“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
โรคไตกินผักอะไรได้บ้าง ? แนะนำผัก-ผลไม้ โพแทสเซียมต่ำ ดีต่อไต
สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวต่างๆ นอกไปจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว อาจต้องใช้การปรับเปลี่ยนวิถีสุขภาพร่วมด้วย เช่น การเลือกกินอาหาร การดูแลสุขภาพ และการออกกำลังกาย เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้สุขภาพและโรคที่เป็นอยู่ดีขึ้นได้ อย่างเช่นคนที่เป็นโรคไต สิ่งสำคัญสำหรับอาหารที่กินเลยคือ ลดหวาน มัน เค็ม และยังรวมไปถึงควรเลือกกินผักผลไม้ บำรุงไต ซึ่งจะต้องมีปริมาณโพแทสเซียมต่ำ เพื่อดีต่อไตของเรา เพราะฉะนั้น เพื่อสุขภาพที่ดีของคนที่เป็นโรคไต ทีมงานเพื่อสุขภาพมีผักและผลไม้ที่เหมาะกับคนที่เป็นโรคไตมาแนะนำ มาดูกันค่ะว่า โรคไตกินผักอะไรได้บ้าง
โรคไตกินผักอะไรได้ ? แนะนำผักและผลไม้ที่ดีต่อไต กินได้ไม่อันตราย
ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญหลายอย่างต่อร่างกายของเรา เนื่องจากมีหน้าที่กรองของเสีย ปล่อยฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิต ปรับสมดุลของเหลวในร่างกาย ผลิตปัสสาวะ และอื่นๆ อีกมากมาย หากเราดูแลสุขภาพไม่ดี หรือมีโรคประจำตัวอื่นๆ ก็สามารถส่งผลให้ไตเสียหายได้ เช่น โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคอ้วน การสูบบุหรี่ พันธุกรรม เพศ และอายุ ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้เช่นกัน ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเลือกกินอาหารคนโรคไต เพื่อบำรุงไตของเราซึ่ง โรคไตกินผักอะไรได้ มาดูกันเลย
- ดอกกะหล่ำ
โรคไตกินผักอะไรได้บ้างที่มีโพแทสเซียมต่ำ อย่างแรกเลยคือดอกกะหล่ำค่ะ เพราะเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งเป็นแหล่งของสารอาหารมากมาย รวมทั้งวิตามินซี วิตามินเค และวิตามินบีโฟเลต นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยสารต้านการอักเสบและเป็นแหล่งเส้นใยที่ดีเยี่ยม รวมถึงยังมีโพแทสเซียมต่ำอีกด้วย กะหล่ำดอกปรุงสุกหนึ่งถ้วยมีโพแทสเซียมเพียง 176 มิลลิกรัม สามารถนำไปทำเมนูต่างๆ ได้ เช่น ผัดดอกกะหล่ำ ข้าวดอกกะหล่ำ หรือทำดอกกะหล่ำบดแทนมันฝรั่ง
- กะหล่ำปลี
นอกจากดอกกะหล่ำจะเป็นผักสำหรับโรคไตกินผักอะไรได้บ้างแล้วนั้น กะหล่ำปลีก็ดีต่อไตเช่นกัน เพราะเต็มไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารประกอบจากพืชที่ทรงพลัง ทั้งวิตามินเค วิตามินซี และวิตามินบี นอกจากนี้ยังมีเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำที่ช่วยให้ระบบย่อยอาหารแข็งแรง แถมยังมีโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และโซเดียมต่ำอีกด้วย กะหล่ำปลีหนึ่งถ้วยมีโพแทสเซียมเพียง 119 มิลลิกรัม สามารถนำมาทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งผัดกะหล่ำปลี ต้มจืดกะหล่ำปลียัดไส้ หรือจะหั่นฝอยกินร่วมกับผักสลัดอื่นๆ ก็ได้
- กระเทียม
