“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
โพรไบโอติก ธรรมชาติ คืออะไร ? อยู่ในไหนบ้าง ?!
โพรไบโอติกนั้นเป็นจุลินทรีย์มีชีวิตที่อาศัยอยู่ภายในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่ามีทั้งจุลินทรีย์ที่ดีและไม่ดีปะปนกัน เมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อ ทำให้จุลินทรีย์ที่ไม่ดีมีปริมาณมากขึ้น ส่งผลเสียต่อระบบสมดุลในร่างกาย แต่หากร่างกายมีจุลินทรีย์ชนิดดีก็จะช่วยขจัดจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีไปได้ ดังนั้นการกินอาหารที่มี โพรไบโอติก ธรรมชาติ จึงเป็นวิธีที่จะเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีให้กับร่างกาย
โพรไบโอติก ธรรมชาติ กินอย่างไรให้เกิดประโยชน์ ?
โพรไบโอติกนั้นเป็นการรวมเอาแบคทีเรียตลอดจนจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และอาศัยอยู่ในร่างกายได้ตามธรรมชาติ โพรไบโอติก ธรรมชาตินั้นเป็นจุลินทรีย์ที่ดี ที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและทำงานได้ดี แม้ว่าอวัยวะหลักที่พบจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์คือ ลำไส้ โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ แต่ในร่างกายของมนุษย์ยังสามารถพบจุลินทรีย์ที่ดีได้อีกหลายแห่ง คือ ปาก ปอด ช่องคลอด ทางเดินปัสสาวะ และผิวหนัง
หน้าที่หลักของโพรไบโอติก ธรรมชาติคือการรักษาสมดุลในร่างกายให้แข็งแรง เพราะเมื่อป่วยเชื้อโรคที่เป็นจุลินทรีย์ไม่ดีจะเข้าสู่ร่างกายและเพิ่มจำนวนขึ้น นั่นทำให้ร่างกายเสียสมดุล แบคทีเรียที่ดีจะทำงานเพื่อต่อสู้กับแบคทีเรียที่ไม่ดีและฟื้นฟูสมดุลภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้น ซึ่งการทำให้มีสุขภาพแข็งแรงนั้นเกิดจากการที่โพรไบโอติก ธรรมชาติไปสนับสนุนการทำงานของภูมิคุ้มกันและควบคุมการอักเสบ ช่วยให้ร่างกายย่อยอาหาร สร้างวิตามิน ตลอดจนช่วยป้องกันเซลล์ที่อยู่ในลำไส้ไม่ให้แบคทีเรียร้ายเข้าสู่กระแสเลือด
เกร็ดสุขภาพ : โพรไบโอติก ธรรมชาติมีบทบาทในการดูแลสุขภาพในทางเดินปัสสาวะเช่นเดียวกับลำไส้ ช่องคลอดให้สมดุล โพรไบโอติกสายพันธุ์แลคโตบาซิลลัสจะสร้างสภาวะที่เป็นกรดจนทำให้จุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ แต่ระบบอาจเสียสมดุลได้จากหลายปัจจัย เช่น ยาปฏิชีวนะ หรือยาคุมกำเนิด โพรไบโอติก ธรรมชาติจะช่วยคืนสมดุลของจุลินทรีย์ แล้วป้องกันปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะของผู้หญิง เช่น ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อรา และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
อาหารอุดมโพรไบโอติก
• โยเกิร์ต
โยเกิร์ตผลิตจากน้ำนมที่ผ่านหมักด้วยแบคทีเรียที่ดี ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียกรดแลคติกและไบฟิโดแบคทีเรีย โยเกิร์ตจึงเป็นหนึ่งในแหล่งโพรไบโอติกที่ดีที่สุด โยเกิร์ตหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อหรือสามารถทำโยเกิร์ตพร้อมดื่มได้ง่ายๆ ที่บ้าน
• คีเฟอร์
คีเฟอร์ คือนมเปรี้ยวชนิดหนึ่งของยุโรปตะวันออกและรัวเซีย เป็นโพรไบโอติก ธรรมชาติ ที่ใช้กระบวนการเพิ่มเม็ดคีเฟอร์ลงในนมวัวหรือนมแพะ คีเฟอร์มีแบคทีเรียและยีสต์ที่ดีหลายสายพันธุ์ ทำให้เป็นโพรไบโอติกที่มีความหลากหลายของจุลินทรีย์ มีประโยชน์และมีศักยภาพในการจัดการกับเชื้อโรค
• เทมเป้
เทมเป้ทำมาจากถั่วเหลืองที่ผ่านการปรุงและหมักด้วยจุลินทรีย์มาแล้ว มีลักษณะเป็นก้อนที่อุดมไปด้วยแบคทีเรียชั้นดีแบบอัดแน่น
• กิมจิ
กิมจิที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้นิยมอาหารเกาหลีนั้นทำมาจากกะหล่ำปลีหมักเป็นหลัก ซึ่งในกิมจิจะมี แบคทีเรียแลคโตบาซิลลัสจำนวนมากที่เป็นมิตรกับลำไส้
• คอมบูชา
