“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
การบำรุงรักษาไต ที่ถูกวิธีต้องทำยังไง ? ดูแลรักษาไตให้สุขภาพดีก่อนสายเกินไป
ไตของเราเป็นอวัยวะขนาดเท่ากำปั้นซึ่งอยู่ที่ด้านล่างของซี่โครง ไปจนถึงที่ด้านข้างของกระดูกสันหลังทั้งสองข้าง มันทำหน้าที่หลายอย่างและจัดว่าเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุด หน้าที่สำคัญของไตคือจะกรองของเสีย น้ำส่วนเกิน และสิ่งสกปรกอื่นๆ ออกจากเลือดของเรา นอกจากนี้ ไตยังควบคุมระดับ pH เกลือและโพแทสเซียมในร่างกาย ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิตและควบคุมการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ด้วยเพราะหน้าที่ต่างๆ ที่สำคัญเหล่านี้ การรักษาสุขภาพไตจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม และเพื่อการดูแลไตให้แข็งแรงเรามารู้จัก การบำรุงรักษาไต ที่ถูกวิธีเพื่อร่างกายจะได้กรองและขับของเสียอย่างเหมาะสม และช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างถูกต้องกันค่ะ
การบำรุงรักษาไตที่ถูกวิธี
ในปัจจุบันพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังกว่า 8 ล้านคน สาเหตุส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เกิดจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และที่เหลือมาจากพฤติกรรมการกินเค็มกว่าปกติ 5-10 เท่า โดยมากมาจากการกินเค็มจากอาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว เนื้อหมัก หมูหมัก ที่ใส่ซอสปรุงรส อาหารแช่แข็ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป รวมถึงการปรุงอาหารที่ใส่เกลือหรือน้ำปลามากจนเกินไป ซึ่งระดับความเค็มในอาหารเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไตได้ ดังนั้น หากเราลดการกินเค็มได้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไต รวมถึงรู้จักการบำรุงรักษาไตที่ถูกวิธีก็จะช่วยให้ไตของเราแข็งแรงได้ ด้วย 7 เคล็ดลับดังต่อไปนี้
ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเป็นประจำนั้นให้ผลดีมากกว่าแค่รอบเอวลดลง เพราะมันสามารถลดความเสี่ยงของโรคไตเรื้อรังได้ เป็นการบำรุงรักษาไตที่ถูกวิธีที่ทำได้ง่ายๆ แม้แต่ที่บ้าน นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำยังสามารถลดความดันโลหิตและเพิ่มสุขภาพหัวใจ ซึ่งมีความสำคัญต่อการป้องกันความเสียหายของไตได้อีกด้วย แค่เพียงออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน และเต้นรำ ก็ดีต่อสุขภาพทั้งสิ้น
เกร็ดสุขภาพ : การมีน้ำหนักมากเกินไปจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นซึ่งส่งผลเสียต่อไต พยายามรักษาน้ำหนักให้เหมาะสมโดยรักษาความกระฉับกระเฉงและไม่กินมากเกินไป ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการตรวจสอบว่าคุณมีน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพหรือไม่ และควรตั้งเป้าออกกำลังกายระดับความเข้มข้นปานกลางอย่างน้อย 150 นาที เช่น เดิน ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ ทุกสัปดาห์ หรือดื่มชาดอกมะลิเป็นประจำ เพราะดอกมะลิ สรรพคุณดีๆ สามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้
คุมน้ำตาลในเลือด
อีกวิธีในการบำรุงรักษาไตที่ถูกวิธีคือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือภาวะที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้ไตเสียหายได้ เมื่อเซลล์ในร่างกายของเราไม่สามารถใช้กลูโคสในเลือดได้ ไตจะถูกบังคับให้ทำงานหนักเป็นพิเศษเพื่อกรองเลือด และหากปล่อยทิ้งไว้นานหลายปีอาจนำไปสู่ความเสียหายที่คุกคามชีวิตได้
- ตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ
หมั่นตรวจความดันโลหิตเป็นประจำ แม้ว่าความดันโลหิตสูงไม่มีอาการ แต่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาไตรวมถึงอาจทำให้ไตเสียหาย และความดันโลหิตสูงสามารถเกิดขึ้นกับปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือคอเลสเตอรอลสูง ค่าความดันโลหิตที่ดีต่อสุขภาพคือ 90/60 ในผู้สูงอายุ และ 120/80 สำหรับคนทั่วไป แต่หากค่าความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 อย่างสม่ำเสมอ ควรต้องระวัง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและกินอาหารบำรุงไต จะช่วยลดความดันโลหิตได้
- กินอาหารบำรุงไต
อาหารเพื่อสุขภาพที่มีโซเดียมต่ำจัดเป็นอาหารบำรุงไตได้ เพราะอาหารที่สมดุลจะช่วยให้เราได้รับวิตามินและแร่ธาตุทั้งหมดที่ร่างกายต้องการ ควรเน้นการกินวัตถุดิบสดใหม่ที่มีโซเดียมต่ำตามธรรมชาติ เช่น กะหล่ำดอก บลูเบอร์รี่ ปลา ธัญพืชไม่ขัดสี และอื่นๆ และควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป อาหารที่ปรุงเค็มจัดหรือมีไขมันมากเกินไป และอาหารอื่นๆ ที่ทำลายไต ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่ไตจะถูกทำลายได้
- ดื่มน้ำเยอะๆ
การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยให้ไตทำงานได้อย่างถูกต้อง น้ำช่วยล้างโซเดียมและสารพิษออกจากไต นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง เป็นการบำรุงรักษาไตที่ถูกวิธี เพราะปัสสาวะของเราควรเป็นสีฟางหรือเหลืองอ่อน หากสีเข้มขึ้นอาจเป็นสัญญาณของภาวะขาดน้ำ เพราะฉะนั้น ควรดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 1.5 ถึง 2 ลิตรในหนึ่งวัน ปริมาณน้ำที่ต้องการขึ้นอยู่กับสุขภาพและไลฟ์สไตล์เป็นส่วนใหญ่ และปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพอากาศ การออกกำลังกาย เพศ สุขภาพโดยรวม
เกร็ดสุขภาพ : ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมที่ทำให้เสี่ยงในการเป็นโรคไต ได้แก่ มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นโรคลูปัส โรคภูมิต้านตนเองอื่นๆ มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง และเป็นนิ่วในไต
- อย่าสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
การบำรุงรักษาไตที่ถูกวิธี คือควรงดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เพราะการสูบบุหรี่จะทำลายหลอดเลือดในร่างกาย ทำให้เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกายและไตช้าลง และยังทำให้ไตมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งมากขึ้นด้วย พยายามเลิกสูบบุหรี่ให้ได้และจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม ทั้งชายและหญิงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกิน 14 หน่วยต่อสัปดาห์เป็นประจำ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคไต
- ระวังปริมาณยาที่กิน
หนึ่งในการบำรุงรักษาไตที่ถูกวิธี คือระวังยาที่กิน เพราะยาแก้ปวดบางชนิดหากกินเป็นประจำอาจทำให้ไตเสียหายได้ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) รวมถึงไอบูโพรเฟนและนาโพรเซน สามารถทำลายไตได้หากใช้ยาเหล่านี้เป็นประจำสำหรับอาการปวดเรื้อรัง ปวดหัว หรือโรคข้ออักเสบ เพราะฉะนั้น ควรระวังหากต้องใช้ยาในกลุ่มนี้
ไตของเรานั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม อวัยวะเหล่านี้มีหน้าที่หลายอย่าง ตั้งแต่การแปรรูปของเสียในร่างกายไปจนถึงการสร้างฮอร์โมน นั่นเป็นเหตุผลที่การดูแลไตและการบำรุงรักษาไตที่ถูกวิธีจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพสูงสุด เพราะนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไตได้แล้ว ยังช่วยปกป้องจากโรคเรื้อรังต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งโรคเรื้อรังมีอะไรบ้างนั้น ก็ได้แก่ เบาหวาน ความดัน หลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ดังนั้น การใส่ใจสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้ เพื่อให้เรามั่นใจว่าไตของเราจะแข็งแรงและมีสุขภาพที่ดีตลอดไป
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : healthline.com, kidney.org, nhs.uk, thaihealth.or.th
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