X

สัญญาณ เล็บบอกโรค มีอะไรบ้าง ? ดูแลสุขภาพเล็บดีแล้วสุขภาพเราจะดีด้วยมั้ย ?

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

สัญญาณ เล็บบอกโรค มีอะไรบ้าง ? ดูแลสุขภาพเล็บดีแล้วสุขภาพเราจะดีด้วยมั้ย ?

เล็บของเราบ่งบอกอะไรได้มากกว่าที่คิด นอกจากเล็บจะมีประโยชน์เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับปลายนิ้วและเพื่อความสวยงามแล้ว ยังเป็นสัญญาณบอกสุขภาพได้ด้วย ดังนั้นเมื่อรู้สึกว่าเล็บมีความผิดปกติหรือมีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิมจึงไม่ควรปล่อยเอาไว้เพราะอาจบอกถึงโรคร้ายได้ ในบทความนี้ เพื่อสุขภาพจะชวนมาดูกันค่ะว่า เล็บแบบไหนบ้างที่เป็น สัญญาณ เล็บบอกโรคกันบ้าง

ชวนเช็ก สัญญาณ เล็บบอกโรค สังเกตเล็บตัวเอง เพื่อเช็กความผิดปกติของร่างกายกัน !

ในผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เล็บก็จะดูสุขภาพดีตามไปด้วยโดยที่ไม่ต้องบำรุงอะไรมากมาย ลักษณะของเล็บที่สุขภาพดีจะมีสีชมพูจางๆ เนื่องจากเลือดไหลเวียนได้ดี พื้นผิวของเล็บมีความเรียบเนียน ผิวหนังโดยรอบแข็งแรงไม่มีหลุดลอก และความหนาของเล็บอยู่ในระดับที่พอดีไม่หนาและไม่บางจนเกินไป หากเล็บของคุณไม่ได้มีลักษณะดังกล่าว ก็อาจจะเป็นสัญญาณ เล็บบอกโรคได้ มาดูลักษณะของเล็บบอกโรคแต่ละแบบกันเลยค่ะว่ามีอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้เป็นการเช็กว่าสุขภาพเล็บของเรา รวมถึงสุขภาพโดยรวมของเรามีความผิดปกติหรือไม่

ถุงมือสปา ให้ความชุ่มชื้น พร้อมน้ำมันสกัด

เล็บแบบนี้ บอกสัญญาณอะไรเราบ้าง ?

1. เล็บบางและนิ่ม

Image Credit : canva.com-pro

ลักษณะเล็บของผู้ที่มีสุขภาพดีควรที่จะมีความยืดหยุ่น แต่ถ้าเล็บบางหรือนิ่มมากเกินไปจนถึงขั้นบิดงอได้ก็อาจเป็นสัญญาณ เล็บบอกโรคที่บ่งบอกว่าร่างกายของคุณได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะแคลเซียม โปรตีน และไขมัน ดังนั้นจึงควรเน้นการกินอาหารที่มีโปรตีนให้มากขึ้น เช่น เนื้อไก่หรือเนื้อปลา ผักใบเขียว ธัญพืช รวมทั้งควรดื่มนมเพื่อเสริมแคลเซียมด้วย หรืออาจจะกินอาหารเสริมที่มีไบโอตินร่วมด้วยก็ได้ มีผลการศึกษาว่า ภายในระยะเวลา 6 เดือนไบโอตินสามารถช่วยทำให้เล็บหนาขึ้นได้ถึง 25% เลยทีเดียว จึงเหมาะมากสำหรับผู้ที่มีปัญหาเล็บบางค่ะ

2. เล็บเปราะบาง

Image Credit : canva.com-pro

เล็บเปราะบางแตกต่างจากอาการเล็บนิ่มตรงที่สามารถแตกหักได้ง่าย หรือเรียกกันว่าเล็บฉีก เนื่องจากเนื้อเยื่อที่อยู่ภายใต้แผ่นเล็บขาดความชุ่มชื้น หรืออาจเป็นสัญญาณ เล็บบอกโรคที่บ่งบอกว่าระบบโลหิตไหลเวียนได้ไม่ดี ดังนั้นจึงควรดื่มน้ำให้มากๆ อย่างน้อยวันละ 2 ลิตรเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวและร่างกาย รวมทั้งควรออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้นและทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้นด้วย และควรหลีกเลี่ยงสารเคมีจากผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างจานเพราะจะยิ่งทำให้เล็บแห้งและเปราะบางมากขึ้น

