X

มดเข้าหู อาการ เป็นยังไง ? อันตรายไหม ต้องใช้วิธีแก้ยังไงบ้าง ?

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

มดเข้าหู อาการ เป็นยังไง ? อันตรายไหม ต้องใช้วิธีแก้ยังไงบ้าง ?

คุณเคยรู้สึกคันหูแปลกๆ หรือได้ยินเสียงประหลาดในหูมั้ย? บางทีอาจไม่ใช่แค่หูคัน แต่อาจมี “แขก” ตัวจิ๋วที่ไม่ได้รับเชิญอย่างมดมาเยือนก็ได้นะ และเชื่อเถอะว่า มันทำให้หลายคนปวดหัวได้จริงๆ ทั้งคัน ทั้งรำคาญ บางคนถึงกับกลัวว่ามดจะทำร้ายหู จริงๆ แล้ว มันไม่ถึงกับอันตรายร้ายแรงหรอก ถ้าเรารู้วิธีจัดการให้ถูก ไม่งั้นอาจมีปัญหาตามมาได้ ในบทความนี้ เพื่อสุขภาพ จะพาไปดูกันว่าทำไมมดถึงชอบเข้าหูคน แล้วถ้าเกิดขึ้นกับเรา เราควรทำยังไงดี อันตรายมั้ย ไปหาคำตอบกันค่ะ

มดเข้าหู อาการ เป็นยังไง ? ป้องกัน และจัดการยังไงได้บ้าง ?

มดน้ำผึ้ง Image Credit : canva.com-pro

มดเข้าหูเป็นปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อยกว่าที่หลายคนคิด โดยเฉพาะในเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทย สาเหตุหลักมักเกิดจากการนอนกลางแจ้งหรือบนพื้น ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมด ช่องหูมนุษย์มีความอบอุ่นและมืด จึงดึงดูดมดให้เข้าไปสำรวจ แม้จะไม่อันตรายถึงชีวิต แต่อาจนำไปสู่การติดเชื้อในหูชั้นนอกได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม นักวิจัยพบว่ามดที่มักเข้าหูคนบ่อยที่สุดคือมดน้ำผึ้ง ซึ่งดึงดูดด้วยกลิ่นของขี้หู การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรักษาความสะอาดของหู และหลีกเลี่ยงการนอนในที่ที่มดชอบอาศัย เรามาทำความเข้าใจเรื่องนี้ เพื่อดูแลตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิมกันค่ะ

Bertolli Extra Light Tasting Olive Oil 500ML น้ำมันมะกอกปรุงอาหาร

มดเข้าหู อาการเป็นยังไง ?

มดเข้าหู อาการ, มดเข้าหู อันตรายไหม
Image Credit : freepik.com

อาการของมดเข้าหูมักจะเกิดขึ้นทันที และสังเกตได้ชัดเจน ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อมดเข้าหูจะรู้สึกถึงความผิดปกติในหูค่อนข้างทันที โดยอาการจะเป็นดังนี้ค่ะ

  1. ความรู้สึกคัน หรือระคายเคืองในช่องหูอย่างรุนแรง
  2. การได้ยินเสียงแปลกๆ เช่น เสียงขยับหรือเสียงกรอบแกรบในหู
  3. ความรู้สึกเหมือนมีอะไรเคลื่อนไหวหรือดิ้นอยู่ในหู
  4. อาการปวดหูเฉียบพลัน โดยเฉพาะถ้ามดกัดหรือต่อย
  5. บางครั้งอาจมีอาการมึนงงหรือเวียนศีรษะร่วมด้วย

มดเข้าหู อันตรายไหม ?

มดเข้าหู อันตรายไหมนั้น หากไม่ได้มีอาการรุนแรงก็จะไม่เป็นอันตรายค่ะ เพราะปกติแล้ว ในรูหูของคนเราจะมีการป้องกันสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าไปข้างใน และส่วนใหญ่มดหรือแมลงก็จะเข้าไปได้แค่บริเวณหูชั้นนอกเท่านั้น แต่หากว่าคุณมีอาการปวดหูมากๆ อย่างรุนแรง นั่นอาจแปลว่ามดอาจเข้าไปถึงหูชั้นกลางได้ หากเป็นอย่างนั้นจะต้องรีบไปพบแพทย์ค่ะ และถ้ามดหรือแมลงอื่นๆ เข้าหู ให้สงบสติอารมณ์ก่อน พยายามอยู่นิ่งๆ และหากคุณไม่สามารถนำมันออกเองได้ ให้ขอความช่วยเหลือผู้อื่น หรือไปพบแพทย์หู คอ จมูก และห้ามใช้ไม้แคะหู แหนบหรืออื่นๆ แหย่เข้าไปในหูไม่ว่าในกรณีใด เพราะจะมีความเสี่ยงในการบาดเจ็บได้

เกร็ดสุขภาพ : มดสามารถอยู่ในหูของเราได้นานแค่ไหน ? มดหรือแมลงต่างๆ ที่เข้ามาในหูของเรานั้นมักจะตายอย่างรวดเร็ว แต่ในบางกรณี มันสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 2-3 วัน และจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายหู รวมถึงมีเสียงดังในหู หรือรู้สึกหูอื้อได้ คล้ายกับอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน

[แพ็คคู่] จอห์นสัน เบบี้ ออยบำรุงผิว เบธไทม์ เบบี้ออย 300 มล. x 2

มดเข้าหู วิธีแก้ วิธีนำมดออกจากหูอย่างปลอดภัย ต้องทำยังไง ?

