X

เข่าเสื่อม อาการ เป็นยังไง ? รักษาแบบไหนได้บ้าง ?

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

เข่าเสื่อม อาการ เป็นยังไง ? รักษาแบบไหนได้บ้าง ?

เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยกลางคนและใกล้จะเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ ปัญหาสุขภาพก็เริ่มจะตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องของสายตา ผมร่วง ผิวหนังไม่กระชับ อ้วนได้ง่าย หรือว่ามีอาการเริ่มเข้าสู่วัยทองที่จะต้องไปหาสมุนไพรวัยทองมารับประทานกันเพื่อบำรุงร่างกายกันทั้งหญิงและชาย ทั้งนี้ ปัญหาในเรื่องของกระดูก ไม่ว่าจะเป็นกระดูกบางลง หรือเริ่มมีอาการอย่างข้อเสื่อม ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยเฉพาะข้อเข่าเสื่อมที่มักจะพบได้บ่อยมาก เข่าเสื่อม อาการ เป็นอย่างไร ? แบบไหนที่จะเรียกว่าข้อเข่าเริ่มเสื่อม รักษาได้หรือไม่ ควรดูแลตัวเองอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

เข่าเสื่อม อาการ เป็นอย่างไร แบบไหนถึงจะเรียกว่าข้อเข่าเสื่อม

เข่าเสื่อม อาการ, ข้อเข่าเสื่อม อาการ
Image Credit : freepik.com

โรคเข่าเสื่อม หรือ Knee Osteoarthritis ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากการใช้งานของข้อเข่าเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพบว่ามีผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น โดยเฉพาะในวัยกลางคน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือใช้งานข้อเข่ามากเกินไป หรืออยู่ผิดท่าเป็นเวลานานจนทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าปกติ

ทั้งนี้ โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนที่ผิวข้อเข่า ทั้งทางด้านโครงสร้าง รูปร่าง การทำงานของกระดูกข้อต่อ โดยกระดูกบริเวณใกล้ข้อมีการสึกหรอและเสื่อมลงตามอายุ เมื่อไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาหุ้ม เนื้อกระดูกจึงมีการเสียดสีกับหรือชนกันขณะรับน้ำหนัก จึงทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด ซึ่งโรคข้อเข่าเสื่อม อาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปก็จะทำให้หัวเข่าผิดรูป และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

ชวนเจาะลึก เข่าเสื่อม อาการเป็นอย่างไร ?

เข่าเสื่อม อาการ, ข้อเข่าเสื่อม อาการ
Image Credit : freepik.com

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม มักจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ และความรุนแรงของโรคก็จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป หากรู้สึกปวดเข่าบ่อยๆ หรือรู้สึกว่าเดินไม่สะดวก สามารถสังเกตสัญญาณของโรคข้อเข่าเสื่อมได้จากอาการดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. ปวดเข่า : ผู้ที่รู้สึกปวดข้อเข่าแบบเป็นๆ หายๆ มากกว่า 6 เดือน หรือมีอาการปวดเข่าหลังจากการทำกิจกรรมที่มีแรงกดตรงหัวเข่าเยอะๆ หรือรู้สึกปวดเข่าเมื่อเดินไกล ปวดเข่าเวลาต้องนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ ขึ้นลงบันได หรือนั่งรถในที่แคบๆ เป็นต้น หากเป็นข้อเข่าเสื่อมในระยะแรกๆ อาการปวดจะอยู่ไม่นาน และหายได้เอง แต่ถ้าหากมีอาการของข้อเข่าเสื่อมในระยะกลางไปแล้ว อาการปวดจะมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้ไม่ได้เคลื่อนไหวก็ยังมีอาการปวด และไม่สามารถหายเองได้ 
  2. ข้อเข่าติด ฝืดตึง : ภาวะเข่าเสื่อม อาการที่สังเกตได้คือ ข้อเข่าจะมีความฝืดตึง เข่าติดในช่วงตอนตื่นนอน และมักเคลื่อนไหวลำบากในตอนเช้า รู้สึกว่าข้อต่อขาดความยืดหยุ่น มีอาการข้อเข่าติดเมื่อทำการยืดเหยียด หากงอเข่าก็รู้สึกว่างอได้ไม่สุด เป็นต้น 
  3. ข้อเข่ามีเสียง : เมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย มีการงอเข่าหรือเหยียดเข่า จะได้ยินเสียงกรอบแกรบในข้อเข่า 
  4. มีจุดกดเจ็บบริเวณข้อเข่า : เมื่อกดตรงข้อเข่า จะรู้สึกว่าเจ็บหรือปวด 
  5. ข้อเข่าผิดรูป : เข่าเสื่อม อาการที่สังเกตได้อย่างชัดเจนคือ ข้อเข่าผิดรูปไปจากเดิม กระดูกบริเวณรอบๆ ข้อเข่าจะปูดขึ้น โตขึ้น ข้อเข่าโก่งผิดรูป หรืออาจมีปุ่มกระดูกยื่นออกมา  
  6. เข่าบวม : ข้อเข่าเสื่อม อาการที่สังเกตได้อีกอย่างหนึ่งคือ เข่าจะบวมขึ้น เมื่อสัมผัสดูจะรู้สึกอุ่นๆ เนื่องจากมีการอักเสบขึ้นภายในข้อเข่า 
  7. เสียวหัวเข่า : เข่าเสื่อม อาการอีกอย่างหนึ่งที่สังเกตได้ก็คือ จะรู้สึกเสียวหัวเข่า โดยเฉพาะเวลาเดิน หรือมีการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง

สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม คืออะไร ?

