X

โรคลำไส้แปรปรวน อาการ เป็นยังไง ท้องไส้ไม่ปกติ ปวดท้องบ่อยๆ จะเป็นโรคนี้ไหมนะ ?

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

โรคลำไส้แปรปรวน อาการ เป็นยังไง ท้องไส้ไม่ปกติ ปวดท้องบ่อยๆ จะเป็นโรคนี้ไหมนะ ?

ภาวะทางสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารนั้น มีอยู่หลายโรคด้วยกัน บางคนก็อาจจะท้องเสียบ่อยๆ เพราะเป็นคนธาตุอ่อน หรือบางคนก็อาจจะท้องผูกอยู่เป็นประจำเพราะดื่มน้ำน้อย ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย ทั้งยังรับประทานอาหารที่ไม่ค่อยมีไฟเบอร์ ทำให้ขับถ่ายได้ยาก แต่ถ้ามีอาการปวดท้องเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังการรับประทานอาหาร ร่วมกับมีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง และเป็นๆ หายๆ เป็นมานาน นั่นอาจจะเป็นอาการของลำไส้แปรปรวนก็เป็นได้ มารู้จักกับ โรคลำไส้แปรปรวน อาการ บ่งชี้ของโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ พร้อมทั้งวิธีการดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคนี้ เพื่อที่จะได้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้

โรคลำไส้แปรปรวน อาการ เป็นยังไง มารู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นกัน !

โรคลําไส้แปรปรวน อาการ, โรคลำไส้แปรปรวน
Image Credit : freepik.com

โรคลำไส้แปรปรวน หรือ โรคไอบีเอส (IBS :  Irritable Bowel Syndrome) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีการทำงานอย่างผิดปกติ โดยเฉพาะในส่วนปลายลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ที่มีการบีบตัวมากเกินไป และไวต่อสิ่งกระตุ้น ได้แก่ อาหารที่มีรสเผ็ด ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ หรือไวต่อความเครียด ทำให้มีอาการปวดท้อง ร่วมกับท้องเสียสลับกับท้องผูก แต่ไม่พบความผิดปกติทางกายภาพของลำไส้ เช่น ส่องกล้องตรวจลำไส้ไม่พบอาการอักเสบ ไม่มีแผล ไม่มีเนื้องอกหรือมะเร็ง ทั้งนี้ โรคลำไส้แปรปรวน อาการอาจเรื้อรังเป็นปีๆ หรืออาจเป็นตลอดชีวิต เป็นโรคที่ไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต แต่จะสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่เป็นโรคนี้ เพราะในบางรายอาจท้องเสียบ่อยจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือมีอาการท้องผูกจนทำให้รู้สึกไม่สบายตัวได้

เจาะลึก โรคลำไส้แปรปรวน อาการ เป็นอย่างไร ?

โรคลําไส้แปรปรวน อาการ, โรคลำไส้แปรปรวน
Image Credit : freepik.com
  • มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ไม่สบายท้องบ่อยๆ
  • รู้สึกปวดท้องบิดๆ หรือปวดแน่นๆ 
  • มีอาการมวนท้อง
  • มีอาการท้องผูกหรือท้องเสียสลับกัน
  • ปวดเกร็งบริเวณท้องน้อยหรือใต้สะดือ
  • มีลมในท้อง รู้สึกท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย แน่นท้อง
  • อาการปวดท้องหายไปหลังขับถ่าย
  • มีอาการดังกล่าวนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป

เกร็ดสุขภาพ : โรคลำไส้แปรปรวนมักจะเป็นความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารเพียงอย่างเดียว ไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน น้ำหนักลด ซีด อาเจียน มีไข้ มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง คลำเจอก้อนในท้อง อุจจาระเป็นสีดำ เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าว แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด เพื่อการวินิจฉัยโรคเพิ่มเติม หรือทำการส่องกล้อง เอกซเรย์ ตรวจเลือด เพื่อวินิจฉัยกลุ่มอาการโรคอื่นๆ ต่อไป

สาเหตุของการเกิดโรค

  1. เกินจากการบีบตัวหรือเกิดจากการเคลื่อนตัวของลำไส้อย่างผิดปกติ อันเป็นผลมาจากการหลั่งสารหรือฮอร์โมนบางอย่างในผนังลำไส้ที่มีความผิดปกติไป ทำให้เกิดโรคลำไส้แปรปรวน อาการปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูกตามมา
  2. ระบบประสาทของผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า เช่น หลังกินอาหารแล้วสำไส้จะมีการตอบสนองมากกว่าคนปกติ ลำไส้มีการบีบตัวมากขึ้น จนทำให้มีอาการปวดท้อง และท้องเสียตามมา นอกจากอาหารแล้ว ความเครียดก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดลำไส้แปรปรวนได้ 
  3. ผู้ที่มีปัญหาด้านการย่อยอาหาร หรือติดเชื้อในทางเดินอาหาร มีโอกาสที่จะเกิดลำไส้แปรปรวนได้ด้วย

