“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
เป็น โรคเก๊าท์ห้ามกินอะไร ? ควรดูแลรักษาสุขภาพของตนเองอย่างไร
เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินผ่านหูมาบ้างแล้วกับโรคเก๊าท์ โรคที่ทุกคนเข้าใจว่าห้ามกินอาหารจำพวกสัตว์ปีก แต่จริงๆ แล้วโรคเก๊าท์นั้นยังมีอาหารอีกหลาหลายชนิดที่ควรงดและควรหลีกเลี่ยง ดังนั้นวันนี้เราจึงนำหัวข้อเป็น โรคเก๊าท์ห้ามกินอะไร มาฝากกัน ซึ่งรวมไปถึงเป็นโรคเก๊าท์กินอะไรได้บ้าง และควรดูแลรักษาตนเองด้วยวิธีการไหนอีกด้วย
โรคเก๊าท์ คืออะไร?
โรคเก๊าท์ (Gout) คือโรคที่เกิดจากการสะสมของกรดยูลิก (Uric Acid) ในเลือดติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยที่ร่างกายของเราสามารถได้รับกรดยูริคจากการเผาผลาญสารพิวรีน ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารที่ร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ และพบได้ในอาหารหลายชนิด และถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษา จะทำให้กรดยูลิกเหล่านั้นกลายเป็นผลึกสะสมอยู่ในข้อต่อส่วนต่างๆ ทำให้เกิดอาการอักเสบ บวมแดง และรู้สึกแสบร้อนตามบริเวณข้อต่อ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้อย่างฉับพลัน และสามารถเกิดขึ้นพร้อมกันหลายๆ จุดได้
อาการของโรคเก๊าท์นั้น มักจะเริ่มเกิดการบวมแดงขึ้นบริเวณต่างๆ โดยที่มักจะเริ่มมีอาการบวมตรงโคนนิ้วหัวแม่เท้า และก็สามารถเกิดขึ้นได้กับบริเวณอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อเท้า ข้อเข่า และรวมไปถึงข้อมือ ซึ่งอาการบวมเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดอย่างต่อเนื่อง อาจจะเป็นๆ หายๆ ในช่วงระยะแรกของอาการ และถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จนมีอาการอักเสบขั้นรุนแรงมาก จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดถี่และนานขึ้นจนอาจกลายเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ เช่น โรคไต และนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
เป็นโรคเก๊าท์ห้ามกินอะไรบ้าง?
ถ้าหากถามว่าเป็นโรคเก๊าท์ห้ามกินอะไรบ้างแล้ว คำตอบคือมีอาหารหลายอย่างที่คนเป็นโรคเก๊าท์ควรงด ควรเลี่ยง และมีอีกหลากหลายชนิดสามารถกินได้ตามปกติ
อาหารที่ควรงด
เป็นอาหารชนิดที่มีสารพิวรีนในปริมาณที่สูง โดยมีสารพิวรีนมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม ซึ่งมีดังนี้
- หากพูดถึงเป็นโรคเก๊าท์ห้ามกินอะไรบ้างแล้ว สิ่งแรกที่นึกถึงเลยนั่นคือสัตว์ปีกทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น เป็ด ไก่ หรือห่าน
- เครื่องในสัตว์ชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตับ ตับอ่อน ไส้ ม้าม หรือหัวใจ
- ซอสที่ทำมาจากเนื้อสัตว์หรือน้ำสกัดเนื้อ อย่างเช่นน้ำเกรวีที่ทำมาจากสารน้ำแทรกในเนื้อสัตว์ รวมไปถึงกะปิ ยีสต์ และซุปก้อนอีกด้วย
- ปลาดุก ปลาไส้ตัน ปลาอินทรีย์ ปลาซาร์ดีน กุ้ง หอยและรวมไปถึงไข่ปลาด้วย
- ชะอม กระถิน เห็ด ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลืองและถั่วดำ
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมากในเม็ดบัว สรรพคุณของมันช่วยป้องกันและบรรเทาการอักเสบของร่างกาย ช่วย
เป็นอาหารชนิดที่มีสารพิวรีนในปริมาณปานกลาง โดยมีสารพิวรีน 50 – 150 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม ซึ่งมีดังนี้
- เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อแกะ
- ปลาแทบทุกชนิด ยกเว้นปลาดุก ปลาไส้ตัน ปลาอินทรีย์และปลาซาร์ดีน
- พืชผักและธัญพืชบางชนิด นั่นคือ หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม ดอกกะหล่ำ สตอ ใบขี้เหล็ก รวมไปถึงถั่วลันเตา ถั่วลิสง และข้าวโอ๊ต
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยที่นอกจากจะมีสารยูริคแล้ว ยังส่งผลทำให้การขับถ่ายกรดยูริคทางปัสสาวะลดลง และทำให้ระดับกรดยูริคในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย
- แล้วโรคเก๊าท์กินอะไรได้บ้าง?
