X

อาการของความดันต่ำเป็นยังไง ? ชวนรู้จักโรคความดันต่ำที่อายุน้อยก็เป็นได้ !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

อาการของความดันต่ำ เป็นยังไง ? ชวนรู้จักโรคความดันต่ำที่อายุน้อยก็เป็นได้ !

รู้ไหมคะว่าอาการผิดปกติบางอย่างสามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่กับคนอายุน้อย อาการของความดันต่ำเองก็คือหนึ่งในนั้น เราลองมาดูกันดีกว่าค่ะว่าโรคความดันต่ำคืออะไร มีสาเหตุจากไหน อันตรายอย่างไรหากเรามีอาการของโรคความดันต่ำ พร้อมแนวทางการรักษาและป้องกัน รู้ก่อนดูแลตัวเองและคนรอบข้างได้ดีกว่า ไปทำความรู้จักกับความดันต่ำและมาดูกันว่าความดันโลหิตต่ำ เกิดจากอะไรกันค่ะ

  • โรคความดันต่ำคืออะไร
สาเหตุความดันต่ำ, อาการของความดันต่ำ

ความดันต่ำ (Low Blood Pressure หรือ Hypotension) คือ ภาวะที่ความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ ซึ่งตามปกติแล้วความดันโลหิตของคนเราจะอยู่ที่ 90/60 mmHg แต่ผู้ที่เป็นความดันจะมีระดับความดันต่ำกว่าค่านี้ อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยไม่มีอาการของความดันต่ำหรืออาการผิดปกติใดๆ แพทย์มักจะวินิจฉัยว่ายังเป็นผู้มีสุขภาพปกติและไม่มีความจำเป็นต้องรับการรักษาแต่อย่างใดค่ะ

  • สาเหตุความดันต่ำ เกิดจากอะไรมาดูกัน
สาเหตุความดันต่ำ, อาการของความดันต่ำ

สาเหตุความดันต่ำเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนี้

  • อาการของความดันต่ำในหญิงตั้งครรภ์
  • ความผิดปกติของฮอร์โมนหรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ผลข้างเคียงจากการกินยาบางชนิด
  • หัวใจล้มเหลว
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • หลอดเลือดขยายตัวผิดปกติ
  • โรคลมแดด
  • โรคตับ
  • กรรมพันธุ์
  • ความเครียด

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุความดันต่ำแบบเฉียบพลันซึ่งเป็นปัจจัยนอกเหนือจากสาเหตุข้างต้น หากเกิดขึ้นแล้วอาจทำให้เกิดอาการของความดันต่ำแบบเฉียบพลันจนเป็นอันตรายร้ายแรงได้

  • เสียเลือดปริมาณมากจากบาดแผลหรืออุบัติเหตุ
  • อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ
  • อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ
  • ติดเชื้อในกระแสเลือด
  • อาการขาดน้ำอย่างรุนแรงจากท้องเสียหรือท้องร่วง
  • ผลข้างเคียงจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • อาการแพ้อย่างรุนแรงจนทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เนื่องจากสาเหตุของโรคความดันต่ำมีหลากหลายมาก ดังนั้นการป้องกันและดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีจึงสำคัญที่สุดนะคะ

  • อาการของความดันต่ำ รู้ก่อน ป้องกันได้ก่อน

เมื่อเรารู้จักสาเหตุของโรคความดันต่ำไปแล้ว คราวนี้ลองมาดูอาการของความดันต่ำกันบ้างดีกว่า

  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม
  • ทรงตัวไม่อยู่ เดินเซ เสียการทรงตัวกระทันหัน
  • สายตามัว มองภาพไม่ชัด
  • ใจเต้นแรงหรือใจสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เกิดอาการมึนงง สับสน
  • คลื่นไส้ บางรายอาจมีการอาเจียนร่วมด้วย
  • อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย
  • หายใจหอบถี่ หายใจสั้น รู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่ม
  • รู้สึกกระหายน้ำผิดปกติ
  • ตัวเย็น หนาวสั่น ผิวซีดผิดปกติ

เกร็ดสุขภาพ : อาการของความดันต่ำมักเป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราวหรือเป็นเพียงครู่เดียวก็ดีขึ้น อย่างไรก็ตามหากเกิดอาการบ่อยๆ หรือมีอาการรุนแรงขึ้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษาจะดีที่สุดนะคะ เพราะหากปล่อยเอาไว้อาจเกิดอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้

