X

โรคความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไร ? เข้าใจถึงสาเหตุและวิธีป้องกัน

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

โรคความดันโลหิตสูงเกิดจาก อะไร ? เข้าใจถึงสาเหตุและวิธีป้องกัน

โรคความดันโลหิตสูง หรือความดันเลือดสูง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ ทั้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ตามมา นับว่าเป็นภาวะที่อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลหรือรักษา และเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยและคนทั่วโลกในตัวเลขที่สูง ซึ่งวันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปีนั้น จึงถูกจัดให้เป็นวันความดันเลือดสูงโลก (World Hypertension Day) เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนได้รู้เท่าทันโรค และตระหนักในความสำคัญของการดูแลและป้องกันตนเองจากโรคนี้ และเพื่อเข้าใจในโรคความดันโลหิตสูงให้มากยิ่งขึ้น เราจึงจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักถึงโรคความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไร ? และสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงนั้นมีอะไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้กันค่ะ

  • โรคความดันโลหิตสูงเกิดจาก อะไร ? รู้ทันโรค ป้องกันตนเองได้
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง, โรคความดันโลหิตสูงเกิดจาก

ความดันโลหิตเป็นตัววัดแรงของเลือดที่ดันผนังหลอดเลือด หัวใจจะสูบฉีดเลือดเข้าสู่หลอดเลือดซึ่งจะนำพาเลือดไปทั่วร่างกาย  และโรคความดันโลหิตสูงเกิดจากเมื่อเลือดของเรามีการเคลื่อนผ่านหลอดเลือดแดงที่ความดันสูงกว่าปกติ อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ หากความดันโลหิตสูงเกินไปหรืออยู่ในระดับสูงเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและเป็นสิ่งที่อันตรายเนื่องจากทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นในการสูบฉีดเลือดออกไปยังร่างกาย และมีส่วนทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ทำให้เรามีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไต และอาจเสี่ยงในการเกิดอาการหัวใจวายและไตวายได้นั่นเองค่ะ

  • ค่าความดันโลหิต แค่ไหนถึงเรียกว่าสูง ?
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง, โรคความดันโลหิตสูงเกิดจาก
Image Credit : labs.selfdecode.com

โรคความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไรเราได้รู้กันไปแล้ว เรามาดูค่าความดันโลหิตกันค่ะว่าแค่ไหนถึงเรียกว่าสูง ซึ่งค่าความดันโลหิตนั้นมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท (mm Hg) และมีตัวเลขสองตัว ได้แก่

  1. ตัวเลขบน คือ ความดันซิสโตลิก ตัวเลขแรกหรือตัวบนนี้จะใช้วัดค่าความดันในหลอดเลือดแดงเมื่อหัวใจเต้น
  2. ตัวเลขล่าง คือ ความดันไดแอสโตลิก ตัวเลขที่สองหรือตัวล่างจะใช้วัดค่าความดันในหลอดเลือดแดงในระหว่างการเต้น

โดยปกติทั่วไปแล้วค่าความดันโลหิตของคนที่มีความดันเลือดปกตินั้น จะวัดค่าความดันได้ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่หากวัดได้ค่าความดันที่สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป จะถือว่ามีค่าความดันเลือดสูง และถือว่าเป็นสภาวะที่ต้องได้รับการรักษาและควบคุมตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและโรคต่างๆ มากมายที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะถึงแม้ในบางคนจะไม่มีอาการความดันโลหิตสูงให้เห็น แต่ก็อาจทำให้หลอดเลือดและอวัยวะของเราเสียหายได้ โดยเฉพาะสมอง หัวใจ ดวงตา และไต

  • สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง, โรคความดันโลหิตสูงเกิดจาก

แม้เราจะรู้กันแล้วว่าโรคความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไร แต่สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงนั้นก็มีหลายสาเหตุแตกต่างกันออกไปตามประเภท ดังนี้

  1. ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ

เป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่พบบ่อยที่สุด และเป็นชนิดที่ไม่รู้สาเหตุชัดเจน แต่การรวมกันของปัจจัยต่างๆ ก็อาจมีบทบาททำให้เกิดโรคได้ โรคความดันโลหิตสูงเกิดจากปัจจัย ดังนี้

