“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
ไตรกลีเซอไรด์ เกิดจาก อะไร ? ทำความรู้จักเพื่อดูแลตัวเองให้ดีขึ้นกัน
สำหรับคนที่รักสุขภาพและลดน้ำหนักอยู่นั้น คงจะคุ้นเคยกันดีกับคำว่า ไตรกลีเซอไรด์ แต่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงที่มาที่ไปว่าไตรกรีเซอไล คืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไรในร่างกาย รวมถึงมีผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้างหากเรามีค่าไตรกลีเซอไรด์ที่สูงขึ้น เพื่อเรียนรู้ในการดูแลตัวเองและดูแลสุขภาพให้มากขึ้น เราจะมาชวนทุกคนไปรู้จักกันว่าไตรกลีเซอไรด์ เกิดจากอะไร ? และเราควรดูแลตนเองอย่างไรกันบ้างค่ะ
- ไตรกลีเซอไรด์ เกิดจาก อะไรกันนะ ? ดูแลตัวเองอย่างไรให้ค่าไตรกลีเซอไรด์ไม่สูง
ไตรกรีเซอไล คือ ไขมันชนิดหนึ่งในร่างกายที่พบในเลือด และไตรกลีเซอไรด์ เกิดจากการกินอาหารเข้าไป เมื่อเรากินอาหารร่างกายของเราจะแปลงแคลอรี่ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทันทีให้กลายเป็นไตรกลีเซอไรด์ และไตรกลีเซอไรด์จะถูกเก็บไว้ในเซลล์ไขมัน หากเรากินอาหารที่มีแคลอรี่มากกว่าที่เผาผลาญเป็นประจำ โดยเฉพาะจากอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงนั้น ก็อาจทำให้มีไตรกลีเซอไรด์สูงได้ ซึ่งร่างกายของเราต้องการไตรกลีเซอไรด์เพื่อสุขภาพที่ดี แต่ไตรกลีเซอไรด์ที่สูงเกินไปนั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และอาจเป็นสัญญาณของโรคเมตาบอลิก (Metabolic syndrome) คือ การรวมกันของความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ไขมันรอบเอวมากเกินไป คอเลสเตอรอล HDL ต่ำ และไตรกลีเซอไรด์สูง ซึ่ง Metabolic syndrome นั้นจะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมองนั่นเองค่ะ
- ไตรกลีเซอไรด์ เกิดจากอะไรได้บ้าง ?
ไตรกลีเซอไรด์ เกิดจากการกินอาหารที่มีแคลลอรี่มากกว่าที่เราเผลาผลาญเป็นประจำ ได้แก่ อาหารที่อุดมไปด้วยไขมันโดยตรง เช่น หมูสามชั้น แคบหมู กะทิ รวมถึงไตรกลีเซอไรด์ เกิดจากการที่ตับสังเคราะห์ขึ้นใช้เองจากการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงมากเกินไป ได้แก่ ข้าว แป้ง น้ำตาล และแอลกอฮอล์ นอกจากการกินแล้วนั้น ไตรกลีเซอไรด์ เกิดจากโรคต่างๆ อีกด้วย อาทิ โรคอ้วน โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี ไฮโปไทรอยด์ และโรคไต เป็นต้น นอกจากนี้ ในบางครั้งไตรกลีเซอไรด์สูงเป็นผลข้างเคียงของการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ เอสโตรเจนและโปรเจสติน เรตินอยด์ สเตียรอยด์ สารกระตุ้นภูมิคุ้มกันบางชนิด และยาเอชไอวีบางชนิด
เกร็ดสุขภาพ : ไตรกลีเซอไรด์แตกต่างกับคอเลสเตอรอลอย่างไร ? ไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลจัดว่าเป็นไขมันประเภทต่างๆ ที่ไหลเวียนในเลือดเหมือนกัน แต่ไตรกลีเซอไรด์จะกักเก็บแคลอรี่ที่ไม่ได้ใช้และให้พลังงานแก่ร่างกาย ในขณะที่คอเลสเตอรอลจะถูกใช้ในการสร้างเซลล์และฮอร์โมนบางชนิด
- ค่าไตรกลีเซอไรด์เท่าไหร่ถึงปกติ
การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับคอเลสเตอรอลของเรานั้น ยังสามารถวัดค่าไตรกลีเซอไรด์ได้อีกด้วย และสามารถบอกได้ว่าไตรกลีเซอไรด์ของเรานั้นอยู่ในช่วงที่ดีต่อสุขภาพหรือไม่ และค่าไตรกลีเซอไรด์เท่าไหร่ถึงเรียกว่าปกติ
- ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ คือ ควรน้อยกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg / dL) หรือน้อยกว่า 1.7 มิลลิโมลต่อลิตร (mmol / L)
- ค่าไตรกลีเซอไรด์ค่อนข้างสูง คือ 150-199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg / dL) หรืออยู่ระหว่าง 1.8-2.2 มิลลิโมลต่อลิตร (mmol / L)
- ค่าไตรกลีเซอไรด์สูง คือ 200-499 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg / dL) หรืออยู่ระหว่าง 2.3-5.6 มิลลิโมลต่อลิตร (mmol / L)
- ค่าไตรกลีเซอไรด์สูงมาก คือ มากกว่า 500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg / dL) หรือมากกว่า 5.7 มิลลิโมลต่อลิตร (mmol / L)
- ทำอย่างไรถ้าไตรกลีเซอไรด์ของคุณสูงเกินไป