เกร็ดสุขภาพ : ลำไส้แปรปรวนหรือโรค IBS ไม่ใช่โรคมะเร็ง และจะไม่พัฒนาไปเป็นโรคมะเร็ง แม้จะมีประวัติเป็นๆ หายๆ มานานก็ตาม ซึ่งโอกาสในการพัฒนาไปเป็นโรคมะเร็งนั้นมีน้อยมาก แต่ควรระวังในผู้เสี่ยงอายุที่มีอาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือเพิ่งมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกหลังอายุ 40 – 50 ปี เพราะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้มากขึ้น จึงควรตรวจสุขภาพและคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้เป็นประจำทุกปี

การวินิจฉัยโรคลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน อาการเบื้องต้นนั้นอาจคล้ายเคียงกับโรคทางเดินระบบอาหารอื่นๆ สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด รวมถึงตรวจเลือด ตรวจอุจจาระ มีการเอ็กซเรย์ลำไส้ใหญ่ หรือส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ หากผลการตรวจร่างกายและการซักประวัติไม่พบโรคร้ายแรงชนิดอื่นๆ และไม่พบรอยโรคการเกิดเนื้องอกหรือการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ ไม่พบการอักเสบของลำไส้ หรือไม่พบแผลที่เยื่อบุลำไส้ ก็อาจถูกวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคลำไส้แปรปรวนได้

โรคลำไส้แปรปรวน อาการเป็นๆ หายๆ รักษาได้อย่างไร

โรคลําไส้แปรปรวน อาการ, โรคลำไส้แปรปรวน
Image Credit : freepik.com

การรักษาอาการลำไส้แปรปรวนนั้น แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ เช่น ยาลดอาการปวกเกร็งโดยการออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ หรือจ่ายยาแก้ปวดท้องท้องเสีย รวมถึงยาที่ช่วยลดอาการปวดท้อง ทำให้การขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติมากขึ้น และถ้าหากมีอาการลำไส้แปรปรวนอันเนื่องมาจากความเครียด วิตกกังวล แพทย์อาจจ่ายยาต้านเศร้า ยาลดความเครียด หรือยาช่วยลดความวิตกกังวลเพื่อลดอาการของโรค ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้อาการกำเริบ โดยการปฏิบัติตัวดังนี้

  • ลดการรับประทานโปรตีนที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ เน้นรับประทานโปรตีนที่ย่อยง่าย เช่น เต้าหู้ ถั่วเหลือง และปลา ทั้งปลาน้ำจืดกินได้และปลาทะเลต่างๆ 
  • เลี่ยงการรับประทานของมัน ของทอด หรือขนมหวานที่อุดมไปด้วยนม เนย เพราะย่อยยาก อาจจะทำให้ท้องอืด ท้องผูกได้ 
  • รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เพื่อบรรเทาอาหารท้องผูก 
  • เคี้ยวอาหารให้ละเอียด รับประทานอาหารช้าๆ ไม่เร่งรับประทาน เพื่อลดการเกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • ดื่มน้ำมากๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1.5 ลิตรขึ้นไป 
  • หลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มที่ส่งเสริมให้แบคทีเรียในลำไส้เจริญเติบโต ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคลำไส้แปรปรวน อาการรุนแรงขึ้นได้ โดยอาหารกลุ่มนี้ได้แก่ น้ำผึ้ง ไซรัปจากข้าวโพด นมและผลิตภัณฑ์จากนม ข้าวสาลี หัวหอม กระเทียม ถั่วชนิดต่างๆ และผลไม้ที่มีเมล็ดแข็งตรงกลาง เช่น พีช พลัม อะโวคาโด เชอร์รี่ เป็นต้น

โรคลำไส้แปรปรวน แม้เป็นโรคที่ไม่รุนแรงและไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ก็สร้างความรำคาญให้กับผู้ที่เป็นโรคนี้ได้ เพราะจะมีอาการท้องเสีย สลับกับท้องผูกอยู่บ่อยๆ ทั้งยังปวดท้องเป็นประจำ ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวได้ สามารถรักษาได้โดยการกินยาตามอาการ ประกอบกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง เช่น รับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้อาหารกำเริบอย่างอาหารรสเผ็ด ชา กาแฟ รวมถึงอาหารบางชนิด ก็จะช่วยให้ลำไส้ของเราทำงานอย่างเป็นปกติมากขึ้น หากใส่ใจในการดูแลตัวเอง แม้จะมีอาการของลำไส้แปรปรวน ก็จะไม่ทำให้ชีวิตของเรารวนตามไปด้วยนะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : sikarin.com, siphhospital.com, bangkokhospital.com, si.mahidol.ac.th, my.clevelandclinic.org

Featured Image Credit : freepik.com/wayhomestudio

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save