“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
ธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด ? โรคทางพันธุกรรมที่หลายคนอาจมองข้าม
เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างกับอาการโลหิตจาง หรือว่า ธาลัสซีเมีย ซึ่งเชื่อหรือไม่ว่าประชากรของประเทศไทย ร้อยละ 30 เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียอยู่ หรือนับเป็น 18 – 20 ล้านคนเลยทีเดียว ดังนั้นเราจึงเลือกนำประเด็นนี้มานำเสนอ ให้ทุกคนได้ทราบว่าภาวะเลือดจางหรือ ธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด แต่ละชนิดของธาลัสซีเมีย อันตรายไหม และควรดูแลรักษาสุขภาพของตนเองอย่างไร
ธาลัสซีเมียคืออะไร?
ธาลัสซีเมีย หรือภาวะโลหิตจาง คือโรคที่เม็ดเลือดแดงมีความผิดปกติ แตกตัวได้ง่าย สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย และที่สำคัญนั้น ธาลัสซิเมียยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้อีกด้วย ซึ่งการที่เม็ดเลือดแดงมีความผิดปกตินั้น เกิดจากที่ร่างกายของเราสร้างสร้างสีแดงในเม็ดเลือด หรือที่เรียกกันว่าฮีโมโกลบินน้อยลง จนทำให้เกิดภาวะเลือดจางเรื้อรังตามมา และยังเพิ่มโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การทำงานของหัวใจและตับมีความผิดปกติ เกิดนิ่วในถุงน้ำดี มีการเจริญเติบโตที่ช้าในวัยเด็ก มีภาวะธาตุเหล็กเกิน และเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานอีกด้วย
การป่วยเป็นธาลัสซีเมียนั้น จะต้องเกิดจากการได้รับยีนธาลัสซีเมีย ซึ่งทั้งพ่อและแม่ต้องเป็นพาหะของธาลัสซีเมียด้วย ดังนั้นการตรวจสุขภาพร่างกายก่อนการแต่งงาน หรือการมีบุตรจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะถ้าหากตรวจพบว่าทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียทั้งคู่ จะได้มีการทบทวนว่าจะยอมรับความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นธาลัสซีเมียหรือไม่ หรือมีวิธีอื่นๆ อีกบ้างที่จะลดความเสี่ยงลง
เกร็ดสุขภาพ : โรคทางพันธุกรรม คือ โรคที่ก่อให้เกิดความผิดปกติขององค์ประกอบในระดับยีนและโครโมโซม อาจเป็นโรคที่ติดตัวของแม่หรือพ่อมา หรืออาจติดต่อมาทั้งสองทางก็เป็นได้ ซึ่งธาลัสซีเมีย หรือภาวะโลหิตจางก็นับว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมเช่นกัน
ธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด ?
หากถามว่าธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด แล้วสามารถแบ่งแยกได้อย่างไร คำตอบคือธาลัสซีเมียสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ชนิดตามความรุนแรงของอาการ
- กลุ่มผู้ที่เป็นพาหะ คือกลุ่มที่ได้รับยีนธาลัสซีเมีย จากพ่อหรือแม่ที่เป็นพาหะมาเพียงแค่คนเดียว นั่นหมายความว่าพ่ออาจเป็นพาหะ แม่เป็นคนทั่วไป เมื่อมีลูกแล้ว ลูกก็จะเป็นเพียงพาหะของธาลัสซิเมียเท่านั้น จะไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมา แต่ก็ยังมียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ในร่างกาย และสามารถสืบต่อให้รุ่นต่อไปได้
- กลุ่มผู้เป็นโรค คือกลุ่มที่ได้รับยีนธาลัสซีเมียมาจากทั้งทางฝั่งพ่อและแม่ที่เป็นพาหะของโรคนี้ โดยที่อาการของโรคธาลัสซีเมียนั้น สามารถเกิดตั้งแต่ระดับที่มีอาการเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงอาการรุนแรงมาก
- อาการของธาลัสซีเมียมีอะไรบ้าง?
