“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
อีสุกอีใส อาการ เป็นยังไง ? ดูแลตัวเองและป้องกันได้อย่างไรบ้าง
โรคอีสุกอีใสไม่ได้เป็นเพียงความเจ็บป่วยในวัยเด็กเสมอไป เพราะสามารถเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน ซึ่งโรคอีสุกอีใสนั้นเป็นโรคติดต่อร้ายแรงโดยเฉพาะในเด็ก ส่วนผู้ใหญ่มักพบในคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ เป็นโรคที่สามารถหายได้เอง แต่ในบางรายอาการของโรคอีสุกอีใสในผู้ใหญ่มักรุนแรงกว่าและอาจมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติมได้ และเพื่อเข้าใจในโรคนี้มากขึ้น เรามารู้จักกันว่า อีสุกอีใส อาการ เป็นยังไง และอีสุกอีใสเป็นได้กี่ครั้ง จะได้ดูแลและป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้องกันค่ะ
อีสุกอีใส อาการ เป็นยังไง ดูแลตัวเองได้อย่างไรบ้าง
โรคอีสุกอีใส หรือที่เรียกว่า varicella เป็นโรคที่เกิดจากไวรัส varicella-zoster (VZV) มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี และอีสุกอีใส อาการที่มองเห็นได้คือ ตุ่มพองสีแดงคันที่ปรากฏบนใบหน้า คอ ลำตัว แขน และขา ผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใสมักมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ ดังนั้น หากคุณเป็นโรคอีสุกอีใสตั้งแต่ยังเด็ก โดยปกติแล้วคุณจะไม่ติดเชื้ออีก แต่หากไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อนก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ได้ นอกจากนี้ ยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ หากเป็นกลุ่มเสี่ยง ดังนี้
- อาศัยอยู่กับเด็กที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส และมีอายุต่ำกว่า 12 ปี
- ทำงานในโรงเรียนหรือพื้นที่ดูแลเด็ก
- มีการสัมผัสกับจุดที่เป็นโรคอีสุกอีใส
- ใช้ข้าวของ เครื่องใช้ ร่วมกับผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใส เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน
- มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น สูบบุหรี่ และสตรีมีครรภ์ ก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสมากขึ้นเช่นกัน
- มีความเสี่ยงสูงที่จะประสบภาวะแทรกซ้อนจากโรคนี้ หากคุณกำลังตั้งครรภ์ ใช้ยาที่กดภูมิคุ้มกัน เช่น เคมีบำบัด มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากโรคอื่น เช่น HIV ใช้ยาสเตียรอยด์สำหรับอาการอื่น เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากอวัยวะก่อนหน้าหรือการปลูกถ่ายไขกระดูก
เกร็ดสุขภาพ : หากคุณกำลังตั้งครรภ์และเป็นโรคอีสุกอีใส คุณมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงมากขึ้นได้ หากเป็นอีสุกอีใส อาการที่สังเกตเห็นได้คือผื่นขึ้นตามร่างกาย หากพบอาการแบบนี้แนะนำให้พบแพทย์โดยด่วน เพราะเด็กที่เกิดจากแม่ที่มีการติดเชื้อโรคอีสุกอีใสช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ระยะแรกนั้น จะมีผลกระทบต่อเด็กเมื่อคลอดคืออาจมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ หรือเกิดความพิการที่แขนและขาได้ นอกจากนี้เด็กอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคอีสุกอีใสที่มีความรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้อีกด้วย
อีสุกอีใส อาการในผู้ใหญ่คืออะไร ?
อีสุกอีใส อาการในผู้ใหญ่มักคล้ายกับในเด็กแต่อาจรุนแรงขึ้นได้ โรคนี้ดำเนินไปตามอาการที่เริ่มตั้งแต่ 1-3 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อไวรัส อาการได้แก่
- มักมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามร่างกาย และปวดศีรษะ อาการเหล่านี้มักเริ่มหนึ่งหรือสองวันก่อนที่ผื่นจะปรากฏขึ้น ซึ่งบางอาการจะคล้ายกับอาการโรคฉี่หนูในคนด้วย
- มีจุดสีแดงปรากฏบนใบหน้าและหน้าอก และกระจายไปทั่วร่างกาย จุดสีแดงจะพัฒนาเป็นตุ่มพองที่เต็มไปด้วยของเหลว คัน และเป็นแผลพุพองเล็กๆ ภายใน 2-3 วันหลังจากปรากฏขึ้น และก็จะตกสะเก็ดในที่สุด
โรคอีสุกอีใสในผู้ใหญ่นานแค่ไหน ?