  1. อายุ เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้เกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท โดยจะเริ่มมีอาการข้อเสื่อมเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป 
  2. เพศ ข้อเข่าเสื่อม อาการที่พบ จะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เป็นตัวป้องกันความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน 
  3. การใช้งานที่มากเกินไป ผู้ที่ใช้ขาและหัวเข่าผิดท่าบ่อยๆ หรืออยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน เช่น ในผู้ที่ต้องยืนนานๆ หรือต้องยกของหนัก ต้องขึ้นลงบันไดบ่อยๆ หรือก้มยกของบ่อยๆ ก็มีโอกาสทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้
  4. โรคบางชนิด เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (อ่านเพิ่มเติม รูมาตอยด์เกิดจากอะไร) โรคข้ออักเสบชนิดต่างๆ โรคเก๊าท์ ข้อเข่าติดเชื้อ เป็นต้น
  5. น้ำหนักตัว น้ำหนักตัวที่มากเกินเกณฑ์ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคอ้วน จะมีโออาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น

เกร็ดสุขภาพ : น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเพียง 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า 1 – 5 กิโลกรัม อีกทั้งเซลล์ไขมันที่มากเกินไปจะส่งผลต่อกระดูกอ่อนและเซลล์กระดูกให้เกิดข้อเสื่อมเร็วขึ้น แล้วถ้ายิ่งขาดการออกกำลังกาย หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำในปริมาณมาก ก็จะส่งผลให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้เร็วยิ่งขึ้น

เข่าเสื่อม อาการแบบไหนควรรีบไปพบแพทย์

เข่าเสื่อม อาการ, ข้อเข่าเสื่อม อาการ
Image Credit : freepik.com

หากมีอาการปวดเข่าแบบเป็นๆ หายๆ สามารถรอดูอาการได้สักระยะ ทั้งนี้ ควรปรับพฤติกรรมตนเอง เช่น ไม่นั่งนานเกินไป หรือทำกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อข้อเข่าของเรา อย่างไรก็ตาม หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • ปวดเข่าอย่างรุนแรง แม้อยู่เฉยๆ ไม่ได้เคลื่อนไหวก็ยังมีอาการปวด หากมีการเคลื่อนไหวหรือลงน้ำหนักก็จะยิ่งรู้สึกปวดมากขึ้น ซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่ามีการอักเสบสะสมอยู่ที่บริเวณข้อเข่า 
  • เข่าบวมช้ำ และปวดหัวเข่า รู้สึกร้อนในข้อเข่า ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงว่ามีการอักเสบอย่างรุนแรง ทั้งตรงกระดูกหรือเส้นเอ็นโดยรอบ หรืออาจมีเลือดออกในเข่าก็เป็นได้ ซึ่งจะมีไข้ร่วมด้วย
  • มีอาการปวดร้าวลงขา งอได้ไม่สุด เดินหรือยืนลำบาก อาจมีหินปูนเกาะที่ข้อเข่า หรือข้อเข่าสึก เสี่ยงต่อการยืนหรือเดินไม่ได้ในอนาคต

วิธีรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม

เข่าเสื่อม อาการ, ข้อเข่าเสื่อม อาการ
Image Credit : vecteezy.com
  1. ปรับอิริยาบถในชีวิตประจำวัน เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ การนั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการยกหรือแบกของหนักๆ 
  2. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรง อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องกระโดด เล่น กระโดดเชือกลดน้ำหนัก วิ่ง เล่นเทนนิส แบตมินตัน โดยการออกกำลังกายที่แนะนำคือ ว่ายน้ำ เดิน เป็นต้น
  3. การทำกายภาพบำบัด เพื่อเป็นการบริหารกล้ามเนื้อและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการปวดบริเวณข้อเข่า เช่น การลดปวดด้วยการทำอัลตราซาวด์ การใช้ผ้ารัดเข่า หรือใส่เฝือกออ่อนเพื่อพยุงเข่า การทำท่าบริหารเข่าเสื่อม เป็นต้น 
  4. การใช้ยาบรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อม เพื่อลดอาการปวดและอักเสบภายในข้อ ไม่ว่าจะเป็นยาพาราเซตามอลแก้ปวด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งการรับยา ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

เกร็ดสุขภาพ : การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อนั้น สามารถลดอาการปวดได้ในช่วงสั้นๆ ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อต่อนั้น หากฉีดเป็นประจำ ยาอาจจะทำลายกระดูกอ่อนข้อต่อได้

  1. รักษาได้โดยการผ่าตัด โดยมีวิธีการผ่าตัดหลายรูปแบบ เช่น การส่องกล้องภายในเข่าเพื่อตรวจสภาพภายในข้อ การผ่าตัดปรับแนวข้อ ในกรณีที่มีการผิดรูปของข้อ และการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม ซึ่งเป็นวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม อาการในระยะปานกลางถึงระยะรุนแรง ซึ่งจะทำให้หายปวดเข่า และสามารถเคลื่อนไหวได้ดีดังเดิม

แม้โรคเข่าเสื่อม อาการที่เกิดขึ้นจะพบได้ในวัยกลางคนไปจนถึงวัยสูงอายุ แต่ปัจจุบันกลับพบว่า ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมนั้น มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งสาเหตุมาจากน้ำหนักตัว และการใช้งานข้อเข่าที่มากเกินไป หากมีอาการปวดเข่าบ่อยๆ เป็นๆ หายๆ มากกว่า 6 เดือน เดินแล้วมีเข่ามีเสียงดังกรอบแกรบ เข่าบวมช้ำ หรือมีอาการปวดร้าวลงขา งอเข่าได้ไม่สุด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อที่จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงทีนะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : phyathai.com, samitivejhospitals.com, rama.mahidol.ac.th, my.clevelandclinic.org

Featured Image Credit : freepik.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save