หากถามว่าธาลัสซีเมีย อันตรายไหม คงต้องตอบว่า ธาลัสซีเมียนั้นมีอาการที่หลากหลาย ดังนั้นความอันตรายจึงขึ้นอยู่กับว่าธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด และเป็นธาลัสซีเมียชนิดที่มีอาการเพียงเล็กน้อย หรือเป็นธาลัสซีเมียที่มีอาการรุนแรง
- ในกลุ่มที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียนั้น จะไม่มีอาการผิวซีดเหลือง หรือมีอาการผิวซีดเหลืองเพียงเล็กน้อย ไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยา หรือเข้ารับการรักษาใดๆ
- ในกลุ่มผู้ที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียในอาการไม่รุนแรง จะมีอาการผิวซีดเหลือง ตาเหลืองเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจจะต้องทำการรักษา และติดตามอาการจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง
- ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการขั้นรุนแรง จะมีอาการผิวซีดเหลือง และตาเหลืองอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากผู้ป่วยธาลัสซีเมียนั้นจะมีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายจนเกินความจำเป็น ดังนั้นอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ตับแข็ง และอาจก่อให้เกิดเป็นโรคเบาหวานได้ ซึ่งผู้ที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียขั้นรุนแรงนั้น จึงจำเป็นต้องทำการตรวจประเมินธาตุเหล็กในร่างกายอย่างเป็นประจำ
รักษา และดูแลร่างกายอย่างไรเมื่อป่วยเป็นธาลัสซีเมีย
ในปัจจุบัน การรักษาธาลัสซีเมียนั้น จะถูกรักษาตามอาการไปเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับว่าธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด และมีอาการอยู่ในชนิดไหน แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือดจากผู้ที่มีลักษณะของเม็ดเลือดขาวที่เหมือนกับตัวผู้ป่วย หรือใช้การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ซึ่งการรักษาวิธีนี้ใช้เงินในจำนวนมาก และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงตามมาอีกด้วย ส่วนในด้านของการดูแลรักษาสุขภาพของผู้ที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียนั้น มีดังนี้
- รับประทานอาหารหลัก 5 หมู่ให้ครบ เลือกรับประทานแต่ของที่มีประโยชน์ โดยเน้นรับประทานผัก ผลไม้ ไข่ นม รวมไปถึงการงดดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่อีกด้วย
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กเป็นจำนวนมาก เช่น เลือดสัตว์ ตับ เครื่องในส่วนต่างๆ และรวมไปถึงหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริม หรือยาที่เสริมสร้างการทำงานของธาตุเหล็กอีกด้วย
- หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรืองานออกกำลังกายอย่างหักโหม
- ถ้าหากมีอาการฟันเปราะ หรือฟันผุง่าย ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน
- รับประทานชาร้อน หรือขมิ้นชันเพื่อเป็นการลดระดับการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย
เกร็ดสุขภาพ : ขมิ้นชัน นอกจากจะช่วยลดระดับการดูดซึมของธาตุเหล็กในร่างกายแล้ว ยังสามารถช่วยในเรื่องแก้อาการท้องร่วง รักษาโรคผิวหนัง แพ้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย และหากนำไปผสมน้ำมะนาวกับเกลือ แล้วนำมาแปรงคล้ายยาสีฟัน จะยังช่วยแก้ฟันเหลืองธรรมชาติได้อีกด้วย
เพียงเท่านี้ เราก็ได้ทราบแล้วว่าธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด ธาลัสซีเมีย อันตรายไหม และควรดูแลรักษาอย่างไรหากเป็นโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นคือการตรวจสุขภาพร่างกายก่อนมีบุตร เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดธาลัสซีเมียของลูก และหมั่นดูแลสุขภาพของตนเองควบคู่ไปด้วยนะครับ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : bumrungrad.com, ram-hosp.co.th
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