3. เล็บมีจุดขาว

Image Credit : canva.com-pro

เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยเจอกับสัญญาณ เล็บบอกโรคแบบนี้มาก่อน คือการที่บริเวณเล็บมีดอกหรือจุดขาวๆ ปรากฏอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งลักษณะเล็บบอกโรคดังกล่าวแสดงถึงภาวะสุขภาพได้ว่ากำลังขาดแร่ธาตุสังกะสี ดังนั้นถ้าใครมีเล็บแบบนี้อยู่ก็ไม่ต้องตกใจไปค่ะเพราะไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง เพียงแค่ต้องกินอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีเพิ่มมากขึ้น เช่น กุ้ง หอย ปู เนื้อสัตว์ และข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี เป็นต้น และไม่ควรเครียดมากเกินไปเพราะร่างกายจะยิ่งสูญเสียแร่ธาตุสังกะสีได้ง่ายยิ่งขึ้น

เกร็ดสุขภาพ : หากพบว่าเล็บมีสีเปลี่ยนไปโดยเริ่มมีจุดสีเหลืองหรือจุดสีขาวที่ปลายเล็บ แล้วค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นจนสังเกตเห็นได้ชัดเจน เล็บมีความหนาเพิ่มขึ้น มีขุยหนาใต้เล็บและรู้สึกเจ็บเมื่อกดก็อาจจะเป็นโรคเชื้อราที่เล็บได้ ซึ่งโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่มรา เช่น กลากแท้ กลากเทียม ยีสต์ โดยมักจะเกิดจากความอับชื้น วิธีการรักษาสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน ทั้งการกินยาต้านเชื้อรา ใช้ยาทาเฉพาะที่ หรืออาจต้องถอดเล็บหากมีอาการรุนแรงมากเกินไป

4. เล็บมีเส้นสีขาวตามแนวขวาง

Image Credit : canva.com-pro

หากเล็บของเรามีเส้นสีขาวตามแนวขวาง ซึ่งเรียกว่า Beau’s line อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่าร่างกายกำลังมีอาการอักเสบและมีโรคเรื้อรัง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ หรือมีความผิดปกติที่ต่อมใต้สมอง เพราะ Beau’s line เกิดขึ้นจากการที่เล็บหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราวจึงทำให้บริเวณเล็บตรงนั้นซ้อนทับกันเป็นรอยทึบและมีเส้นขวางเกิดขึ้นนั่นเอง ส่วนสาเหตุของการที่เล็บหยุดการเจริญเติบโตก็มาจากความผิดปกติของโคนเล็บบริเวณที่สร้างเล็บ ซึ่งเป็นบริเวณที่ต้องมีเลือดมาเลี้ยง หากเลือดไม่ไหลเวียนตามปกติก็จะนำไปสู่ความผิดปกติทางร่างกายด้วย ดังนั้นจึงควรพบแพทย์ทันทีเพื่อวินิจฉัยหาอาการของโรค

5. เล็บเป็นร่องตามแนวยาว

Image Credit : canva.com-pro

ภาวะเล็บบอกโรคแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่เริ่มมีอายุมากขึ้น และยังสามารถบ่งชี้ถึงสุขภาพได้ว่ากำลังอยู่ในภาวะขาดกรดในกระเพาะอาหาร จึงอาจจส่งผลทำให้มีอาการแน่นท้อง ท้องเฟ้อ ท้องอืดได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการกินอาหารให้มากขึ้น เลือกกินอาหารที่มีเอนไซม์ช่วยย่อย เช่น สับปะรด และควรเคี้ยวข้าวให้ช้าลง แต่ถ้าเล็บเป็นร่องคลื่นขรุขระจากปลายเล็บมายังโคนเล็บ อาจมีสาเหตุมาจากโรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบ ผื่นแพ้ หรืออาการขาดแคลเซียม

6. เล็บซีด

Image Credit : canva.com-pro

ผู้ที่เล็บมีลักษณะซีดเซียวเหมือนไม่มีเลือดหล่อเลี้ยงหรือเล็บมีรูปร่างเว้า เป็นสัญญาณ เล็บบอกโรคที่อาจเป็นโรคโลหิตจางได้ เนื่องจากภาวะร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติจึงทำให้เล็บไม่มีสีชมพูนั่นเอง แต่ถ้าเล็บโค้งมากเกินไปจนเป็นรูปช้อน ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคลูปัสได้ ผู้ที่มีเล็บลักษณะแบบนี้ควรเลือกกินอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กให้มากขึ้น เช่น เนื้อแดง ผักใบเขียว หรือกินวิตามินซีเสริมเพื่อให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารได้มากขึ้น และถ้าไม่แน่ใจว่ากำลังเป็นโรคโลหิตจางจริงหรือไม่ควรปรึกษาแพทย์จึงจะดีที่สุด

