“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
โรคงูสวัด เกิดจากอะไร มีอันตรายขนาดไหนต่อชีวิต
โรคงูสวัด โรคที่หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินชื่อผ่านมาบ้าง ไม่อาจจะไม่ทราบถึงอาการที่แน่ชัดของโรคนี้ และหลายๆ ท่านอาจไม่เคยทราบด้วยว่า จริงๆ แล้วโรคงูสวัด มีอันตรายต่อสุขภาพของคนเรามากกว่าที่เราคิด และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งวันนี้ เราได้นำข้อมูลเกี่ยวกับโรคงูสวัดมาฝากว่าโรคงูสวัด เกิดจากอะไร มีอาการอย่างไรบ้าง โรคงูสวัด ติดต่อไหม และสามารถรักษาให้หายขาด หรือหลีกเลี่ยงโรคนี้ด้วยวิธีไหนบ้าง เพื่อให้ทุกท่านได้ทำความรู้จัก และป้องกันตัวเองจากโรคนี้ได้อย่างทันท่วงที
โรคงูสวัดคืออะไร?
Shingles หรือ โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส varicella zoster virus (VZR) ที่เป็นเชื้อตัวเดียวกันกับที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกสีใส โดยที่เมื่อทำการรักษาอีสุกสีใสจนหายดีแล้ว เชื้อไวรัสตัวนี้จะไม่ได้หายไปไหน แต่จะคงแฝงตัวเองไว้ในปมประสาทของร่างกาย และเมื่อเราเกิดภาวะภูมิต้านทานของเราลดลง เชื้อตัวนี้จะแสดงผลอีกครั้ง โดยการเพิ่มจำนวนของตัวมันเอง และออกมาทางเส้นประสาท ซึ่งอาการจะเป็นตุ่มใส หรือผื่นที่มีลักษณะเรียงตัวตามแนวยาวของเส้นประสาท จึงมีลักษณะที่คล้ายกับงู และถูกเรียกว่างูสวัดในเวลาต่อมา โดยที่โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป คือ ผู้สูงอายุ เพราะจะมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่ต่ำกว่าคนทั่วไป
เกร็ดสุขภาพ : โรคงูสวัดมีโอกาสที่จะลายเป็นอาการรุนแรง และกลายเป็นโรคเรื้อรังในกลุ่มของผู้สูงอายุ เพราะกลุ่มผู้สูงอายุนั้น จะมีการสึกหรอของส่วนต่างๆ ในร่างกาย และการทำงานของอวัยวะต่างๆ ก็ถดถอยลงไป และเมื่อลองสังเกตดูว่าโรคเรื้อรังมีอะไรบ้าง ก็จะสังเกตได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นโรคที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
โรคงูสวัด เกิดจากอะไร ได้บ้าง?
สาเหตุของโรคงูสวัด เกิดจากได้หลายปัจจัย ได้แก่
- โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัสของโรคอีสุกสีไสที่แฝงตัวอยู่ในร่างกาย ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้สูง คือ ผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุกอีไสมาก่อน
- ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ผู้ที่มีความเครียดสูง หรือผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคงูสวัดได้ เพราะเมื่อเข้าสู่ภาวะเครียด หรือพักผ่อนน้อย จะทำให้ร่างกายของเราอ่อนแอผิดปกติ และทำให้เชื้ออีสุกอีไสเข้ามาในร่างกายได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
- โรคงูสวัดสามารถติดต่อไหม?
