“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
ไบโพลาร์ อาการเป็นอย่างไร? มาทำความเข้าใจกับโรคนี้กันเถอะ !
ไบโพลาร์ หนึ่งในโรคที่เกี่ยวกับจิตใจที่เราอาจเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง และอาจเคยเห็นไบโพลาร์ผ่านทางสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นละครทีวี หรือคลิปในโลกอินเตอร์เน็ต แต่ทุกคนทราบไหมว่าจริงๆ แล้ว ไบโพลาร์ อาการเป็นอย่างไร เหมือนในละครหรือไม่ โรคไบโพลาร์ แบบทดสอบเป็นอย่างไร ดังนั้นวันนี้เราจึงนำเรื่องเกี่ยวกับโรคไบโพลาร์มาให้ทุกคนได้ศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้อย่างถูกต้อง
ไบโพลาร์ คืออะไร?
โรคไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว คือโรคที่ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ที่มากกว่าปกติ นั่นคือถ้ามีอาการเศร้าก็จะเศร้ามากจนผิดปกติ ร้องไห้ มีอาการซึม อ่อนเพลีย และอาจถึงขั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ หรือถ้ามีความสุข อารมณ์ดีก็จะดีมากจนผิดปกติ ครึกครื้น พูดมากกว่าที่เคยเป็น ซึ่งผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ อาการอาจแสดงเพียงตอนเศร้าหรือตอนมีความสุขแค่เพียงด้านเดียว หรืออาจมีอาการทั้งสองด้านก็เป็นได้ ดังนั้น เรื่องที่หลายๆ คนคิดว่าคนที่เป็นโรคไบโพลาร์ อาการจะขึ้นๆ ลงๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายจึงไม่เป็นความจริง
- สาเหตุของโรคไบโพลาร์
โรคไบโพลาร์สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย นั่นคือ
- เกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ได้แก่ สารนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) สารเซโรโทนิน (Serotonin) และสารโดปามีน (Dopamine) ซึ่งถ้าหากสารทั้งสามตัวนี้เกิดความไม่สมดุลกัน จะทำให้เกิดความผิดปกติของสมองส่วนควบคุมอารมณ์ และทำให้อารมณ์มีความไม่เสถียร ซึ่งสาเหตุนี้ถือว่าเป็นสาเหตุหลักๆ ของโรคไบโพลาร์เลยก็ว่าได้
- เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งในสาเหตุนี้ ในปัจจุบันยังไม่ทราบถึงลักษณะการสืบทอดอย่างชัดเจน แต่พบว่าผู้ป่วยที่เป็นไบโพลาร์ มักจะมีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคไบโพลาร์เช่นกัน
- เกิดจากความเครียด ซึ่งอาจมาจากภาระหน้าที่ในชีวิตประจำวัน การสูญเสีย อาการเครียดเรื้อรัง เกิดการเจ็บป่วยที่กะทันหัน หรืออาจเกิดจากสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดอีกด้วย
เกร็ดสุขภาพ : ความเครียด คืออีกหนึ่งความรู้สึกเมื่อเราต้องเจอกับปัญหาต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ธรรมดามากๆ ที่เราต้องเจอกับความเครียด แต่ถ้าหากความเครียดมีมากจนเกินไป สิ่งที่อาจตามมาก็คือโรคร้ายต่างๆ ที่มีสาเหตุจากความเครียดทั้ง โรคเครียดลงกระเพาะ โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า และรวมไปถึงโรคที่เกี่ยวกับด้านจิตใจต่างๆ อีกด้วย
ไบโพลาร์ อาการเป็นอย่างไร?
