“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
How to ท่านั่งทำงานที่ดี นั่งอย่างไรห่างไกล office syndrome
แม้ว่าหลายคนจะต้องทำงานที่บ้านก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยจากอาการ office syndrome ไปได้นะคะ เพราะยิ่งเราต้องนั่งอยู่กับโต๊ะเป็นเวลานานโดยที่ไม่ค่อยได้ขยับตัวหรือลุกเดินไปไหนนั้น ยิ่งทำให้มีโอกาสที่จะปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ และหลังได้ ส่งผลให้เกิดอาการ office syndrome ได้ง่ายๆ เช่นกัน เพราะฉะนั้น เพื่อระวังไม่ให้เกิดอาการที่แสนทรมานร่างกายเหล่านี้ เราควรรู้จักท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง มาดู How to ท่านั่งทำงาน ที่ดีที่จะช่วยซัพพอร์ทกล้ามเนื้อและร่างกายของเรากันค่ะ
ท่านั่งทำงาน ที่ถูกต้องควรนั่งอย่างไร นั่งแบบไหน ไม่ให้เป็น office syndrome
- นั่งหนุนหลัง
ท่านั่งทำงานที่ดีคือควรนั่งแบบหนุนหลัง เพื่อลดความเสี่ยงของอาการปวดหลัง โดยการปรับเก้าอี้เพื่อให้หลังส่วนล่างได้รับการรองรับอย่างเหมาะสม ซึ่งเก้าอี้ที่ปรับอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเครียดที่หลังของคุณด้วย ควรเลือกเก้าอี้ที่สูงพอดีหลังเพื่อซัพพอร์ทแผ่นหลังของคุณ และเลือกที่สามารถปรับได้ง่ายเพื่อให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนความสูงและตำแหน่งของหลังได้ด้วย
- วางแขนให้พอดีกับโต๊ะ
ท่านั่งทำงานที่จะช่วยให้เราไม่เป็น office syndrome นั้น คือควรปรับความสูงของเก้าอี้เพื่อให้เราสามารถใช้แป้นพิมพ์ได้อย่างพอดี โดยให้ข้อมือและปลายแขนเหยียดตรงและปรับระดับกับพื้นได้ ส่วนข้อศอกควรอยู่ข้างลำตัวเพื่อให้แขนเป็นรูปตัว L การวางแขนให้ตำแหน่งนี้จะช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บจากความเครียดของกล้ามเนื้อต่างๆ ได้
เกร็ดสุขภาพ : หากเราใช้ท่านั่งทำงานที่ไม่ถูกต้องนั้นจะส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นอาการรู้สึกเสียวซ่าที่นิ้ว เจ็บข้อมือ ปวดตา ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ รวมถึงอาการปวดที่คอ ไหล่ แขน หลัง ต้นขา และขาส่วนล่าง หรือที่เรียกว่า office syndrome นั่นเอง ซึ่งความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องหรือไม่สบายในกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ที่เรียกว่าการบาดเจ็บจากความเครียดซ้ำๆ นั้น ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเรื้อรัง และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้อีกด้วย เพราะฉะนั้น อีกวิธีที่จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย ลองใช้วิธีคลายเครียดก่อนนอนดูนะคะ
- วางเท้าบนพื้น
ท่านั่งทำงานที่ถูกต้องคือการจัดระเบียบร่างกายให้ถูก นอกจากจะวางตำแหน่งของแขนและข้อมือแล้ว ควรวางเท้าให้ถูกตำแหน่งเช่นกัน โดยวางเท้าราบกับพื้นหรือวางบนที่พักเท้า จะช่วยให้เราสามารถพักเท้าได้ระดับที่สบาย อย่านั่งไขว้ขาเพราะเป็นการนั่งที่ไม่ถูกต้อง และอาจส่งผลต่อแกนกลางของร่างกายได้
- นั่งโดยให้หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ที่ระดับสายตา
