“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
ประโยชน์ตำลึง มีอะไรบ้าง ?! แนะนำประโยชน์ของผักดีๆ ที่ปลูกได้ทุกบ้าน
ตำลึง เป็นเถาวัลย์เขตร้อนที่สามารถเติบโตได้ในทุ่งนาและในสวนหลังบ้าน เป็นผักพื้นบ้านของไทยที่ใบของมันถูกใช้ในอายุรเวทเพื่อรักษาโรคและอาการต่างๆ อาทิ ช่วยในเรื่องเบาหวาน รักษาแผล แก้อาการหอบหืด ฯลฯ นอกจากนี้ยังนิยมนำมาทำอาหารต่างๆ อีกด้วย ซึ่งใบตำลึง สรรพคุณนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน ก่อนที่เราจะนำเอาใบตำลึงมาปรุงอาหารมารู้จักกับ ประโยชน์ตำลึง กันก่อนดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้าง
ประโยชน์ตำลึง ผักคู่บ้านยอดนิยมมีอะไรบ้าง ที่นอกจากความอร่อย
นอกจากคนไทยจะนิยมนำใบตำลึงมาปรุงเป็นอาหารจานอร่อยต่างๆ แล้วนั้น ใบตำลึง สรรพคุณยังเป็นยาตามธรรมชาติอีกด้วย เพราะใบถูกนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณตั้งแต่ยุโรปจนถึงเอเชียมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว นอกจากใบตำลึงสามารถบริโภคหรือนำมาทาเฉพาะที่แล้ว สารสกัดจากใบมักจะถูกนำไปทำเป็นอาหารเสริมที่มีศักยภาพหรือรักษาด้วยสมุนไพรอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ตำลึงนั้นจะมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ
ช่วยรักษาเบาหวาน
ประโยชน์ตำลึงช่วยรักษาเบาหวานได้ เหมือนกับแตงกวา สรรพคุณของมัน เพราะตำลึงจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เนื่องจากสารประกอบในตำลึงช่วยยับยั้งเอ็นไซม์กลูโคส-6-ฟอสฟาเตส ที่เป็นหนึ่งในเอนไซม์ตับที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการเผาผลาญน้ำตาล เพียงนำมาต้มกับน้ำหรือคั้นจากผลดิบ และดื่มวันละสองครั้งเช้า-เย็นตอนท้องว่าง จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและเพิ่มระดับอินซูลินได้
ช่วยรักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ และอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ไม้เลื้อยอย่างใบตำลึง สรรพคุณสามารถช่วยผ่อนคลายทางเดินหายใจและลดอาการไอได้ มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีอาการโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ เพราะส่วนประกอบของซาโปนินในสารสกัดจากใบตำลึงช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น ทำให้น้ำมูกคลายตัวเร็วขึ้น เพิ่มการผลิตและการหลั่งฟิล์มเหลวสำหรับการแลกเปลี่ยนออกซิเจน และทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจผ่อนคลาย รวมถึงมีประสิทธิภาพในการปรับปรุงการทำงานของปอดในเด็กที่เป็นโรคหอบหืดในหลอดลมเรื้อรัง
มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ประโยชน์ตำลึงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดอย่างหนึ่งคือ ช่วยแก้ปัญหาการอักเสบของร่างกายได้ เหมือนอย่างสรรพคุณจิงจูฉ่าย หากคุณเป็นโรคข้ออักเสบ โรคเกาต์ หรือโรคไขข้อ สามารถบริโภคในรูปแบบของชาหรือใช้ใบตรงจุดที่มีการอักเสบ สำหรับผู้ที่รู้สึกไม่สบายและปวดจากการบาดเจ็บหรือการผ่าตัด หรือเป็นแผลอักเสบต่างๆ แนะนำให้ใช้เฉพาะที่ ด้วยการใช้ใบสดหรือรากสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณแผล จะสามารถรักษาการอักเสบได้
ช่วยล้างพิษและต้านเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย
ประโยชน์ตำลึงช่วยให้อวัยวะทำงานได้ดีขึ้นและขับสารพิษออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เลือดบริสุทธิ์และลดความเครียดในระบบสำคัญเหล่านี้ ช่วยขับสารพิษในลำไส้ ใช้ดับพิษร้อน แก้ไข้ตัวร้อน รวมถึงต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ มากมายได้ เช่น อาหารเป็นพิษ หรือทางเดินปัสสาวะอักเสบ เช่นเดียวกับเม็ดบัว สรรพคุณจะช่วยแก้อาการท้องเสียได้
ช่วยในการดูแลผิว