ใครจะคิดว่ากระเทียมก็เป็นผักสำหรับโรคไตกินผักอะไรได้บ้างเช่นกัน ซึ่งกระเทียมช่วยป้องกันคราบพลัคบนฟัน ลดคอเลสเตอรอล และลดการอักเสบ ทั้งยังเป็นแหล่งที่ดีของแมงกานีส วิตามินซี และวิตามินบี 6 และมีสารประกอบกำมะถันที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ มีปริมาณโพแทสเซียมน้อยมาก กระเทียม 1 กลีบ มีโพแทสเซียม 12 มิลลิกรัม ผู้ที่เป็นโรคไตควรจำกัดปริมาณโซเดียมในอาหารรวมทั้งเกลือที่เติมลงไป และผงกระเทียมเป็นทางเลือกที่อร่อยและใช้ปรุงอาหารแทนเกลือเพื่อเพิ่มรสชาติให้กับอาหารได้ หรือจะใส่กระเทียมลงในอาหารต่างๆ ก็ดีเช่นกัน
- พริกหยวก
พริกหยวกมีสารอาหารในปริมาณที่ดีและมีโพแทสเซียมต่ำ จึงเป็นหนึ่งในผักสำหรับโรคไตกินผักอะไรได้บ้าง เพราะเต็มไปด้วยวิตามินซีที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ และวิตามินเอซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับการทำงานของภูมิคุ้มกันซึ่งดีต่อผู้ที่เป็นโรคไต และโดยเฉพาะพริกหยวกสีแดงจะมีไลโคปีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ป้องกันมะเร็งบางชนิดได้ด้วย ในขณะที่พริกหยวกครึ่งถ้วย มีปริมาณโพแทสเซียม 88 มิลลิกรัม นอกจากจะนำพริกหยวกไปใส่ในอาหาร เช่น ผัดพริกหยวก ไข่เจียวใส่พริกหยวก ผัดพริกไทยดำ แล้วนั้น ยังสามารถนำไปอบหรือย่างแล้วใส่ในแซนวิชหรือใส่สลัดก็ได้
- หัวหอม
หัวหอมปริมาณครึ่งถ้วยจะมีโพแทสเซียม 116 มิลลิกรัม ทั้งยังอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ โดยเฉพาะเควอซิติน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทำงานเพื่อลดโรคหัวใจและป้องกันมะเร็งหลายชนิด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งโครเมียมที่ดี ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน สามารถนำมากินได้ทั้งดิบและสุก จะใส่หัวหอบดิบลงในสลัด แซนวิช หรือนำไปปรุงสุกเป็นเมนูต่างๆ เช่น ใส่ในไข่เจียว ใส่ในข้าวผัด หรือผัดกับกระเทียมและน้ำมันมะกอก จะช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาหารโดยไม่กระทบต่อสุขภาพไตของคุณด้วยค่ะ
เกร็ดสุขภาพ : น้ำมันมะกอกเป็นแหล่งที่ดีของกรดโอเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันต้านการอักเสบ ซึ่งไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวในน้ำมันมะกอกช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น และยังอุดมไปด้วยโพลีฟีนอลและสารต้านอนุมูลอิสระที่ป้องกันการอักเสบในร่างกาย ทั้งยังดีต่อโรคไตอีกด้วย เพราะน้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ ให้โซเดียมน้อยกว่า 1 มิลลิกรัม โพแทสเซียมน้อยกว่า 1 มิลลิกรัม และฟอสฟอรัส 0 มิลลิกรัม เท่านั้นเองค่ะ
- แอปเปิ้ล
ผักผลไม้ บำรุงไตมีอะไรอีกบ้าง แนะนำแอปเปิ้ลค่ะ เพราะแอปเปิ้ลขนาดกลาง 1 ลูก มีโพแทสเซียม 158 มิลลิกรัม นอกจากดีต่อคนเป็นโรคไตแล้ว ยังช่วยลดคอเลสเตอรอล ป้องกันอาการท้องผูก ป้องกันโรคหัวใจ และลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งอีกด้วย เราสามารถกินแอปเปิ้ลดิบเป็นของว่าง หรือทำแอปเปิ้ลอบ ซอสแอปเปิ้ล หรือทำเครื่องดื่มเป็นน้ำแอปเปิ้ลหรือแอปเปิ้ลไซเดอร์
- บลูเบอร์รี่