  • ยีนหรือกรรมพันธุ์ อาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่สืบทอดมาจากพ่อแม่
  • สิ่งแวดล้อม การเลือกวิถีชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ขาดการออกกำลังกาย และการกินอาหารที่ไม่ดี เช่น อาหารไขมันสูง อาหารที่มีระดับความเค็มในอาหารสูงเกินไป อาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องน้ำหนัก และการมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงได้ รวมถึงการดื่มสุรา สูบบุหรี่ และความเครียดอีกด้วย
  • การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น มีการทำงานของไตที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากอายุมากขึ้น อาจทำให้สมดุลของเกลือและของเหลวในร่างกายเสียไป การเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้ความดันโลหิตสูงในร่างกายได้
  1. ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ

เป็นชนิดที่รู้สาเหตุ เพราะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเกิดจากสภาวะหรือโรคต่างๆ และมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่าความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ ได้แก่

  • โรคไต
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • มีข้อบกพร่องของหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
  • ปัญหาต่อมหมวกไต
  • เนื้องอกต่อมไร้ท่อบางชนิด
  • ผลข้างเคียงของยา

เกร็ดสุขภาพ : การลดปริมาณโซเดียมในอาหารมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและคนที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ควรบริโภคโซเดียมต่อวันระหว่าง 1,500 มิลลิกรัมถึง 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน ก็จะสามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด และลดความดันโลหิตซิสโตลิกได้ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการลดโซเดียมคือ การปรุงอาหารสดให้บ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงการกินอาหารในร้านอาหารหรืออาหารสำเร็จรูปซึ่งมักมีโซเดียมสูงมาก

  • การรักษาและป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

การรักษาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความดันโลหิตสูงแค่ไหน มีความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ โดยแพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่แตกต่างกันเมื่อมีความดันโลหิตเพิ่มขึ้นด้วยการใช้ยา ซึ่งตัวเลือกของยาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น โรคไต บางคนอาจต้องใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน ส่วนคนที่มีความดันโลหิตสูงเล็กน้อยแพทย์อาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและติดตามความดันโลหิตอยู่ตลอด นอกจากนี้การเลือกกินอาหารก็มีส่วนช่วยในการป้องกันและรักษาความดันสูงได้เช่นกัน เพราะหนึ่งในสาเหตุโรคความดันโลหิตสูงเกิดจากพฤติกรรมการกิน และการควบคุมอาหารจึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพทั้งในการป้องกันและรักษาความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งอาหารที่ควรกินนั้น ได้แก่ ผักและผลไม้ อาหารไขมันต่ำ เลือกกินไขมันดี กรดไขมันโอเมก้า คาร์โบไฮเดรตคุณภาพดีที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น เมล็ดธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป

นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำ และควบคุมน้ำหนักไม่ให้อยู่ในเกณฑ์อ้วน รักษาค่า bmi มาตรฐานให้ได้ ก็สามารถช่วยป้องกันและรักษาความดันโลหิตสูงได้ค่ะ เพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรงควรออกกำลังกายหนักปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 30 นาทีต่อวัน ประมาณสัปดาห์ละ 5 วัน เช่น เดินลู่วิ่ง วิ่งจ็อกกิ้ง ซึ่งการออกกำลังกายในปริมาณนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่สุดค่ะ

เกร็ดสุขภาพ : การเพิ่มการนอนหลับเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ แต่การนอนน้อยเกินไปและคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีอาจทำให้อาการแย่ลง และจากการสำรวจสุขภาพแห่งชาติเกาหลีพบว่า คนที่นอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อคืนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงค่ะ รวมถึงความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นด้วย เพราะความดันโลหิตสูงพบได้บ่อยในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 64 ปี และผู้หญิงก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงหลังอายุ 65 ปีค่ะ

ทั้งนี้เราอาจสรุปได้ว่าหนึ่งในสาเหตุโรคความดันโลหิตสูงเกิดจากพฤติกรรมและการใช้ชีวิต เพราะฉะนั้น หากคุณเป็นคนที่มีอายุยังน้อยและไม่อยากมีความเสี่ยงแนะนำให้เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ลดเค็ม ลดโรคได้ รวมถึงนอนพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าใกล้คนไทยมากๆ แล้ว โรคเกี่ยวกับระบบหายใจก็เช่นกัน อย่าลืมดูแลตัวเองกันนะคะ เพื่อเราจะได้ให้ห่างไกลจากโรคร้ายต่างๆ เหล่านี้กันค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : medicalnewstoday.com, healthline.com, mayoclinic.org, webmd.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save