X

เราเป็นคนบ้างานหรือเปล่า ? ชวนรู้จักโรคบ้างาน และดูแลตัวเองกัน !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

เราเป็น ” คนบ้างาน ” หรือเปล่า ? ชวนรู้จักโรคบ้างาน และดูแลตัวเองกัน !

ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ผู้คนมากมายต้องต่อสู้ ดิ้นรน เพื่อความอยู่รอดของตัวเองและครอบครัว บวกกับการแข่งขันที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ทำให้หลายคนทุ่มเทกับการทำงานอย่างหนัก เพื่อความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน รวมไปถึงการเงินด้วย ซึ่งบางครั้งอาจจะลืมใส่ใจเรื่องสุขภาพ จนนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ ตามมา และหนึ่งในนั้น คือ Workaholic หรือ โรคบ้างาน แต่หลายคนอาจจะสงสัยว่าตัวเองเป็น คนบ้างาน หรือเปล่าวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคบ้างาน และอาการของโรคนี้กันค่ะ

  • โรคบ้างาน (Workaholic) คืออะไร
คนบ้างาน, โรคบ้างาน

โรคบ้างาน ถือว่าเป็นภัยเงียบที่อันตรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้มาก่อน โดยโรคนี้มักเกิดกับคนที่มีบุคลิกเป็นคนสมบูรณ์แบบ เจ้าระเบียบ ชอบแข่งขัน มีความทะเยอทะยาน ชอบทำงานเป็นกิจวัตรประจำวัน มีจิตใจคิดวนเวียนอยู่กับงานตลอดเวลา ไม่ว่าจะกิน หรือนอนก็จะคิดเรื่องงานอยู่เสมอ จนทำให้กลายเป็นคนบ้างานโดยไม่รู้ต้ว สำหรับใครที่ชอบทำงานหนักมากเกินไป จนไม่มีเวลาพักผ่อน ระวังคุณอาจจะเป็นโรคบ้างานได้ค่ะ

  • อาการของโรคบ้างานเป็นอย่างไร
คนบ้างาน, โรคบ้างาน

โรคบ้างาน เป็นโรคของคนขยันทำงานมากเกินไป จนไม่มีเวลาพักผ่อน ทำให้ร่างกาย และจิตใจแย่ลง แต่ยังมีหลายคนที่ยังไม่รู้ตัวเองว่าเป็นโรคนี้แล้ว จึงยังทำพฤติกรรมซ้ำๆ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นลองมาดูอาการเบื้องต้นของโรคนี้กันก่อน เพื่อจะได้รักษาได้ทันก่อนที่จะสายเกินไป

  1. อาการเบื้องต้นด้านร่างกาย

คนที่เป็นโรคบ้างาน อาการที่แสดงออกทางด้านร่างกายอย่างเห็นได้ชัดคือ เริ่มปวดหัว ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดท้ายทอย และเมื่อมีอาการหนักมากขึ้น จนทำให้สายตาพร่ามัว ปวดกล้ามตา ซึ่งนำมาสู่โรคร้ายแรงต่างๆ เช่น “กระเพาะอักเสบเกิดจาก” การทำงานอย่างหนักจนไม่มีเวลารับประทานอาหาร รวมถึงความเครียด และความกดดันจากงานที่ได้รับมอบหมายอีกด้วย นอกจากนี้ยังทำให้เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน และความดัน เป็นต้น

  1. อาการเบื้องต้นด้านอารมณ์ และจิตใจ

อีกหนึ่งอาการของคนบ้างานที่มักเป็นบ่อย เริ่มจากมองอะไรขวางหูขวางตาไปหมด   มีอารมณ์ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราดกับเพื่อนร่วมงาน ไม่สนใจคนรอบข้าง โดยให้ความสำคัญเฉพาะเรื่องของการทำงานเท่านั้น จนทำให้ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง และคนในครอบครัวแย่ลง อีกทั้งโรคนี้ยังมีผลต่อจิตใจอีกด้วย ซึ่งมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเบอร์เกน ในประเทศนอร์เวย์ พบว่า อาการคนบ้างานมีความเสี่ยงต่อโรคทางจิตเวช เช่น โรคสมาธิสั้น โรคย้ำคิดย้ำทำ และโรควิตกกังวล เป็นต้น

เกร็ดสุขภาพ : สำหรับอาการของโรคบ้างานที่แสดงออกอย่างชัดเจนคือ มีความเครียด คิดเรื่องงานตลอดเวลา และมี “อารมณ์โกรธ”ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป จนทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าโดยที่เราไม่รู้ตัวอีกด้วย อีกทั้งคนบ้างานยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมในอนาคตได้เช่นกัน

  • โรคบ้างานมีสาเหตุเกิดจากอะไร
คนบ้างาน, โรคบ้างาน
  1. ทำงานหนักมากเกินไป

คนบ้างาน มักจะทำงานหนักกว่าคนอื่น เพราะเดี๋ยวนี้บางคนยอมสละเวลาการใช้ชีวิตส่วนตัวเพื่อการทำงานหนักมากขึ้น เนื่องจากต้องการให้งานออกมามีประสิทธิภาพและที่สำคัญคือ การได้รับมอบหมายงานจากหัวหน้าเยอะเกินไป จนทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อน ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน

  1. คิดเรื่องงานตลอดเวลา

หากอธิบายในแง่ของจิตวิทยา โรคนี้มักจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีมาตรฐานการทำงานสูง มีความทะเยอทะยาน ยึดมั่นในหลักเกณฑ์ และจิตใจจะจดจ่อกับการทำงาน ซึ่งคนบ้างานจะอยากทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้งานสำเร็จ แม้ว่าจะต้องเสียสละเวลานอนก็ตาม 

  1. การยึดติดคุณค่าของตัวเองไว้กับงาน

เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดโรคบ้างานคือ การนำคุณค่าของตัวเองไปยึดติดกับการทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะไม่พึงพอใจกับตัวเอง เพราะต้องการให้งานออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด เพื่อที่จะได้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความกดดันตัวเอง จนนำไปสู่การเกิดความเครียด ที่สำคัญยังทำให้สภาพร่างกายอ่อนแออีกด้วย

  • วิธีการรักษาโรคบ้างาน
คนบ้างาน_, โรคบ้างาน

การรักษาโรคบ้างานเบื้องต้นด้วยตัวเอง สิ่งสำคัญของคนบ้างานต้องทำคือ การปรับพฤติกรรมการทำงานให้พอดี เพื่อลดความเครียดจากการทำงานหนักเกินไป รวมถึงการปรับเวลาการทำงาน เพื่อตัวเองจะได้พักผ่อนอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และควรมีการผ่อนคลายในระหว่างการทำงาน เช่น หลับตาหายใจเข้าลึกๆ สักพัก และระหว่างทำงานในทุก 1 ชั่วโมง ควรพักประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้สมองปลอดโปร่ง เส้นประสาทได้ผ่อนคลาย และที่สำคัญควรจัดสรรเวลาในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย

  • การดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคบ้างาน
คนบ้างาน_, โรคบ้างาน

เชื่อว่าหลายๆ คนกำลังเข้าสู่สภาวะของการเสพติดการทำงานอย่างหนัก ดังนั้นควรดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองกลายเป็นคนบ้างาน ซึ่งมีวิธีดูแลตัวเองดังต่อไปนี้

  1. จัดลำดับความสำคัญของงาน

การทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องทำงานอย่างหนัก ควรรู้จักบริหารจัดการในส่วนของงานในแต่ละวัน การเรียงลำดับความสำคัญของงานที่ควรทำในแต่ละวัน เพราะจะช่วยลดเวลาการทำงานได้อย่างเหมาะสม

  1. ขอบเขตของการทำงาน

การรู้จักจัดระบบงานให้มีขอบเขตเป็นสิ่งสำคัญของการทำงานที่ดี และเป็นการฝึกนิสัยในการทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบมากขึ้น ไม่ไปเบียดเบียนเวลาส่วนตัว อีกทั้งยังทำงานได้ดีกว่าเดิมอีกด้วย และที่สำคัญยังทำให้มีเวลามากพอที่จะออกไปทำกิจกรรมอื่นๆ มากขึ้นอีกด้วย

  1. การปล่อยให้ตัวเองมีชีวิตที่เป็นอิสระ

คนบ้างานส่วนใหญ่จะทำงานอย่างหนักจนไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน และครอบครัวแย่ลงเรื่อยๆ ดังนั้นเราควรปล่อยวางชีวิตให้เป็นอิสระ ลองกระชับความสัมพันธ์กับคนอื่นให้มากขึ้น เช่น การออกไปเที่ยว และทำกิจกรรมต่างๆ ในวันว่าง อาจจะช่วยให้มีแรงบันดาลใจใหม่ๆ และยังได้มุมมองที่หลากหลายจากคนรอบข้างอีกด้วย ทำให้สภาพร่างกาย และจิตใจพร้อมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เกร็ดสุขภาพ : การจัดสรรงานให้ถูกวิธี ถือว่าเป็นการป้องกันการเกิดโรคบ้างานได้ดีที่สุด เพราะทำให้เราไม่ทำงานหนักเกินไป แถมยังมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น สำหรับใครกำลังเป็นคนบ้างาน ลองรักษาด้วยวิธีเบื้องต้นก่อน ถ้ายังไม่หายควรไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่สายด่วน 1667 ด้านสุขภาพจิตดูค่ะ

โรคบ้างาน นอกจากจะส่งผลต่อความสัมพันธ์กับครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน จนเกิดการแยกตัวออกจากสังคม ยังทำให้เกิดความเหงา ที่สำคัญคนบ้างานหากมีอาการรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดปัญหาทางด้านจิตใจ ทำให้เป็น“โรคกลัวการอยู่คนเดียว” ตามมาอีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : en.wikipedia.org, healthline.com, psycom.net

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save