X

ทำ MRI คือ อะไร ? ต่างจาก CT Scan ยังไงบ้าง ? แนะนำนวัตกรรมการตรวจสุขภาพเชิงลึก อัปเดตปี 2024

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

ทำ MRI คือ อะไร ? ต่างจาก CT Scan ยังไงบ้าง ? แนะนำนวัตกรรมการตรวจสุขภาพเชิงลึก อัปเดตปี 2024

หลายคนคงเคยสงสัยเรื่องการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ทำไมมีอะไรมากมายหลายอย่าง ตรวจเพียงอย่างเดียวได้หรือไม่ ทำไมบางครั้งตรวจ CT Scan คือยังไม่จบ ต้องตรวจ MRI เพิ่มเพราะอะไร บทความนี้จะอธิบายความแตกต่างของเทคนิคการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ทั้งสองแบบ รวมถึงแนะนำเทคโนโลยีการตรวจสุขภาพใหม่ๆ ที่น่าสนใจในปี 2024 ไว้ให้รู้ทันเทรนด์สุขภาพกันค่ะ

ทํา MRI คือ อะไร ? ชวนรู้จักนวัตกรรมตรวจสุขภาพเชิงลึกกัน !

MRI ย่อมาจาก “Magnetic Resonance Imaging” โดยคำว่า Magnetic หมายถึง แม่เหล็ก Resonance หมายถึง การสั่นพ้องกันของคลื่น Imaging หมายถึง การสร้างภาพ การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงของ MRI ช่วยให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดและความคมชัดสูง สามารถแยกแยะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างชัดเจน จึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการวินิจฉัยโรคและติดตามการรักษาโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับสมอง ไขสันหลัง และกระดูกอ่อน

เครื่องวัดความดัน Omron HEM-7121 ที่วัดความดัน เครื่องวัดความดันโลหิต แถมฟรี ถ่าน AA 4

การทำ MRI คืออะไร?

MRI (Magnetic Resonance Imaging) เป็นเทคโนโลยีการสร้างภาพของอวัยวะและเนื้อเยื่อภายในร่างกายอย่างละเอียดด้วยการสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ ไม่ต้องใช้รังสีเอกซ์ เหมือนใน CT Scan คือ จะเสมือนทำให้แพทย์ได้เห็นลักษณะเนื้อของอวัยวะภายใน เช่น สมอง ไขสันหลัง และเส้นเอ็น ได้อย่างชัดเจน การทำ MRI คือ การช่วยให้วินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและการบาดเจ็บของ ข้อเข่า ข้อต่อต่างๆ รวมทั้งเนื้อเยื่ออ่อน มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

หลักการทำงาน

  • ใช้คลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็กแรงสูงเพื่อสร้างภาพของร่างกาย
  • สร้างภาพจากการเรียงตัวของโปรตอนในน้ำของเซลล์ร่างกาย โดยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงพลังงานของโปรตอนในเนื้อเยื่อต่างๆ

ประโยชน์

  • เหมาะสำหรับการตรวจสอบเนื้อเยื่ออ่อน เช่น สมอง เส้นประสาท กล้ามเนื้อ ข้อต่อ
  • สามารถแสดงภาพในมิติที่แตกต่างกันได้ชัดเจน

ข้อจำกัด

  • ใช้เวลาในการตรวจสอบนานกว่า CT scan
  • มีข้อห้ามสำหรับผู้ที่มีอุปกรณ์โลหะในร่างกาย เช่น pacemaker
  • ราคาค่าตรวจสูง
ทํา mri คือ, ct scan คือ
Image Credit : vecteezy.com

การใช้งานของ MRI

  1. ตรวจสมอง และระบบประสาท
  2. ตรวจไขสันหลัง
  3. ตรวจข้อต่อและเส้นเอ็น4. ตรวจเนื้อเยื่ออ่อนในอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต

FULI เครื่องนวดตาอัจฉริยะ | FULI Smart Eye Massager

เกร็ดสุขภาพ : คำแนะนำในการตรวจ MRI มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
1) การเตรียมตัว : ถอดอุปกรณ์โลหะทั้งหมดออกจากร่างกาย แจ้งแพทย์หากมีอุปกรณ์โลหะในร่างกาย
2) การทำตามคำแนะนำ : นอนนิ่งๆ ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ระหว่างการตรวจ อาจต้องใช้ที่ปิดหูหรือฟังเพลงเพื่อลดเสียงรบกวน
3) หลังการตรวจ : สามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้ทันที

ทํา mri คือ, ct scan คือ
Image Credit : freepik.com

CT Scan คืออะไร ?

