไปจนเช็กลิสต์อาการ และรู้วิธีรักษา ถึงแม้จะมีวิธีที่สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ก็ตาม แต่การพบแพทย์และได้ตรวจเช็กอย่างละเอียดเป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : si.mahidol.ac.th, mayoclinic.org, rama.mahidol.ac.th

Featured Image Credit : freepik.com/tirachardz

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save