“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
คอพอกเกิดจาก อะไร ? อันตรายหรือไม่ ดูแลตัวเองยังไง ?!
โรคคอพอก (Goiter) โรคที่หลายคนมองข้าม เพราะคิดว่าเป็นโรคที่ไกลตัว แต่จริงๆ แล้วนั้นโรคนี้เป็นโรคที่สามารถเกิดกับใครก็ได้โดยไม่จำกัดเพศและอายุ โดยเกิดจากต่อมไทรอยด์ที่โตกว่าปกติ ที่นอกจากสาเหตุจะมาจากการขาดสารอาหารไอโอดีนที่เราคุ้นเคยกันแล้วนั้น สาเหตุยังมาจากอื่นๆ ได้อีกด้วย และเพื่อรู้จักโรคนี้ให้ดียิ่งขึ้น เรามีเรื่องราวเกี่ยวกับโรคคอพอกมาฝากกัน ว่าคอพอกเกิดจากอะไร ? อันตรายหรือไม่ ? และสามารถป้องกันได้อย่างไรบ้างค่ะ
- คอพอกเกิดจาก อะไร ? มารู้ถึงสาเหตุและวิธีป้องกัน
คอพอกเกิดจากการขยายตัวที่ผิดปกติของต่อมไทรอยด์ แต่ไม่ได้หมายความว่าต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมรูปผีเสื้อขนาดเล็กที่คอใต้ลูกกระเดือก และผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน และไตรโอโดไทโรนีน ฮอร์โมนเหล่านี้มีบทบาทในการทำงานของร่างกายบางอย่าง รวมถึงควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย อารมณ์ ความตื่นเต้น อัตราชีพจร การย่อยอาหาร และอื่นๆ หน้าที่ของต่อมไทรอยด์คือการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งจะหลั่งออกมาในเลือดแล้วส่งไปยังเนื้อเยื่อทุกส่วนในร่างกาย ฮอร์โมนไทรอยด์ช่วยให้ร่างกายใช้พลังงาน ทำให้ร่างกายอบอุ่น และทำให้สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ และอวัยวะอื่นๆ ทำงานได้เป็นปกติ
โรคคอพอกสามารถเกิดขึ้นได้ในต่อมที่ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป (hyperthyroidism) ผลิตฮอร์โมนน้อยเกินไป (hypothyroidism) หรือต่อมไทรอยด์ทำงานปกติ (euthyroidism) ซึ่งโรคคอพอกนั้นบ่งชี้ว่ามีภาวะที่ทำให้ต่อมไทรอยด์เติบโตผิดปกตินั่นเอง
- สาเหตุคอพอกเกิดจากอะไรได้บ้าง
สาเหตุคอพอกเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน หนึ่งในสาเหตุที่พบได้มากทั่วโลกคือ การขาดสารไอโอดีน เกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ได้เพียงพอเพราะขาดสารไอโอดีนนั้น ก็จะกลายเป็นไฮโปไทรอยด์ และเมื่อต่อมใต้สมองรับรู้ว่าระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำเกินไปและส่งสัญญาณไปยังไทรอยด์ สัญญาณนี้จะเรียกว่าฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ฮอร์โมนนี้จะกระตุ้นให้ไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์และมีขนาดโตขึ้นตามชื่อ ขนาดที่โตผิดปกตินี้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “โรคคอพอก” นั่นเอง ดังนั้น การขาดสารไอโอดีนจึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคคอพอก
แต่นอกเหนือไปจากการขาดสารไอโอดีนแล้วนั้น โรคคอพอกเกิดจากต่อมไทรอยด์อักเสบและได้รับความเสียหายได้อีกด้วย เพราะจะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้อย่างเพียงพอ และเมื่อต่อมใต้สมองรับรู้ถึงระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ฮอร์โมนจึงไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์และทำให้ต่อมไทรอยด์โต ซึ่งอาจทำให้เป็นโรคคอพอกได้เช่นกัน
นอกจากสาเหตุดังกล่าวของโรคคอพอกแล้วนั้น ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้เกิดโรคได้ บางส่วนเกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม บางส่วนเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อในต่อมไทรอยด์ และบางส่วนเกิดจากเนื้องอกหรือมะเร็ง ทั้งนี้ แม้ว่าโรคคอพอกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อโรคคอพอกมากกว่าคนทั่วไป ได้แก่ ผู้หญิง หญิงตั้งครรภ์ หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี รวมถึงผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือเคยเข้ารับการฉายรังสีบริเวณลำคอ เป็นต้น
เกร็ดสุขภาพ : แม้ว่าสาเหตุหลักของการเกิดคอพอกจะมาจากการขาดสารไอโอดีนแต่ก็ยังมีสาเหตุอื่นอีกเช่นกัน ดังนั้นการดูแลและป้องกันตัวเอง รวมถึงการหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดนะคะ
- ประเภทของโรคคอพอก
หลังจากที่เรารู้กันไปแล้วว่า คอพอกเกิดจากอะไรได้บ้างนั้น มารู้จักกับประเภทของโรคคอพอกกันต่อว่ามีกี่ประเภท และมีอะไรบ้าง
- โรคคอพอกธรรมดา simple goiters เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และต่อมไทรอยด์พยายามชดเชยการขาดแคลนนี้โดยการขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ต่อมไทรอยด์โตและเกิดโรคได้นั่นเอง
