X

การลื่มล้ม ภัยร้ายของผู้สูงอายุ ! ชวนรู้วิธีป้องกัน ผู้สูงอายุล้ม กระดูกหัก เพื่อที่จะได้ดูแลผู้สูงวัยในบ้านอย่างถูกต้อง

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

การลื่มล้ม ภัยร้ายของผู้สูงอายุ! ชวนรู้วิธีป้องกัน ผู้สูงอายุล้ม กระดูกหัก เพื่อที่จะได้ดูแลผู้สูงวัยในบ้านอย่างถูกต้อง

เมื่ออยู่ในวัยสูงอายุ นอกจากจะต้องกังวลในเรื่องของสุขภาพและความเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากความเสื่อมของร่างกายแล้ว การหกล้มในผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลเช่นเดียวกัน เมื่อ ผู้สูงอายุล้ม ก็มีโอกาสที่จะกระดูกร้าวหรือกระดูกหักได้ โดยเฉพาะกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลัง ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถเดินได้เป็นปกติอีกต่อไป และต้องย้ายเข้าไปอยู่ในสถานบริการดูแลผู้สูงอายุหรือบ้านพักคนชรา ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุลื่มล้มหลังกระแทกพื้นจนได้รับบาดเจ็บรุนแรง เรามาดูกันว่า จะสามารถป้องกันการลื่นล้มในผู้สูงอายุได้อย่างไรกันบ้าง เพื่อที่จะเป็นการเตรียมพร้อมก่อนที่จะเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น

ผู้สูงอายุล้ม, ลื่นล้มหลังกระแทกพื้น
Image Credit : Freepik

เกร็ดสุขภาพ : การหกล้มเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้สูงอายุ และมักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ในแต่ละปี ผู้สูงอายุ 1 ใน 3 คนมักจะลื่นล้ม และจำนวน 50% ของผู้สูงอายุลื่นล้มมากกว่า 1 ครั้ง เมื่อผู้สูงอายุหกล้มและกระดูกหัก พบว่า ผู้สูงอายุ 1 ใน 5 คนไม่สามารถกลับมาเดินได้อีกและมีบางส่วนที่ต้องใช้รถเข็นไปตลอดชีวิต

ชวนดู ! สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุลื่นล้มหลังกระแทกพื้น

ผู้สูงอายุมักจะหกล้มเนื่องจากสูญเสียการทรงตัว เช่น สะดุดเก้าอี้ โต้ะ หรือเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ ในบ้าน รวมไปถึงสะดุดพื้นเนื่องจากสายตาไม่ดี หรือพื้นลื่นเลยทำให้ผู้สูงอายุล้มได้ และด้วยความสูงวัย ทำให้มีภาวะกระดูกพรุน เวลาหกล้มจึงทำให้กระดูกร้าวและหักได้ง่ายกว่าคนวัยอื่นๆ นั่นเอง

ชวนสังเกตุ ! ผู้สูงอายุแบบไหนที่เสี่ยงลื่นล้มได้ง่าย

มาดูกันว่า ผู้สูงอายุกลุ่มใดบ้างที่จะเสี่ยงต่อการลื่มล้มได้ง่าย เพื่อที่จะได้สังเกตผู้สูงอายุที่บ้าน และระมัดระวังไว้ก่อนค่ะ

ผู้สูงอายุล้ม, ลื่นล้มหลังกระแทกพื้น
Image credit : Freepik
  1. ผู้สูงอายุที่เดินและทรงตัวผิดปกติ เช่น ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อม โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีอาการข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น
  2. ผู้สูงอายุที่ไม่ออกกำลังกาย ทำให้ความเข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อลดลงตามวัย ทำให้ขาไม่มีแรง และล้มได้ง่าย
  3. ผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น เช่น ป่วยด้วยโรคต้อกระจก ต้อหิน สายตาผิดปกติอย่างรุนแรง 
  4. ผู้สูงอายุที่กินยาหลายชนิดพร้อมกัน ซึ่งยาบางชนิดหรือบางประเภทมีผลต่อการทรงตัว ทำให้ผู้สูงอายุล้มได้ง่าย 
  5. ผู้สูงอายุที่สวมเสื้อผ้าหลวมโคร่ง หรือยาวรุ่มร่าม รวมถึงสวมรองเท้าที่ไม่พอดีกับเท้า และสวมแว่นตาที่มีค่าสาตาไม่พอดีกับสายตา ก็อาจจะทำให้สะดุดล้มได้

ชวนตรวจสอบ ! สภาพแวดล้อมแบบไหนนที่ทำให้ ผู้สูงอายุล้ม ได้ง่าย

ลองมองไปรอบๆ บ้านของตัวเองแล้วดูว่า สภาพแวดล้อมของบ้านมีลักษณะดังนี้หรือไม่ ถ้ามี อาจจะต้องปรับเปลี่ยนใหม่ เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะสะดุดล้มได้ง่ายค่ะ

  1. พื้นทางเดินในบ้านเป็นแบบลื่น หรือมีพื้นต่างระดับ ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุสะดุดล้ม หรือลื่นล้มหลังกระแทกพื้นได้ 
  2. มีสายไฟ หรือข้าวของวางวางระเกะระกะอยู่ตรงบริเวณพื้นบ้าน
  3. พื้นห้องน้ำเปียกอยู่ตลอดเวลา เสี่ยงต่อผู้สูงอายุล้มในห้องน้ำได้สูงมาก
  4. ในห้องน้ำไม่มีราวจับ หรือบริเวณบันไดไม่มีราวบันไดให้ผู้สูงอายุจับเพื่อพยุงตัวเวลาเดินขึ้นบันใด อาจทำให้เดินสะดุดหรือตกบันไดได้
  5. แสงสว่างในบ้านไม่สว่างเพียงพอ ประกอบกับผู้สูงอายุมีสายตาไม่ดีอยู่เป็นทุนเดิม ทำให้ผู้สูงอายุล้มได้

