“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
มาดูกันว่า เครียดลงกระเพาะ ท้องเสียเกี่ยวข้องกันหรือไม่? มีอาการอื่นๆ อีกหรือเปล่า?
ความเครียด คือ ภาวะของอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเราต้องเผชิญกับปัญหา แรงกดดัน ความวิตกกังวล ซึ่งอารมณ์เหล่านี้ ไม่เพียงแต่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจเท่านั้น อารมณ์เหล่านี้ยังส่งผลเสียต่อปัญหาสุขภาพได้ด้วย นั่นคือ โรคเครียดลงกระเพาะ โรคที่เหล่าวัยทำงานมักจะประสบพบเจออยู่บ่อยครั้ง เพราะอาจจะเกิดจากความเครียดในการทำงาน หรือความเครียดสะสมต่างๆ ซึ่งโรคเครียดลงกระเพาะนั้น ถือว่าเป็นภัยร้ายที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ดังนั้น วันนี้เราจึงขออาสาพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับโรคเครียดลงกระเพาะว่าเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง มีอาการอย่างไร อาการของ เครียดลงกระเพาะ ท้องเสียมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ และมีวิธีรักษา หรือวิธีป้องกันอย่างไร
โรคเครียดลงกระเพาะคืออะไร
โรคเครียดลงกระเพาะ คือโรคที่มักเกิดกับกลุ่มคนที่มีความเครียดสูง หรือต้องรับความกดดันในแต่ละวัน ส่วนใหญ่แล้ว โรคเครียดลงกระเพาะจึงมักเกิดกับผู้ที่มีอายุประมาณ 18 – 35 ปี เพราะเป็นช่วงอายุที่มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจจะก่อเกิดความเครียดได้มากกว่าวัยอื่นๆ เช่น การเข้ามหาวิทยาลัย การเข้าทำงาน หรือภาระด้านการเงิน ซึ่งเมื่อเกิดความเครียดในแต่ละวัน ความเครียดสะสมเหล่านั้นจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ จนน้ำย่อยไปทำลายผนังกระเพาะ และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง นอกจากนี้ ความเครียดยังสามารถก่อให้เกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอีกด้วย เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคลำไส้อักเสบ ซึ่งแน่นอนว่าความเกี่ยวข้องกันระหว่างโรคเครียดลงกระเพาะ ท้องเสียก็สามารถเป็นไปได้
อาการของโรคเครียดลงกระเพาะ
โรคเครียดลงกระเพาะไม่ได้มีอาการที่แน่นอนอาจถึงขั้น เครียดลงกระเพาะ ท้องเสีย อาเจียน หรืออาจทำให้รู้สึกทรมานได้ ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนว่ามีอาการมากน้อยแค่ไหน
- มีอาการปวด จุก เสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่หลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จ หรืออาจเกิดในเวลาที่ท้องว่าง และอาจมีอาการมวนท้องร่วมด้วย
- รู้สึกคลื่นไส้อาเจียนหลังจากรับประทานอาหาร เพราะเนื่องจากกระเพาะที่มีแผลและการบีบตัวของลำไส้อย่างผิดปกติ
- เรอบ่อย เรอมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว หรืออาจมีอาการเรอแล้วรู้สึกแสบคอ
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย รู้สึกเหมือนว่ามีแก๊สจำนวนมากอยู่ในกระเพาะอาหารของตัวเอง เพราะเนื่องจากกระเพาะหลั่งกรดที่จำเป็นต่อการย่อยอาหารออกมาน้อยลง
- ความเกี่ยวข้องกันระหว่างโรคเครียดลงกระเพาะ กรดไหลย้อน คือ โรคเครียดลงกระเพาะจะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร และเกิดการบีบตัวของหลอดอาหาร จึงทำให้เกิดการแสบร้อนกลางอก และก่อให้เกิดอาการเครียดลงกระเพาะ กรดไหลย้อนได้ในที่สุด
- อีกหนึ่งความเกี่ยวข้องระหว่างโรคเครียดลงกระเพาะ ท้องเสีย คือ ความเครียดที่เกิดขึ้น จะส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของลำไส้ใหญ่อีกด้วย ดังนั้น เมื่อเกิดอาการเครียดลงกระเพาะ ก็อาจเกิดการท้องเสีย หรือท้องผูกร่วมด้วย
