X

ธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด ? โรคทางพันธุกรรมที่หลายคนอาจมองข้าม

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

ธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด ? โรคทางพันธุกรรมที่หลายคนอาจมองข้าม

เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างกับอาการโลหิตจาง หรือว่า ธาลัสซีเมีย ซึ่งเชื่อหรือไม่ว่าประชากรของประเทศไทย ร้อยละ 30 เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียอยู่ หรือนับเป็น 18 – 20 ล้านคนเลยทีเดียว ดังนั้นเราจึงเลือกนำประเด็นนี้มานำเสนอ ให้ทุกคนได้ทราบว่าภาวะเลือดจางหรือ ธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด แต่ละชนิดของธาลัสซีเมีย อันตรายไหม และควรดูแลรักษาสุขภาพของตนเองอย่างไร

  • ธาลัสซีเมียคืออะไร?

ธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด, ธาลัสซีเมีย อันตรายไหม

ธาลัสซีเมีย หรือภาวะโลหิตจาง คือโรคที่เม็ดเลือดแดงมีความผิดปกติ แตกตัวได้ง่าย สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย และที่สำคัญนั้น ธาลัสซิเมียยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้อีกด้วย ซึ่งการที่เม็ดเลือดแดงมีความผิดปกตินั้น เกิดจากที่ร่างกายของเราสร้างสร้างสีแดงในเม็ดเลือด หรือที่เรียกกันว่าฮีโมโกลบินน้อยลง จนทำให้เกิดภาวะเลือดจางเรื้อรังตามมา และยังเพิ่มโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การทำงานของหัวใจและตับมีความผิดปกติ เกิดนิ่วในถุงน้ำดี มีการเจริญเติบโตที่ช้าในวัยเด็ก มีภาวะธาตุเหล็กเกิน และเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานอีกด้วย

การป่วยเป็นธาลัสซีเมียนั้น จะต้องเกิดจากการได้รับยีนธาลัสซีเมีย ซึ่งทั้งพ่อและแม่ต้องเป็นพาหะของธาลัสซีเมียด้วย ดังนั้นการตรวจสุขภาพร่างกายก่อนการแต่งงาน หรือการมีบุตรจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะถ้าหากตรวจพบว่าทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียทั้งคู่ จะได้มีการทบทวนว่าจะยอมรับความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นธาลัสซีเมียหรือไม่ หรือมีวิธีอื่นๆ อีกบ้างที่จะลดความเสี่ยงลง

เกร็ดสุขภาพ : โรคทางพันธุกรรม คือ โรคที่ก่อให้เกิดความผิดปกติขององค์ประกอบในระดับยีนและโครโมโซม อาจเป็นโรคที่ติดตัวของแม่หรือพ่อมา หรืออาจติดต่อมาทั้งสองทางก็เป็นได้ ซึ่งธาลัสซีเมีย หรือภาวะโลหิตจางก็นับว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมเช่นกัน

  • ธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด ?

หากถามว่าธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด แล้วสามารถแบ่งแยกได้อย่างไร คำตอบคือธาลัสซีเมียสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ชนิดตามความรุนแรงของอาการ

  1. กลุ่มผู้ที่เป็นพาหะ คือกลุ่มที่ได้รับยีนธาลัสซีเมีย จากพ่อหรือแม่ที่เป็นพาหะมาเพียงแค่คนเดียว นั่นหมายความว่าพ่ออาจเป็นพาหะ แม่เป็นคนทั่วไป เมื่อมีลูกแล้ว ลูกก็จะเป็นเพียงพาหะของธาลัสซิเมียเท่านั้น จะไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมา แต่ก็ยังมียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ในร่างกาย และสามารถสืบต่อให้รุ่นต่อไปได้
  2. กลุ่มผู้เป็นโรค คือกลุ่มที่ได้รับยีนธาลัสซีเมียมาจากทั้งทางฝั่งพ่อและแม่ที่เป็นพาหะของโรคนี้ โดยที่อาการของโรคธาลัสซีเมียนั้น สามารถเกิดตั้งแต่ระดับที่มีอาการเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงอาการรุนแรงมาก
  • อาการของธาลัสซีเมียมีอะไรบ้าง?
ธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด, ธาลัสซีเมีย อันตรายไหม

