X

อาการ jet lag คือ อะไร ? เกิดขึ้นได้ยังไง เป็นแล้วต้องทำยังไงนะ ?!

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

อาการ jet lag คือ อะไร ? เกิดขึ้นได้ยังไง เป็นแล้วต้องทำยังไงนะ ?!

ใครที่ชอบเดินทางบ่อยๆ ก็มักจะเริ่มต้นทริปเดินทางด้วยความสนุกตื่นเต้นที่จะได้ไปผจญโลก บินข้ามประเทศ และเปลี่ยนไทม์โซน แต่ยังไม่ทันไร เมื่อถึงที่หมายก็มีอาการมึนงง ปวดหัวกับอาการที่บอกไม่ถูก และสงสัยว่า อาการแบบนี้มันคือสิ่งที่เขาเรียกกันว่า อาการ jet lag ใช่หรือเปล่านะ ? ได้ยินมาก็มากจากหลายเสียง แต่เชื่อว่าคนส่วนมากอาจสับสนได้ว่า อาการ jet lag คือ อาการยังไงกันแน่ และอาจยังไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร สามารถป้องกันก่อนเป็นได้ไหม และต้องพบแพทย์เท่านั้นหรือเปล่าถึงจะหายดี ? ในบทความนี้ เราได้รวมข้อมูลน่ารู้มาให้ทุกคนอ่านกันแล้วค่ะ

รู้จักแล้วแต่รู้ดีไหม ? อาการ jet lag คือ อะไร ที่เคยเป็นนั้นใช่หรือเปล่า

อาการ jet lag คือ, jet lag คือ
Image Credit : Unsplash

อาการ jet lag คืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายของเราปรับตัวไม่ทันกับสภาพแวดล้อมและเขตเวลาที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเขตเวลาที่แตกต่างกันมากเกินไป หรือมีไทม์โซนที่ห่างกันมากถึง 12 ชั่วโมงยิ่งต้องระวังจะเกิดอาการ jet lag แม้จะเป็นการป่วยชั่วคราวก็จริงอยู่ แต่ก็สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตในหลายๆ ด้าน ทั้งในเรื่องการนอน ความผิดปกติของกระเพาะอาหาร เป็นต้น แม้จะเดินทางต่างวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นคนที่เดินทางไกลเพื่อไปทำงาน หรือเพื่อท่องเที่ยว ก็ทำให้อ่อนเพลียจนขาดสมาธิและเหนื่อยล้า และระบบร่างกายส่วนอื่นๆ ก็แปรปรวนด้วยเช่นกัน

อาการปวดหัวกับอาการ jet lag คือ ยังไง เกิดจากอะไร

อาการ jet lag คือ, jet lag คือ
Image Credit : Unsplash

หนึ่งในอาการ jet lag คือการปวดหัวและมึนงง แต่เจ็ตแล็กจะส่งผลทำให้นอนไม่หลับ ง่วงหาว หรืออาจทำให้นอนหลับมากเกินไปก็ได้ ทั้งยังเป็นการปวดหัวร่วมกับอาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้า หมดแรงในตอนกลางวัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และยังทำให้อารมณ์แปรปรวน เกิดความวิตกกังวลเกินเหตุ และหงุดหงิดง่ายอีกด้วย และยังไม่เพียงเท่านั้น อาการ jet lag ยังส่งผลต่อระบบความจำ ระบบทางเดินอาหาร ที่ทำให้ความอยากอาหารลดลง อาหารไม่ย่อย หรือท้องร่วงได้เช่นกัน

ทีนี้เรามาเจาะลึกกันให้มากขึ้นถึงต้นตอต่างๆ ของอาการ jet lag ซึ่งอาการที่ว่านั้นเกิดจากนาฬิกาชีวิตของร่างกายแปรปรวนขึ้น เพราะกิจวัตรที่ต้องปรับแบบกะทะหัน ไม่ว่าจะเป็นการกินการนอน แม้ว่าบางครั้งการที่เราบินจากสภาพแวดล้อมเดิมซึ่งแดดออก ไปเจอกับปลายทางที่มีสภาพอากาศแดดจ้าเหมือนกัน แต่เป็นคนละไทม์โซน เช่น ในช่วงเวลานี้ ปกติอาจเป็นเวลานอนของเรา แต่เมื่อเดินทางไปยังอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงกลางวัน ร่างกายก็จะรับรู้ว่าเป็นตอนกลางวัน และจะกระตุ้นให้ตัวเองตื่นตัว แม้จะรู้สึกง่วงอยู่ก็ตาม ทำให้เกิดอาการ jet lag คือ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และปวดหัวได้ หรือถ้าหากนอนหลับไปแล้วก็อาจเผลอตื่นกลางดึก เวลาเดิม แล้วนอนต่อไม่ได้ เพราะยังไม่ชินกับเวลาใหม่นั่นเอง

อีกประการหนึ่ง แรงดันอากาศในเครื่องบินก็ส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลียได้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม อาการป่วยนี้สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และรุนแรงขึ้นตามระยะเวลาและระยะทางในการเดินทางนั่นเอง