CT Scan (Computed Tomography) เป็นการใช้รังสีเอกซ์ในการสร้างภาพตัดขวางของร่างกาย โดยคอมพิวเตอร์จะประมวลการสร้างภาพสามมิติที่มีความละเอียดสูง ข้อดีของ CT Scan คือสามารถแสดงรายละเอียดของกระดูก หลอดเลือด และอวัยวะภายในที่มีการเกิดพยาธิสภาพได้ชัดเจน ใช้เวลาในการตรวจสั้นกว่า MRI สามารถตรวจหา การมีเลือดออกในสมอง TIA หรือการแตกของหลอดเลือดในกรณีฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว

หลักการทำงาน

  • ใช้รังสีเอกซ์ในการสร้างภาพ
  • ภาพที่ได้เกิดจากการคำนวณโดยคอมพิวเตอร์จากการปล่อยรังสีเอกซ์ผ่านร่างกายแล้วจับภาพหลายๆ มุม

ประโยชน์

  • เหมาะสำหรับการตรวจสอบโครงสร้างกระดูก อวัยวะภายใน เช่น ปอด ตับ ไต
  • ใช้เวลาในการตรวจรวดเร็วกว่า MRI
  • สามารถตรวจหาการแตกหักของกระดูกและการเกิดเลือดออกในสมองได้อย่างรวดเร็ว

ข้อจำกัด

  • ใช้รังสีเอกซ์ซึ่งมีผลต่อการรับรังสีของร่างกาย
  • ภาพของเนื้อเยื่ออ่อนอาจไม่ชัดเท่า MRI
  • การใช้รังสีทำให้ไม่เหมาะกับการตรวจสอบบ่อยครั้งหรือในเด็กและหญิงตั้งครรภ์
ทํา mri คือ, ct scan คือ
Image Credit : freepik.com

การใช้งานของ CT Scan

  1. ตรวจสมองและกะโหลกศีรษะ
  2. ตรวจทรวงอกและปอด
  3. ตรวจช่องท้องและอุ้งเชิงกราน
  4. ตรวจกระดูกและข้อต่อ
  5. ตรวจหลอดเลือด

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว Yuwell รุ่น YX102 Finger pulse oximeter ค่าแม่นยำ รู้ผลภายใน 8 วินาที

เกร็ดสุขภาพ : คำแนะนำในการตรวจ CT Scan มีรายละเอียดดังนี้
1) การเตรียมตัว : อาจต้องอดอาหารหรือดื่มน้ำมากๆ ก่อนการตรวจ หากต้องฉีดสารทึบรังสี และถอดอุปกรณ์โลหะทั้งหมดออกจากร่างกาย แจ้งแพทย์หากตั้งครรภ์หรือมีโรคไต
2) การทำตามคำแนะนำ : นอนนิ่งๆ ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ระหว่างการตรวจ
3) หลังการตรวจ : ดื่มน้ำมากๆ หากมีการฉีดสารทึบรังสี เพื่อช่วยขับสารออกจากร่างกาย

การทำ MRI คือเทคนิคการตรวจวินิจฉัยที่มีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกับ CT scan เพื่อให้ แพทย์เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณ ะและประเภทของการตรวจที่ต้องการ สรุปความแตกต่างของการตรวจทั้งสองแบบได้ดังตาราง

ตารางเปรียบเทียบการทำงานของ MRI และ CT Scan:

รายการMRI (Magnetic Resonance Imaging)CT Scan (Computed Tomography)
หลักการทำงานใช้คลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็กแรงสูงใช้รังสีเอกซ์ในการสร้างภาพตัดขวาง
การใช้งานเหมาะสำหรับการตรวจสอบเนื้อเยื่ออ่อน เช่น สมอง เส้นประสาท กล้ามเนื้อ ข้อต่อเหมาะสำหรับการตรวจสอบโครงสร้างกระดูก อวัยวะภายใน เช่น ปอด ตับ ไต
ข้อจำกัดใช้เวลานานกว่า และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอุปกรณ์โลหะในร่างกาย เช่น pacemakerใช้รังสีเอกซ์ มีผลต่อการรับรังสีของร่างกาย ไม่เหมาะสำหรับการตรวจบ่อยครั้งหรือในเด็กและหญิงตั้งครรภ์
ประโยชน์แสดงภาพในมิติที่แตกต่างกันได้ชัดเจน ไม่มีการใช้รังสีเอกซ์ตรวจหาการแตกหักของกระดูกและการเกิดเลือดออกในสมองได้อย่างรวดเร็ว