นอกจากประโยชน์ตำลึงจะช่วยลดความเจ็บปวดและการติดเชื้อที่ผิวหนังได้แล้วนั้น ยังสามารถช่วยบรรเทาความรู้สึกไม่สบายและการระคายเคืองของโรคสะเก็ดเงิน กลาก สิว และสภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผิวหนังได้อีกด้วย และยังสามารถใช้ทำทรีตเม้นต์ทำให้ผิวหน้าเต่งตึง ด้วยการผสมยอดตำลึงกับน้ำผึ้งในสัดส่วนเท่าๆ กัน แล้วปั่นรวมกันให้ละเอียด นำมาพอกหน้าทิ้งไว้ 20 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยบำรุงผิวหน้าได้ด้วยค่ะ
มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง
คุณสมบัติอย่างหนึ่งของตำลึงคือมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ซึ่งอาจมีความสามารถในการป้องกันการแพร่กระจายหรือการพัฒนาของมะเร็ง โดยอาจกำจัดอนุมูลอิสระและป้องกันการกลายพันธุ์และการตายของเซลล์ได้ ใบตำลึงจึงอาจช่วยปกป้องร่างกายจากโรคเรื้อรังต่างๆ ช่วยป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้
เกร็ดสุขภาพ : เราสามารถนำตำลึงมาปรุงเป็นอาหารต่างๆ ได้ หรือจะกินเป็นสมุนไพรด้วยการเคี้ยวใบสด หรือนำใบมาทำเป็นชาดื่มเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังนำมาบดหรือคั้นน้ำแล้วใช้เป็นยารักษาแผล รวมถึงทาเป็นน้ำมันหอมระเหยเจือจางสำหรับผิวได้ค่ะ
โทษและข้อควรระวังในการใช้ตำลึง
แม้ประโยชน์ตำลึงจะมีมากมาย และหากเราบริโภคตำลึงในรูปแบบอาหารต่างๆ นั้นค่อนข้างปลอดภัย แต่ไม่ควรกินติดต่อกันนานเกิน 6 สัปดาห์ และควรกินอย่างระมัดระวังในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากกินไม่ระวังตำลึงจะก่อให้เกิดโทษต่อบุคคล ดังต่อไปนี้
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการบริโภคตำลึง เพราะยังไม่มีการศึกษาอย่างเพียงพอในปัจจุบันว่าการบริโภคตำลึงในระหว่างตั้งครรภ์นั้นปลอดภัยหรือไม่
- อาจทำให้มีอาการแพ้ ในฐานะที่เป็นสมุนไพรตำลึงจึงปลอดภัยสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ แต่ก็มีน้อยกว่า 1 ใน 10,000 คนที่แพ้ตำลึง และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นอาจรวมถึงมีอาการหายใจถี่ บวม ผิวแดง มีอาการคัน อาเจียน ท้องเสีย ดังนั้น หากมีอาการเหล่านี้ให้งดบริโภค
- ผู้ที่กำลังเข้ารับการผ่าตัด ห้ามบริโภคตำลึงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะตำลึงอาจมีฤทธิ์ไปลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และรบกวนระหว่างการผ่าตัดหรือหลังการผ่าตัดได้
- ด้วยเพราะตำลึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่บริโภคตำลึงควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพราะตำลึงอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปหากกินในปริมาณที่มาก หรือกินร่วมกับยารักษาโรคเบาหวานที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดอยู่แล้ว
- การสัมผัสโดยตรงกับผิวหนังสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองได้ ดังนั้น หากคุณมีผิวที่บอบบาง ให้ทาตำลึงในปริมาณที่พอเหมาะในตอนแรกและสังเกตอาการ หากมีอาการผิดปกติหรือรู้สึกระคายเคืองให้หยุดใช้ทันที
เกร็ดสุขภาพ : ปริมาณที่เหมาะสมของตำลึงนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อายุ สุขภาพ และสภาวะอื่นๆ ของผู้ใช้ เพราะผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติไม่จำเป็นต้องปลอดภัยเสมอไป และปริมาณการใช้ก็มีความสำคัญ หากคุณมีโรคประจำตัวหรืออยู่ในภาวะที่รับยาอยู่ ให้ปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนบริโภคตำลึง เพราะอาจมีผลข้างเคียงต่อยาหรือโรคที่เป็นอยู่ได้
ประโยชน์ตำลึงนั้นมีมากมายค่ะ หากเราบริโภคอย่างพอดีและใช้กินหรือทาให้ถูกต้องตามวิธีก็จะช่วยรักษาอาการต่างๆ ของร่างกายได้ สำหรับผู้ป่วยควรระมัดระวังในการกินเป็นพิเศษ อย่าลืมปรึกษาแพทย์ถึงข้อดีข้อเสียก่อนกินเสมอ เพื่อให้ได้รับประโยชน์ที่แท้จริง และป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : webmd.com, organicfacts.net, medthai.com, astrogle.com, pobpad.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