เกร็ดสุขภาพ : แสงแดดนั้นมีบทบาทอย่างมากในการผลิตเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่มีผลโดยตรงต่อการนอนหลับและนาฬิกาชีวภาพ และยังเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายรับรู้ว่าเวลาไหนที่ต้องนอนหลับ ดังนั้น การที่เราจะควบคุมการนอนได้ ในขณะที่อยู่ต่างประเทศและต้องการนอนหลับพักผ่อน ควรปิดไฟปิดม่านให้สนิท เพื่อไม่ให้แสงแดดเข้าห้อง และเพื่อให้ร่างกายรู้ว่าถึงเวลานอนแล้วนั่นเอง

การป้องกันและดูแลตัวเองจากอาการ jet lag

ก่อนที่เราจะเดินทาง เราสามารถเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนได้เพื่อไม่ให้เกิดอาการ jet lag สำหรับใครที่ต้องเดินทางถึงจุดหมายในเวลากลางคืน การหลับบนเครื่องบินโดยใส่หูฟังตัดเสียง หรือผ้าปิดตาก็จะช่วยได้ดีมากๆ แต่ในทางกลับกันถ้าต้องเดินทางในช่วงเวลากลางวันอาจต้องตื่นตัวเพื่อสัมผัสกับแสงแดดเพื่อปรับนาฬิกาชีวภาพให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ

เกร็ดสุขภาพ : การดื่มน้ำจึงเป็นส่วนสำคัญมากที่จะช่วยป้องกันอาการ jet lag ได้ โดยให้ดื่มเปล่ามากๆ ก่อนเครื่องขึ้นบินและหลังจากถึงที่หมายแล้ว เพราะสภาพอากาศในเครื่องอาจมีความชื้นต่ำ ทำให้จมูกแห้ง คอแห้ง ปวดหัว อ่อนเพลีย นอกจากนี้ ขณะเดินทางแนะนำว่าไม่ควรดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน ซึ่งทำให้ร่างกายสูยเสียน้ำได้เช่นกัน

jet lag คือการป่วยที่ต้องรักษาหรือไม่

อาการ jet lag คือ, jet lag คือ
Image Credit : Unsplash

โดยทั่วไปแล้วคนที่มีอาการ jet lag คืออาการที่สามารถดีขึ้นได้ด้วยตัวเองเมื่อปรับตัวกับสภาพแวดล้อมและเวลาใหม่ได้ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 – 2 วัน และมีแค่บางคนเท่านั้นที่จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อรักษาด้วยวิธีการต่างๆ หากเวลาผ่านไปแล้วยังไม่หายดีจนทำให้กระทบต่อชีวิตประจำวัน

อาการ jet lag คือการป่วยที่สามารถรักษาได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยานอนหลับโซลพิเดม (Zolpidem) และ ไตรอะโซแลม (Triazolam) ซึ่งวิธีนี้ต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์เท่านั้นเพื่อป้องกันผลข้างเคียง เพราะอาจเกิดการเสพติดยานอนหลับ และเกิดปัญหาที่ส่งผลต่อร่างกายในระยะยาวได้ หรืออาจจะรับประทานวิตามิน คนนอนน้อย เพื่อบำรุงร่างกายจากการนอนผิดปกติเนื่องมาจากอาการ jet leg ก็ได้ค่ะ

ส่วนการกินเมลาโทนินก็สามารถช่วยได้ เพราะเป็นยาที่ช่วยปรับวงจรการนอนได้ดี สามารถกินได้ทั้งก่อนเดินทางและหลังเกิดอาการ jet lag อย่างไรก็ตาม ยาเมลาโทนินไม่สามารถใช้ได้สำหรับทุกคน เพราะใครที่กำลังต้องการตั้งครรภ์ หรือกำล้งท้องและให้นมลูกอยู่ หรือเป็นภูมิแพ้ขั้นรุนแรง หรือเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง ควรเลี่ยงการกินยาประเภทนี้ไปก่อน

สรุปแล้วอาการ jet lag คืออาการที่สามารถป้องกันได้จากทั้งการพักผ่อน การดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอออล์ และหายได้อย่างรวดเร็วหลังจากที่ร่างกายสามารถปรับตัวได้ โดยเฉลี่ยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1 – 2 วัน กล่าวได้ว่า jet lag คือการป่วยที่อาจกระทบต่อวิถีชีวิต แต่ก็ไม่ได้รุนแรงมากพอที่จะสร้างความเสียหายแก่ร่างกายในระยะยาว สำหรับใครที่กำลังวางแผนเดินทางไปยังต่างประเทศ ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลข้ามทวีป ข้ามเขตเวลา นอกจากเตรียมใจไปสนุกแล้ว อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเดินทางกันด้วยนะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : thetravel.com, pharmacy.mahidol.ac.th, mayoclinic.org

Featured Image Credit : freepik.com/jcomp

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save