X

เบาหวาน ลงเท้า เกิดจากอะไร ? รักษาได้ไหม ? พร้อมวิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลความเสี่ยง

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

เบาหวาน ลงเท้า เกิดจากอะไร ? รักษาได้ไหม ? พร้อมวิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลความเสี่ยง

เป็นที่รู้กันว่า โรคเบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนอินซูลินที่ไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้เท่าที่ควร ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา ไม่ว่าจะเป็น เบาหวานขึ้นตา ความดันโลหิตสูง และ เบาหวาน ลงเท้า ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยๆ ในผู้ป่วยเบาหวาน เช่นกัน

จากสถิติพบว่า ประชากรในวัยผู้ใหญ่ 11 คน จะพบ 1 คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน แล้วใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ? ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ หรือ มีญาติสายตรง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ หรือพี่น้องที่เคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน หากใครเข้าข่ายเกณฑ์ที่บอกมาข้างต้น ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้ และถ้าใครกำลังกังวลว่าตัวเองเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ก็สามารถใช้ เครื่องตรวจเบาหวาน เพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองได้ค่ะ

เบาหวาน ลงเท้า, เบาหวานลงเท้า อาการ
Image credit : freepik.com

ชวนมารู้จัก เบาหวาน ลงเท้า เกิดจากอะไร ?

เบาหวานลงเท้า เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โดยเกิดจากการเสื่อมของเส้นประสาทและหลอดเลือดบริเวณขาและเท้าเนื่องจากถูกน้ำตาลทำลาย โดยปกติแล้วผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งน้ำตาลนี้สามารถทำลายหลอดเลือดและเส้นประสาทในร่างกายได้ และเมื่อเกิดความเสื่อมของระบบประสาทและหลอดเลือดบริเวณเท้า จะทำให้สูญเสียความรู้สึก ร่วมกับมีภาวะเลือดไปเลี้ยงเท้าไม่เพียงพอ ทำให้บริเวณนั้นๆ มีโอกาสที่จะเกิดแผลได้ง่าย และอาจเป็นแผลเรื้อรัง เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมักมีอาการแผลหายช้าอยู่เป็นทุนเดิม หากมีอาการหนักอาจรุนแรงถึงขั้นจำเป็นจะต้องตัดเท้าเลยทีเดียว

เกร็ดสุขภาพ : มีการคาดการณ์ว่า จำนวนประชากรโลก 6.3 % ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และคาดว่าทั่วโลกจะมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนสูงขึ้นถึง 333 ล้านคนในปี พ.ศ.2568 ซึ่งโรคเบาหวานเป็นสาเหตุให้ถูกตัดเท้าหรือขา 40 – 70% และมีผู้ป่วยเบาหวานถูกตัดเท้าในทุกๆ 30 วินาที

เบาหวาน ลงเท้า อาการเป็นอย่างไร ? มาดูวิธีสังเกตกัน !

ถ้าคุณหรือคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว ควรสังเกตอาการต่างๆ ดังนี้

  1. มีอาการชาที่เท้าหรือเป็นเหน็บบริเวณเท้า โดยเฉพาะบริเวณปลายนิ้วเท้าไล่ขึ้นไปถึงหลังเท้า 
  2. มีอาการเจ็บแปล๊บหรือปวดแสบร้อน ร้อนวูบวาบบริเวณขาหรือเท้า
  3. มีอาการปวดเฉียบพลันหรือเป็นตะคริวบริเวณขาและเท้า
  4. มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  5. ไวต่อการสัมผัส หากถูกแตะเพียงเล็กน้อยก็อาจรู้สึกปวดหรือเจ็บได้
  6. สีผิวบริเวณนั้นๆ ซีดลงหรือคล้ำขึ้นจนสังเกตได้ชัด 
  7. ผิวหนังบริเวณเท้าแห้งจนปริแตกเป็นแผล หรือมีแผลพุพอง ซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากเชื้อโรคสามารถเข้าไปได้
  8. รูปเท้าผิดปกติ มีปัญหากระดูกและข้อ อาจมีกระดูกงอกโปนขึ้นมา

หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ เนื่องจากสามารถบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่จะเกิดเบาหวานลงเท้าได้

เบาหวาน ลงเท้า, เบาหวานลงเท้า อาการ
Image credit : freepik.com

วิธีป้องกัน ภาวะแทรกซ้อน เบาหวานลงเท้า

หากใครไม่อยากเป็นเบาหวานลงเท้า เรามีวิธีป้องกันมาฝาก สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ 

  1. ควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันให้อยู่ในระดับปกติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  2. ควบคุมระดับความดันเลือดในอยู่ในเกณฑ์
  3. เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
  4. พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด 
  5. ถ้ามีแผลบริเวณขาหรือเท้าเพียงเล็กน้อย ให้รีบทำความสะอาดทันที และควรรีบมาพบแพทย์ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะมีโอกาสติดเชื้อได้ 

ควบคุมอาหาร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดีต่อสุขภาพ หากใครเป็น โรคเบาหวาน อาหารเมนูไหนดีที่อยากแนะนำก็คือให้เน้นผัก และหลีกเลี่ยงหวาน มัน เค็ม เลือกวัตถุดิบที่มีสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือดได้ก็จะดีค่ะ

เบาหวาน ลงเท้า รักษาได้ไหม ?

โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะรักษาไปตามอาการ เช่น ทำความสะอาดแผล ตัดเอาเนื้อเยื่อบางส่วนที่ตายแล้วออก รักษาภาวะติดเชื้อ และรักษาภาวะเท้าขาดเลือด ค้นหาสาเหตุการเกิดแผล และหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดแผลซ้ำ และให้ความรู้ผู้ป่วยรวมถึงญาติดูแลผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการดูแลตนเอง

เบาหวาน ลงเท้า, เบาหวานลงเท้า อาการ
Image credit : freepik.com

หากเป็นเบาหวานลงเท้า อาการชัดแล้ว ดูแลตัวเองอย่างไร ?

หากใครมีภาวะแทรกซ้อน เบาหวานลงเท้า หรือมีคนใกล้ชิดมีอาการแล้ว เรามีวิธีดูแลตัวเองมาฝากกัน สามารถนำไปปรับใช้ได้เลยค่ะ 

  1. หมั่นทำความสะอาดเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ โดยล้างเท้าในน้ำอุ่นและถูสบู่อ่อน ๆ เป็นประจำทุกวัน หลีกเลี่ยงการแช่เท้าในน้ำเป็นเวลานาน
  2. ทาครีมบำรุงเท้าเพื่อป้องกันผิวแห้ง แตก ซึ่งจะก่อให้เกิดแผลได้
  3. สำรวจเท้าของตัวเองว่ามีรอยแผล รอยขีดข่วนหรือไม่ มีตุ่มน้ำ แผลพุพอง แผลฟกช้ำ หรือมีสีผิวที่เปลี่ยนแปลงไป หากมีอาการ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  4. หลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักที่เท้า และไม่เดินเท้าเปล่า สวมรองเท้าในบ้าน โดยเลือกรองเท้าที่นุ่ม ใส่สบาย ไม่อับชื้น
  5. สวมถุงเท้าทุกครั้งเพื่อป้องกันการเสียดสีโดยตรงระหว่างเท้ากับรองเท้า และเลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย 
  6. ตัดเล็บเท้าอย่างระมัดระวัง ใช้ตะไบเล็บตะไบส่วนที่คมออก

เกร็ดสุขภาพ :  ผู้ป่วยเบาหวานมักมีผิวหนังที่แห้ง อาจทำให้เกิดอาการคันและเกิดแผลได้ การทาโลชั่นหรือทาครีมบางๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว จะช่วยป้องกันการเกิดแผลบริเวณผิวหนังเนื่องจากผิวแห้งแตกได้ โดยเลือกโลชั่นที่สามารถซึมเข้าสู่ผิวได้อย่างรวดเร็วและไม่เหนียวเหนอะหนะ

เบาหวาน ลงเท้า, เบาหวานลงเท้า อาการ
Image credit : freepik.com

คำแนะนำสำหรับญาติและคนใกล้ชิด

  1. ดูแลในส่วนของอาหารอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด รับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น 5 เมนู ข้าวโพดข้าวเหนียว แทนแป้งขัดขาว 
  2. หมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงเท้าของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ ทั้งเรื่องสีผิว การเกิดรอยแผลต่าง ๆ เบาหวานลงเท้า อาการจะชัดเจนจนสามารถมองเห็นได้
  3. ตัดเล็บให้ผู้ป่วยอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการตัดบริเวณหนังและเนื้อ เนื่องจากอาจทำให้เกิดแผลและเลือดออกได้ 
  4. ช่วยผู้ป่วยออกกำลังกายเท้าโดยการหมุนข้อเท้า หรือกระดกเท้าขึ้นลงสลับกัน อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง 

เบาหวานลงเท้า แม้อาการจะดูน่ากลัว แต่สามารถป้องกันได้อย่างทันการณ์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่เรานำมาบอก รวมถึงวิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนนี้ หากดูแลตัวเองเป็นอย่างดี ทั้งเรื่องอาหารการกิน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และไปพบแพทย์ตามนัด เพียงเท่านี้ ก็มีสุขภาพที่ดีขึ้นและห่างไกลจากโรคได้ค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : phyathai.com, hopkinsmedicine.org, mayoclinic.org

Featured Image Credit : freepik.com/rawpixel.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save