“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
งานวิจัยสรรพคุณใบเตยบอกอะไรกับเราบ้าง ? กินน้ำใบเตยแทนน้ำได้เลยหรือเปล่า ?!
ใบเตย เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นกลิ่นหอมของดอกไม้ จึงนิยมนำมาแต่งกลิ่นปรุงอาหาร รวมถึงนำมาปรุงเป็นยา เพราะเชื่อว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีสรรพคุณรักษาป้องกันโรคบางชนิดได้ จนหลายคนเรียกกันว่าเป็นสมุนไพรต้านโรค ทำให้หลายคนนิยมหันมาบริโภคใบเตยกันมากขึ้น และเกิดข้อสงสัยที่ว่ากินน้ำใบเตยแทนน้ำได้ไหม ? กินแล้วมีข้อดีข้อเสียต่อร่างกายอย่างไร บทความนี้จะมาอธิบายถึง งานวิจัยสรรพคุณใบเตย ว่ามีอะไรบ้าง รวมทั้งการใช้และประโยชน์ในด้านอื่นๆ ของใบเตยค่ะ
งานวิจัยสรรพคุณใบเตย ที่บอกถึงประโยชน์ของใบเตยมีอะไรบ้าง ?
ใบเตย เป็นพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง และเป็นส่วนผสมยอดนิยมในอาหาร สามารถนำมาใช้ในสารสกัดหรือใส่เพื่อแต่งกลิ่นให้มีกลิ่นหอมและให้สีเขียวในอาหาร ขนม เครื่องดื่มได้ ซึ่งจากงานวิจัยสรรพคุณใบเตยได้บอกไว้ว่า ในใบเตยนั้นมีสารเคมีจากธรรมชาติที่อาจเป็นประโยชน์ต่อร่างกายด้วย หลายคนจึงนิยมนำใบเตยมาบริโภค เช่น กินน้ำใบเตยแทนน้ำ และจริงๆ แล้วนั้นใบเตยให้ประโยชน์แก่ร่างกายอย่างไรบ้าง กินใบเตยแล้วดีจริงไหม มาดูข้อพิสูจน์นี้กันค่ะ
- อาจช่วยจัดการน้ำตาลในเลือด
จากงานวิจัยสรรพคุณใบเตยบอกว่าใบเตยอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งให้ประเภทของชาชนิดหนึ่งที่เป็นชาร้อนกับผู้ใหญ่ 30 คน ซึ่งชานั้นทำจากใบเตย และหลังจากการทดสอบน้ำตาลในเลือดพบว่า ผู้ที่ดื่มชาใบเตยมีน้ำตาลในเลือดที่ลดลงมากกว่ากลุ่มที่ดื่มน้ำร้อนปกติ นอกจากนี้ สารสกัดจากใบเตยยังมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการสร้างสารอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ จึงอาจเป็นผลดีต่อการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ แต่อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม
ช่วยโรคข้ออักเสบและปวดข้อ
มีงานวิจัยสรรพคุณใบเตยพบว่าน้ำมันที่ทำจากสารสกัดจากใบเตยอุดมไปด้วยไฟโตเคมิคอลที่รู้จักกันในการบรรเทาอาการของโรคข้ออักเสบ จึงทำให้ใบเตยมีบทบาทในการบรรเทาอาการปวดโดยเฉพาะข้ออักเสบและปวดข้อ นอกจากนี้ ยังช่วยบรรเทาอาการปวดหัวและปวดหูได้อีกด้วย
เกร็ดสุขภาพ : การวิจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับใบเตยได้ระบุว่าในใบเตยมีวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักว่าช่วยบำรุงสุขภาพ เช่น ใบเตยเป็นแหล่งเบตาแคโรทีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ จึงสำคัญสำหรับสุขภาพดวงตาและระบบภูมิคุ้มกัน ที่อาจช่วยป้องกันมะเร็งได้
- ป้องกันโรคหัวใจ
การศึกษางานวิจัยสรรพคุณใบเตยสนับสนุนข้ออ้างว่าใบเตยดีต่อหัวใจ เนื่องจากพบว่าใบเตยเป็นแหล่งของแคโรทีนอยด์ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยม และเป็นที่รู้จักดีในการลดความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือด การตีบของหลอดเลือดแดงของหัวใจเนื่องจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์
ช่วยเรื่องผิว
ใบเตยแห้งบดมักใช้เป็นยาทาเฉพาะที่สำหรับการไหม้เล็กน้อย การถูกแดดเผา และปัญหาผิวอื่นๆ เพราะมีงานวิจัยสรรพคุณใบเตยเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า กรดแทนนิกในใบเตยนั้นช่วยให้แผลไหม้เล็กน้อยเย็นลงอย่างรวดเร็ว จึงสามารถช่วยในเรื่องของผิวได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ของข้าวกล้องที่ช่วยป้องกันโรคผิวหนัง และผดผื่นคันได้อีกด้วยนะคะ