- โรคคอพอกเป็นพิษ toxic goiter คือ โรคคอพอกชนิดก้อนกลมเป็นพิษ เกิดจากโรคคอพอกธรรมดาที่เป็นมานานและมักเกิดในผู้สูงอายุ ตัวอย่างของโรคคอพอกที่เป็นพิษ toxic goiter คือ โรคคอพอกที่เป็นพิษแบบกระจาย (โรคเกรฟส์), คอพอกหลายส่วนที่เป็นพิษ และก้อนเนื้อที่เป็นพิษ (โรคพลัมเมอร์)
- อาการของโรคคอพอก
อาการของคอพอกธรรมดา พบว่าต่อมไทรอยด์โตขึ้นจนทำให้ลำคอมีอาการบวม โดยส่วนมากมักมีอาการบวมเพียงเล็กน้อยและไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติอื่นๆ แต่หากมีอาการคอพอกขั้นรุนแรง หรือเกี่ยวเนื่องกับต่อมไทรอยด์เป็นพิษ toxic goiter คือ จะมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น มือสั่น ไอ รู้สึกแน่นภายในลำคอ กลืนอาหารลำบาก น้ำหนักลด นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย มีความกังวลใจ ร้อนรน หงุดหงิด ปวดกล้ามเนื้อ และอาจมีประจำเดือนผิดปกติในผู้หญิงได้อีกด้วย
- การดูแลรักษาเมื่อเป็นโรคคอพอก
การรักษาโรคคอพอกขึ้นอยู่กับขนาดของต่อมไทรอยด์ที่โตขึ้น อาการ และสาเหตุ ดังนี้
- หากคอพอกมีขนาดเล็กและไม่รบกวนการใช้ชีวิต แพทย์อาจตัดสินใจว่าไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่หากเกิดจากการขาดไอโอดีนในอาหาร แพทย์อาจเสริมไอโอดีนโดยเตรียมให้ทางปาก เพื่อไปช่วยลดขนาดของคอพอกได้
- หากเกิดจากต่อมไทรอยด์อักเสบ แพทย์จะให้ฮอร์โมนไทรอยด์เสริมเป็นเม็ด การรักษานี้จะทำให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ของคุณกลับสู่ปกติ แต่อาการคอพอกหายจะไม่หายไปอย่างสมบูรณ์ แต่อาจมีขนาดเล็กลง
- หากเกิดจากภาวะไทรอยด์ทำงานเกิน การรักษาอาจใช้การกลืนสารไอโอดีนกัมมันตรังสี วิธีนี้แพทย์มักใช้รักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เพื่อให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดเล็กลง
- หากต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่มากจนทำให้ทางเดินหายใจตีบตัน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืน แพทย์อาจแนะนำให้รักษาโรคคอพอกโดยการผ่าตัดเอาออก
แต่ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องมีการตรวจติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี เมื่อได้ตรวจวินิจฉัยพบว่าเป็นโรคคอพอก
- การป้องกันโรคคอพอก
เราสามารถป้องกันโรคคอพอกเกิดจากการขาดไอโอดีน ด้วยการกินอาหารที่มีสารไอโอดีนให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยปกติคนเราควรได้รับไอโอดีน 150 ไมโครกรัมต่อวัน หรือปริมาณเท่ากับเกลือเสริมไอโอดีน 1 ช้อนชา รวมถึงเลือกกินอาหารที่อุดมไปด้วยไอโอดีนอย่างเช่น ปลาและอาหารทะเล ที่เป็นแหล่งโอเมก้า 3 ที่ดีต่อร่างกายอีกด้วย เพราะ omega 3 คือสิ่งที่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้ เช่นเดียวกับสารอาหารประเภทอื่นๆ ซึ่งหากเราได้รับไอโอดีนในปริมาณที่เพียงพอ ก็จะลดความเสี่ยงและป้องกันการเป็นโรคคอพอกได้ค่ะ
เกร็ดสุขภาพ : อาหารที่มีไอโอดีนสูง นอกไปจากปลาและอาหารทะเลแล้วนั้น ไอโอดีนยังพบได้ในไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันตับปลา โยเกิร์ต งา ผักโขม และสตรอเบอรี่ ซึ่งประโยชน์ของไอโอดีนนอกจากช่วยป้องกันคอพอกได้แล้วนั้น ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ พัฒนาสมองและสติปัญญา ควบคุมระบบประสาท และเสริมสร้างการทำงานของร่างกายอีกด้วยค่ะ
ได้รู้จักโรคคอพอกกันไปแล้วนะคะ ว่าคอพอกเกิดจากอะไร มีสาเหตุและการป้องกันอย่างไรบ้าง แม้ว่าโรคคอพอกจะไม่ใช่โรคที่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ก็เป็นโรคที่ทำให้เกิดความรำคาญและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ เพราะฉะนั้น ควรดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการกินอาหารให้ครบห้าหมู่ เลือกกินแต่อาหารที่ดีและมีประโยชน์ อย่างเช่น คีนัว เพราะคีนัว สารอาหารดีๆ มากมาย และดีต่อร่างกายเช่นกัน รวมถึงไม่ลืมที่จะกินอาหารที่มีไอโอดีนให้เพียงพอ หรือใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหารก็ได้เช่นกันค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : mayoclinic.org, my.clevelandclinic.org, uclahealth.org
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