ชุดกรรไกรตัดเล็บมือ เล็บเท้า พร้อมกล่องเก็บ Mr.Green

7. ผิวหนังรอบเล็บแตกหรือลอก

Image Credit : canva.com-pro

ผิวหนังรอบเล็บหรือที่เรียกว่าจมูกเล็บ คือสิ่งที่สามารถบ่งชี้ถึงสุขภาพได้เช่นกัน หากผิวหนังรอบๆ เล็บลอกหรือแตกก็อาจบ่งชี้ได้ว่ากำลังมีภาวะขาดวิตามินซี กรดโฟลิก หรือโปรตีนอยู่ ซึ่งไม่ใช่ภาวะที่อันตราย แก้ไขได้โดยการกินอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ที่ไม่มีสารปรุงแต่ง ผักผลไม้สดที่ไม่ผ่านความร้อน หรือจะเลือกกินเป็นวิตามินเสริมก็ได้เช่นกัน และควรบำรุงด้วยแฮนด์ครีมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นควบคู่กันไปด้วย

8. เล็บเปลี่ยนสี

Image Credit : canva.com-pro

ภาวะเล็บเปลี่ยนสีสามารถบ่งชี้โรคได้หลายอย่าง โดยเล็บแต่ละสีจะเป็นสัญญาณ เล็บบอกโรคที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • เล็บสีดำ อาจบอกได้ว่ากำลังเป็นเชื้อราหรืออาจเป็นมะเร็งผิวหนังอยู่ ในกรณีที่เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง เล็บจะมีสีดำเป็นปื้น ไม่สม่ำเสมอ และเป็นแค่เล็บเดียวเท่านั้น รวมทั้งอาจมีผิวหนังสีดำที่บริเวณโคนเล็บร่วมด้วย
  • เล็บมีสีขาวครึ่งเล็บ เป็นสัญญาณที่บอกว่าอาจเป็นโรคไตวายเรื้อรัง
  • ล็บมีสีขาวสองในสามของเล็บ มักจะพบได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือเบาหวาน ลงเท้า โรคตับแข็ง และอาจเป็นโรคหัวใจวายได้
  • เล็บสีเขียวคล้ำ อาจบ่งชี้ถึงโรคหืดรุนแรง โรคหัวใจ ถุงลมโป่งพอง หรือโรคหลอดลมอักเสบ
  • เล็บสีเหลือง เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินโลหิต แต่ก็อาจเกิดจากสารเคมีในการทำเล็บได้เช่นกัน

เกร็ดสุขภาพ : เล็บเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสุขภาพของเราได้ การสังเกตเล็บของตัวเองอาจทำให้รู้ถึงความผิดปกติของร่างกาย และดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี ทั้งนี้ การดูแลเล็บให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยสามารถทำให้เล็บมีสุขภาพดีขึ้นง่ายๆ เพียงแค่เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงเล็บ เช่น เนื้อสัตว์ สัตว์ทะเลที่มีเปลือก นมวัว ธัญพืชไม่ขัดสี เป็นต้น โดยเน้นเป็นสารอาหารจำพวกโปรตีน สังกะสี แคลเซียม วิตามินบีรวม กรดไขมัน และไบโอตินควบคู่กับการกินวิตามินบำรุงเล็บ เพียงแค่นี้เล็บของเราก็จะมีสุขภาพดี และส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ด้วยค่ะ

ถ้าดูแลเล็บดีแล้ว สุขภาพเราจะดีขึ้นด้วยมั้ย ?