มดเข้าหู อาการ, มดเข้าหู อันตรายไหม

มดเข้าหู อาการเป็นอย่างไรบ้างนั้นก็ได้รู้กันไปแล้ว คราวนี้เรามารู้ถึงวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นกันค่ะว่าจะสามารถเอามดออกจากหูเองได้อย่างไรจึงจะปลอดภัย โดยทำตามขั้นตอนเหล่านี้

  1. เอียงศีรษะไปทางด้านที่มดเข้าหู และเขย่าศีรษะเบาๆ เพื่อขับไล่มดออกมา แต่อย่าตบหรือกระแทกหูเพราะอาจทำให้เกิดปัญหาและความเจ็บปวดเพิ่มเติมได้
  2. หากมดยังไม่ตาย ให้ลองหยดน้ำมันพืช หรือเบบี้ออยล์ลงไปในหูเล็กน้อย เพื่อทำให้มดหายใจไม่ออก แต่หากมดตายแล้ว ให้พยายามล้างออกจากหูโดยใช้น้ำอุ่น
  3. หลีกเลี่ยงการใช้แหนบ สำลีพันก้าน หรือวัตถุอื่นๆ แหย่เข้าไปในหู เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถดันมดให้เข้าไปที่หูชั้นกลางหรือแก้วหูได้ และอาจนำไปสู่การบาดเจ็บและการสูญเสียการได้ยินได้

มดเข้าหู ต้องไปพบแพทย์หรือไม่ ?

เนื่องจากมดสามารถกัด และทำลายแก้วหูได้ ดังนั้นหากคุณไม่สามารถกำจัดออกจากหูได้ด้วยตัวเอง แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก แพทย์จะทำการตรวจดูภายในหูและตรวจสอบว่าเป็นมดหรือแมลงอื่นๆ หรือไม่ หากมดยังมีชีวิตอยู่ แพทย์จะทำการหยอดน้ำมันมะกอกก่อนที่จะล้างออกจากหูด้วยน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ซึ่งหากน้ำมันไม่สามารถฆ่ามดได้สำเร็จ แพทย์จะใช้ยาลิโดเคน (Lidocaine) ซึ่งเป็นยาสลบเพื่อกำจัดมดก่อนที่จะล้างออกมา แต่หากมดยังไม่ตายแพทย์จะใช้อุปกรณ์ทำการคีบมดออกจากหู และอาจมีการให้ยาปฏิชีวนะหากช่องหูได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงค่ะ

ป้องกันมดเข้าหูยังไงได้บ้าง ?

มดเข้าหู อาการ, มดเข้าหู อันตรายไหม

แม้ว่าโดยปกติแล้วมดเข้าหู อาการจะไม่ได้รุนแรงหรือมีอันตรายมากนัก แต่การป้องกันเพื่อไม่ให้มดหรือแมลงอื่นๆ เข้าหูได้ง่ายก็จะช่วยลดความเสี่ยงของอาการบาดเจ็บ หรือหูอื้อได้ (อ่านเพิ่มเติม หูอื้อทำยังไงให้หาย) โดยสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลห้องนอนและพื้นที่นอนอื่นๆ ให้สะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มดหรือแมลงเข้ามาในบริเวณนั้น เมื่อต้องไปตั้งแคมป์ และการใส่ที่อุดหูและปิดเต็นท์ให้สนิทก็สามารถช่วยป้องกันมดไม่ให้เข้าไปในหูของคุณได้ค่ะ

เกร็ดสุขภาพ : ปกติแล้ว เราจะพบสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ในหู เช่น ฝุ่น หรือทราย ได้บ่อยกว่ามด หรือ แมลง สิ่งแปลกปลอมในช่องหูส่วนใหญ่จะสังเกตเห็นได้จากปัญหาการได้ยินและความรู้สึกว่ามีบางอย่างในหู ซึ่งไม่ว่าจะเป็นมด แมลง หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ คุณก็สามารถลองเอาสิ่งเหล่านี้ออกเองได้ด้วยน้ำมันพืช น้ำมันมะกอก หรือเบบี้ออยล์

น้ำมันมะกอก Olio Essence Olive Oil 450 ml บำรุงสุขภาพผม ผิว (ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่)

มดเข้าหู อาการเป็นอย่างไรบ้างนั้นก็ได้รู้กันไปแล้วนะคะ รวมถึงวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่บ้านที่คุณสามารถทำได้เอง แม้ว่ามดเข้าหูจะไม่ได้อันตรายมากหากไม่ได้เข้าไปถึงหูชั้นกลางจนสร้างความเจ็บปวดให้เรา แต่การป้องกันตามวิธีที่เราแนะนำไปก็จะช่วยให้คุณปลอดภัยได้มากขึ้น และหากว่ามีอาการที่รุนแรงมากขึ้นและไม่สามารถนำมดออกจากหูเองได้ ให้รีบไปพบแพทย์ค่ะ สำหรับใครที่ชอบเรื่องการปฐมพยาบาล หรือวิธีการเพื่อสุขภาพที่ทำได้ด้วยตัวเองอื่นๆ เรายังมีวิธีแก้อาการสะอึกให้อ่านเป็นความรู้เพิ่มเติมกันอีกด้วยนะคะ

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save