ไบโพลาร์อาการนั้น มักจะแบ่งเป็นสองภาวะหลักๆ ได้แก่
- ภาวะคลุ้มคลั่ง (Manic Episode)
- รู้สึกคึกคะนองมากจนผิดปกติ พูดเยอะจนผิดปกติ และพูดไม่หยุด
- รู้สึกหยิ่งทะนงในตัวเองมากจนเกินไป มีความมั่นใจในตัวเองที่มากจนผิดปกติ กล้าทำในสิ่งที่ตัวเองไม่คิดจะทำมาก่อน
- มีอาการเพ้อฝัน คิดฟุ้งซ่าน จนทำให้มีอาการนอนไม่หลับ อยู่ไม่นิ่ง และมีอาการกระสับกระส่าย
- อาจมีการใช้จ่ายมากจนผิดปกติ
- ภาวะซึมเศร้า (Depressive Episode)
- มีอาการซึมเศร้า รู้สึกหมดแรงในการทำสิ่งต่างๆ หรือมีความสนใจในสิ่งที่เคยสนใจลดลงเป็นอย่างมาก
- รู้สึกเบื่ออาหาร มีการลดลงของน้ำหนักที่เยอะจนผิดปกติ และมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง และรู้สึกเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา
- รู้สึกผิด รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ร้องไห้ง่ายกว่าปกติ
- สมาธิลดลง ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน รู้สึกลังเลใจ และไม่สามารถติดสินใจอะไรได้
- อาจถึงขั้นมีความคิดที่อยากตาย หรือหายไปจากโลกนี้นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณเตือนอื่นๆ ที่เราสามารถสังเกตตัวเราเองได้ ว่าเข้าข่ายของโรคไบโพลาร์ อาการต่างๆ ไหม เช่น มีปัญหาในการทำงาน พูดเร็วจนไม่สามารถจับใจความได้ ขี้โมโห มีอาการหงุดหงิดง่าย หรือแม้กระทั่งมีอารมณ์ที่ดีจนเกิดไป แต่หากใครยังไม่แน่ใจว่าตัวเองมีโอกาสเป็นโรคไบโพลาร์ อาการต่างๆ หรือเปล่า สามารถเข้าไปตอบคำถามต่างเกี่ยวกับโรคไบโพลาร์ แบบทดสอบกันได้
การรักษาและป้องกันโรคไบโพลาร์
ในปัจจุบัน การรักษาโรคไบโพลาร์นั้นยังไม่สามารถทำให้หายขาดได้ จึงมักใช้ยาร่วมกับการบำบัดเพื่อช่วยปรับสมดุลของสารสื่อประสาท และให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ต่างๆ ของตัวเองได้ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการป้องกันไม่ให้โรคไบโพลาร์ อาการต่างๆ นั้นเกิดขึ้นกับตัวเรา
- หลีกเลี่ยงความเครียดที่เกิดขึ้น หรือใช้วิธีการจัดการความเครียด ไม่ว่าจะเป็นการหากิจกรรมที่ชอบ การนั่งสมาธิ หรือแม้กระทั่งการใช้เวลาร่วมกับคนที่เรารักก็สามารถช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้นในแต่ละวันได้
- ดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี เช่น การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและไม่หักโหม การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกสุขลักษณะ รวมไปถึงการงดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่อีกด้วย
- หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการของโรคไบโพลาร์หรือไม่ อาจลองใช้วิธีตรวจสอบโรคไบโพลาร์ แบบทดสอบของทางโรงพยาบาลดูก่อนเพื่อความแน่ชัด และรวดเร็วต่อการเข้ารับการรักษา
เกร็ดสุขภาพ : ดาร์กช็อกโกแลต หนึ่งในขนมหวานที่เป็นที่โปรดปรานของใครหลายๆ คน แต่เชื่อไหมว่า ดาร์กช็อกโกแลตนั้นสามารถช่วยในการบรรเทาความเครียดได้ด้วย เนื่องจากดาร์กช็อกโกแลตสามารถลดระดับของฮอร์โมนฮอติซอล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของความเครียดได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยในการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ และช่วยบำรุงสมองอีกด้วย ทั้งนี้ ควรรับประทานในปริมาณ 20 – 30 กรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่พอดีที่ร่างกายต้องการ
โรคไบโพลาร์ อาการต่างๆ นั้น ไม่ใช่โรคที่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยเผชิญกับอาการเหล่านี้เพียงลำพัง ดังนั้นบุคคลรอบข้างควรที่จะทำความเข้าใจในอาการและพฤติกรรมต่างๆ ที่ผู้ป่วยแสดงออกมา และช่วยให้กำลังใจผู้ป่วย คอยอยู่เคียงข้างผู้ป่วยให้มีแรงใจในการต่อสู้กับโรคนี้
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : bumrungrad.com, bangkokhospital.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