ชาดำหมักรสหวานจากประเทศจีน คอมบูชาเป็นที่รู้จักว่ามีแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้และมียีสต์หลายชนิด ซึ่ง kombusha มีวิธีทำที่ไม่ยุ่งยาก สามารถทำเองที่บ้านได้
• มิโซะ
เป็นเครื่องปรุงที่ใช้ในอาหารญี่ปุ่นและอาหารในแถบเอเชีย มิโซะนั้นทำจากถั่วเหลืองหมักและมีแบคทีเรียที่เป็นมิตรต่อลำไส้จำนวนมาก
• นัตโตะ
อาหารญี่ปุ่นที่ขาดไม่ได้บนโต๊ะอาหารเช้า นัตโตะเป็นถั่วหมักที่มีแบคทีเรียที่ดีที่ช่วยกระตุ้นลำไส้
• กะหล่ำปลีดอง
กะหล่ำปลีหมักชนิดนี้เกิดจากการนำกะหล่ำปลีไปดองจึงเต็มไปด้วยแบคทีเรียที่ดี ทำเองก็ไม่ยุ่งยาก ซื้อมาก็ราคาไม่แพง
• ชีสบางชนิด
ชีสบางชนิด เช่น เชดดาร์ พาร์เมซาน และสวิสชีส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกาดาที่เป็นโพรไบโอติก ธรรมชาติที่ดีกว่าโยเกิร์ต เพราะเมื่อกินเข้าไปแล้ว จะส่งโพรไบโอติกที่มีชีวิตจำนวนมากไปยังช่วยฟื้นฟูทางเดินอาหารของมนุษย์
• มะกอกเขียว
กระบวนการหมักน้ำเกลือตามธรรมชาติของมะกอก ทำให้อุดมไปด้วยแลคโตบาซิลลัสซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นมิตรต่อลำไส้ และดีต่อสุขภาพ
ช่วงเวลาที่กินโพรไบโอติก
โพรไบโอติก กินตอนไหนนั้น สิ่งที่สำคัญประการแรกคือ เวลาที่กิน และรองลงมาคือ ความสม่ำเสมอในการกิน ดังนั้นเพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพสูงสุด ควรกินโพรไบโอติก ธรรมชาติทุกวัน ให้เป็นกิจวัตรประจำวัน โพรไบโอติกอาศัยอยู่ในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เพื่อทำหน้าที่สำคัญต่างๆ แต่ก่อนจะไปถึงลำไส้ โพรไบโอติกต้องผ่านกระเพาะอาหารที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรดสูงเพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งความเป็นกรดนี้ก็สามารถทำลายแบคทีเรียโพรไบโอติกได้เช่นกัน
ดังนั้นหากต้องการให้ร่างกายได้รับโพรไบโอติก ก็ต้องให้โพรไบโอติกผ่านกรดในกระเพาะอาหารโดยเร็วที่สุด ซึ่งข้อแนะนำเกี่ยวกับโพรไบโอติก กินตอนไหน คือ กินในขณะท้องว่าง (เช่น 2-3 ชั่วโมงหลังอาหารมื้อสุดท้ายของแต่ละวัน หรือ 30 นาทีก่อนกินอาหารมื้อถัดไป) เพื่อให้แบคทีเรียโพรไบโอติกสามารถเคลื่อนผ่านกระเพาะอาหารได้เร็วที่สุด
เกร็ดสุขภาพ : เนื่องจากจุลินทรีย์ที่ใช้เป็นโพรไบโอติก ธรรมชาติมีอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว ดังนั้นอาหารที่มีโพรไบโอติกจึงปลอดภัย อย่างไรก็ตาม บางคนกินอาหารกลุ่มนี้อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ทำให้ปวดท้องเล็กน้อย ท้องร่วง หรือท้องอืด (จากแก๊ส) ได้ในช่วงสองสามวันแรกหลังจากเริ่มกิน ทั้งนี้คนที่ต้องใช้ความระมัดระวังเมื่อจะบริโภคอาหารโพรไบโอติก คือ ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ (เช่น ผู้ที่รับเคมีบำบัด) มีโรคร้ายแรง เพิ่งได้รับการผ่าตัด ซึ่งผู้ที่มีภาวะเสี่ยงดังกล่าวจำเป็นต้องปรึกษากับแพทย์ ก่อนที่จะเริ่มกินอาหารโพรไบโอติก
โพรไบโอติก ธรรมชาติสามารถรักษาอาการท้องร่วงได้ โดยโพรไบโอติกชนิด แลคโตบาซิลลัสสามารถลดระยะเวลาของการเกิดอาการโรคท้องร่วง ในขณะเดียวกันก็รักษาอาการท้องผูกได้ด้วย โดยโพรไบโอติกช่วยเพิ่มความถี่ของการขับถ่ายในรอบสัปดาห์ และช่วยให้อุจจาระนิ่ม ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาด้วยว่าไม่ใช่เป็นอาการท้องผูกสลับท้องเสีย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับโพรไบโอติก กินตอนไหนจึงจะได้ประโยชน์ ก็คือ ต้องกินในขณะท้องว่าง เพื่อให้โพรไบโอติกสามารถเคลื่อนผ่านกระเพาะอาหารได้เร็วที่สุด
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : bbcgoodfood.com, clevelandclinic.org, omnibioticlife.com
Featured Image Credit : freepik.com/pch.vector
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