“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
ชวนรู้ ! กระเพาะอักเสบเกิดจาก อะไร ? ทำยังไงให้ห่างไกลจากโรคนี้ !
โรคกระเพาะอาหารถือเป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตของคนไทย มักพบได้บ่อยในหมู่คนวัยทำงานที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลารวมไปถึงความเครียดและความกดดันจากการทำงาน ส่งผลให้กระเพาะอาหารอักเสบปวดท้องกลายเป็นโรคกระเพาะขึ้นมา วันนี้เราจะชวนทุก ๆ มาไขคำตอบกันค่ะว่าโรคปวดท้องกระเพาะจาก กระเพาะอักเสบเกิดจาก ปัจจัยอะไรบ้าง และเราจะมีวิธีปฏิบัติตัวอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคนี้
สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
กระเพาะอาหารอักเสบเป็นหนึ่งในอาการคนเป็นโรคกระเพาะ ซึ่งสาเหตุที่ กระเพาะอักเสบ เกิดจาก การระคายเคืองบริเวณเยื้อบุผนังด้านในของกระเพาะอาหารจนอักเสบเป็นแผลแสบบวมแดง หรือที่เรามักรู้จักกันในนามโรคแผลในกระเพาะอาหารนั่นเองค่ะ โดยกระเพาะอักเสบเกิดจากสาเหตุหลากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งหลัก ๆ แล้วแบ่งได้ 5 สาเหตุ ดังนี้ค่ะ
- การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มักบนเปื้อนอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม ซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเจริญเติบโตได้ในกระเพาะก่อให้เกิดการอักเสบติดเชื้อขึ้น
- กระเพาะอักเสบ เกิดจากการรับประทานยาแก้ปวดหรือยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs เช่น แอสไพริน ไอบลูโพรเฟน รวมไปถึงยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ซึ่งยาในกลุ่มนี้จะทำให้กระเพาะอาหาระคายเคืองจนเกิดการอักเสบได้
- ความเครียดและความวิตกกังวลก็เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอักเสบ เกิดจากความเครียดไปกระตุ้นการบีบตัวขับกรดออกมาเกินปกติจนเป็นกรดไหลย้อนปวดแสบบริเวณช่องท้องและหน้าอก หรือที่เราเรียกว่าโรคเครียดลงกระเพาะ นั่นเองค่ะ
- กินอาหารไม่ตรงเวลาทำให้กระเพาะอักเสบ เกิดจากการที่น้ำย่อยซึ่งเป็นกรดถูกหลั่งออกมาจำนวนมากรออยู่ในกระเพาะ หากเราไม่กินอะไรเข้าไปก็จะทำให้เกิดอาหารแสบร้อนจากกรดในกระเพาะที่มากเกินไปนั่นเองค่ะ
- การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมไปถึงเครื่องดื่มชูกำลังก็เป็นสาเหตุที่ไปกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะทำระคายเคืองเยื้อบุกระเพาะอาหารจนเกิดการอักเสบ
ลักษณะอาการคนเป็นโรคกระเพาะอักเสบ
อาการสำคัญของโรคกระเพาะอักเสบหลัก ๆ เลยก็คือปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ โดยเป็นได้ทั้งปวดจุกแน่นตื้อ ๆ และปวดแสบบริเวณช่องท้องส่วนบน อาจจะเป็นแบบเฉียบหลัน หรือจะเป็น ๆ หาย ๆ แบบเรื้อรังติดต่อกันใน 1-2 สัปดาห์แล้วหายไปและกลับมาเป็นใหม่ซ้ำ ๆ เดิมได้วนลูปเรื้อรังกันเป็นปี ๆ ได้เลยนะคะ โดยส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดท้องก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร หรือจะมีอาการปวดท้องทันทีที่ท้องว่างให้ในตอนกลางคืนที่ท้องว่างนาน ๆ นอกจากนี้แล้วสาเหตุโรคกระเพาะอักเสบ เกิดจากกรดเกินกรดไหลย้อนยังทำให้เกิดอาการเรอเปรี้ยว เรอบ่อย จุกแน่นและแสบบริเวณหน้าอก รวมไปถึงแน่นท้องจากอาหารไม่ย่อยได้