เล็บกับสุขภาพมีความเชื่อมโยงกัน แต่การมีเล็บสุขภาพดีไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าสุขภาพโดยรวมจะสมบูรณ์แข็งแรงเสมอไป เล็บที่มีสุขภาพดีมักมีลักษณะเป็นสีชมพูอมขาว ผิวเรียบเนียนไม่ขรุขระ แข็งแรงไม่เปราะบาง และมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ลักษณะเช่นนี้สะท้อนว่าร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ และระบบการไหลเวียนเลือดทำงานได้ดี

อย่างไรก็ตาม โรคหลายชนิดอาจไม่แสดงอาการที่เล็บ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือมะเร็งบางชนิด นอกจากนี้สุขภาพเล็บยังขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น การดูแลรักษา พฤติกรรมการใช้งาน หรือการสัมผัสสารเคมีในชีวิตประจำวัน

ในทางกลับกัน ความผิดปกติของเล็บมักเป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาสุขภาพได้ เช่น เล็บเหลืองอาจบ่งชี้โรคปอดหรือการติดเชื้อรา เล็บเป็นร่องอาจสัมพันธ์กับภาวะขาดสารอาหารหรือโรคผิวหนัง เล็บมีรอยบุ๋มอาจเกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้หรือโรคข้ออักเสบ กล่าวคือ เล็บเป็นเพียงหนึ่งในดัชนีชี้วัดสุขภาพ แต่ไม่ใช่ตัวบ่งชี้สุขภาพทั้งหมด การมีสุขภาพดีต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งการตรวจสุขภาพประจำปี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการพักผ่อนที่เพียงพอ หากพบความผิดปกติของเล็บที่น่ากังวล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดนะคะ

Image Credit : canva.com-pro

วิธีดูแลเล็บให้สุขภาพดี มีอะไรบ้าง ?

การดูแลเล็บให้แข็งแรงและมีสุขภาพดีนั้น จำเป็นต้องดูแลอย่างเป็นระบบทั้งจากภายในและภายนอก มาดูวิธีแล้วปรับใช้กันนะคะ

การดูแลจากภายใน

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยควรเน้นอาหารที่มีสารอาหารบำรุงเล็บ เช่น ไข่ ถั่ว นม ปลา ผักใบเขียว และธัญพืช เพราะอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินบีรวม แคลเซียม และธาตุเหล็ก นอกจากนี้ควรดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 8 แก้วขึ้นไป เพื่อให้เล็บชุ่มชื้น ไม่แห้งกรอบ

การดูแลจากภายนอก

การตัดแต่งเล็บ :

  • ควรตัดเล็บหลังอาบน้ำเพราะเล็บจะนุ่มและตัดง่าย
  • ตัดให้เสมอกัน ไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป
  • ใช้กรรไกรหรือที่ตัดเล็บที่คมและสะอาด

การบำรุงประจำวัน :

  • ทาครีมบำรุงมือและเล็บเป็นประจำ
  • ใส่ถุงมือเมื่อต้องทำงานบ้านหรือสัมผัสสารเคมี
  • หลีกเลี่ยงการแช่มือในน้ำนานเกินไป

สำหรับคนที่ทำเล็บเป็นประจำ

  • ควรพักเล็บจากการทำสีหรือต่อเล็บเป็นระยะ
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ไม่ระคายเคือง
  • ลอกสีเล็บอย่างถูกวิธี ไม่แกะหรือดึง
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาทำความสะอาดเล็บบ่อยเกินไป

ข้อควรระวัง

สิ่งที่ไม่ควรทำ :

  • ไม่ใช้เล็บเป็นเครื่องมือในการเปิด งัด หรือแกะสิ่งของ
  • ไม่ดึงหรือแกะหนังรอบเล็บ เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบ
  • ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีรุนแรง

เมื่อพบความผิดปกติ : ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

  • หากเล็บเปลี่ยนสีผิดปกติ
  • มีการติดเชื้อราที่เล็บ
  • เกิดการอักเสบรอบเล็บ

การดูแลเล็บอย่างสม่ำเสมอและถูกวิธีจะช่วยให้เล็บแข็งแรง สวยงาม และป้องกันปัญหาสุขภาพเล็บในระยะยาว หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อการดูแลที่เหมาะสมกับสภาพเล็บของคุณ

RtopR FDA ยาทาเล็บป้องกันเชื้อแบคทีเรีย

สัญญาณ เล็บบอกโรคเป็นเพียงวิธีการสังเกตสุขภาพของตนเองในเบื้องต้น หากใครพบว่าเล็บมีความผิดปกติและเสี่ยงที่จะเป็นโรคควรให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด เพื่อที่จะได้รักษาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ควรรักษาความสะอาดของเล็บอยู่เสมอเพราะอาจมีเชื้อโรคสะสมอยู่ตามซอกเล็บทำให้เข้าสู่ร่างกายจากการหยิบจับของกินเข้าปากได้ และเล็บที่สะอาดสะอ้านยังช่วยเสริมบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้นได้ด้วย

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save