บลูเบอร์รี่อุดมไปด้วยสารอาหารและเป็นหนึ่งในแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดที่เรียกว่าแอนโธไซยานิน ซึ่งอาจป้องกันโรคหัวใจ มะเร็งบางชนิด และโรคเบาหวานได้ และยังเป็นส่วนเสริมที่ยอดเยี่ยมสำหรับอาหารที่เป็นมิตรต่อไต เนื่องจากมีโซเดียม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมต่ำ บลูเบอร์รี่สดหนึ่งถ้วยนั้น มีโพแทสเซียม 114 มิลลิกรัม นอกจากการกินสดแล้ว ยังเอาไปผสมในสมูธตี้ ใส่ในโยเกิร์ต หรือทำเป็นแยมโฮมเมด
- แครนเบอร์รี่
แครนเบอร์รี่แห้งครึ่งถ้วยมีโพแทสเซียม 24 มิลลิกรัมเท่านั้น จึงเป็นผักผลไม้ บำรุงไตอย่างไม่ต้องสงสัย นอกจากนี้แครนเบอร์รี่ยังช่วยป้องกันการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ปกป้องกระเพาะอาหารจากแบคทีเรีย ปกป้องเยื่อบุของทางเดินอาหาร และยังช่วยป้องกันมะเร็งและโรคหัวใจอีกด้วย การบริโภคแครนเบอร์รี่ที่ง่ายที่สุดคือ น้ำแครนเบอร์รี่และซอสแครนเบอร์รี่ หรือจะใส่แครนเบอร์รี่แห้งลงในสลัดหรือกินเป็นของว่างก็ได้
- องุ่นแดง
องุ่นที่มีผิวสีแดงหรือสีม่วงมีสารแอนโธไซยานินสูง สามารถแช่แข็งไว้กินเป็นของว่างหรือเพื่อดับกระหายสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดเรื่องของเหลวในการกินอาหารฟอกไต หรือจะเพิ่มองุ่นลงในสลัด และสามารถดื่มเป็นน้ำองุ่นได้อีกด้วย องุ่นครึ่งถ้วยมีโพแทสเซียมแค่ 144 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังมีสารฟลาโวนอยด์ช่วยป้องกันโรคหัวใจโดยการป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นและลดการเกิดลิ่มเลือด ทั้งยังช่วยป้องกันมะเร็งและป้องกันการอักเสบ นอกจากอร่อยและดีต่อไตแล้วยังให้คุณค่าทางโภชนาการมากมายด้วยค่ะ
- สับปะรด
ผลไม้เมืองร้อนหลายชนิด เช่น ส้ม กล้วย และกีวี มีโพแทสเซียมสูงมาก ในขณะที่สับปะรดกลับมีโพแทสเซียมต่ำและเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องไต สับปะรดหนึ่งถ้วย มีโพแทสเซียม 180 มิลลิกรัม นอกจากนี้ สับปะรดยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ แมงกานีส วิตามินซี และโบรมีเลน ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี
เกร็ดสุขภาพ : อาหารที่เป็นมิตรกับไตข้างต้นเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องกินอาหารสำหรับโรคไต แต่ก็มีข้อจำกัดด้านอาหารแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและระดับของความเสียหายของไตของแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้น ควรปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกอาหารของคุณกับแพทย์ที่รักษา เพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังกินอาหารที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองและเป็นมิตรกับไตด้วยค่ะ
นอกจากเราจะรู้กันแล้วว่าโรคไตกินผักอะไรได้บ้างนั้น คนที่มีสุขภาพปกติอย่าลืมหมั่นสังเกตตนเองจากอาการโรคไตระยะแรกว่าเรามีความเสี่ยงหรือไม่ เพราะอาหารการกินในยุคปัจจุบัน มักเต็มไปด้วยโซเดียมที่ทำให้เกิดโรคไตในอนาคตได้ หากคุณต้องการดูแลสุขภาพ เพียงลดการกินอาหารเค็มจัด อาหารแช่แข็ง และอาหารสำเร็จรูป ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไตได้ และอย่าลืมกินผักและผลไม้ที่ช่วยบำรุงไต พร้อมกับออกกำลังกายเป็นประจำด้วยนะคะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : davita.com, healthline.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