ชวนป้องกัน ! ป้องกัน ผู้สูงอายุล้ม ก่อนสาย

เราสามารถป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุลื่นล้มหลังกระแทกพื้น รวมถึงป้องกันการหกล้มกระดูกหักได้ด้วยการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุให้แข็งแรง และบำรุงกระดูกให้แข็งแรงเพื่อที่จะได้ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน โดยสามารถดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุได้ตามนี้

• ด้านการดูแลสุขภาพ

ผู้สูงอายุล้ม, ลื่นล้มหลังกระแทกพื้น
Image Credit : Freepik
  1. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเนื้อกระดูก เช่น นม ถ้าแพ้นมวัว ก็สามารถดื่มนมข้าวโอ๊ต นมอัลมอนด์ หรือนมถั่วเหลืองได้ รับประทานปลาเล็กปลาน้อย กุ้งฝอย ผักใบเขียว และผลไม้ที่มีแคลเซียมสูง อาทิ กีวี่ ส้ม มะละกอ ก็ได้เช่นกันค่ะ  
  2. รับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองหรือธัญพืช เช่น เต้าหู้ งาดำ 
  3. รับแสดงแดดในยามเช้าหรือยามเย็น เพื่อเสริมสร้างวิตามินดี ช่วงป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ 
  4. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป อาจเป็นการออกกำลังเบาๆ อย่างรำไทเก็ก  รำกระบอง เดินเร็ว หรือโยคะ ก็ได้เช่นเดียวกัน  เป็นการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพื่อป้องกันผู้สูงอายุล้ม 
  5. งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ 
  6. ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง หากเจ็บป่วยให้ไปพบแพทย์ เนื่องจากยาบางชนิดอาจมีสารสเตียรอยด์ที่ทำให้เนื้อกระดูกบางลง

ด้านสถาพแวดล้อม

นอกจากการดูแลสุขภาพแล้ว ควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุด้วย ซึ่งทำได้ดังนี้

ผู้สูงอายุล้ม, ลื่นล้มหลังกระแทกพื้น
Image Credit : Freepik
  1. พื้นบ้าน ให้ปูด้วยกระเบื้องแกรนิต ไม้ลามิเนต หรือไม้จริง หรืออาจเคลือบด้วยน้ำยากันลื่น เพื่อป้องกันผู้สูงอายุล้ม 
  2. ห้องนอนของผู้สูงอายุควรอยู่ชั้นล่างของบ้าน ควรเป็นเตียงพร้อมฟูก ไม่ควรวางฟูกเพียงอย่างเดียวเพราะยากต่อการลุกนั่งหรือลุกขึ้นยืน และทำให้ทรงตัวไม่ได้ และล้มในที่สุด 
  3. ติดตั้งราวแขวนเสื้อในระดับความสูงที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เพื่อหลีกเลี่ยงการยืดเขย่งตัว ทำให้เสียการทรงตัวและอาจลื่นล้มหลังกระแทกพื้น และควรวางของหนักไว้ชั้นล่างสุด 
  4. ห้องน้ำ พื้นห้องน้ำควรเป็นกระเบื้องผิวหยาบ มีลวดลายนูน หรือเป็นเนื้อหยาบกันลื่น มีการแบ่งบริเวณส่วนเปียกและส่วนแห้งอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ควรติดตั้งราวจับตรงชักโครกให้สูงจากพื้น 80 – 90 ซม. หรือตามสัดส่วนของผู้สูงอายุ บริเวณผนังให้เลือกราวจับที่เป็นรูปตัว L หรือราวแนวนอนที่สามารถรับน้ำหนักตัวได้ 100 กก.
  5. บริเวณบ้านและบันไดควรใช้แสง Day Light ที่ให้ความสว่างแบบช่วงกลางวัน และห้องนอนควรเป็นไฟแบบ Warm Light ที่สบายตา 
  6. สวิตช์ไฟควรอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป 
  7. ในส่วนเครื่องใช้ เครื่องแต่งตัว ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีขนาดพอดีตัวกับผู้สูงอายุ และให้ผู้สูงอายุใส่รองเท้าที่กระชับ พื้นรองเท้าไม่ลื่น ห็จะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุล้มได้

เกร็ดสุขภาพ : หากผู้สูงอายุต้องเดินออกนอกบ้าน หรือออกไปข้างนอก ไปในที่ชุมชน ควรมีอุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า หรือมีบุตรหลานคอยช่วยพยุง คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ก็จะป้องกันผู้สูงอายุล้มได้ และให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการลุกยืนเร็วๆ หรือเดินเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้หน้ามืด และเป็นลมล้มลงไปได้เช่นกัน

เมื่อได้ทราบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นความเสี่ยงจะทำให้ผู้สูงอายุล้มได้ ก็ปรับเปลี่ยนทั้งสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ให้ผู้สูงอายุมีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน ดูแลผู้สูงอายุให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารเสริมสร้างแคลเซียม และชวนผู้สูงอายุที่บ้านมาออกกำลังเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย จะได้เดินเหินสะดวกคล่องแคล่ว และปราศจากการเกิดอุบัติเหตุหกล้มหรือลื่นล้มหลังกระแทกพื้น เพราะไม่ว่ายังไงก็ตาม การเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นนั้น ไม่เป็นผลดีต่อทั้งตัวผู้สูงอายุและคนดูแลที่บ้านแน่นอน เพราะฉะนั้น ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้ไขเสมอค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : thaihealth.or.th, bangkokhospital.com, dop.go.th

Featured Image Credit : freepik.com/Lifestylememory

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save