หากถามว่าธาลัสซีเมีย อันตรายไหม คงต้องตอบว่า ธาลัสซีเมียนั้นมีอาการที่หลากหลาย ดังนั้นความอันตรายจึงขึ้นอยู่กับว่าธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด และเป็นธาลัสซีเมียชนิดที่มีอาการเพียงเล็กน้อย หรือเป็นธาลัสซีเมียที่มีอาการรุนแรง

  1. ในกลุ่มที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียนั้น จะไม่มีอาการผิวซีดเหลือง หรือมีอาการผิวซีดเหลืองเพียงเล็กน้อย ไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยา หรือเข้ารับการรักษาใดๆ
  2. ในกลุ่มผู้ที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียในอาการไม่รุนแรง จะมีอาการผิวซีดเหลือง ตาเหลืองเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจจะต้องทำการรักษา และติดตามอาการจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง
  3. ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการขั้นรุนแรง จะมีอาการผิวซีดเหลือง และตาเหลืองอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากผู้ป่วยธาลัสซีเมียนั้นจะมีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายจนเกินความจำเป็น ดังนั้นอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ตับแข็ง และอาจก่อให้เกิดเป็นโรคเบาหวานได้ ซึ่งผู้ที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียขั้นรุนแรงนั้น จึงจำเป็นต้องทำการตรวจประเมินธาตุเหล็กในร่างกายอย่างเป็นประจำ
  • รักษา และดูแลร่างกายอย่างไรเมื่อป่วยเป็นธาลัสซีเมีย

ธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด, ธาลัสซีเมีย อันตรายไหม

ในปัจจุบัน การรักษาธาลัสซีเมียนั้น จะถูกรักษาตามอาการไปเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับว่าธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด และมีอาการอยู่ในชนิดไหน แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือดจากผู้ที่มีลักษณะของเม็ดเลือดขาวที่เหมือนกับตัวผู้ป่วย หรือใช้การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ซึ่งการรักษาวิธีนี้ใช้เงินในจำนวนมาก และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงตามมาอีกด้วย ส่วนในด้านของการดูแลรักษาสุขภาพของผู้ที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียนั้น มีดังนี้

  1. รับประทานอาหารหลัก 5 หมู่ให้ครบ เลือกรับประทานแต่ของที่มีประโยชน์ โดยเน้นรับประทานผัก ผลไม้ ไข่ นม รวมไปถึงการงดดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่อีกด้วย
  2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กเป็นจำนวนมาก เช่น เลือดสัตว์ ตับ เครื่องในส่วนต่างๆ และรวมไปถึงหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริม หรือยาที่เสริมสร้างการทำงานของธาตุเหล็กอีกด้วย
  3. หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรืองานออกกำลังกายอย่างหักโหม
  4. ถ้าหากมีอาการฟันเปราะ หรือฟันผุง่าย ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน
  5. รับประทานชาร้อน หรือขมิ้นชันเพื่อเป็นการลดระดับการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย

เกร็ดสุขภาพ : ขมิ้นชัน นอกจากจะช่วยลดระดับการดูดซึมของธาตุเหล็กในร่างกายแล้ว ยังสามารถช่วยในเรื่องแก้อาการท้องร่วง รักษาโรคผิวหนัง แพ้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย และหากนำไปผสมน้ำมะนาวกับเกลือ แล้วนำมาแปรงคล้ายยาสีฟัน จะยังช่วยแก้ฟันเหลืองธรรมชาติได้อีกด้วย

เพียงเท่านี้ เราก็ได้ทราบแล้วว่าธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด ธาลัสซีเมีย อันตรายไหม และควรดูแลรักษาอย่างไรหากเป็นโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นคือการตรวจสุขภาพร่างกายก่อนมีบุตร เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดธาลัสซีเมียของลูก และหมั่นดูแลสุขภาพของตนเองควบคู่ไปด้วยนะครับ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : bumrungrad.com, ram-hosp.co.th

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save