Bewell ไม้เท้าอัจฉริยะ มาพร้อมไฟฉาย และเสียงฉุกเฉิน ปลอดภัยทุกอย่างก้าว

ทํา mri คือ, ct scan คือ
Image Credit : freepik.com

นวัตกรรมการตรวจสุขภาพอื่นๆ ในประเทศไทย

เราได้ทำความรู้จักกันไปแล้ว่า การทำ MRI คืออะไร และ CT Scan คืออะไร นอกจากสองอย่างนี้แล้ว ในประเทศไทยยังมีการใช้เทคโนโลยีการตรวจสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ อีกมากมาย เช่น

  1. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) : Ultrasound ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการสร้างภาพของอวัยวะภายใน ไม่ใช้รังสีเอกซ์ จึงปลอดภัยต่อผู้ป่วยและทารกในครรภ์ ใช้ตรวจอวัยวะในช่องท้อง หัวใจ และตรวจครรภ์ได้อย่างแม่นยำ
  2. การตรวจด้วยเทคโนโลยี Positron Emission Tomography (PET Scan) : PET Scan ใช้ในการตรวจสอบการทำงานของอวัยวะและเนื้อเยื่อในร่างกาย มักใช้ร่วมกับ CT Scan หรือ MRI เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมะเร็งและโรคหัวใจ
  3. การตรวจด้วยเทคโนโลยี Dual-Energy X-ray Absorptiometry (DEXA) : DEXA ใช้ในการวัดความหนาแน่นของกระดูก เพื่อวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนและความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก

ALLWELL รถเข็นวีลแชร์ เกรดเครื่องมือแพทย์ มีล้อหลังกันหงาย ที่พักแขนปรับได้ รับประกัน 1ปี

นวัตกรรมการตรวจสุขภาพใหม่ๆ ที่น่าสนใจในโลกของเรา

และในปี 2024 นี้ เทคโนโลยีการแพทย์พัฒนาอย่างรวดเร็ว มีนวัตกรรมการตรวจสุขภาพที่มีความก้าวหน้าทางการแพทย์มากขึ้นในประเทศต่างๆ โดยสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้

1. การตรวจสุขภาพด้วย Liquid Biopsy

Liquid Biopsy เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ตัวอย่างเลือดในการตรวจหาเซลล์มะเร็งหรือสารบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarkers) ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง เทคโนโลยีนี้ช่วยให้สามารถตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อ (biopsy) ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดและความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ประเทศที่นำพัฒนาเทคโนโลยีนี้เมาใช้แล้ว เข่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร

2. การตรวจสุขภาพด้วย AI-Assisted Imaging

การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์ เช่น X-ray, MRI และ CT Scan คือ ช่วยให้การวินิจฉัยโรคมีความแม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น AI สามารถช่วยแพทย์ในการตรวจจับพยาธิสภาพที่มีขนาดเล็กและซับซ้อน ซึ่งอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ประเทศที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ได้แก่ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

3. การตรวจสุขภาพด้วย Wearable Health Devices

อุปกรณ์สวมใส่ที่ใช้ในการติดตามและตรวจสุขภาพ เช่น สมาร์ทวอทช์ที่สามารถวัดการเต้นของหัวใจ ระดับออกซิเจนในเลือด และความดันโลหิตได้ อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสุขภาพได้ด้วยตนเองแบบเรียลไทม์ และสามารถแชร์ข้อมูลสุขภาพกับแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาได้ ประเทศที่พัฒนาเทคโนโลยีนี้อย่างก้าวหน้า ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และจีน

ทํา mri คือ, ct scan คือ
Image Credit : freepik.com

โดยสรุป CT Scan คือการตรวจด้วยรังสี  และการ ทำ MRI คือ การตรวจด้วยคลื่น  เป็นเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยวินิจฉัยโรคต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เพื่อช่วยในการวางแผนการรักษา  ซึ่งนอกจากเทคโนโลยีเหล่านี้แล้ว ยังมีนวัตกรรมการตรวจสุขภาพอื่นๆ ที่ใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย เช่น  Ultrasound, PET Scan และ DEXA  ส่วนในปี 2024 ความสามารถในการตรวจหาพยาธิสภาพและการติดตามสุขภาพพัฒนาอย่างมาก นวัตกรรมเหล่านี้แสดงถึงความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพและการวินิจฉัยโรคอย่างมีประสิทธิภาพ และจะพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมมีความสามารถในการช่วยวิเคราะห์และหาความผิดปกติ การติดตามผลเพื่อมาใช้ควบคู่การดูแล ดังนั้นการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลยังเป็นเรื่องที่สำคัญ และการใช้นวัตกรรมต้องควบคู่กับการวินิจฉัยและดุลพินิจของทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาเพื่อผลประโยชน์ที่สูงสุดในการใช้นวัตกรรมการวินิจฉัยนั่นเอง

Featured Image Credit : vecteezy.com/mungmeestudio

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save