อาหารที่เหมาะกับคนที่เป็นโรคเก๊าท์ คือ อาหารชนิดที่มีสารพิวรีนในปริมาณน้อยถึงน้อยมาก โดยมีสารพิวรีนน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม ซึ่งมีดังนี้
- ถั่วงอก ผักคะน้า ผักคะน้าฮ่องกง อีกทั้งยังรวมไปถึงพืชผักใบเขียวและผลไม้ชนิดต่างๆ อีกด้วย
- อาหารจำพวกข้าวต่างๆ ยกเว้นข้าวโอ๊ต
- ไข่ นม ผลิตภัณฑ์จากนม และรวมไปถึงไขมันที่มาจากพืชและสัตว์ด้วย
เกร็ดสุขภาพ : การเลือกกินอาหารที่มีวิตามินซีในปริมาณที่สูง จะช่วยป้องกันโรคเก๊าท์ได้ด้วย นั่นเป็นเพราะว่า สรรพคุณวิตามินซีนั้น สามารถช่วยลดกรดยูริคได้ อีกทั้งยังส่งผลดีต่อร่างกายของเราอีกมากมาย เช่น ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ และยังช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกายของเราอีกด้วย
- การดูแลรักษาร่างกายของผู้ที่ป่วยเป็นโรคเก๊าท์
การรักษาโรคเก๊าท์สามารถทำได้โดยการลดกรดยูริกในเลือดให้ต่ำลง ด้วยการรับประทานยาเพื่อให้เกิดการละลายของผลึกกรดยูริก และให้ร่างกายสามารถขับกรดยูริคออกมาได้ทางปัสสาวะ เมื่อกรดยูริกมีระดับที่ลดต่ำลงมา ก็จะเกิดการอักเสบน้อยลงในที่สุด ทั้งนี้ ผู้ป่วยยังคงจำเป็นต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นการป้องกันการกลับมาสะสมใหม่ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรค และเมื่อเราทราบแล้วว่าเป็นโรคเก๊าท์ห้ามกินอะไรบ้าง เราก็ควรงดหรือหลีกเลี่ยงกับกินอาหารเหล่านั้นร่วมด้วย
การป้องกันตัวเองจากโรคเก๊าท์นั้น สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนอาหารการกิน โดยกินอาหารที่มีสารพิวรีนสูงให้น้อยลง หรืออาจเลี่ยงไปเลย ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มีน้ำหนักที่มากจนเกินไป เพราะอาจส่งผลทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคได้ง่าย และที่สำคัญคือควรกินน้ำในแต่ละวันให้เพียงพอ เพื่อช่วยทำให้ร่างกายสามารถขับกรดยูริคออกมาได้ง่ายขึ้น
เกร็ดสุขภาพ : นอกจากกรดยูริคก็สามารถทำให้เกิดโรคเก๊าท์ได้แล้ว ถ้าหากกรดยูริคเกิดการตกตะกอนในไตแล้ว อาจทำให้เกิดนิ่วในไตและไตเสื่อมได้ ดังนั้นการบำรุงรักษาไตของเราให้ดีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก โดยที่เราสามารถทำได้โดยการหมั่นออกกำลังกายอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอ งดการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ และรวมไปถึงการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์อีกด้วย
เพียงเท่านี้ ทุกคนก็ได้ทราบแล้วว่าเป็นโรคเก๊าท์ห้ามกินอะไรบ้าง และเป็นโรคเก๊าท์กินอะไรได้บ้างแล้ว เราหวังอย่างยิ่งว่าทุกคนจะได้นำข้อมูลที่เรานำเสนอไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคเก๊าท์นะครับ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : bumrungrad.com, bangpo-hospital.com, ram-hosp.co.th
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