การนั่งทำงานโดยให้หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ระดับเดียวกับสายตาของเรานั้นคือท่านั่งทำงานที่ถูกวิธี เพราะหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ตรงหน้าของเราโดยตรง แนวทางที่ดีคือวางจอภาพให้ห่างประมาณหนึ่งช่วงแขน โดยให้ด้านบนของหน้าจออยู่ในระดับสายตาโดยประมาณ หากตำแหน่งของโต๊ะเตี้ยเกินไป อาจต้องใช้ขาตั้งจอภาพ เพราะหากหน้าจอสูงหรือต่ำเกินไป เราจะต้องก้มคอหรือเงย จะส่งผลให้เกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ได้ค่ะ นอกจากนี้ควรวางคีย์บอร์ดไว้ตรงหน้า และเว้นระยะห่างประมาณ 4-6 นิ้ว ที่ด้านหน้าโต๊ะ เพื่อสำหรับพักข้อมือระหว่างการพิมพ์
เกร็ดสุขภาพ : การวางวัตถุหรือสิ่งของต่างๆ บนโต๊ะให้ง่ายต่อการหยิบใช้ก็เป็นสิ่งที่จะช่วยให้การนั่งทำงานของเรานั้นยังคงอยู่ในท่าที่สบาย เป็นส่วนหนึ่งของท่านั่งทำงานที่ดี ควรจัดตำแหน่งสิ่งของที่ใช้บ่อย เช่น โทรศัพท์ หรือที่เย็บกระดาษ ให้อยู่ในระยะที่เอื้อมถึงได้ง่าย เพราะจะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการยืดหรือบิดตัวเพื่อเอื้อมถึงสิ่งของนั้นซ้ำๆ ซึ่งจะส่งผลให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามมาทีหลังได้
- อย่านั่งในท่าเดิมนานเกินไป
จากท่านั่งทำงานที่ถูกวิธีนั้น ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเราได้เปลี่ยนท่าทางบ่อยเท่าที่จะสามารถทำได้บ้างหรือไม่ เพราะการนั่งท่าเดิมท่าเดียวเป็นเวลานานย่อมไม่ส่งผลดีต่อกล้ามเนื้อ การพักระยะสั้นๆ บ่อยๆ จะดีสำหรับหลังของเรามากกว่าการเว้นช่วงยาวๆ เพราะมันทำให้กล้ามเนื้อมีโอกาสผ่อนคลาย ลองลุกไปยืดเส้นยืดสาย หรือจะออกกำลังกายท่าสควอทเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก็ได้ค่ะ
การนั่งมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณ
แม้ว่าเราจะหลีกเลี่ยงการนั่งทำงานในทุกๆ วันไม่ได้ แต่เพื่อลดความเสี่ยงของการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ เราควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ โดยเลือกการออกกำลังกายเพิ่มกล้ามก็ได้ และลดเวลานั่งให้น้อยลง เพราะการนั่งเป็นเวลานานๆ จะไปชะลอการเผาผลาญ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถของร่างกายในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และการสลายไขมันในร่างกาย นั่นหมายถึง อาจทำให้เรามีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วน มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 และโรคมะเร็งบางชนิดได้ด้วยค่ะ ดังนั้น นอกจากจะต้องรู้ถึงท่านั่งทำงานที่ถูกวิธีแล้ว การหลีกเลี่ยงการนั่งเป็นเวลานานๆ พร้อมกับออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากอาการ office syndrome และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้อีกด้วย
ไม่ว่าคุณจะนั่งทำงานอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน การรู้จักท่านั่งทำงานที่ดีและถูกวิธีนั้นเป็นสิ่งที่ควรนำไปทำตาม เพราะหากคุณยังนั่งในท่าเดิมๆ ที่เป็นท่านั่งที่ผิดนั้น จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายอย่างมาก ลองปรับเปลี่ยนท่านั่งทำงานใหม่ เพื่อให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น จะได้ส่งผลต่อการมีสุขภาพจิตที่ดีด้วยนะคะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : gethealthystayhealthy.com, webmd.com, nhs.uk, mayoclinic.org
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