เกร็ดสุขภาพ : นอกจากความเกี่ยวข้องกันระหว่างโรคเครียดลงกระเพาะ ท้องเสีย แล้ว โรคเครียดลงกระเพาะยังอาจส่งผลให้เป็นโรคนอนไม่หลับ หรือเกิดอาการหลับยากอีกด้วย เพราะว่าโรคเครียดลงกระเพาะอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง จุกเสียดท้อง หรือเป็นเพราะโรคเครียดลงกระเพาะ ท้องเสียจึงตามมา จนไม่สามารถนอนได้ ซึ่งวิธีแก้ คือ การผ่อนคลายด้วยวิธีคลายเครียดก่อนนอน เช่น การทำสมาธิก่อนนอน การนับเลข การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งนอกจากจะทำให้หลับสบายแล้ว ยังทำให้เราพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ และมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย
วิธีรักษา และป้องกันโรคเครียดลงกระเพาะ
โรคเครียดลงกระเพาะนั้น มักเป็นโรคทีผู้คนมักจะปล่อยปะละเลย จนทำให้กลายเป็นโรคเรื้อรัง แต่จริงๆ แล้ว ถ้ารีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะสามารถทำให้หายขาดจากโรคนี้ได้
- เข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง และอาจมีการเข้าพบกับจิตแพทย์เมื่อต้องการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น
- ทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ หรือกิจกรรมที่สามารถบรรเทาความเครียดได้ เช่น การฟังเพลง การอ่านหนังสือ การฟังธรรมะคลายเครียด หรือแม้แต่การนอนก็สามารถทำได้เช่นกัน
- ควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลาและครบสามมื้อ เลี่ยงอาหารที่มีรสจัดที่อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารของเราได้ เช่น รสเผ็ดจัด รสเปรี้ยวจัด
- งดการดื่มแอลกอฮอล์ งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและไม่หักโหมจนเกินไป เลือกวิธีออกกำลังกายให้เข้ากับสภาพร่างกายของเรา เพราะว่าเมื่อเราออกกำลังกาย ร่างกายของเราจะหลั่งสารที่มีชื่อว่า เอนโดรฟิน ซึ่งสารตัวนี้จะช่วยเรื่องของการลดความเครียด และสามารถบรรเทาอาการของโรคเครียดลงกระเพาะได้อย่างดี
- อาจจะระบายความรู้สึกหรือความเครียดต่างๆ ให้คนที่เราไว้ใจได้รับฟัง เพื่อที่จะทำให้เรารู้สึกสบายใจ และทำให้มีอาการเครียดที่ลดลง
เกร็ดสุขภาพ : วิธีการจัดการความเครียดนั้นมีด้วยกันอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการ ออกกำลังกาย การอยู่กับเพื่อนหรือครอบครัว การทำกิจกรรมที่ชอบ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ช่วยบรรเทาความเครียดทั้งสิ้น แต่เมื่อเรารู้สึกว่าความเครียดที่เกิดขึ้น ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นการเข้าพบจิตแพทย์เพื่อลดความเครียดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสม
เพียงเท่านี้ เราก็ทราบว่าโรคเครียดลงกระเพาะ ท้องเสียมีความเกี่ยวข้องอย่างไร โรคเครียดลงกระเพาะ กรดไหลย้อนคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกันหรือไม่ และรวมทั้งการทราบถึงสาเหตุสำคัญของโรคเครียดลงกระเพาะ ว่าเป็นความเครียดนั่นเอง ซึ่งความเครียดนั้น เป็นสิ่งที่คนเราไม่สามารถเลี่ยงได้ แต่เราก็สามารถรับมือกับมันได้ พวกเราจึงขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับทุกๆ คนที่กำลังประสบปัญหาต่างๆ ในชีวิต สามารถก้าวผ่านปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยดี
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : sikarin.com, thaihealth.or.th
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