X

ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เกิดจากอะไร ? ชวนดูสาเหตุ วิธีแก้ และอาหารแนะนำ !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เกิดจากอะไร ? ชวนดูสาเหตุ วิธีแก้ และอาหารแนะนำ !

สำหรับใครที่ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านคงจะรู้ดีว่า ผู้สูงอายุนั้นมีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงนัก สมรรถภาพทางกายก็เสื่อมโทรมตามวัย เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย เคลื่อนไหวได้ไม่คล่องแคล่วเหมือนเคย สายตาก็ไม่ดี มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพต่างๆ ในบางรายก็เบื่ออาหาร ไม่ค่อยอยากกินอะไร ซึ่งอาจทำให้ ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และรู้สึกเหนื่อยล้าได้ และถ้าไม่รีบแก้ไข ก็จะส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุในระยะยาวได้ มาดูสาเหตุและวิธีแก้ไขกันเลยค่ะ

ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เกิดจากอะไร  ? ชวนดูวิธีดูแลผู้สูงอายุให้แข็งแรง

ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง, ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กินอะไรดี
Image Credit : freepik.com

สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุอ่อนเพลียและรู้สึกไม่มีแรงนั้น มีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ปัญหาสุขภาพกาย มีโรคประจำตัว ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายจนทำให้รู้สึกเฉื่อยชา อาจเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยา หรือนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากมีปัญหาด้านการนอนหลับ นอนหลับไม่สนิท หลับๆ ตื่น ๆ หรือนอนน้อยเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงในด้านสุขภาพ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อาจเกิดจากปัจจัยด้านสุขภาพจิตด้วยเช่นกัน อาทิ เกิดความเครียด มีความวิตกกังวล รู้สึกทุกข์ใจ ไม่สบายใจ คิดมาก และมีภาวะซึมเศร้า เกิดความรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมในวัยสูงอายุ เป็นต้น ซึ่งถ้าเรารู้สาเหตุที่แท้จริงแล้ว ก็จะสามารถแก้ไขสถานการณ์และรู้วิธีดูแลผู้สูงอายุให้พวกท่านมีความสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาได้

เจาะลึก ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เกิดจากอะไรกันแน่ ?

ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง, ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กินอะไรดี
Image Credit : freepik.com

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และไม่มีแรงได้ สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่

  1. กระบวนการสูงวัย : เมื่อมนุษย์เรามีอายุมากขึ้น ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ สมรรถภาพทางกายก็ลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงลดลง รวมถึงระดับพลังงานลดลง ทำให้ไม่คล่องแคล่วเหมือนเคย รู้สึกเฉื่อยชา ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่าและรู้สึกอ่อนเพลียได้
  2. ภาวะสุขภาพเรื้อรัง : ผู้สูงอายุอาจมีภาวะสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือข้ออักเสบ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เดินเหินไม่ค่อยสะดวก ซึ่งอาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและอ่อนแรงได้
  3. ยา : ยาบางชนิดที่มักจ่ายให้กับผู้สูงอายุอาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าและอ่อนแรง หรือทำให้รู้สึกง่วงนอน ไม่สดชื่นได้
  4. โภชนาการที่ไม่ดี : เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ร่างกายก็มีการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมสภาพลง รวมถึงสุขภาพช่องปากและฟัน บางคนอาจจะเคี้ยวอาหารได้ไม่สะดวกทำให้กินอาหารได้ไม่อร่อยและกินได้น้อย หรือกินแล้วท้องอืด อาหารไม่ย่อย จึงไม่ค่อยอยากกินอะไร ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ การขาดโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และวิตามิน อาจส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้าและผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงได้
  5. การขาดการออกกำลังกาย : การขาดการออกกำลังกายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง แม้ว่าจะอยู่ในวัยสูงอายุแล้วก็ต้องออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายและทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี อาจเป็นการออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินเร็ว เล่นโยคะ รำไทเก็ก รำกระบอง เป็นต้น
  6. มีปัญหาด้านการนอนหลับ : ผู้สูงอายุบางคนอาจมีปัญหาในเรื่องของการนอนหลับ นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท นอนไม่หลับ หรือสะดุ้งตื่นกลางดึก และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอและรู้สึกอ่อนเพลียได้ 
  7. มีความเครียด วิตกกังวล : ผู้สูงอายุบางคนมีความเครียด วิตกกังวล รู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดาย รู้สึกเหงา เพราะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ในบางคนอาจต้องอยู่คนเดียวเพราะลูกหลานแยกตัวไปสร้างครอบครัว ทำให้มีภาวะ Empty Nest Syndrome หรือในบางคน คู่สมรสเสียชีวิตไปก่อน ทำให้เกิดความเหงา รู้สึกเครียดวิตกกังวล ทุกข์ใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับและทำให้ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงได้