เมื่อเรารู้แล้วว่าไตรกลีเซอไรด์ เกิดจากอะไรได้บ้างนั้น และรู้ถึงค่าไตรกลีเซอไรด์ของตนเองจากผลการตรวจเลือด ถ้าค่าไตรกลีเซอไรด์ของคุณอยู่ในระดับที่สูงเกินไปนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการลดไตรกรีเซอไล คือ การเลือกวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพเป็นกุญแจสำคัญ สามารถทำได้ ดังนี้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อระดับไตรกลีเซอไรด์ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ทุกคนออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้ง เพราะการออกกำลังกายเป็นประจำสามารถลดไตรกลีเซอไรด์และเพิ่มคอเลสเตอรอลดีได้ อาจทำง่ายๆ โดยเริ่มจากการเดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ หรือเดินเล่นออกกำลังกายในช่วงวันหยุด
- หลีกเลี่ยงน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว
น้ำตาล และอาหารที่ทำด้วยแป้งขัดขาว หรือฟรุกโตส สามารถเพิ่มไตรกลีเซอไรด์ได้ ควรบริโภคแต่น้อยและเน้นไปที่คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง โฮลวีต และหลีกเลี่ยงการปรุงน้ำตาลเพิ่มในอาหาร ซึ่งการลดหวาน มัน เค็ม ก็เป็นสิ่งที่จะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ได้ค่ะ
- ลดน้ำหนัก
หากคุณมีน้ำหนักมากให้ลดน้ำหนักลง และพยายามรักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม รวมถึงหากคุณมีภาวะไขมันในเลือดสูงให้เน้นไปที่การตัดแคลอรี่ เพราะแคลอรี่ส่วนเกินจะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์และเก็บเป็นไขมัน การลดแคลอรี่ในอาหารก็จะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ได้ เลือกกินอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ กินแคลอรี่ให้น้อยลงไม่ว่าจะมาจากไขมัน คาร์โบไฮเดรต หรือโปรตีน เน้นอาหารที่เป็นโปรตีนไม่ติดมัน ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ไขมันต่ำ รวมถึงการลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม ก็ช่วยได้เช่นกัน
- เลือกไขมันที่ดีต่อสุขภาพ
ให้ความสำคัญกับไขมันที่กินมากขึ้น กินอาหารที่มีไขมันไม่ดีต่อสุขภาพน้อยลง เช่น เนย ชีส และไขมันทรานส์ในอาหารแปรรูปและมาการีน และเพิ่มการบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่ดีต่อสุขภาพให้มากขึ้น ซึ่งพบได้ในน้ำมันมะกอก ถั่วและปลาบางชนิด ซึ่งโอเมก้า 3 ในปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาซาร์ดีน มีผลดีอย่างยิ่งในการลดระดับไตรกลีเซอไรด์
- จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม
แม้แต่แอลกอฮอล์ในปริมาณเล็กน้อยก็ดูเหมือนจะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ดังนั้น ควรจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ให้เหลือเพียงวันละหนึ่งแก้ว เพราะแอลกอฮอล์มีแคลอรี่และน้ำตาลสูงและมีผลอย่างยิ่งต่อไตรกลีเซอไรด์ ยิ่งหากว่าคุณมีภาวะไขมันในเลือดสูงอย่างรุนแรงนั้นให้หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์จะดีที่สุด
เกร็ดสุขภาพ : เลือกกินอย่างไรให้ห่างไกลไตรกลีเซอไรด์สูง สิ่งสำคัญคือลดพลังงานรวมต่อวัน และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งต่างๆ เช่น ไส้กรอก แฮม ขนมเค้ก เบเกอรี่ คุกกี้ มันฝรั่งทอด นอกจากจะเสี่ยงในการมีไตรกลีเซอไรด์สูงแล้วนั้น ระดับความเค็มในอาหารเหล่านี้ยังสูงอีกด้วย ควรชิมอาหารก่อนปรุงเสมอ เลี่ยงการปรุงอาหารด้วยน้ำตาล กินอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์ในปริมาณที่พอดี เท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการมีไตรกลีเซอไรด์สูงได้แล้วค่ะ
การดูแลรักษาสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ หลังจากที่เรารู้แล้วว่าไตรกลีเซอไรด์ เกิดจากอะไร ก็ต้องหันมาใส่ใจในอาหารที่กินให้มากขึ้น รวมถึงปรับเปลี่ยนอาหารและวิถีชีวิตเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและลดไตรกลีเซอไรด์ หรือห่างไกลจากค่าไตรกลีเซอไรด์สูงได้ ดังนั้น เราจึงควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงวิถีชีวิตเหล่านี้นะคะ แล้วสุขภาพที่ดีก็จะไม่หนีไปไหนแน่นอนค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : uofmhealth.org, webmd.com, mayoclinic.org, sriphat.med.cmu.ac.th
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