  • การรักษาโรคความดันต่ำทำอย่างไร
สาเหตุความดันต่ำ, อาการของความดันต่ำ

สำหรับใครที่มีอาการความดันต่ำแบบไม่รุนแรงสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือหากเกิดอาการของโรคความดันต่ำขึ้นมาให้รีบนั่งพักและยกเท้าให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจจนกว่าอาการจะดีขึ้น ส่วนผู้ที่มีอาการรุนแรงควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

  • การให้น้ำเกลือ : หากเกิดความดันต่ำจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เสียเลือด หรือติดเชื้อในกระแสเลือด สามารถรักษาได้ด้วยการให้สารน้ำเพื่อเพิ่มความดันให้กลับมาอยู่ในระดับปกติอีกครั้ง
  • รักษาที่ต้นเหตุ : หากไปพบแพทย์แล้วแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเกิดความดันต่ำจากโรคต่างๆ หรือโรคประจำตัวก็ต้องทำการรักษาที่ต้นเหตุร่วมด้วย
  • รักษาด้วยยา : นอกจากการรักษาสองวิธีข้างต้นแล้วยังสามารถใช้วิธีกินยาเพื่อปรับความดันเลือดให้กลับมาอยู่ในระดับปกติได้ด้วย โดยต้องเป็นยาที่แพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามากินเองนะคะ
  • วิธีป้องกันความดันต่ำ
  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 1 – 2 ลิตรต่อวันเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ หากอยู่ในช่วงท้องร่วง ท้องเสีย ต้องเพิ่มปริมาณน้ำให้มากขึ้นด้วยนะคะ
  • ไม่ยืนนานๆ เพราะอาจเกิดอาการความดันต่ำจากความผิดปกติของหัวใจและสมองได้ 
  • ลดปริมาณเครื่องดื่มคาเฟอีนและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ในเวลากลางคืนเพราะอาจไปกระตุ้นให้เกิดความดันต่ำได้
  • ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอัตราการสูบฉีดเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • ไม่กินอาหารมื้อใหญ่แต่ควรแบ่งกินเป็นมื้อย่อยๆ ในแต่ละวัน รวมถึงเลือกกินไขมันดีที่ช่วยลดความดันอย่าง omega 3 คืออีกตัวช่วยที่ดีเช่นกัน
  • ลุกนั่งหรือเดินชเบาๆ มีสติเสมอ ไม่ลุกนั่งเร็วเกินไป

เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นโปรตีนที่มีคุณภาพอย่างเนื้อไม่ติดมัน เนื้อปลาหรือไก่ รวมถึงไขมันที่ดีต่อร่างกายรวมถึงลดอาหารประเภทแป้งลง ใครที่รู้ว่าคีโตเจนิคกินอะไรได้บ้าง สามารถใช้หลักการคีโตกินเพื่อป้องกันการเกิดโรคความดันได้เลยนะคะเพราะมีหลักการกินคล้ายคลึงกัน

เกร็ดสุขภาพ : กคีโตคือการกินไขมันเพื่อลดไขมัน จะเน้นอาหารไขมันสูงแต่ต้องเป็นไขมันดีเท่านั้นนะคะ รวมถึงกินโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ แต่จะลดอาหารประเภทแป้งลงให้เหลือแป้งน้อยมากๆ หากต้องกินแป้งจริงๆ ควรเป็นแป้งไม่ขัดสีหรือธัญพืชอย่างคีนัว สารอาหารที่มีประโยชน์เองก็เยอะและยังมีส่วนช่วยลดความดันด้วย

ได้รู้ไปแล้วว่าอาการของความดันต่ำที่เราควรรู้คืออะไร คราวนี้จะได้สังเกตอาการของตัวเองได้อย่างรู้เท่าทัน นอกจากนี้เมื่อเรารู้แล้วว่าความดันโลหิตต่ำ เกิดจากอะไรบ้าง ก็ต้องพยายามเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการและอย่าลืมนะคะว่า ถ้ามีอาการรุนแรงหรือเป็นเรื้อรังไม่หายต้องไปพบแพทย์จะดีที่สุดค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : mayoclinic.org, heart.org, webmd.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save