เกร็ดสุขภาพ : เรื่องสุขภาพจิตของผู้สูงอายุเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องใส่ใจและหมั่นสังเกตผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด ในผู้สูงอายุนั้น เสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ บางรายอาจมีภาวะสับสนเฉียบพลัน หรือเป็นโรคจิตเภทได้ ซึ่งสาเหตุมีอยู่หลายประการ เช่น เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสมองและระบบประสาท เกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือเกิดจากความเครียดวิตกกังวลเกี่ยวกับชีวิตในวัยสูงอายุ เป็นต้น

ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กินอะไรดี ? มาดูแลบำรุงสุขภาพผู้สูงอายุกันเถอะ

ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง, ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กินอะไรดี
Image Credit : freepik.com

ตอนนี้ก็ได้รู้สาเหตุที่ผู้สูงอายุรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรงกันไปแล้ว ซึ่งก็มีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งในเรื่องของสุขภาพผู้สูงอายุเองหรือปัจจัยทางกายภาพต่างๆ อย่างไรก็ตาม เราสามารถบำรุงสุขภาพของผู้สูงอายุได้ด้วยการให้ผู้สูงอายุกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะอย่างน้อย การมีโภชนาการที่ดีก็จะทำให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน ส่งผลให้ร่างกายมีพลังงานอย่างเพียงพอ และรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า หายอ่อนเพลียได้บ้าง ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กินอะไรดี มาดูกันเลยค่ะ

1. คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

หากเป็นอาหารประเภทแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต ควรให้ผู้สูงอายุกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงโดยฉับพลันซึ่งอาจจะทำให้อารมณ์แปรปรวนหรือมีผลต่อสุขภาพได้ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนก็ได้แก่ ข้าวไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีท เผือก มัน ผืชผักที่เป็นหัวและเคี้ยวได้ง่ายอย่างฟักทอง เป็นต้น

2. โปรตีนที่มีไขมันต่ำ

แม้จะอยู่ในวัยสูงอายุร่างกายก็ยังต้องการโปรตีน เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและเติมกรดอะมิโนจำเป็นให้กับร่างกายให้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง ควรเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย เคี้ยวได้ง่าย โปรตีนที่เหมาะกับผู้สูงอายุก็ได้แก่ เนื้อปลา ไข่ เต้าหู้ไข่ เต้าหู้ถั่วเหลือง นมถั่วเหลืองแบบไม่หวาน หรือนมธัญพืชอื่นๆ เป็นต้น

3. ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ

ไขมันก็จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุเช่นกัน เพราะช่วยให้พลังงานแก่ร่างกาย สารอาหารบางชนิดในไขมันมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น วิตามินอี กรดโอเมก้า 3 ทั้งนี้ ควรเลือกไขมันชนิดดีและมีไขมันอิ่มตัวต่ำ คอเลสเตอรอลต่ำ เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันงา อะโวคาโด และควรรับประทานแต่พอดี เพราะอาจมีผลเสียต่อสุขภาพได้หากได้รับไขมันมากเกินไป

4. ผักและผลไม้

ผักผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารที่เพียงพอและได้รับแร่ธาตุวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผักควรเป็นผักต้มหรือผักลวกที่เคี้ยวได้ง่าย มีความนิ่ม หรือทำเป็นซุปผัก น้ำผักปั่นที่ดื่มได้ง่าย ส่วนผลไม้ควรเลือกชนิดที่ไม่หวานมาก น้ำตาลไม่สูง เพื่อป้องกันการเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กินอะไรดี นอกจากที่กล่าวไปแล้ว ควรให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากการขาดน้ำอาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลียเหนื่อยล้าได้ การเพิ่มชาสมุนไพรและขนมที่เคี้ยวได้ง่าย ไม่หวานมากในระหว่างมื้ออาจช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกายได้ด้วย และในกรณีที่ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว ต้องควบคุมอาหาร ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการที่สามารถให้คำแนะนำเฉพาะบุคคลตามความต้องการด้านอาหารที่เฉพาะเจาะจงได้ เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ

เกร็ดสุขภาพ : โดยทั่วไปแล้ว ผู้สูงอายุจะมีความอยากอาหารลดลง เนื่องจากร่างกายไม่ต้องการพลังงานที่มากเกินความจำเป็น แต่การที่ผู้สูงอายุไม่ค่อยรับประทานอาหารนั้น อาจมีสาเหตุอื่นๆ ด้วย เช่น ปวดฟัน เคี้ยวไม่สะดวกเพราะฟันสึกหรอตามวัย หรืออาหารที่เตรียมให้มีความแข็งเกิน เคี้ยวยาก กินแล้วไม่ย่อย ทำให้ท้องอืด ปวดท้อง ทำให้กินข้าวได้น้อย ดังนั้น จึงต้องหมั่นสังเกตผู้สูงอายุและรับฟังผู้สูงอายุว่ามีปัญหาใดๆ หรือไม่ และเราสามารถแก้ไขได้หรือไม่ การดูแลผู้สูงอายุนั้น จะต้องอาศัยความใส่ใจและความเข้าใจเป็นอย่างสูง ต้องมีความอดทนและมีความเห็นอกเห็นใจต่อกัน จึงจะสามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีความสุข

เคล็ดลับการดูแลผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ให้มีสุขภาพที่ดี

ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง, ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กินอะไรดี
Image Credit : freepik.com

การที่ผู้สูงอายุไม่แข็งแรง รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรงนั้น เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างก็ได้ทราบกันไปแล้ว ซึ่งการบำรุงร่างกายผู้สูงอายุด้วยการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุก็จะช่วยบำรุงสุขภาพได้ในอีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การดูแลผู้สูงอายุด้วยวิธีการเหล่านี้ ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีได้ ทำได้อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

  1. ใส่ใจในเรื่องความปลอดภัย : ทำได้โดยการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุลื่นล้มหรือสะดุดหกล้มซึ่งอาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้ ติดตั้งราวจับในห้องน้ำ และใช้เสื่อกันลื่น ตรวจสอบเป็นประจำว่าอุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น รถเข็น ไม้เท้า อยู่ในสภาพดี เก็บกวาดข้าวของให้ไม่เกะกะขวางทางเวลาผุ้สูงอายุเดิน เป็นต้น
  2. ช่วยเหลือในกิจกรรมในชีวิตประจำวัน : เช่น การอาบน้ำ การแต่งตัว และการเข้าห้องน้ำ โดยให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้และอยู่ในขอบเขตที่ผู้สูงอายุยังรู้สึกเต็มใจและสะดวกใจที่จะได้รับการช่วยเหลือเหล่านี้
  3. ส่งเสริมให้ออกกำลังกายเป็นประจำ : ชักชวนให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามแต่สมรรถภาพทางด้านร่างกายจะเอื้ออำนวย เช่น การเดินออกกำลังกาย การทำท่ากายบริหารง่ายๆ การรำไทเก็ก ฯลฯ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น
  4. ให้การสนับสนุนทางอารมณ์ : อดทน มีน้ำใจ และเข้าใจอกเข้าใจ รับฟังปัญหาของผู้สูงอายุอย่างเปิดใจและไม่ตัดสิน ให้ความช่วยเหลือให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกสบายใจ คลายความเครียดความวิตกกังวลและดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
  5. ใส่ใจเรื่องการจัดยา : ผู้สูงอายุมักจะมียาประจำตัวหลายชนิด และอาจจะจำไม่ได้ว่าต้องกินยาอะไรบ้าง ทำให้หลายๆ ครั้งลืมกินยาซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรจัดยาให้ผู้สูงอายุในแต่ละมื้อ แต่ละวัน และตรวจสอบความถูกต้องของยาอย่างละเอียดครบถ้วน เพื่อการมีสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุเอง
  6. ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม : อาจพาผู้สูงอายุไปเที่ยวบ้างหรือชักชวนให้เข้าชมรมต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกเหงา ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว หรือแม้แต่คนที่บ้านเองก็สามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุเพื่อกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวได้ กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุก็มีมากมาย เช่น ทำงานศิลปะ เล่นเกมฝึกสมอง ทำงานฝีมือ เป็นต้น
  7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ : พาผู้สูงอายุไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ การละเลยในเรื่องของสุขภาพอาจทำให้ผู้สูงอายุเจ็บป่วยและส่งผลให้เกิดความอ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยล้าหรือป่วยไข้ไม่สบายได้

การที่ผู้สูงอายุรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรงนั้น อาจเกิดจากธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจึงไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น มีโรคประจำตัว โภชนาการไม่เหมาะสม นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีความเครียดวิตกกังวลจนส่งผลกระทบต่อร่างกายก็เป็นไปได้ทั้งนั้น สิ่งสำคัญคือ หาสาเหตุที่แท้จริงให้เจอและปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการประคับประคองสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการจัดเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ชักชวนให้ผู้สูงอายุออกกำลังกาย ดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายสุขภาพใจที่ดีได้ค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : nakornthon.com, paolohospital.com, dop.go.th, thairath.co.th, wikihow.com

Featured Image Credit : freepik.com/Lifestylememory

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save