เกร็ดสุขภาพ : วิธีง่าย ๆ ที่จะแก้อาการกรดไหลย้อนไม่ให้รุนแรงจนเกิดโรคกระเพาะอักเสบนั่นคือหลังจากรับระทานอาหารเสร็จไม่ควรนอน ควรนั่งให้ลำตัวตั้งฉากกับพื้น เพื่อให้หูรูดหลอดอาหารปิดสนิทและทำงานได้เต็มที่ในระหว่างย่อยอาหาร ป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะทะลักออกมาสู่หลอดอาหาร สำหรับการรับประทานมื้อเย็น แนะนำว่าควรรับประทานให้แล้วเสร็จก่อนเข้าน้อยอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ก็จะช่วยลดอาการกรดไหลย้อนและปวดแสบท้องกลางดึกได้ค่ะ
ไม่เฉพาะแค่ปวดท้องแต่อาการคนเป็นโรคกระเพาะอักเสบยังเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้อีกนะคะ ไม่ว่าจะเป็นคลื่นไส้อาเจียน หน้ามือวิงเวียนจะเป็นลม รวมไปถึงอาการท้องเสียถ่ายอุจจาระเป็นเลือด บางรายอาจจะมีอาการเบื่ออาหารกินได้น้อยลงจนน้ำหนักลดซูมผอมไปเลยก็มีค่ะ
- วิธีรักษาอาการโรคกระเพาะอักเสบ
เมื่อแพทย์วินิจจัยว่าโรคกระเพาะอักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไรแล้วการรักษาก็จะรักษาตามสาเหตุของโรคด้วยการใช้ยา ถ้าติดเชื้อ H. pylori ก็จะให้ยาปฏิชีวนะต้านเชื้อแบคทีเรีย แต่ถ้าอาการกระเพาะอักเสบ เกิดจากกรดเกินที่มากเกินไปก็จะรักษาด้วยยาลดกรดเพื่อลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ลำพังแค่ยาอาจจะไม่สามารถรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้ 100% เราจำเป็นจะต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารร่วมด้วยจึงจะช่วยให้ห่างไกลจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้
เกร็ดสุขภาพ : สาเหตุของกระเพาะอักเสบ เกิดจากกรดเกินที่ไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร นอกจากจะรักษาด้วยการรับประทานยาลดกรดแล้วเรายังสามารถรักษาได้ด้วยวิธีนอนแก้ปวดท้องกระเพาะ ซึ่งเป็นลักษณะการนอนในท่วงท่าที่ทำให้กระเพาะของเราอยู่ต่ำกว่าหลอดอาหารด้วยการนอนหงายปรับหมอนให้ช่วงอกและหัวยกสูงขึ้น หรือจะนอนตะแคงซ้ายให้กระเพาะอยู่ใต้หลอดอาหารก็จะช่วยลดอาการกรดไหลย้อนได้เช่นกัน
- ข้อควรปฏิบัติเพื่อให้ห่างไกลจากโรคกระเพาะอักเสบ
วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบสำหรับคนที่ยังเป็นหรือใครที่กำลังเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบอยู่แล้วอยากให้อาการดีขึ้นนั่นก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เริ่มจากการรับประทานอาหารให้เป็นเวลา รับประทานอาหารที่ปรุงสุกสะอาด ล้างมือทุกครั้งก่อนปรุงและรับประทานอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนั้นยังควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของมักดอง รวมไปถึงอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดอย่างมะนาว น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เน้นรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ
การรับมือกับโรคกระเพาะอักเสบนั้นสิ่งสำคัญก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราค่ะ ถ้าเราสามารถปรับพฤติกรรมการกินอาหารให้ตรงเวลาอยู่ในร่องในรอย เลือกกินแต่อาหารที่มีประโยชน์ และผ่อนคลายความเครียดทำจิตใจให้แจ่มใสก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคนี้ได้ค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : phuketinternationalhospital.com, paolohospital.com, sikarin.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