ถ้าหาถามว่าโรคงูสวัด ติดต่อไหม คำตอบคือ เป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการสัมผัส ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัด ควรแยกข้าวของเครื่องใช้ รวมไปถึงเครื่องนุ่มห่ม เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อต่อไป
อาการของโรคงูสวัด
- มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย จากนั้นอีก 2 – 3 วันจึงจะเริ่มมีผื่นแดง หรือตุ่มไสขึ้นบริเวณผิวหนัง
- รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว มีอาการปวดศีรษะ และในบางรายอาจมีไข้ต่ำๆ ร่วมด้วย
- เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนตามผิดหนัง มีอาการคันตรงบริเวณผิวหนังเป็นอย่างมาก
- ผู้ที่เกิดงูสวัดตรงบริเวณใบหน้า จะไม่สามารถรับแสงได้ตามปกติ จะรู้สึกแสบตาแม่ต้องมองแสงแดด
- เมื่อผ่านไป 2 – 3 สัปดาห์ จะเกิดการที่ตุ่มไส และผื่นแดงแห้งจนตกสะเก็ด และทิ้งเป็นรอยแผลเป็นเอาไว้
- งูสวัดพันรอบตัว จะทำให้เสียชีวิตจริงหรือไม่?
โดยทั่วไปแล้ว งูสวัดจะไม่สามารถเกิดทั่วร่างกาย เพราะโรคงูสวัด เกิดจากที่เชื้อไวรัสแฝงตัวอยู่ในปมประสาทเพียงด้านใดด้านหนึ่งเพียงเท่านั้น ดังนั้น เมื่อผู้คนทั่วไปติดโรคงูสวัด ก็จะเกิดตุ่มไส หรือผื่นแดงเพียงซีกเดียว ไม่สามารถเกิดรอบตัวได้ แต่ในกรณีที่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคระบบภูมิคุ้นกันบกพร่อง การเกิดงูสวัดพันรอบตัวจะสามารถเกิดขึ้นได้ ทำให้มีอาการรุนแรงกว่าคนปกติ ใช้ระยะเวลารักษาค่อนข้างนาน และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
เกร็ดสุขภาพ : ทราบหรือไม่ว่าทำไมเวลาเรารู้สึกคันบริเวณผิวหนัง เราจึงอยากที่จะเกา นั่นเป็นเพราะว่า การเกาเป็นหนึ่งในการตอบสนองของร่างกายที่ต้องการจะกำจัดสิ่งแปลกปลอมบนผิวหนังออกไป แต่การเกานั้น อาจไม่ได้ส่งผลดีอะไร แถมยังอาจส่งผลร้ายอีกด้วย เช่น การโดนผึ้งต่อย เราจะเกิดอาการคันตรงบริเวณที่โดนต่อยอย่างรุนแรงซึ่งแนะนำว่าไม่ควรที่จะเกา เราควรที่จะแก้พิษผึ้งต่อยเสียก่อน เพราะเราอาจนำเชื้อโรคที่อยู่บนมือเขาเรา เข้าสู่แผลโดยตรงแบบที่ไม่ทันรู้ตัวเลยทีเดียว
- วิธีป้องกัน และวิธีรักษาโรคงูสวัด
เนื่องจากที่เราได้ทราบแล้วว่า โรคงูสวัด เกิดจากอะไรแล้ว เราก็สามารถทราบถึงวิธีป้องกันของโรคนี้แล้ว นั่นก็คือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีไสไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เพราะนอกจากการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายแล้ว ยังช่วยในเรื่องสุขภาพต่างๆ อีกมากมาย เช่น ช่วยลดสาเหตุการเกิดตะคริว ลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับตุ่มหรือผื่นของผู้ป่วย ทั้งทางตรงและทางอ้อม และในกรณีของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดโดยตรง และในส่วนของการรักษานั้น สามารถทำได้โดยการ เข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา และรับประทานยาต้านไวรัสตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อบรรเทาความรุนแรงของอาการ และช่วยให้หายจากโรคงูสวัดได้เร็วยิ่งขึ้น
เราก็ทราบแล้วว่า โรคงูสวัด เกิดจากอะไร มีอาการอย่างไรบ้าง ป้องกันได้อย่างไรบ้าง และโรคงูสวัด ติดต่อไหม เพียงเท่านี้ เราก็จะสามารถใช้ชีวิตให้ห่างไกลจากโรคงูสวัดได้แล้ว ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีด้วยนะครับ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : paolohospital.com, petcharavejhospital.com, thonburihospital.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