- ต้านมะเร็ง
มีงานวิจัยสรรพคุณใบเตยงานหนึ่งที่ศึกษาคุณสมบัติของสารฟลาโวนอยด์และสารฟีนอลิกที่ได้จากใบเตย แล้วพบว่าสารเหล่านี้อาจมีคุณสมบัติต้านสารอนุมูลอิสระและต้านมะเร็งได้ รวมถึงมีงานที่ทำการศึกษาค้นคว้าถึงปฏิกิริยาของสารสกัดเอทานอลที่มีต่อตัวอย่างเซลล์มะเร็งเต้านม และพบว่าสารสกัดดังกล่าวอาจยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม และช่วยให้เซลล์ตายได้ แต่งานวิจัยเหล่านั้นยังเป็นเพียงการทดลองในห้องปฏิบัติการและทดลองในตัวอย่างเซลล์มะเร็งเต้านมเท่านั้น จึงต้องมีการศึกษาและวิจัยเพิ่มเติม
ใบเตยใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
สารสกัดจากใบเตยมักนำไปผสมกับข้าวสวยและหัวกะทิเพื่อทำเป็นอาหารอย่าง ข้าวมันไก่ หรือแม้แต่อาหารมาเลเซียรสเผ็ดที่เรียกว่า nasi lemak นอกจากนี้ยังนำไปใช้ในการปรุงรสซุป สตูว์ และแกง รวมถึงนิยมใช้ทั้งใบห่อเนื้อก่อนนำไปนึ่งหรือย่าง ให้รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ และมีกลิ่นหอม
ในส่วนของใบสามารถคั้นเป็นน้ำใบเตยได้ หรือนำมาทำเป็นชาใบเตย หรือชาสมุนไพรอื่นๆ ที่มีใบเตยเป็นส่วนผสม รวมถึงสามารถดูวิธีทำน้ำเต้าหู้ได้เช่นกัน เพราะใส่ส่วนผสมของใบเตยลงไปให้ความหอมอร่อยยิ่งขึ้น ซึ่งเราสามารถกินน้ำใบเตยแทนน้ำได้ไหม ต้องบอกว่าไม่แนะนำค่ะ ควรดื่มแต่พอดี ดื่มเพื่อสุขภาพ ไม่ควรดื่มมากเกินไป และไม่ควรดื่มแทนน้ำ เพราะน้ำเปล่าคือเครื่องดื่มต่อร่างกายที่ดีที่สุด
สำหรับของหวาน ใบเตยมักจะนิยมนำไปใช้ในการทำขนมไทยต่างๆ เช่น ขนมเปียกปูนกะทิสด ขนมหยกมณี ขนมครกใบเตย สังขยาใบเตย ขนมถ้วย ขนมชั้น มะพร้าวแก้วใบเตย หรือใส่ในกล้วยบวชชี เป็นต้น ให้รสชาติที่อร่อย หอมเป็นเอกลักษณ์
เกร็ดสุขภาพ : ใบเตยมีเส้นใยและเหนียวเกินกว่าจะบริโภคโดยตรง จึงนิยมนำใบมาบดเป็นผงหรือแป้งหรือแช่ในน้ำเพื่อทำเป็นน้ำใบเตย ชา หรือสารสกัดต่างๆ หรือสับใบเตยลงในกระทะ ใส่น้ำตาลและน้ำ แล้วปรุงด้วยไฟปานกลางเพื่อทำน้ำเชื่อมรสใบเตยหวานก็ได้เช่นกัน
ความปลอดภัยในการบริโภคใบเตย
เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาถึงผลข้างเคียงและปฏิกิริยากับยา รวมถึงความปลอดภัยหรือปริมาณที่เหมาะสมในการบริโภคใบเตย เพราะฉะนั้น เพื่อความปลอดภัย จึงควรบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของใบเตยในปริมาณที่พอดี โดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนใช้หรือบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำจากใบเตย เพราะสารเคมีจากใบเตยอาจมีผลต่อสุขภาพและยารักษาโรคบางชนิดได้ และแม้ว่าใบเตยอาจมีผลเป็นยาระบายอ่อนๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้หากบริโภคในปริมาณมาก แต่ก็ต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับปริมาณที่แน่นอนในการกิน ข้อควรระวังในการบริโภคคือ น้ำกะทิใบเตยอาจมีน้ำตาลสูง รวมไปถึงของหวานรสใบเตยต่างๆ เต็มไปด้วยน้ำตาล เพราะฉะนั้น ควรจำกัดการบริโภคผลิตภัณฑ์รสใบเตยด้วยค่ะ
ใบเตยเป็นพืชอเนกประสงค์ที่มีการใช้งานด้านอาหารและยาที่หลากหลายทั่วเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย เราใช้ใบเตยในอาหาร ของหวาน และเครื่องดื่ม แม้ว่างานวิจัยสรรพคุณใบเตยบอกว่าอาจช่วยลดน้ำตาลในเลือดและบรรเทาอาการปวดข้อ ป้องกันมะเร็งและช่วยในเรื่องสุขภาพอื่นๆ ได้ แต่ก็ต้องกินอย่างระมัดระวัง และจำกัดปริมาณด้วยค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : healthline.com, webmd.com, pobpad.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