อีสุกอีใส อาการที่พบจะเป็นดังที่กล่าวไป ส่วนโรคอีสุกอีใสในผู้ใหญ่นั้นจะเช่นเดียวกับเด็ก คือ มักเริ่มประมาณ 10 ถึง 21 วันหลังจากสัมผัสเชื้อไวรัส และจุดใหม่มักจะปรากฏขึ้นประมาณ 7 วัน และมักจะตกสะเก็ดหลังจาก 10 ถึง 14 วัน ส่วนอีสุกอีใสเป็นได้กี่ครั้งนั้น เมื่อแผลพุพองทั้งหมดตกสะเก็ดเป็นเนื้อแข็งแล้ว เราก็จะไม่ติดต่ออีกต่อไป ยกเว้นว่าจะมีภูมิต่หรือมีความเสี่ยงอื่น ๆ
- วิธีการรักษา
หากคุณเป็นโรคอีสุกอีใส อาการหนึ่งคือ คัน และเราจะรู้สึกคันมากจนแทบทนไม่ไหว พยายามอย่าเกาเท่าที่จะทำได้ เพราะอาจทำให้เลือดออกหรือทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ แพทย์จะรักษาอาการและปล่อยให้โรคดำเนินไป และมีคำแนะนำโดยทั่วไปประกอบด้วย ใช้ยาบรรเทาอาการคัน เช่น คาลาไมน์โลชั่น หรือเจลเย็นรักษาอาการคัน อย่างเจลว่านหางจระเข้เหมือนเวลาใช้แก้พิษผึ้งต่อย ยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอล ในบางกรณีแพทย์อาจสั่งยา เช่น อะไซโคลเวียร์ หรือวาลาไซโคลเวียร์ เพื่อต่อสู้กับไวรัสและป้องกันภาวะแทรกซ้อน นอกจากนี้เพื่อลดอาการคันแพทย์จะแนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้ร่างกายชุ่มชื้น สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ และอาบน้ำในน้ำอุ่น ก็จะช่วยลดอาการคันได้
- วิธีการป้องกัน
วัคซีนอีสุกอีใส (Varivax) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคอีสุกอีใส เพราะสามารถป้องกันไวรัสได้อย่างสมบูรณ์เกือบ 98% ของผู้ที่ได้รับยาทั้งสองโดสที่แนะนำ และวัคซีนอีสุกอีใสนั้นเหมาะสำหรับ
- เด็กเล็ก โดยครั้งแรกระหว่างอายุ 12 ถึง 15 เดือน และครั้งที่สองระหว่างอายุ 4 ถึง 6 ปี
- เด็กโตที่ไม่ได้รับวัคซีนอีสุกอีใส เด็กอายุ 7 ถึง 12 ปีที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนควรได้รับวัคซีนป้องกันสองครั้ง โดยให้ห่างกันอย่างน้อย 3 เดือน ส่วนเด็กที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนควรได้รับวัคซีนสำรองสองครั้ง โดยให้ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
- ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับวัคซีน และไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน รวมถึงมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ รวมถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู พนักงานดูแลเด็ก นักเดินทางต่างประเทศ บุคลากรทางทหาร ผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่กับเด็กเล็ก และผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ทุกคน ซึ่งผู้ใหญ่ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือได้รับการฉีดวัคซีน ควรได้รับวัคซีนสองโดสและห่างกัน 4-8 สัปดาห์
เกร็ดสุขภาพ : อีสุกอีใสและงูสวัดเกี่ยวข้องกันอย่างไร ? โรคงูสวัด เกิดจากอะไร ? โรคงูสวัดเป็นผื่นผิวหนังที่เจ็บปวดที่เกิดจากไวรัสตัวเดียวกันกับอีสุกอีใสที่อยู่ในเซลล์ประสาท ซึ่งก่อตัวเป็นแถบในตำแหน่งเฉพาะของร่างกาย ส่วนใหญ่มักปรากฏที่ด้านซ้ายหรือด้านขวาของลำตัว บางครั้งอาจอยู่ที่ตาข้างเดียวหรือข้างใดข้างหนึ่งของใบหน้าหรือลำคอ หากเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ไวรัสจะยังคงอยู่ในร่างกายและสามารถเกิดขึ้นได้อีกในรูปแบบของงูสวัด เนื่องจากเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และหากคุณเป็นโรคงูสวัดจะไม่สามารถส่งต่อให้คนอื่นได้ นั่นหมายความว่า คนที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนสามารถสัมผัสคนที่เป็นโรคงูสวัดได้โดยไม่ติด ทั้งนี้ มีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดสองชนิด ได้แก่ Zostavax และ Shingrix และแพทย์หลายคนแนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคอีสุกอีใสและมีอายุ 50 ปีขึ้นไป
โรคอีสุกอีใส อาการของมันแม้จะไม่ได้รุนแรงถึงชีวิต และอีสุกอีใสเป็นได้กี่ครั้งนั้น แม้ว่าจะไม่มีโอกาสที่จะกลับไปเป็นอีก แต่หากมีการแทรกซ้อนต่างๆ ก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้น หากคุณไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับวัคซีนอีสุกอีใส หรือหากเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาแล้วควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวัคซีนโรคงูสวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณอายุมากกว่า 50 ปี เพื่อเป็นการป้องกันตนเองจากโรคนี้และโรคงูสวัดได้ค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : netdoctor.co.uk, healthline.com, mayoclinic.org, healthclinics.superdrug.com, medparkhospital.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